พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8080/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมสาธารณูปโภคในโครงการจัดสรรที่ดิน แม้จัดสรรไม่ครบตามเกณฑ์ แต่หากมีเจตนาจัดทำสาธารณูปโภคตั้งแต่แรก ก็ยังคงมีภาระจำยอม
ว. สามีผู้ร้อง ได้รับอนุญาตให้จัดสรรที่ดิน ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 โครงการหมู่บ้านวิชิตนคร และโครงการหมู่บ้านวิชิตนคร 2 ขายให้แก่ประชาชน ว. จดทะเบียนให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 78859 และ 586 ทั้งแปลงตกอยู่ในภาระจำยอมเรื่องทางเดิน ทางรถยนต์ผ่าน การจัดทำท่อระบายน้ำ ตั้งเสาไฟฟ้า ตลอดจนจัดทำสาธารณูปโภคต่าง ๆ ได้ทั้งแปลง ซึ่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "สาธารณูปโภค ซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาต เช่นถนน สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น ให้ถือว่าตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร และให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์คนต่อไปที่จะบำรุงรักษากิจการดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นตลอดไป และจะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้" การที่ผู้ร้องและ ว. ได้กันที่ดินดังกล่าวไว้สำหรับจัดทำเป็นสนามเด็กเล่นและสวนสาธารณะของโครงการหมู่บ้านวิชิตนคร 2 จึงตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จัดสรรโดยผลแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว หาใช่เป็นที่ดินที่ภาระจำยอมไม่ใช้และใช้ไม่ได้ดังที่ผู้ร้องอ้างไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8008-8009/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว ส่งผลให้สิทธิในการฟ้องระงับ
ศาลล่างพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 จำเลยที่ 3 ฎีกาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์ เนื่องจากเป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว และยังไม่ถึงที่สุด ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ศาลฎีกาจึงให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7953/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในอายุผู้เสียหาย และความผิดฐานพรากเด็ก-กระทำชำเรา เป็นกรรมต่างกัน
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก และมาตรา 317 ผู้กระทำผิดจะต้องกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี เรื่องอายุของผู้เสียหายเป็นองค์ประกอบของความผิดด้วย จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้กระทำผิดได้รู้หรือไม่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 วรรคแรก ซึ่งข้อเท็จจริงใดถ้ามีอยู่จริงจะทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด แม้ข้อเท็จจริงนั้นจะไม่มีอยู่จริง แต่ผู้กระทำสำคัญผิดว่ามีอยู่จริง ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิดดังนี้ถ้าจำเลยสำคัญผิดในเรื่องอายุของผู้เสียหาย แม้ความจริงไม่ใช่อย่างที่จำเลยสำคัญผิด จำเลยย่อมไม่มีความผิด
ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ชอบ แต่เพื่อไม่ให้คดีล่าช้าศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาก่อน
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 เมื่อจำเลยมีเจตนาและได้พรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กไปเพื่อการอนาจาร ถือได้ว่า ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาไปเพื่อการอนาจารสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากผู้เสียหายไปโดยมีเจตนาดังกล่าวแล้ว แม้จำเลยจะยังไม่ได้กระทำการกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตาม ส่วนการที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายหลังจากนั้นก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 อีกกรรมหนึ่ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันเป็น 2 กระทง
ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ชอบ แต่เพื่อไม่ให้คดีล่าช้าศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาก่อน
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 เมื่อจำเลยมีเจตนาและได้พรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กไปเพื่อการอนาจาร ถือได้ว่า ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาไปเพื่อการอนาจารสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากผู้เสียหายไปโดยมีเจตนาดังกล่าวแล้ว แม้จำเลยจะยังไม่ได้กระทำการกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตาม ส่วนการที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายหลังจากนั้นก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 อีกกรรมหนึ่ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันเป็น 2 กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7953/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในอายุผู้เสียหาย: ความผิดพรากเด็กเพื่ออนาจารและกระทำชำเรา
