พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,881 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4495/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการวินิจฉัยคดีเงินทดแทนและการคุ้มครองลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากความประมาทของตนเอง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บังคับให้ศาลแรงงานจะต้องวินิจฉัยปัญหาข้อใดข้อหนึ่งก่อนจึงเป็นอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะใช้ดุลพินิจยกปัญหาข้อใดขึ้นวินิจฉัยก่อนหรือหลังก็ได้ตามที่เห็นสมควรแก่รูปคดี ทั้งเมื่อได้วินิจฉัยปัญหาข้อหนึ่งข้อใดแล้วเห็นว่าสามารถชี้ขาดตัดสินคดีได้ จะไม่วินิจฉัยปัญหาข้ออื่น ๆ ต่อไปอีกเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปก็ได้
ผู้ตายปีนขึ้นไปบนโครงจอภาพยนตร์แล้วเอาเสาธงเหล็กฟาดสายไฟฟ้าแรงสูงจนถูกไฟฟ้าดูดและตกลงมาเสียชีวิต เพราะผู้ตายต้องการแสดงโอ้อวดตนเองว่าเป็นผู้วิเศษ มิได้เกิดเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคำสั่งของนายจ้าง จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5
ผู้ตายปีนขึ้นไปบนโครงจอภาพยนตร์แล้วเอาเสาธงเหล็กฟาดสายไฟฟ้าแรงสูงจนถูกไฟฟ้าดูดและตกลงมาเสียชีวิต เพราะผู้ตายต้องการแสดงโอ้อวดตนเองว่าเป็นผู้วิเศษ มิได้เกิดเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคำสั่งของนายจ้าง จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4336/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดร้ายแรงจากการทำร้ายร่างกายเพื่อนร่วมงานในที่ทำงาน
โจทก์เป็นผู้ชายทำร้ายร่างกายเพื่อนร่วมงานซึ่งเป็นผู้หญิงโดยใช้มือตบที่บริเวณใบหน้าเพียงครั้งเดียวมีความผิดอาญาข้อหาทำร้ายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ โจทก์กระทำอย่างอุกอาจในที่ประชุมต่อหน้าผู้บังคับบัญชาและพนักงานอื่น ๆ ในแผนกขณะกำลังประชุมเกี่ยวกับงานของจำเลย โดยโจทก์มิได้เคารพยำเกรงต่อที่ประชุมและผู้บังคับบัญชา มิได้เกรงกลัวต่อกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ระบุห้ามไว้ ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหรือเป็นการกระทำผิดกรณีร้ายแรง จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(4) และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย รวมทั้งไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 17 วรรคท้าย ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4198/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะนายจ้างตามพรบ.ประกันสังคม กรณีเหมาค่าแรงและควบคุมดูแลการทำงาน
การที่จะถือว่าผู้ประกอบกิจการอยู่ในฐานะนายจ้างของลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรงตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 35 และมีหน้าที่ต้องยื่นแบบรายการตามมาตรา 34 และจ่ายเงินสมทบสำหรับลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรงต่อสำนักงานประกันสังคม คนงานที่มาทำงานให้แก่ผู้ประกอบกิจการจะต้องเป็นลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรง
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าข้าวเมื่อโจทก์จะต้องขนข้าวลงเรือให้แก่ผู้ซื้อจากต่างประเทศ โจทก์จะว่าจ้าง ส. เป็นผู้รับเหมาค่าแรงทำการขนข้าวลงเรือ ส. จะแจ้งให้ ท. ไปจัดหากรรมกรตามจำนวนพอเหมาะกับปริมาณข้าวที่จะขนถ่ายลงเรือมาแบกขน ก่อนขนข้าวลงเรือกรรมกรจะต้องผสมข้าวด้วยเครื่องจักรภายในโกดังของโจทก์และบรรจุใส่กระสอบผ่านสายพานและให้กรรมกรรอแบกกระสอบข้าวจากปลายสายพานไปลงเรือ การทำงานดังกล่าวทั้งหมดของกรรมกรอยู่ภายใต้การควบคุมและสั่งการของ ส. ส. จึงมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือกรรมกรทุกคน ประกอบกับ ส.เพียงผู้เดียวเป็นคนจ่ายค่าจ้างให้แก่กรรมกรที่มาแบกข้าวแต่ละวัน นิติสัมพันธ์ระหว่างส. กับกรรมกรดังกล่าวเข้าลักษณะจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 ส. จึงเป็นนายจ้างของกรรมกรทั้งหมด เมื่อปรากฏว่าส. ควบคุมกรรมกรให้ทำงานในโกดังอันเป็นสถานประกอบกิจการของโจทก์และใช้เครื่องมือที่สำคัญสำหรับใช้ทำงานที่โจทก์เป็นผู้จัดทำ โดยการทำงานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจของโจทก์ ดังนี้ โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะนายจ้างของกรรมกรทั้งหมดด้วยตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 35 วรรคหนึ่ง
