คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เรืองฤทธิ์ ศรีวรรธนะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5872/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนซื้อขายที่ดินและขอบเขตความรับผิดของตัวแทน ผู้รับสภาพหนี้ และผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในการซื้อและขายที่ดินรวม 5 โฉนด หลังจากทำการซื้อขายที่ดินดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1 ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยยื่นคำร้องของดเบี้ยปรับและผ่อนชำระภาษี โดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญารับสภาพหนี้และจำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ ต่อมาโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คที่จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายมอบให้แก่โจทก์ในงวดที่ 8 ถึง 12 ไม่ได้โจทก์จึงแจ้งจำเลยทั้งสามให้นำเงินมาชำระ แต่จำเลยทั้งสามเพิกเฉยตลอดระยะเวลาที่จำเลยทั้งสามติดต่อโจทก์ ไม่ว่าในขณะที่จำเลยที่ 1ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือในชั้นที่เจ้าพนักงานของโจทก์ตรวจสอบภาษีของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2และที่ 3 ดังนั้นแม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ซื้อที่ดินแทนจำเลยที่ 3แล้วขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 อันเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 2และที่ 3 ก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระหนี้ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะเงินเพิ่มเบี้ยปรับและภาษีส่วนท้องถิ่นแก่โจทก์
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะจำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ระบุยอมรับชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 เต็มจำนวน ส่วนจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการผ่อนชำระภาษีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ยังชำระหนี้ให้แก่โจทก์ไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงรับผิดต่อโจทก์ด้วยโดยจำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ แต่ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 ทำกับโจทก์มิได้ระบุให้จำเลยที่ 3รับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยที่ 3รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5872/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวแทน ผู้ซื้อ และผู้ค้ำประกัน ในการชำระภาษีธุรกิจเฉพาะ
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในการซื้อและขายที่ดินรวม 5 โฉนด หลังจากทำการซื้อขายที่ดินดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยยื่นคำร้องของดเบี้ยปรับและผ่อนชำระภาษี โดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญารับสภาพหนี้ และจำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ ต่อมาโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คที่จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายมอบให้แก่โจทก์ในงวดที่ 8 ถึง 12 ไม่ได้ โจทก์จึงแจ้งจำเลยทั้งสามให้นำเงินมาชำระ แต่จำเลยทั้งสามเพิกเฉย ตลอดระยะเวลาที่จำเลยทั้งสามติดต่อโจทก์ ไม่ว่าในขณะที่จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือในชั้นที่เจ้าพนักงานของโจทก์ตรวจสอบภาษีของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังนั้นแม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ซื้อที่ดินแทนจำเลยที่ 3 แล้วขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 อันเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระหนี้ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ เงินเพิ่มเบี้ยปรับและภาษีส่วนท้องถิ่นแก่โจทก์
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ จำเลยที่ 2ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ระบุยอมรับชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 เต็มจำนวนส่วนจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการผ่อนชำระภาษีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เมื่อจำเลยที่ 1 ยังชำระหนี้ให้แก่โจทก์ไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงรับผิดต่อโจทก์ด้วย โดยจำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ แต่ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 ทำกับโจทก์มิได้ระบุให้จำเลยที่ 3 รับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1จึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยที่ 3 รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5872/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนซื้อขายที่ดิน-ภาษีธุรกิจเฉพาะ: แม้เป็นตัวแทนแต่ไม่แจ้งต่อเจ้าพนักงาน ทำให้ต้องรับผิดชอบภาษี
แม้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในการซื้อและขายที่ดิน แต่ในการเสียภาษี จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะต่อเจ้าพนักงานของโจทก์โดยยื่นคำร้องของดเบี้ยปรับและผ่อนชำระภาษี โดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญารับสภาพหนี้ และจำเลยที่ 3เป็นผู้ค้ำประกันการชำระนี้ แสดงว่าตลอดระยะเวลาที่จำเลยทั้งสามติดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 มิได้แจ้งให้โจทก์ทราบเลยว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โจทก์ไม่อยู่ในฐานะที่ได้รู้ข้อเท็จจริงดังกล่าวมาก่อนจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระหนี้ค่าภาษีตามฟ้องแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5605/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การท้าพิสูจน์หลักฐานและการยกฟ้องตามข้อตกลง การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นเป็นเหตุต้องห้าม
โจทก์ทั้งสองและจำเลยตกลงท้ากันให้ศาลชั้นต้นส่งหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับพิพาทไปให้กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจตรวจพิสูจน์ว่าลายมือที่ปรากฏในช่องผู้ขายเป็นลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 และลายพิมพ์นิ้วมือที่ปรากฏในช่องผู้ขายเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ที่ 2 หรือไม่ หากผู้เชี่ยวชาญระบุว่าเป็นลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 และเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ที่ 2 โจทก์ทั้งสองยอมแพ้คดี แต่ถ้าหากไม่ใช่จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ ลงความเห็นว่าลายมือชื่อและลายพิมพ์นิ้วมือในหนังสือสัญญาขายที่ดินเป็นของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 จริง ครบเงื่อนไขตามคำท้า ศาลชั้นต้นจึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ การที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์โดยอ้างว่าคำท้าดังกล่าวขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเพราะลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ขายในหนังสือสัญญาขายที่ดินไม่ชัดเจน ไม่สามารถตรวจสอบได้ เป็นลายพิมพ์นิ้วมือที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกอุทธรณ์โดยอ้างว่าข้ออ้างตามอุทธรณ์เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันไร้สาระ จึงไม่รับวินิจฉัย แต่ในส่วนคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับวินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้งว่าการท้ากันไม่ขัดต่อกฎหมายจึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เช่นเดียวกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5605/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงท้าพิสูจน์ลายมือชื่อ-พิมพ์นิ้วมือในสัญญาซื้อขายที่ดิน และการอุทธรณ์เรื่องข้อเท็จจริงที่ไม่เคยว่ากันในศาล
โจทก์ทั้งสองและจำเลยตกลงท้ากันให้ศาลชั้นต้นส่งหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับพิพาทไปให้กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ ตรวจพิสูจน์ว่าลายมือที่ปรากฏในช่องผู้ขายเป็นลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 และลายพิมพ์นิ้วมือที่ปรากฏในช่องผู้ขายเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ที่ 2 หรือไม่ หากผู้เชี่ยวชาญระบุว่าเป็นลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 และเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ที่ 2 โจทก์ทั้งสองยอมแพ้คดี แต่ถ้าหากไม่ใช่จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ ลงความเห็นว่าลายมือชื่อและลายพิมพ์นิ้วมือในหนังสือสัญญาขายที่ดินเป็นของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2จริง ครบเงื่อนไขตามคำท้า ศาลชั้นต้นจึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ การที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์โดยอ้างว่าคำท้าดังกล่าวขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเพราะลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ขายในหนังสือสัญญาขายที่ดินไม่ชัดเจน ไม่สามารถตรวจสอบได้ เป็นลายพิมพ์นิ้วมือที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกอุทธรณ์โดยอ้างว่าข้ออ้างตามอุทธรณ์เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันไร้สาระ จึงไม่รับวินิจฉัย แต่ในส่วนคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับวินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้งว่าการท้ากันไม่ขัดต่อกฎหมายจึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เช่นเดียวกัน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5555/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีซื้อ 'บริภัณฑ์' สถานีบริการน้ำมัน: การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำให้ภาษีซื้อ 'บริภัณฑ์' ถูกห้ามหัก
โจทก์นำ "บริภัณฑ์" ไปติดตั้งในที่ดินและอาคารที่เช่าเพื่อใช้เป็นสถานประกอบการสถานีบริการน้ำมันแสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์มีเจตนาให้ "บริภัณฑ์" เป็นของใช้ประจำอยู่กับสถานประกอบการนั้น เพื่อประโยชน์แก่การใช้สอยในสถานประกอบการเพี่อประกอบกิจการสถานนีบริการน้ำมัน ข้อความในสัญญาเช่าดำเนินกิจการสถานีบริการและยืมบริภัณฑ์ ข้อ 1 ที่ว่า " บริษัทตกลงให้ผู้ดำเนินการเช่าดำเนินการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงของโจทก์ ? พร้อมทั้งให้ยืมบริภัณฑ์ ? อนึ่งเป็นที่เข้าใจกันดีทั้งสองฝ่ายว่า บริภัณฑ์ ดังกล่าวข้างต้นเป็นการให้ยืมแก่ผู้ดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมซึ่งซื้อโดยตรงและโดยเฉพาะจากบริษัทเท่านั้น ?" กับข้อ 2 ที่ว่า "บริภัณฑ์ตามที่ระบุไว้ในข้อ 1 จะเป็นการให้ยืมโดยไม่คิดมูลค่า ส่วนค่าตอบแทนในการใช้สถานีบริการให้คิดในอัตราดังกล่าวต่อไปนี้ ?" แสดงให้เห็นว่าโจทก์ให้เช่าสถานีบริการน้ำมันตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ส่วนบริภัณฑ์นั้นโจทก์ให้ผู้เช่ายืมใช้เพื่อประโยชน์ในการจำหน่ายน้ำมันของผู้เช่า โดยมีเงื่อนไขว่าผู้เช่าต้องซื้อผลิตภัณฑ์จากโจทก์โดยตรงเท่านั้น "บริภัณฑ์" ที่โจทก์ให้ผู้เช่ายืมจึงเป็นส่วนสำคัญของการให้เช่าสถานีบริการน้ำมัน เมื่อการให้เช่าดำเนินการสถานีบริการน้ำมันเป็นการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 81 (1) (ต) ภาษีซื้อ "บริภัณฑ์" จึงเป็นการซื้อที่เกี่ยวข้องกับกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและมีผลทำให้เป็นภาษีซื้อที่ห้ามมิให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/5 ประกอบประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่องการกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่องการกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5 (6) แห่ง ป. รัษฎากร ข้อ 2 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5555/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีซื้อบริภัณฑ์ในสัญญาเช่าสถานีบริการน้ำมัน: การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและข้อจำกัดในการหักลดหย่อน
ตามสัญญาเช่าดำเนินกิจการสถานีบริการและยืมบริภัณฑ์ โจทก์ให้เช่าสถานีบริการน้ำมันตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ ส่วนบริภัณฑ์นั้นโจทก์ให้ผู้เช่ายืมใช้เพื่อประโยชน์ในการจำหน่ายน้ำมันของผู้เช่า โดยมีเงื่อนไขว่าผู้เช่าต้องซื้อผลิตภัณฑ์จากโจทก์โดยตรงเท่านั้น บริภัณฑ์ที่โจทก์ให้ผู้เช่ายืมจึงเป็นส่วนสำคัญของการให้เช่าสถานีบริการน้ำมัน เมื่อการให้เช่าดำเนินการสถานีบริการน้ำมันเป็นการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อ "บริภัณฑ์" จึงเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องกับกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งต้องห้ามมิให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4872/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การติดตามทรัพย์สินคืนจากข้าราชการที่เบิกจ่ายเงินโดยมิชอบ ไม่ถือเป็นการละเมิด และไม่ขาดอายุความ
จำเลยซึ่งเป็นข้าราชการของโจทก์ทำเอกสารเท็จเบิกเงินจากโจทก์ไปโดยมิชอบต้องคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ การที่โจทก์ขอบังคับให้จำเลยคืนเงินเป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินติดตามเอาทรัพย์ของตนคืน มิใช่เป็น การละเมิดที่จำเลยจะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 ขึ้นมาบอกปัดการชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4580/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับคดียาเสพติด: การตรวจสอบทรัพย์สินโดยเลขาธิการในกรณีเร่งด่วนชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 18, 19, 21, 22, 23
แม้การดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายจะต้องดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการที่กรรมการแต่งตั้งก็ตาม แต่การตรวจสอบทรัพย์สินของผู้คัดค้านในคดีนี้ เลขาธิการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดได้ออกคำสั่งให้ตรวจสอบทรัพย์สินและมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ด้วยเหตุมีความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบทรัพย์สิน ยึดและอายัดทรัพย์สินของผู้คัดค้านและทำบันทึกการพิจารณาเกี่ยวกับทรัพย์สิน ตลอดจนมีความเห็นขอให้คณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินพิจารณาวินิจฉัย เพื่อมีคำสั่งให้ยึดและอายัดทรัพย์สิน กับคณะอนุกรรมการประจำคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้มีมติเห็นชอบตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอ ต่อมาคณะกรรมการ ตรวจสอบทรัพย์สินได้มีคำวินิจฉัยว่าทรัพย์สินของผู้คัดค้านเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับ ยาเสพติดกับมีคำสั่งให้ยึดและอายัดทรัพย์สิน ทั้งได้ส่งคำวินิจฉัยและขอให้พนักงานอัยการได้พิจารณายื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งริบทรัพย์สินแล้ว ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามคำสั่งและตามที่ได้รับมอบหมาย จากเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายโดยชอบแม้การตรวจสอบทรัพย์สินของผู้คัดค้านจะไม่ปรากฏรายชื่อของคณะอนุกรรมการหรือความเห็นของคณะอนุกรรมการหรือผู้ร้องมิได้นำคณะอนุกรรมการมาเบิกความยืนยันว่าการตรวจสอบทรัพย์สินดังกล่าวได้ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินแต่งตั้งก็ตาม ก็หาทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่อันชอบด้วยกฎหมายต้องเสียไปไม่ ผู้ร้องมีอำนาจขอให้ศาลมีคำสั่งริบทรัพย์สินตามคำร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4498/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นภาษี: การรับรู้รายได้-รายจ่ายตามเกณฑ์สิทธิ, ส่วนลดลูกค้า, และรายจ่ายต้องห้ามทางภาษี
โจทก์คิดค่าเช่าช่วงตามยอดการผลิต ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนกล่องที่ผลิตได้จากเครื่องจักรที่ผ่านการบรรจุและจำหน่ายได้แล้วกับผู้เช่าช่วงทุกรายของโจทก์ เมื่อผู้เช่าช่วงเครื่องจักรจากโจทก์ทำการผลิตกล่องที่บรรจุนมและน้ำผลไม้และจำหน่ายได้แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้ผู้เช่าช่วงรับผิดในจำนวนเงินค่าเช่าช่วงดังกล่าวได้ในวันที่ผู้เช่าช่วงผลิตกล่องที่บรรจุนมและน้ำผลไม้และจำหน่ายได้แล้ว ถือเป็นรายได้จากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีตามหลักเกณฑ์สิทธิโจทก์ต้องนำรายได้ตามหนี้ดังกล่าวมารวมคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในวันดังกล่าวตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 วรรคสอง การที่ผู้เช่าช่วงส่งรายงานเป็นหนังสือระบุจำนวนกล่องที่ผลิตได้จากเครื่องจักรในระหว่างเดือนปฏิทินที่ผ่านมาให้แก่โจทก์ไม่ช้ากว่าวันที่ 20 ของทุกเดือนปฏิทิน เป็นเพียงวิธีการชำระเงินค่าเช่าช่วงตามสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับผู้เช่าช่วงเท่านั้น และเป็นเรื่องกิจการภายในธุรกิจของโจทก์เอง โจทก์จะนำข้อตกลงระหว่างโจทก์กับผู้เช่าช่วงมาเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรหาได้ไม่ และเมื่อโจทก์บันทึกรายได้ค่าเช่ารับตามขนาดและยอดการผลิตเหลื่อมเดือนกัน จึงมีผลทำให้โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงยอดรายรับของแต่ละเดือนเหลื่อมเดือนกันด้วย
การประกอบกิจการของโจทก์ โจทก์จะดำเนินการต่อเมื่อลูกค้าในประเทศได้ทำสัญญาเช่าเครื่องจักรกับโจทก์ก่อน โจทก์จึงได้ติดต่อไปยังเจ้าของเครื่องจักรในประเทศสิงคโปร์เพื่อเช่าเครื่องจักรตามแบบและขนาดที่ลูกค้าในประเทศต้องการ ซึ่งโจทก์ต้องจ่ายค่าเช่าพื้นฐานให้แก่เจ้าของเครื่องจักรในประเทศสิงคโปร์รวมทั้งค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้าและรายจ่ายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นตอนนำเข้าเพราะโจทก์เป็นผู้นำเข้าและผ่านพิธีศุลกากรเอง รายจ่ายต่าง ๆ ดังกล่าว จึงเป็นรายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิการเช่าเครื่องจักร ซึ่งเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง การได้มาซึ่งสิทธิการเช่าจึงเป็นการได้สิทธิในทรัพย์สิน และเนื่องจากสิทธิการเช่านี้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่กิจการของบริษัทโจทก์เกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี จึงถือว่าเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน
สัญญาเช่าไม่ได้ระบุว่ามีกำหนดระยะเวลาเช่าเท่าใด คงระบุแต่เพียงว่า ไม่ว่าเวลาใด ๆ หลังจากครบกำหนด 2 ปี นับจากวันที่การเช่ามีผลบังคับผู้เช่าอาจบอกกล่าวเลิกสัญญาเช่านี้เป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์ทราบล่วงหน้า 12 เดือนมีความหมายว่าหากผู้เช่ายังไม่บอกกล่าวเลิกสัญญาแล้วผู้เช่าก็เช่าได้ต่อไปโดยไม่มีกำหนด ลักษณะเช่นนี้ถือว่าเป็นสัญญาเช่าไม่มีกำหนดระยะเวลา เมื่อค่าเช่าพื้นฐานดังกล่าวเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนเป็นการเช่าที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรดังกล่าวจึงต้องบังคับตามมาตรา4 (3) แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 ซึ่งกำหนดถึงทรัพย์สินประเภทที่เป็นต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิการเช่าว่า กรณีมีหนังสือสัญญาเช่าที่มีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้โดยเงื่อนไขการต่ออายุนั้น เปิดโอกาสให้ต่ออายุการเช่ากันได้ต่อ ๆ ไปจะหักได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าต้นทุน การที่เจ้าพนักงานประเมินนำรายจ่ายค่าเช่าพื้นฐานของโจทก์มาเฉลี่ยหักเป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรที่เช่ามาเป็นเวลา 10 ปี จึงชอบด้วยกฎหมาย
แม้ประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์โจทก์จะกล่าวอ้างมาในคำฟ้อง และจำเลยให้การต่อสู้ แต่เมื่อศาลภาษีอากรกลางมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานและโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านการกำหนดประเด็นดังกล่าวไว้ อุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับนั้น โจทก์มิได้ยกปัญหาดังกล่าวเป็นข้ออ้างเพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทไว้ในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากร ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ประชุมฝ่ายการตลาดของโจทก์ได้อนุมัติแผนการให้ส่วนลดเพื่อจูงใจลูกค้าของบริษัท ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1). สำหรับลูกค้าที่บรรจุและขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทได้มากกว่า 50 ล้านกล่อง จะให้ส่วนลดร้อยละ 2 (ของราคาวัตถุดิบ)(2). สำหรับลูกค้าที่บรรจุและขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทได้มากกว่า 75 ล้านกล่องจะให้ส่วนลดร้อยละ 3 (ของราคาวัตถุดิบ) หลักเกณฑ์การให้ส่วนลดดังกล่าวกำหนดไว้แน่นอน และใช้สำหรับลูกค้าทุกรายของโจทก์ ทั้งแผนการให้ส่วนลดเพื่อจูงใจลูกค้าของโจทก์นั้น ถ้าลูกค้าสามารถบรรจุและขายผลิตภัณฑ์ได้มากแล้ว โจทก์จะมีรายได้เพิ่มขึ้น รายจ่ายดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายเพื่อประกอบธุรกิจตามวัตถุประสงค์ของโจทก์อันเกี่ยวข้องกับธุรกิจของโจทก์โดยตรง จำเลยไม่มีหลักฐานมาสนับสนุนให้เห็นว่าลูกค้าของโจทก์ทั้ง 3 ราย ที่ได้รับส่วนลดนั้นมีความผูกพันเฉพาะกับโจทก์อย่างไรอันแสดงให้เห็นว่าโจทก์ได้เลือกปฏิบัติ ลำพังเพียงแต่โจทก์ไม่ได้แจ้งให้ลูกค้าของโจทก์ทราบทุกรายถึงแผนการให้ส่วนลดนั้น ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว การให้โดยเสน่หาหรือการกุศล เมื่อโจทก์ได้จ่ายเพื่อผลในการดำเนินธุรกิจของโจทก์หรือเพื่อกิจการของโจทก์ โจทก์ย่อมนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณสุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13)
of 36