ตาม ป.อ.มาตรา 277 วรรคแรก และมาตรา 317 ผู้กระทำผิดจะต้องกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี เรื่องอายุของผู้เสียหายเป็นองค์ประกอบของความผิดด้วย จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้กระทำผิดได้รู้หรือไม่ ตาม ป.อ.มาตรา 62วรรคแรก ซึ่งข้อเท็จจริงใดถ้ามีอยู่จริงจะทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด แม้ข้อเท็จจริงนั้นจะไม่มีอยู่จริง แต่ผู้กระทำสำคัญผิดว่ามีอยู่จริง ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิดดังนี้ถ้าจำเลยสำคัญผิดในเรื่องอายุของผู้เสียหาย แม้ความจริงไม่ใช่อย่างที่จำเลยสำคัญผิด จำเลยย่อมไม่มีความผิด
ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ชอบ แต่เพื่อไม่ให้คดีล่าช้า ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาก่อน
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารตาม ป.อ.มาตรา 317 เมื่อจำเลยมีเจตนาและได้พรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กไปเพื่อการอนาจาร ถือได้ว่า ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาไปเพื่อการอนาจารสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากผู้เสียหายไปโดยมีเจตนาดังกล่าวแล้ว แม้จำเลยจะยังไม่ได้กระทำการกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตามส่วนการที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายหลังจากนั้นก็เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา277 อีกกรรมหนึ่ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันเป็น 2กระทง
ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ชอบ แต่เพื่อไม่ให้คดีล่าช้า ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาก่อน
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารตาม ป.อ.มาตรา 317 เมื่อจำเลยมีเจตนาและได้พรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กไปเพื่อการอนาจาร ถือได้ว่า ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาไปเพื่อการอนาจารสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากผู้เสียหายไปโดยมีเจตนาดังกล่าวแล้ว แม้จำเลยจะยังไม่ได้กระทำการกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตามส่วนการที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายหลังจากนั้นก็เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา277 อีกกรรมหนึ่ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันเป็น 2กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7939/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยเจ้าพนักงาน และอำนาจของศาลในการปรับปรุงยอดรายรับเมื่อโจทก์พิสูจน์ไม่ได้
คดีนี้เจ้าพนักงานได้ทำการประเมินว่าในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 จำเลยมียอดรายรับจากมูลค่าสินค้าส่งออกกับเงินชดเชยในรูปบัตรภาษีและมูลค่าการส่งออกรวมเป็นรายรับทั้งสิ้น 234,333,578 บาท แต่จำเลยไม่นำบัญชีและเอกสารไปให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบไต่สวน เจ้าพนักงานประเมินจึงใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 71(1) ประเมินให้จำเลยเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5ของยอดรายรับดังกล่าว พร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ตามมาตรา 27จำเลยไม่ได้โต้แย้งการประเมินและไม่ได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตามมาตรา 30 ซึ่งมีผลทำให้จำเลยไม่อาจนำคดีมาฟ้องศาลเพื่อโต้แย้งการประเมินของเจ้าพนักงานของโจทก์และทำให้หนี้ภาษีอากรที่ถูกประเมินดังกล่าวเป็นภาษีอากรค้างอันจะถูกโจทก์บังคับชำระได้ตามมาตรา 12 เท่านั้นแต่เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อบังคับจำเลยให้ชำระหนี้ดังกล่าวโจทก์จึงมีภาระพิสูจน์ด้วยการนำพยานหลักฐานเข้าสืบ เพื่อให้รับฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้าง เมื่อข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีรายรับเป็นเงินจำนวน 234,333,578 บาทตามการประเมิน แต่รับฟังได้เพียงว่าจำเลยมีรายรับเพียง 222,404,146.96 บาทศาลภาษีอากรกลางจึงมีอำนาจปรับปรุงยอดรายรับและแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7819/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอรับเงินชดเชยภาษีอากรต้องพิสูจน์ได้ว่าสินค้าส่งออกผลิตในประเทศ
ตามพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. 2524 มาตรา 4 ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยหมายถึง ผู้ทำการส่งสินค้าออกซึ่งสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร แต่พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าสินค้าพิพาทที่โจทก์ส่งออกนอกราชอาณาจักรตามที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาออกเป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7819/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินชดเชยภาษีอากรส่งออก ต้องพิสูจน์สินค้าผลิตในประเทศ
ตาม พ.ร.บ.ชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรพ.ศ. 2524 มาตรา 4 ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยหมายถึง ผู้ทำการส่งสินค้าออกซึ่งสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร แต่พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าสินค้าพิพาทที่โจทก์ส่งออกนอกราชอาณาจักรตามที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาออกเป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7512/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาเกี่ยวกับทรัพย์มรดก การตกลงกันระหว่างคู่ความทำให้ไม่ต้องขายทอดตลาด
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่โจทก์ โดยกำหนดวิธีตามลำดับคือให้ตกลงกัน ถ้าไม่อาจตกลงกันได้ให้เอาทรัพย์มรดกที่ต้องแบ่งปันนั้นออกขายโดยวิธีประมูลระหว่างกัน ถ้าไม่ได้ให้นำออกขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งตามส่วน เมื่อโจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาและบันทึกต่าง ๆ เกี่ยวกับทรัพย์มรดก 18 รายการ ยกเว้นรายการที่ 18 และทรัพย์มรดกดังกล่าวที่พิพาทในชั้นบังคับคดียุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว จึงถือได้ว่าได้มีการตกลงกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกอันดับที่ 1 ถึง 17 อันเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้ว จึงไม่จำต้องนำมาประมูลระหว่างกันหรือขายทอดตลาดแต่อย่างใด ส่วนทรัพย์มรดกรายการที่ 18 ไม่ใช่ทรัพย์มรดกที่พิพาทกันตามฟ้อง จึงไม่อาจบังคับตามคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7312/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษีซื้อจากใบกำกับภาษีปลอมและการหลีกเลี่ยงภาษี ความรับผิดตามมาตรา 89 แห่งประมวลรัษฎากร
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้ใบกำกับภาษีไม่สามารถพิสูจน์ความมีตัวตนของสินค้าและหลักฐานการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ผู้ขายทั้งห้า จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าผู้ขายทั้งห้าได้ขายสินค้าให้แก่โจทก์จริง เมื่อไม่มีการขายสินค้า ผู้ขายทั้งห้าจึงไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากรฯ ดังนั้น โจทก์จึงต้องห้ามมิให้นำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีซึ่งออกโดยผู้ขายทั้งห้ามาหักในการคำนวณภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5(5) แห่งประมวลรัษฎากรฯ
การที่โจทก์นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีปลอมมาเป็นภาษีซื้อคำนวณหักออกจากภาษีขายในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเข้าลักษณะความผิดตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 89(7) นั้น ย่อมเป็นการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและแสดงภาษีซื้อเกินไปอันเข้าลักษณะความผิดตามประมวลรัษฎากรฯมาตรา 89(3) และ (4) อยู่ด้วยในตัว แต่เมื่อมาตรา 89(7) กำหนดให้เสียเบี้ยปรับ2 เท่า ย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายที่จะลงโทษปรับให้สูงขึ้นโดยให้รับผิดตามมาตรา 89(7)เพียงอนุมาตราเดียว หาได้มุ่งหมายให้ปรับทุกอนุมาตรารวมกันไม่ โจทก์หาจำต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89(3) และ (4) อีกด้วยไม่
โจทก์ไม่ได้ซื้อสินค้าพิพาท แต่นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยมิชอบมาเป็นภาษีซื้อคำนวณหักออกจากภาษีขายในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มแสดงว่าโจทก์มีเจตนาไม่สุจริตหลีกเลี่ยงภาษี จึงไม่มีเหตุที่จะงดเบี้ยปรับ
การที่โจทก์นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีปลอมมาเป็นภาษีซื้อคำนวณหักออกจากภาษีขายในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเข้าลักษณะความผิดตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 89(7) นั้น ย่อมเป็นการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและแสดงภาษีซื้อเกินไปอันเข้าลักษณะความผิดตามประมวลรัษฎากรฯมาตรา 89(3) และ (4) อยู่ด้วยในตัว แต่เมื่อมาตรา 89(7) กำหนดให้เสียเบี้ยปรับ2 เท่า ย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายที่จะลงโทษปรับให้สูงขึ้นโดยให้รับผิดตามมาตรา 89(7)เพียงอนุมาตราเดียว หาได้มุ่งหมายให้ปรับทุกอนุมาตรารวมกันไม่ โจทก์หาจำต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89(3) และ (4) อีกด้วยไม่
โจทก์ไม่ได้ซื้อสินค้าพิพาท แต่นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยมิชอบมาเป็นภาษีซื้อคำนวณหักออกจากภาษีขายในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มแสดงว่าโจทก์มีเจตนาไม่สุจริตหลีกเลี่ยงภาษี จึงไม่มีเหตุที่จะงดเบี้ยปรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7262/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี ไม่ใช่กำหนดให้ต้องบังคับคดีให้เสร็จสิ้น หากมีเหตุให้ต้องอุทธรณ์ฎีกาต่อเนื่อง โจทก์ยังบังคับคดีต่อได้
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 จะบัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือสั่งก็ตาม แต่หาได้กำหนดให้บังคับคดีให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 10 ปี ไม่ ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อโจทก์ดำเนินการบังคับคดีก็ถูกจำเลยยื่นคำร้องขออุทธรณ์และฎีกาในชั้นบังคับคดีตลอดมาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีให้แล้วเสร็จได้เมื่อโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีมาโดยตลอด และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอายัดที่ดินตามคำร้องของโจทก์เพื่อให้โจทก์ได้รับผลตามคำพิพากษาไว้แล้ว ดังนั้น แม้เกิน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาโจทก์ก็ยังสามารถดำเนินการบังคับคดีเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวต่อไปได้จนกว่าจะแล้วเสร็จ