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าข้าวเมื่อโจทก์จะต้องขนข้าวลงเรือให้แก่ผู้ซื้อจากต่างประเทศ โจทก์จะว่าจ้าง ส. เป็นผู้รับเหมาค่าแรงทำการขนข้าวลงเรือ ส. จะแจ้งให้ ท. ไปจัดหากรรมกรตามจำนวนพอเหมาะกับปริมาณข้าวที่จะขนถ่ายลงเรือมาแบกขน ก่อนขนข้าวลงเรือกรรมกรจะต้องผสมข้าวด้วยเครื่องจักรภายในโกดังของโจทก์และบรรจุใส่กระสอบผ่านสายพานและให้กรรมกรรอแบกกระสอบข้าวจากปลายสายพานไปลงเรือ การทำงานดังกล่าวทั้งหมดของกรรมกรอยู่ภายใต้การควบคุมและสั่งการของ ส. ส. จึงมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือกรรมกรทุกคน ประกอบกับ ส.เพียงผู้เดียวเป็นคนจ่ายค่าจ้างให้แก่กรรมกรที่มาแบกข้าวแต่ละวัน นิติสัมพันธ์ระหว่างส. กับกรรมกรดังกล่าวเข้าลักษณะจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 ส. จึงเป็นนายจ้างของกรรมกรทั้งหมด เมื่อปรากฏว่าส. ควบคุมกรรมกรให้ทำงานในโกดังอันเป็นสถานประกอบกิจการของโจทก์และใช้เครื่องมือที่สำคัญสำหรับใช้ทำงานที่โจทก์เป็นผู้จัดทำ โดยการทำงานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจของโจทก์ ดังนี้ โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะนายจ้างของกรรมกรทั้งหมดด้วยตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 35 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4198/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม: การว่าจ้างเหมาค่าแรงและลักษณะนายจ้าง-ลูกจ้าง
ผู้ประกอบกิจการที่จะอยู่ในฐานะนายจ้างของคนงานรับเหมาค่าแรง ตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ต้องเป็นผู้ประกอบกิจการที่ได้ว่าจ้างเหมาค่าแรงให้แก่ผู้รับเหมาค่าแรงรายใดรายหนึ่งเป็นผู้จัดหาคนงานให้แก่ผู้ประกอบกิจการ หรือผู้รับเหมาค่าแรงนำงานอันเป็นธุรกิจ หรือกระบวนการผลิตของผู้ประกอบกิจการไปให้คนงานของผู้รับเหมาค่าแรงทำในสถานประกอบกิจการหรือสถานที่ทำงานโดยใช้เครื่องมือที่สำคัญในการทำงานของผู้ประกอบกิจการ และคนงานเหล่านั้นต้องมีฐานะเป็นลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรงด้วย
โจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจค้าข้าว ในการขนข้าวลงเรือไปขายให้แก่ลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศ โจทก์ว่าจ้าง ส. จีนเต็งใหญ่เป็นผู้รับเหมาค่าแรงขน ส. จะให้ ท. จีนเต็งหัวหน้าสายเป็นคนจัดหาคนงานซึ่งสมัครใจรับจ้างรายวันเฉพาะกิจเป็นคราว ๆ มาขนข้าวสาร โดยก่อนขนข้าวสารลงเรือ คนงานต้องผสมข้าวสารด้วยเครื่องจักรของโจทก์และบรรจุใส่กระสอบผ่านสายพานในโกดังของโจทก์ อันเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับใช้ทำงานที่โจทก์เป็นผู้จัดหา แล้วแบกกระสอบข้าวสารไปลงเรือ การทำงานของคนงานจึงอยู่ภายใต้การควบคุมและสั่งการของ ส. ส. ย่อมมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือคนงานทุกคน ประกอบกับ ส. เป็นคนจ่ายค่าจ้างให้แก่คนงานที่มาแบกขนข้าวสารแต่ละวัน นิติสัมพันธ์ระหว่าง ส. กับคนงานจึงเข้าลักษณะจ้างแรงงาน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 ส. มีฐานะเป็นนายจ้างของคนงาน และเมื่อการทำงานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจของโจทก์ โจทก์จึงอยู่ในฐานะนายจ้างของคนงานทั้งหมดด้วย เมื่อขณะเกิดเหตุโจทก์มีลูกจ้างเกิน 10 คน โจทก์ย่อมมีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง กรณีเปลี่ยนวันที่มีหน้าที่ชำระเงินสมทบ และชำระเงินสมทบให้แก่จำเลย
โจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจค้าข้าว ในการขนข้าวลงเรือไปขายให้แก่ลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศ โจทก์ว่าจ้าง ส. จีนเต็งใหญ่เป็นผู้รับเหมาค่าแรงขน ส. จะให้ ท. จีนเต็งหัวหน้าสายเป็นคนจัดหาคนงานซึ่งสมัครใจรับจ้างรายวันเฉพาะกิจเป็นคราว ๆ มาขนข้าวสาร โดยก่อนขนข้าวสารลงเรือ คนงานต้องผสมข้าวสารด้วยเครื่องจักรของโจทก์และบรรจุใส่กระสอบผ่านสายพานในโกดังของโจทก์ อันเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับใช้ทำงานที่โจทก์เป็นผู้จัดหา แล้วแบกกระสอบข้าวสารไปลงเรือ การทำงานของคนงานจึงอยู่ภายใต้การควบคุมและสั่งการของ ส. ส. ย่อมมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือคนงานทุกคน ประกอบกับ ส. เป็นคนจ่ายค่าจ้างให้แก่คนงานที่มาแบกขนข้าวสารแต่ละวัน นิติสัมพันธ์ระหว่าง ส. กับคนงานจึงเข้าลักษณะจ้างแรงงาน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 ส. มีฐานะเป็นนายจ้างของคนงาน และเมื่อการทำงานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจของโจทก์ โจทก์จึงอยู่ในฐานะนายจ้างของคนงานทั้งหมดด้วย เมื่อขณะเกิดเหตุโจทก์มีลูกจ้างเกิน 10 คน โจทก์ย่อมมีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง กรณีเปลี่ยนวันที่มีหน้าที่ชำระเงินสมทบ และชำระเงินสมทบให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047-4053/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย และการฝ่าฝืนข้อบังคับบริษัท
การพิจารณาเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ต้องพิจารณาว่ามีสาเหตุแห่งการเลิกจ้างหรือไม่ และสาเหตุดังกล่าวเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ ซึ่งอาจเป็นเหตุที่เกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้างเอง หรือเหตุอื่นที่มิใช่ความผิดของลูกจ้างก็ได้
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งเจ็ดเพราะเหตุที่หยุดงานเพื่อชุมนุมเรียกร้องที่หน้าบริษัทจำเลยโดยไม่มีเหตุสมควรและไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ห้ามพนักงานจำเลยชุมนุมกันภายในบริษัท และห้ามพนักงานหยุดงานประท้วงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งโจทก์ทั้งเจ็ดฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์ทั้งเจ็ดกลับเข้าทำงาน ซึ่งเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวเป็นเหตุที่เกิดจากการกระทำของโจทก์ทั้งเจ็ดที่เพียงพอแก่การเลิกจ้างได้ ส่วนการที่จำเลยไม่เลิกจ้างหรือลงโทษพนักงานอื่นที่ร่วมชุมนุมเรียกร้องกับโจทก์ทั้งเจ็ดนั้น เป็นดุลพินิจในการบริหารจัดการของจำเลยจึงไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
กรณีที่ลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อลูกจ้างได้กระทำการอันเป็นการจงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหายแล้ว ไม่ว่าความเสียหายจะเกิดขึ้นตามความประสงค์ของลูกจ้างแล้วหรือไม่ ก็ต้องด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(2) แล้ว
โจทก์ทั้งเจ็ดชุมนุมกันที่หน้าบริษัทจำเลยโดยไม่ได้แจ้งข้อเรียกร้องตามกฎหมายและไม่ได้เข้าทำงานในวันที่ 14 วันที่ 15 และวันที่ 17 มิถุนายน 2543 การละทิ้งหน้าที่ของโจทก์ทั้งเจ็ดย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อกิจการของจำเลยมิให้ดำเนินไปได้ตามปกติทำให้จำเลยขาดรายได้ จึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายส่วนการฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยในข้อวินัย 1.4(1)(2) แม้ข้อบังคับดังกล่าวจะไม่ได้ระบุว่าเป็นกรณีร้ายแรงแต่ก็ไม่ได้ระบุว่าการฝ่าฝืนข้อบังคับในข้อนี้เป็นกรณีไม่ร้ายแรงซึ่งกรณีจะถือว่าร้ายแรงหรือไม่ต้องพิจารณาจากการกระทำของโจทก์ทั้งเจ็ด การที่โจทก์ทั้งเจ็ดชุมนุมกันภายในบริษัทจำเลยและหยุดงานประท้วงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 34 ซึ่งมีโทษทางอาญาตามมาตรา 134 จึงเป็นกรณีร้ายแรง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งเจ็ดเพราะเหตุที่หยุดงานเพื่อชุมนุมเรียกร้องที่หน้าบริษัทจำเลยโดยไม่มีเหตุสมควรและไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ห้ามพนักงานจำเลยชุมนุมกันภายในบริษัท และห้ามพนักงานหยุดงานประท้วงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งโจทก์ทั้งเจ็ดฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์ทั้งเจ็ดกลับเข้าทำงาน ซึ่งเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวเป็นเหตุที่เกิดจากการกระทำของโจทก์ทั้งเจ็ดที่เพียงพอแก่การเลิกจ้างได้ ส่วนการที่จำเลยไม่เลิกจ้างหรือลงโทษพนักงานอื่นที่ร่วมชุมนุมเรียกร้องกับโจทก์ทั้งเจ็ดนั้น เป็นดุลพินิจในการบริหารจัดการของจำเลยจึงไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
กรณีที่ลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อลูกจ้างได้กระทำการอันเป็นการจงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหายแล้ว ไม่ว่าความเสียหายจะเกิดขึ้นตามความประสงค์ของลูกจ้างแล้วหรือไม่ ก็ต้องด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(2) แล้ว
โจทก์ทั้งเจ็ดชุมนุมกันที่หน้าบริษัทจำเลยโดยไม่ได้แจ้งข้อเรียกร้องตามกฎหมายและไม่ได้เข้าทำงานในวันที่ 14 วันที่ 15 และวันที่ 17 มิถุนายน 2543 การละทิ้งหน้าที่ของโจทก์ทั้งเจ็ดย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อกิจการของจำเลยมิให้ดำเนินไปได้ตามปกติทำให้จำเลยขาดรายได้ จึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายส่วนการฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยในข้อวินัย 1.4(1)(2) แม้ข้อบังคับดังกล่าวจะไม่ได้ระบุว่าเป็นกรณีร้ายแรงแต่ก็ไม่ได้ระบุว่าการฝ่าฝืนข้อบังคับในข้อนี้เป็นกรณีไม่ร้ายแรงซึ่งกรณีจะถือว่าร้ายแรงหรือไม่ต้องพิจารณาจากการกระทำของโจทก์ทั้งเจ็ด การที่โจทก์ทั้งเจ็ดชุมนุมกันภายในบริษัทจำเลยและหยุดงานประท้วงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 34 ซึ่งมีโทษทางอาญาตามมาตรา 134 จึงเป็นกรณีร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3933/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้จะมีการจ่ายค่าชดเชย หากเหตุผลไม่สมเหตุสมผลและขัดแย้งกับสถานะทางการเงินของบริษัท
แม้สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้าง จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบ โดยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสอง วรรคสี่ ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 และจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 ซึ่งเป็นการเลิกจ้างที่ชอบด้วยกฎหมายคุ้มครองแรงงานอันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน และจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์รวมทั้งพนักงานอื่นเพื่อลดขนาดขององค์กรและลดค่าใช้จ่ายเนื่องจากจำเลยประสบกับการขาดทุนเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก็ตาม แต่ปรากฏว่าปี 2543จำเลยมีกำไร และปี 2544 จำเลยได้ซื้อที่ดินราคา 9,000,000 บาทเศษ ด้วยเงินสดส่วนหนึ่งและเงินกู้ธนาคารอีกส่วนหนึ่ง แสดงว่าจำเลยมิได้ขาดทุนจนถึงขนาดต้องลดจำนวนลูกจ้าง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์กระทำความผิด กรณีจึงเป็นการเลิกจ้างที่ยังไม่มีเหตุอันสมควร จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923-3932/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทค่าจ้างหลังคำสั่งเดิมถูกยกเลิก: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม อายุความ 10 ปีมิใช่อายุความ 1 ปี
เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางมีคำวินิจฉัยว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง คำวินิจฉัยของอธิบดีฯ ย่อมเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 9 แม้จำเลยที่ 6 จะยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 10 ก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะสืบพยานโจทก์ แต่ในขณะนั้นศาลปกครองชั้นต้นที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ ยังไม่ได้เปิดดำเนินการและแม้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 จะยื่นคำร้องเช่นเดียวกันนี้ต่อศาลแรงงานกลางหลังจากศาลปกครองชั้นต้นเปิดดำเนินการแล้ว ก็เป็นการยื่นคำร้องหลังจากศาลแรงงานกลางสืบพยานโจทก์ไปแล้ว ไม่เข้ากรณีที่ศาลแรงงานกลางจะต้องรอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวและจัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลปกครองชั้นต้นเพื่อดำเนินการต่อไปตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยไม่รอการพิจารณาไว้ชั่วคราวและจัดทำความเห็นส่งไปยังศาลปกครองชั้นต้น จึงชอบแล้ว
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า เงินเดือนอัตราใหม่ที่จำเลยที่ 2 รับไประหว่างวันที่31 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2542 รวมเป็นเงิน 317,130 บาท และเมื่อตรวจสอบแล้วเงินจำนวนดังกล่าวเกินจากจำนวนที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิได้รับเป็นจำนวน62,066.77 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เห็นได้ว่าเมื่ออ่านคำฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องประกอบกันแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่โจทก์จ่ายค่าจ้างเพิ่มให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เป็นการจ่ายตามคำสั่งที่ 63/2539 และที่ 64/2539 ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การรับเงินของจำเลยที่ 2ถึงที่ 11 จากโจทก์จึงมิใช่เป็นการรับโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แม้ต่อมาคำสั่งดังกล่าวจะถูกยกเลิกก็ตาม ทั้งการสิ้นผลบังคับของคำสั่งดังกล่าวมิใช่เป็นเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว อันจะถือว่าเป็นการได้ทรัพย์มาในฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 406 จึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ที่กำหนดสำหรับลาภมิควรได้มาใช้แก่กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องชำระเป็นหนี้เงินและมีการผิดนัดดอกเบี้ยที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จ่ายแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเป็นการกำหนดให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ซึ่งศาลแรงงานกลางไม่อาจใช้ดุลพินิจกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงกว่านี้อีกได้
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า เงินเดือนอัตราใหม่ที่จำเลยที่ 2 รับไประหว่างวันที่31 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2542 รวมเป็นเงิน 317,130 บาท และเมื่อตรวจสอบแล้วเงินจำนวนดังกล่าวเกินจากจำนวนที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิได้รับเป็นจำนวน62,066.77 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เห็นได้ว่าเมื่ออ่านคำฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องประกอบกันแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่โจทก์จ่ายค่าจ้างเพิ่มให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เป็นการจ่ายตามคำสั่งที่ 63/2539 และที่ 64/2539 ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การรับเงินของจำเลยที่ 2ถึงที่ 11 จากโจทก์จึงมิใช่เป็นการรับโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แม้ต่อมาคำสั่งดังกล่าวจะถูกยกเลิกก็ตาม ทั้งการสิ้นผลบังคับของคำสั่งดังกล่าวมิใช่เป็นเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว อันจะถือว่าเป็นการได้ทรัพย์มาในฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 406 จึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ที่กำหนดสำหรับลาภมิควรได้มาใช้แก่กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องชำระเป็นหนี้เงินและมีการผิดนัดดอกเบี้ยที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จ่ายแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเป็นการกำหนดให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ซึ่งศาลแรงงานกลางไม่อาจใช้ดุลพินิจกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงกว่านี้อีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923-3932/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทค่าจ้างหลังคำสั่งยกเลิก - อายุความ 10 ปีมิใช่อายุความลาภมิควรได้ - ศาลแรงงานพิพากษายืน
เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางมีคำวินิจฉัยว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง คำวินิจฉัยของอธิบดีฯ ย่อมเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 9 แม้จำเลยที่ 6 จะยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางดำเนินการตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 10 ก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะสืบพยานโจทก์ แต่ในขณะนั้นศาลปกครองชั้นต้นที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ ยังไม่ได้เปิดดำเนินการและแม้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 จะยื่นคำร้องเช่นเดียวกันนี้ต่อศาลแรงงานกลาง หลังจากศาลปกครองชั้นต้นเปิดดำเนินการแล้ว ก็เป็นการยื่นคำร้องหลังจากศาลแรงงานกลางสืบพยานโจทก์ไปแล้ว ไม่เข้ากรณีที่ศาลแรงงานกลางจะต้องรอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราว และจัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลปกครองชั้นต้นเพื่อดำเนินการต่อไปตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยไม่รอการพิจารณาไว้ชั่วคราวและจัดทำความเห็นส่งไปยังศาลปกครองชั้นต้น จึงชอบแล้ว
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า เงินเดือนอัตราใหม่ที่จำเลยที่ 2 รับไประหว่างวันที่ 31 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2542 รวมเป็นเงิน 317,130 บาท และเมื่อตรวจสอบแล้วเงินจำนวนดังกล่าวเกินจากจำนวนที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิได้รับเป็นจำนวน 62,066.77 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เห็นได้ว่าเมื่ออ่านคำฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องประกอบกันแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่โจทก์จ่ายค่าจ้างเพิ่มให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เป็นการจ่ายตามคำสั่งที่ 63/2539 และที่ 64/2539 ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การรับเงินของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จากโจทก์จึงมิใช่เป็นการรับโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แม้ต่อมาคำสั่งดังกล่าวจะถูกยกเลิกก็ตาม ทั้งการสิ้นผลบังคับของคำสั่งดังกล่าวมิใช่เป็นเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว อันจะถือว่าเป็นการได้ทรัพย์มาในฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 จึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ที่กำหนดสำหรับลาภมิควรได้มาใช้แก่กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องชำระเป็นหนี้เงินและมีการผิดนัดดอกเบี้ยที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จ่ายแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นการกำหนดให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ซึ่งศาลแรงงานกลางไม่อาจใช้ดุลพินิจกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงกว่านี้อีกได้
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า เงินเดือนอัตราใหม่ที่จำเลยที่ 2 รับไประหว่างวันที่ 31 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2542 รวมเป็นเงิน 317,130 บาท และเมื่อตรวจสอบแล้วเงินจำนวนดังกล่าวเกินจากจำนวนที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิได้รับเป็นจำนวน 62,066.77 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เห็นได้ว่าเมื่ออ่านคำฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องประกอบกันแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่โจทก์จ่ายค่าจ้างเพิ่มให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เป็นการจ่ายตามคำสั่งที่ 63/2539 และที่ 64/2539 ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การรับเงินของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จากโจทก์จึงมิใช่เป็นการรับโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แม้ต่อมาคำสั่งดังกล่าวจะถูกยกเลิกก็ตาม ทั้งการสิ้นผลบังคับของคำสั่งดังกล่าวมิใช่เป็นเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว อันจะถือว่าเป็นการได้ทรัพย์มาในฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 จึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ที่กำหนดสำหรับลาภมิควรได้มาใช้แก่กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องชำระเป็นหนี้เงินและมีการผิดนัดดอกเบี้ยที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จ่ายแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นการกำหนดให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ซึ่งศาลแรงงานกลางไม่อาจใช้ดุลพินิจกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงกว่านี้อีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3922/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอยู่ในอุปการะตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน ต้องมีความเดือดร้อนจากการขาดอุปการะ การให้เงินเพียงเล็กน้อยไม่ถือว่าอยู่ในอุปการะ
ผู้ตายเคยให้เงินโจทก์บางเดือน เดือนละประมาณ 1,000 บาท ถึง 1,500 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินไม่มากนัก โดยให้ในช่วงผู้ตายได้งานทำในระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งปี การให้ดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นเพียงแต่ทำให้โจทก์ได้รับความสะดวกสบายในชีวิตครอบครัวเพิ่มขึ้นเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์ต้องได้รับความเดือดร้อนเพราะไม่ได้รับเงินจากผู้ตายในบางเดือน การที่โจทก์ได้รับเงินจากผู้ตายดังกล่าวจึงไม่ถึงขั้นที่จะถือว่าโจทก์อยู่ในความอุปการะของผู้ตายตามความหมายของ พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 20 วรรคท้าย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3816/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างไม่มีกำหนดเวลา การเลิกจ้างต้องมีเหตุอันสมควร มิฉะนั้นเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
หนังสือสัญญาจ้างกำหนดว่าสัญญาจ้างเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2546 แต่ยังมีข้อความต่อไปอีกว่าทั้งสองฝ่ายจะเจรจาเกี่ยวกับการต่อสัญญา 2 เดือน ก่อนสัญญาสิ้นสุดลง หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดประสงค์ที่จะยกเลิกสัญญาต้องแจ้งให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้า 2 เดือน ข้อความในส่วนหลังนี้ทำให้เป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดเวลาการจ้าง แต่การใช้สิทธิเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยต้องมีเหตุอันสมควรจึงจะเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ผลักดันให้จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างจำเลยซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาโจทก์ให้ตรงกำหนดและจ่ายค่าบริการที่จำเลยเก็บจากลูกค้าให้ลูกจ้าง เพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกจ้างลาออกบ่อยครั้ง ต้องรับลูกจ้างใหม่ซึ่งไม่มีประสบการณ์ในการทำงานเข้ามาประจำ ทำให้มาตรฐานการบริการลูกค้าไม่ดีเท่าที่ควรโจทก์กระทำเพื่อให้มาตรฐานการบริการลูกค้าดีขึ้นซึ่งเป็นประโยชน์แก่จำเลยเอง เมื่อโจทก์ไม่ได้กระทำผิดจึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างต้องมีเหตุผลแห่งการเลิกจ้างตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยหรือไม่ จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ผลักดันให้จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างจำเลยซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาโจทก์ให้ตรงกำหนดและจ่ายค่าบริการที่จำเลยเก็บจากลูกค้าให้ลูกจ้าง เพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกจ้างลาออกบ่อยครั้ง ต้องรับลูกจ้างใหม่ซึ่งไม่มีประสบการณ์ในการทำงานเข้ามาประจำ ทำให้มาตรฐานการบริการลูกค้าไม่ดีเท่าที่ควรโจทก์กระทำเพื่อให้มาตรฐานการบริการลูกค้าดีขึ้นซึ่งเป็นประโยชน์แก่จำเลยเอง เมื่อโจทก์ไม่ได้กระทำผิดจึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างต้องมีเหตุผลแห่งการเลิกจ้างตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยหรือไม่ จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม