คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พันธาวุธ ปาณิกบุตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,881 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6934/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินทดแทนประกันสังคมกรณีจำเป็นเร่งด่วน แม้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน ศาลพิพากษาเกินคำขอเรื่องดอกเบี้ย
โจทก์เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล ส. ซึ่งเป็นโรงพยาบาลตามสิทธิแต่โจทก์มีอาการหนักมากจึงถูกส่งตัวต่อไปยังโรงพยาบาล ช. ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเครือข่ายระดับบน และโจทก์อยู่ที่โรงพยาบาลดังกล่าวกว่า 16 ชั่วโมง ก็มิได้รับการบำบัดรักษาอาการเลือดคั่งในสมองจนอาการทรุดลงเรื่อย ๆ จนตกอยู่ในภยันตรายแก่ชีวิต ญาติโจทก์จึงย้ายโจทก์ไปโรงพยาบาล พ. ซึ่งแพทย์ได้ทำการผ่าตัดสมองทันที โจทก์จึงมีชีวิตรอดมาได้ จึงเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องกระทำเพื่อรักษาชีวิตโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์มีเหตุผลสมควรที่ไม่สามารถรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลตามสิทธิได้ และต้องไปรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลอื่นตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 59 ยังถือไม่ได้ว่า โจทก์สละสิทธิหรือไม่ประสงค์จะใช้สิทธิประกันสังคม
ตามประกาศของสำนักงานประกันสังคมจำเลย เรื่องกำหนดจำนวนเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ (ฉบับที่ 2) ระบุไว้ในข้อ 4.2 ว่า กรณีจำเป็นต้องได้รับบริการทางการแพทย์เพราะเกิดอุบัติเหตุจ่ายเงินเป็นค่าบริการทางการแพทย์เฉพาะค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงตามความจำเป็นภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ผู้ประกันตนเข้ารับบริการทางการแพทย์ครั้งแรก ฉะนั้น เมื่อโจทก์ทดรองจ่ายค่าเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองที่โรงพยาบาล ร.ซึ่งโรงพยาบาลช. ส่งโจทก์ไปตรวจเป็นเงิน 4,000 บาท และเงินค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล พ. ซึ่งโจทก์ได้รับการผ่าตัดสมองเมื่อเวลา 18.15นาฬิกา ของวันที่ 6 มีนาคม 2543 ภายหลังจากโจทก์ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล ส.เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2543 เวลา 17 นาฬิกาเศษ เป็นเงิน 227,268 บาท จึงเป็นเงินเฉพาะค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงตามความจำเป็นภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ผู้ประกันตนเข้ารับบริการทางการแพทย์ครั้งแรก โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทนรวม231,268 บาท
คำฟ้องโจทก์ไม่ได้มีคำขอดอกเบี้ยในค่าทดแทนมาด้วย การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในเงินดังกล่าว โดยไม่ให้เหตุผลว่าเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความอย่างไร จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6934/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประกันสังคม: การรักษาพยาบาลฉุกเฉินที่โรงพยาบาลเอกชนเมื่อโรงพยาบาลตามสิทธิไม่สามารถให้การรักษาได้ และประเด็นดอกเบี้ย
โจทก์เข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลตามสิทธิแล้ว แต่โรงพยาบาลดังกล่าวไม่สามารถให้บริการหรือเยียวยารักษาเพื่อให้โจทก์รอดชีวิตได้ จึงเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องกระทำเพื่อรักษาชีวิตโจทก์ โดยนำโจทก์ไปรับการรักษาพยาบาลทางสมองที่โรงพยาบาล พ. ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนเนื่องจากมีศัลยแพทย์ทางสมองประจำอยู่ ต้องถือว่าโจทก์มีเหตุผลสมควรที่ไม่สามารถรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลตามสิทธิได้ และต้องไปรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลอื่นตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 59 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับคืนเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายไปเป็นค่าเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองที่โรงพยาบาล ร. ซึ่งโรงพยาบาล พ. ส่งโจทก์ไปตรวจกับเงินค่าผ่าตัดสมองที่โรงพยาบาล พ. โดยเงินทั้งสองจำนวนเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงตามความจำเป็นภายใน 72 ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ประกันตนเข้ารับบริการทางการแพทย์ครั้งแรก ตามประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง กำหนดจำนวนเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ (ฉบับที่ 2)
คำฟ้องโจทก์ไม่ได้มีคำขอดอกเบี้ยในเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์มาด้วย ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยในต้นเงินจำนวนดังกล่าวโดยไม่ให้เหตุผลว่าเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความอย่างไร จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6910/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากลูกจ้างลาป่วยหลังจากเคยถูกตักเตือนเรื่องลากิจ
การที่โจทก์เคยถูกจำเลยตักเตือนเป็นหนังสือเนื่องจากโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในการลากิจมาแล้วนั้น ต่อมาโจทก์ลาป่วย ไม่ว่าการลาป่วยของโจทก์ดังกล่าวจะเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือไม่ก็ตามก็เป็นคนละเรื่องกับกรณีที่โจทก์เคยถูกจำเลยตักเตือน จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยซึ่งได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6288-6383/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานมีผลผูกพันเมื่อนายจ้างไม่ฟ้องคัดค้านภายในกำหนดตามกฎหมาย
บริษัทจำเลยมีคำสั่งให้ลูกจ้างรวมถึงโจทก์ทั้งเก้าสิบหกหยุดงาน โดยจ่ายค่าจ้างสำหรับวันที่ไม่มาทำงานร้อยละห้าสิบของค่าจ้างปกติ ต่อมาตัวแทนโจทก์ทั้งเก้าสิบหกได้ร้องเรียนเกี่ยวกับการออกคำสั่งดังกล่าวต่อพนักงานตรวจแรงงาน พนักงานตรวจแรงงานสอบสวนแล้วมีคำสั่งให้จำเลยจ่ายค่าจ้างเต็มจำนวนแก่โจทก์ลูกจ้างที่ให้หยุดงานชั่วคราว จำเลยทราบคำสั่งดังกล่าวแล้วไม่ได้ฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง แต่จำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร และผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครมีคำสั่งไม่เห็นด้วยกับการพิจารณาของพนักงานตรวจแรงงาน แต่การดำเนินการดังกล่าวของจำเลยผู้เป็นนายจ้างหาชอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 ไม่ เนื่องจากตามบทบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้นายจ้างซึ่งไม่พอใจคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานจะต้องนำคดีไปสู่ศาลแรงงาน เมื่อจำเลยมิได้นำคดีไปสู่ศาลแรงงานกลางเพื่อฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานย่อมเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 แสดงให้เห็นว่ากฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองไว้โดยเฉพาะและมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรม ทั้งมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 3 กรณีดังกล่าวจึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6158-6220/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานเนื่องจากสิ้นสุดสัญญาเช่าโรงงานและเลิกกิจการ มิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งหมดเนื่องจากสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันระหว่างจำเลยกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมสิ้นสุดลง เป็นเหตุให้ใบอนุญาตการผลิตและจำหน่ายสุราของจำเลยสิ้นสุดไปด้วย จำเลยไม่สามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้ จึงต้องเลิกกิจการและส่งมอบโรงงานคืนแก่กรมโรงงานอุตสาหกรรม การเลิกจ้างครั้งนี้เป็นการเลิกจ้างพนักงานของจำเลยทุกคน ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติหรือมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ทั้งหมด จึงเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6157/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บเงินประกันการทำงาน: ผู้จัดการอาคารชุดมีหน้าที่ควบคุมเงิน ถือเป็นงานที่นายจ้างเก็บเงินประกันได้
อุทธรณ์ของโจทก์ที่อ้างว่างานที่โจทก์ทำไม่เข้าลักษณะงานตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง ซึ่งออกตามมาตรา 6 และมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินประกัน การทำงานที่เก็บไปให้แก่โจทก์นั้น แม้มิใช่ข้อที่ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง แต่เป็นการอุทธรณ์เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ที่นายจ้างจะเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายจากการทำงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์มีสิทธิยกขึ้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
โจทก์มิใช่พนักงานการเงิน แต่โจทก์เป็นผู้จัดการอาคารชุด มีสิทธิรับเงินจากลูกค้าและออกใบเสร็จรับเงิน ในนามตนเอง ควบคุมกำกับดูแลการจัดเก็บเงินและค่าใช้จ่ายต่างๆ ควบคุมการนำส่งทางการเงินและบัญชี ควบคุมพนักงานการเงินให้จัดเก็บเงินให้ถูกต้องตามความเป็นจริง และมีอำนาจตรวจสอบความถูกต้องทางการเงินด้วย โจทก์จึงเป็นผู้มีหน้าที่ควบคุมเงินของนายจ้างอันเป็นงานตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 ข้อ 4 (6) นายจ้างเรียกเก็บเงินประกันการทำงานจากโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6100/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันการทำงานที่ครอบคลุมตำแหน่งที่เปลี่ยนแปลง และความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ทุจริต
จำเลยที่ 2 ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในตำแหน่งขณะที่เข้าทำงานกับโจทก์และตำแหน่งอื่นใดซึ่งจะมีการโยกย้ายในภายหน้าด้วย ดังนั้น แม้โจทก์จะเลื่อนตำแหน่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการสาขาก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมค้ำประกันด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ทำความเสียหายแก่โจทก์ และผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมเรียกให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระแก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 และ 686

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6100/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันการทำงานที่ขอบเขตครอบคลุมถึงตำแหน่งที่เปลี่ยนแปลงภายหลัง ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบความเสียหายจากการทุจริต
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 โดยระบุว่า "ข้าพเจ้า (จำเลยที่ 2) ขอเข้าเป็นผู้ค้ำประกันของนาย ม. (จำเลยที่ 1) ซึ่งทำงานในตำแหน่ง? ในธนาคารศรีนคร จำกัด (โจทก์) หรือในตำแหน่งอื่นใดซึ่งจะได้มีการโยกย้ายในภายหน้า?" หมายความว่า จำเลยที่ 2 ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในตำแหน่งขณะที่เข้าทำงานกับโจทก์ และตำแหน่งอื่นใดซึ่งจะมีการโยกย้ายในภายหน้าด้วย ดังนั้น แม้โจทก์จะเลื่อนตำแหน่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการสาขา ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมค้ำประกันด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ทุจริตต่อหน้าที่ทำความเสียหายแก่โจทก์ และผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมเรียกให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระแก่โจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 และ 686

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5912/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากประพฤติชั่วจากความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
สภาพการทำงานในบริษัทจำเลย พนักงานส่วนใหญ่ต้องใช้มีดเป็นอุปกรณ์ในการทำงาน การเสพยาเสพติดอาจก่อให้เกิดอันตรายในการทำงานได้ นอกจากนี้การจำหน่ายยาเสพติดก็เป็นภัยต่อเศรษฐกิจของผู้เสพ อาจก่อให้เกิดอาชญากรรมขึ้น อีกทั้งทำให้ผู้เสพทำงานบกพร่อง ผลงานลดน้อยถอยลงอันมีผลกระทบต่อการทำงานของพนักงานสถานประกอบการของจำเลยซึ่งมีลูกจ้างจำนวนมากถึง 4,500 คน และบริษัทจำเลยเคร่งครัดไม่ให้พนักงานเกี่ยวข้องกับยาเสพติด การที่โจทก์มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติด อาจก่อให้เกิดอันตรายในการทำงานของพนักงานทั้งเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงของจำเลย ถือได้ว่าโจทก์ประพฤติชั่วอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยซึ่งเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5912/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติด แม้ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ถือเป็นเหตุเลิกจ้างได้
การที่โจทก์มีพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดจนถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนแล้วเห็นว่าคดีมีมูล จึงส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการพิจารณา จนมีคำสั่งฟ้องโจทก์เป็นจำเลยต่อศาล และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล แม้จะยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลว่าโจทก์กระทำผิดตามฟ้อง ก็ถือว่าโจทก์ประพฤติชั่วอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหมวดที่ 9 ว่าด้วยวินัยและการลงโทษข้อ 19 ซึ่งเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4)
of 189