พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,881 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การผลิตและครอบครองเพื่อขาย, การเรียงกระทง, และการใช้กฎหมายที่เปลี่ยนแปลง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใหญ่บ้าน ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันผลิตและมีเมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต และการที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนเป็นจำนวนมาก จึงเป็นพฤติการณ์ที่ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับ พวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีน โดยไม่ได้รับอนุญาต และมีเมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อขาย โดยหลังจากเจ้าพนักงานตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ ในประเภท 2 จำนวนหนึ่งได้จากจำเลยทั้งสองที่ร่วมกันผลิต และมีไว้ในครอบครองที่บ้านเกิดเหตุแล้ว จำเลยที่ 1 ยังนำ เจ้าพนักงานไปตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกจำนวน 80 ถุง บรรจุถุงละ 200 เม็ด จากบริเวณบ้าน จำเลยที่ 1 โดยก่อนวันเกิดเหตุจำเลยทั้งสองร่วมกันผลิต เมทแอมเฟตามีนบรรจุถุงละ 200 เม็ด ได้จำนวน 180 ถุงจำเลยที่ 2 ส่งมอบแก่จำเลยที่ 1 จำนวน 150 ถุง ได้จำหน่าย ไปบางส่วนคงเหลือ 80 ถุง ใส่โหลพลาสติกฝังไว้ในสวนมะนาว หลังบ้านจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุงดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองมาก่อนที่จำเลยทั้งสอง จะผลิตและมีไว้ในครอบครองซึ่งเมทแอมเฟตามีนจำนวนที่ยึดได้จากบ้านเกิดเหตุ การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสอง เกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีน ทั้งสองจำนวนดังกล่าวเป็นการกระทำคนละเวลาคนละสถานที่และวัตถุแห่งการกระทำความผิด ก็เป็นคนละจำนวนโดยมิได้เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองสำหรับการร่วมกัน มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุงไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย จึงเป็นการกระทำความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหาก ซึ่งต้องเรียงกระทง ลงโทษตามกฎหมาย ขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดนั้น มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิต เมทแอมเฟตามีนเพื่อขาย เป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 89 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท และการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นการกระทำ ความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ทวิระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท แต่ในระหว่างพิจารณา ปรากฏว่ามีการยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ระบุให้เมทแอมเฟตามีน เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ดังกล่าวข้างต้น และรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20 ระบุชื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 จึงมีผลให้การผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสองต้องรับโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง ระวางโทษประหารชีวิตและการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัมอีกจำนวนหนึ่ง เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก35 กรัม ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับ ตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท และต้องรับโทษตาม มาตรา 66 วรรคสอง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 242 กรัม ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตดังนั้น พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 ที่ใช้ในขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดแตกต่างกับ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522ที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิด และเมื่อ พระราชบัญญัติวัตถุ ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ระวางโทษแก่จำเลยทั้งสองเบากว่าระวางโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติด ให้โทษ พ.ศ. 2522 จึงต้องนำ พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 อันเป็นกฎหมายในส่วนที่ เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมาใช้บังคับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างการพิจารณาคดี: ผลกระทบต่อโทษอาญาจาก พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ เป็น พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใหญ่บ้าน ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534มาตรา 10
จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต และการที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนเป็นจำนวนมาก จึงเป็นพฤติการณ์ที่ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย
จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย โดยหลังจากเจ้าพนักงานตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จำนวนหนึ่งได้จากจำเลยทั้งสองที่ร่วมกันผลิตและมีไว้ในครอบครองที่บ้านเกิดเหตุแล้ว จำเลยที่ 1 ยังนำเจ้าพนักงานไปตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกจำนวน 80 ถุง บรรจุถุงละ 200 เม็ด จากบริเวณบ้านจำเลยที่ 1 โดยก่อนวันเกิดเหตุจำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนบรรจุถุงละ 200 เม็ด ได้จำนวน 180 ถุง จำเลยที่ 2 ส่งมอบแก่จำเลยที่ 1 จำนวน150 ถุง ได้จำหน่ายไปบางส่วนคงเหลือ 80 ถุง ใส่โหลพลาสติกฝังไว้ในสวนมะนาวหลังบ้านจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุง ดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองมาก่อนที่จำเลยทั้งสองจะผลิตและมีไว้ในครอบครองซึ่งเมทแอมเฟ-ตามีนจำนวนที่ยึดได้จากบ้านเกิดเหตุ การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนทั้งสองจำนวนดังกล่าวเป็นการกระทำคนละเวลาคนละสถานที่และวัตถุแห่งการกระทำความผิดก็เป็นคนละจำนวนโดยมิได้เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองสำหรับการร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุงไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย จึงเป็นการกระทำความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหาก ซึ่งต้องเรียงกระทงลงโทษตามกฎหมาย
ขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดนั้น มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขาย เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 89 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท และการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท แต่ในระหว่างพิจารณา ปรากฏว่ามีการยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2ดังกล่าวข้างต้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20ระบุชื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงมีผลให้การผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง ระวางโทษประหารชีวิต และการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 66วรรคหนึ่ง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท และต้องรับโทษตามมาตรา 66 วรรคสอง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 242 กรัม ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต ดังนั้น พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 ที่ใช้ในขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดแตกต่างกับ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิด และเมื่อ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ระวางโทษแก่จำเลยทั้งสองเบากว่าระวางโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงต้องนำ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 อันเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมาใช้บังคับ ตาม ป.อ.มาตรา 3
จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต และการที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนเป็นจำนวนมาก จึงเป็นพฤติการณ์ที่ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย
จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย โดยหลังจากเจ้าพนักงานตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จำนวนหนึ่งได้จากจำเลยทั้งสองที่ร่วมกันผลิตและมีไว้ในครอบครองที่บ้านเกิดเหตุแล้ว จำเลยที่ 1 ยังนำเจ้าพนักงานไปตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกจำนวน 80 ถุง บรรจุถุงละ 200 เม็ด จากบริเวณบ้านจำเลยที่ 1 โดยก่อนวันเกิดเหตุจำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนบรรจุถุงละ 200 เม็ด ได้จำนวน 180 ถุง จำเลยที่ 2 ส่งมอบแก่จำเลยที่ 1 จำนวน150 ถุง ได้จำหน่ายไปบางส่วนคงเหลือ 80 ถุง ใส่โหลพลาสติกฝังไว้ในสวนมะนาวหลังบ้านจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุง ดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองมาก่อนที่จำเลยทั้งสองจะผลิตและมีไว้ในครอบครองซึ่งเมทแอมเฟ-ตามีนจำนวนที่ยึดได้จากบ้านเกิดเหตุ การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนทั้งสองจำนวนดังกล่าวเป็นการกระทำคนละเวลาคนละสถานที่และวัตถุแห่งการกระทำความผิดก็เป็นคนละจำนวนโดยมิได้เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองสำหรับการร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุงไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย จึงเป็นการกระทำความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหาก ซึ่งต้องเรียงกระทงลงโทษตามกฎหมาย
ขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดนั้น มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขาย เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 89 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท และการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท แต่ในระหว่างพิจารณา ปรากฏว่ามีการยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2ดังกล่าวข้างต้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20ระบุชื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงมีผลให้การผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง ระวางโทษประหารชีวิต และการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 66วรรคหนึ่ง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท และต้องรับโทษตามมาตรา 66 วรรคสอง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 242 กรัม ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต ดังนั้น พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 ที่ใช้ในขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดแตกต่างกับ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิด และเมื่อ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ระวางโทษแก่จำเลยทั้งสองเบากว่าระวางโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงต้องนำ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 อันเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมาใช้บังคับ ตาม ป.อ.มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2949/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยในคดีอาญา โดยพิจารณาจากอาการทางจิตหลังเกิดเหตุ และคำรับสารภาพ
จำเลยฎีกาว่าได้กระทำความผิดขณะที่จิตผิดปกติไม่สมประกอบและไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ โดยมิได้เกิดจากเจตนาที่ชั่วร้าย เป็นฎีกาเพื่อให้ศาลฎีกาใช้ดุลพินิจในการลงโทษจำเลยในสถานเบาและรอการลงโทษให้จำเลย ช่วงเวลาใกล้เคียงก่อนเกิดเหตุไม่ปรากฏว่าจำเลยจะมีอาการป่วยเจ็บอย่างใดและใบรับรองแพทย์แสดงว่าจำเลยเข้ารักษาตัวเป็นระยะเวลาหลังเกิดเหตุนานพอสมควรกรณีไม่สามารถนำมาเป็นเหตุให้ลงโทษจำเลยในสถานเบาและรอการลงโทษให้แก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2889/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การครอบครอง, และขอบเขตการนำสืบพยาน: ศาลฎีกาชี้ขาดประเด็นการฟ้องร้องที่ดิน
ข้ออ้างของจำเลยที่ว่า โจทก์ในคดีก่อนฟ้องขับไล่จำเลยและได้ถอนฟ้องไปโดยสละสิทธิในการดำเนินคดีใหม่นั้น เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์หรือผู้รับมอบอำนาจในคดีนั้นกระทำการแทนโจทก์ในคดีนี้ ดังนั้น การถอนฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนจึงไม่ผูกพันโจทก์ในคดีนี้ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 ที่จำเลยอ้างว่า โจทก์ฟ้องขอคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกินหนึ่งปีนับแต่วันถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นดังกล่าวไว้ แม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลจะยกขึ้นอ้างเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นข้อกฎหมายอันเกิดจากข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ และต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้จากพยานหลักฐานซึ่งเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในคดีจะต้องนำสืบเท่านั้น หากเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากพยานนอกเรื่องนอกประเด็นแล้ว ศาลจะรับฟังและยกขึ้นวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายไม่ได้ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า จำเลยมิได้เข้าปลูกบ้านอาศัยในที่ดินพิพาท บ้านเลขที่ตามฟ้องมิใช่บ้าน ของจำเลย และจำเลยนำสืบว่าจำเลยเข้าไปดูแลบุตรสาวและหลานจำเลยเป็นบางครั้งเท่านั้น ดังนั้นข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์จึงเป็นข้อเท็จจริงนอกประเด็น ศาลฎีกาจึงไม่อาจยกข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องอำนาจฟ้องตามที่จำเลยฎีกาขึ้นมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2889/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคืนการครอบครองและอำนาจฟ้อง: ข้อจำกัดการยกข้อกฎหมายจากพยานนอกเรื่อง
ข้ออ้างของจำเลยที่ว่า โจทก์ในคดีก่อนฟ้องขับไล่จำเลยและได้ถอนฟ้องไปโดยสละสิทธิในการดำเนินคดีใหม่นั้น เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์หรือผู้รับมอบอำนาจในคดีนั้นกระทำการแทนโจทก์ในคดีนี้ ดังนั้น การถอนฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนจึงไม่ผูกพันโจทก์ในคดีนี้ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ได้ไม่ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 176
ที่จำเลยอ้างว่า โจทก์ฟ้องขอคืนซึ่งการครอบครองในที่ดินพิพาทเกินหนึ่งปีนับแต่วันถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นดังกล่าวไว้ แม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลจะยกขึ้นอ้างเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142(5) ก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นข้อกฎหมายอันเกิดจากข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ และต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้จากพยานหลักฐานซึ่งเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในคดีจะต้องนำสืบเท่านั้น หากเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากพยานนอกเรื่องนอกประเด็นแล้ว ศาลจะรับฟังและยกขึ้นวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายไม่ได้ เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87
คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า จำเลยมิได้เข้าปลูกบ้านอาศัยในที่ดินพิพาท บ้านเลขที่ตามฟ้องมิใช่บ้านของจำเลย และจำเลยนำสืบว่าจำเลยเข้าไปดูแลบุตรสาวและหลานจำเลยเป็นบางครั้งเท่านั้น ดังนั้นข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์จึงเป็นข้อเท็จจริงนอกประเด็น ศาลฎีกาจึงไม่อาจยกข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องอำนาจฟ้องตามที่จำเลยฎีกาขึ้นมาได้
ที่จำเลยอ้างว่า โจทก์ฟ้องขอคืนซึ่งการครอบครองในที่ดินพิพาทเกินหนึ่งปีนับแต่วันถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นดังกล่าวไว้ แม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลจะยกขึ้นอ้างเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142(5) ก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นข้อกฎหมายอันเกิดจากข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ และต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้จากพยานหลักฐานซึ่งเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในคดีจะต้องนำสืบเท่านั้น หากเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากพยานนอกเรื่องนอกประเด็นแล้ว ศาลจะรับฟังและยกขึ้นวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายไม่ได้ เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87
คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า จำเลยมิได้เข้าปลูกบ้านอาศัยในที่ดินพิพาท บ้านเลขที่ตามฟ้องมิใช่บ้านของจำเลย และจำเลยนำสืบว่าจำเลยเข้าไปดูแลบุตรสาวและหลานจำเลยเป็นบางครั้งเท่านั้น ดังนั้นข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์จึงเป็นข้อเท็จจริงนอกประเด็น ศาลฎีกาจึงไม่อาจยกข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องอำนาจฟ้องตามที่จำเลยฎีกาขึ้นมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2767/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเช็ค: จำเลยต้องพิสูจน์หนี้ระหว่างจำเลยกับผู้รับเช็คก่อน จึงจะถือว่าออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง
องค์ประกอบความผิดตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเท่านั้น เมื่อ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ ช.แล้วช.นำเช็คพิพาทมามอบให้แก่โจทก์อีกต่อหนึ่งเมื่อมิใช่เป็นกรณีที่จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่โจทก์โดยตรงโจทก์จึงต้องมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ ช. เพื่อชำระหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งที่จำเลยมีต่อช. อันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายหากพยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักพอฟังว่าจำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ช.เพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายการกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2767/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.เช็ค: การพิสูจน์หนี้ที่แท้จริง
องค์ประกอบความผิดตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ ช. แล้ว ช.นำเช็คพิพาทมามอบให้แก่โจทก์อีกต่อหนึ่งเมื่อมิใช่เป็นกรณีที่จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่โจทก์โดยตรง โจทก์จึงต้องมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ ช.เพื่อชำระหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งที่จำเลยมีต่อ ช. อันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายหากพยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักพอฟังว่าจำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ ช.เพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินชายตลิ่งหลังหมดสัญญาเช่า สิทธิในการฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหาย
จำเลยได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทที่เช่ามาจากโจทก์ด้านติดแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางสีทองในเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ซึ่งเดิมมีหลักเขตที่ดินแน่นอน แต่ต่อมาแนวเขตที่ดินด้าน ติดแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางสีทองถูกน้ำเซาะตลิ่งอยู่เสมอและเป็นเวลานาน ทำให้ตลิ่ง ใต้อาคารที่จำเลยปลูกบ้านบนที่ดินพิพาทพังลงและหลักเขตที่ดินหายไปทำให้ที่ดินพิพาทใต้อาคารกลายสภาพเป็นที่ชายตลิ่งโดยจำเลยยังคงครอบครองอาคารนั้นอยู่และจำเลยยังเช่าที่ดินพิพาทของโจทก์ตลอดมา จึงถือได้ว่าโจทก์ยังคงใช้สิทธิแห่งความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทนั้นอยู่ โดยมิได้ทิ้งปล่อยให้เป็นที่ชายตลิ่งสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ที่ดินพิพาทจึงยังมิได้เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) เมื่อสัญญาเช่าที่ดินพิพาทสิ้นสุดลง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองได้ เมื่อสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับไป แล้ว จำเลยผู้เช่ายังคงอยู่ในที่ดินพิพาทตลอดมาโจทก์ย่อมไม่อาจเรียกค่าเช่าจากจำเลยหลังจากนั้นได้คงเรียกได้แต่ค่าเสียหายการที่จำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนหากจำเลยไม่ยอมออกไปจากที่ดินพิพาทตามที่กำหนดการกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินหลังสัญญาเช่าสิ้นสุด และสภาพที่ดินชายตลิ่งไม่เป็นสาธารณสมบัติ
จำเลยได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทที่เช่ามาจากโจทก์ ด้านติดแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางสีทอง ในเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ ซึ่งเดิมมีหลักเขตที่ดินแน่นอน แต่ต่อมาแนวเขตที่ดินด้านติดแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางสีทองถูกน้ำเซาะตลิ่งอยู่เสมอและเป็นเวลานาน ทำให้ตลิ่งใต้อาคารที่จำเลยปลูกบ้านบนที่ดินพิพาทพังลงและหลักเขตที่ดินหายไปทำให้ที่ดินพิพาทใต้อาคารกลายสภาพเป็นที่ชายตลิ่งโดยจำเลยยังคงครอบครองอาคารนั้นอยู่ และจำเลยยังเช่าที่ดินพิพาทของโจทก์ตลอดมา จึงถือได้ว่าโจทก์ยังคงใช้สิทธิแห่งความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทนั้นอยู่ โดยมิได้ทิ้งปล่อยให้เป็นที่ชายตลิ่งสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ที่ดินพิพาทจึงยังมิได้เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ.มาตรา 1304 (2) เมื่อสัญญาเช่าที่ดินพิพาทสิ้นสุดลง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองได้
เมื่อสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับไปแล้วแม้จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทตลอดมา โจทก์ก็ไม่อาจเรียกค่าเช่าหลังจากนั้นได้คงเรียกได้แต่ค่าเสียหาย และเมื่อจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 6,000 บาท หากครบกำหนดตามบันทึกข้อตกลงแล้ว ยังไม่ออกไปจากที่ดินพิพาท การกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับตามป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
เมื่อสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับไปแล้วแม้จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทตลอดมา โจทก์ก็ไม่อาจเรียกค่าเช่าหลังจากนั้นได้คงเรียกได้แต่ค่าเสียหาย และเมื่อจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 6,000 บาท หากครบกำหนดตามบันทึกข้อตกลงแล้ว ยังไม่ออกไปจากที่ดินพิพาท การกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับตามป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องแต่งตั้ง/ถอดถอนกรรมการชั่วคราว: ศาลชั้นต้นต้องไต่สวนก่อนส่งสำนวน
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งตั้งผู้ร้องและ ต.เป็นกรรมการของบริษัทม.ชั่วคราวคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ แม้ในคำร้องจะขอให้ศาลอุทธรณ์ไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งก็ตาม แต่จากข้ออ้างในคำร้องประกอบด้วยพฤติการณ์แห่งคดีเมื่อเป็นที่เข้าใจได้ว่าผู้คัดค้านประสงค์ที่จะให้ศาลมีคำสั่งถอดถอนผู้ร้องและ ต.ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม. แล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม.แทน ซึ่งผู้ร้องและ ต.คัดค้านคำร้องดังกล่าวของผู้คัดค้าน เมื่อมูลคดีเป็นเรื่องผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวของนิติบุคคล กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 70, 73 กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนข้อเท็จจริงให้ได้ความว่ามีเหตุสมควรที่จะถอดถอนผู้ร้องและ ต.ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวแล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัทม.แทนหรือไม่ และมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งงดการไต่สวนและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณานั้น เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
คดีจะขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ทั้งนี้ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์ แต่คดีนี้กลับขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา และศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งยกคำร้องของผู้คัดค้านโดยไม่มีการวินิจฉัยถึงคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา แม้ผู้คัดค้านจะไม่ฎีกามาก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน กรณีต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา142 (5), 243, 247 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี และให้ยกคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องของผู้คัดค้าน ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้าน แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไป
คดีจะขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ทั้งนี้ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์ แต่คดีนี้กลับขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา และศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งยกคำร้องของผู้คัดค้านโดยไม่มีการวินิจฉัยถึงคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา แม้ผู้คัดค้านจะไม่ฎีกามาก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน กรณีต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา142 (5), 243, 247 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี และให้ยกคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องของผู้คัดค้าน ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้าน แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไป