พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5051/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวจำเลยผิดเงื่อนไข ศาลมีอำนาจบังคับตามสัญญา และคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ถือเป็นที่สุด
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ประกัน ประกันตัวจำเลยไปในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยทำสัญญาประกันไว้ต่อศาล ต่อมาผู้ประกัน ผิดสัญญาประกันโดยไม่ส่งตัวจำเลยตามนัด ศาลชั้นต้นสั่งปรับ ผู้ประกันเต็มตามสัญญาแล้ว ต่อมาผู้ประกันยื่นคำร้องขอให้ ลดค่าปรับ ศาลชั้นต้นลดค่าปรับให้บางส่วน ผู้ประกันยื่นคำร้องขอลดค่าปรับอีก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลง คำสั่งเป็นอย่างอื่น ให้ยกคำร้องศาลอุทธรณ์พิพากษายืน กรณีของ ผู้ประกันดังกล่าวจึงเป็นอันถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 ไม่อาจที่ จะฎีกาต่อมาอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5011/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนโรงงานแปรรูปไม้: ความรับผิดชอบในการจัดทำบัญชีและการดูแลกิจการตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
ความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดที่ไม่จัดทำบัญชีรับและจำหน่ายไม้แปรรูป บัญชีรับและจำหน่ายสิ่งประดิษฐ์เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามให้ถูกต้องตามความจริงอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 58 ประกอบด้วยมาตรา 73 ทวิ เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษสำหรับผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้หรือผู้รับใบอนุญาตให้ค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้าม จำเลยเป็นเพียงตัวแทนดูแลกิจการโรงงานแปรรูปไม้ที่เกิดขึ้นของผู้รับอนุญาต จำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้หรือผู้รับใบอนุญาตให้ค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามประการหนึ่ง กับเมื่อผู้รับอนุญาตซึ่งเป็นตัวการได้มอบอำนาจให้จำเลยตัวแทนมีอำนาจเฉพาะสั่งให้คนงานหรือผู้รับจ้างหยุดทำการแปรรูปไม้ หยุดขนหรือเคลื่อนย้ายไม้เมื่อได้รับคำสั่งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ อำนวยความสะดวก ตอบข้อซักถาม และรับทราบคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจสอบกิจการที่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ลงนามในหนังสือกำกับไม้แปรรูปและลงนามในคำขอใบเบิกทางเพื่อขอนำไม้เคลื่อนที่ และลงนามในหนังสือกำกับสิ่งประดิษฐ์และลงนามในคำขอประทับรอยตราประจำต่อหนังสือกำกับสิ่งประดิษฐ์ติดต่อเจ้าหน้าที่ป่าไม้กับโรงงานแปรรูปไม้ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือตั้งตัวแทนเท่านั้นอันมีลักษณะเป็นกรณีที่จำเลยตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีรับและจำหน่ายไม้แปรรูป บัญชีรับและจำหน่ายสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดดังนี้ แม้จำเลยไม่ได้จัดทำบัญชีดังกล่าว จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดอันเป็นความผิดตามมาตรา 58 ประกอบด้วยมาตรา 73 ทวิ และตามข้อกำหนดฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2532) ออกตามความในพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ว่าด้วยการควบคุมการแปรรูปไม้ ข้อ 14 ระบุว่า ผู้รับอนุญาตต้องอยู่ดูแลกิจการแปรรูปไม้ด้วยตนเอง หากไม่อาจอยู่ดูแลกิจการด้วยตนเองได้ต้องจัดให้มีตัวแทนเป็นลายลักษณ์อักษรตามแบบที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนด เพื่ออำนวยความสะดวกและตอบคำถามแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ และวรรคสามระบุว่า หากฝ่าฝืนให้สั่งพักใช้ใบอนุญาต ตามข้อกำหนดดังกล่าวมีความหมายเพียงว่า ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตไม่อาจอยู่ดูแลกิจการแปรรูปไม้ด้วยตนเองได้ ต้องจัดให้มีตัวแทนเพื่ออำนวยความสะดวกและตอบคำถามแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หากผู้รับอนุญาตฝ่าฝืนไม่จัดให้มีตัวแทนเพื่อการดังกล่าวไว้ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งพักใช้ใบอนุญาตของผู้รับอนุญาตได้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5011/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนโรงงานแปรรูปไม้ไม่มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามกฎหมาย ผู้รับอนุญาตต่างหากที่มีหน้าที่
ความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดที่ไม่จัดทำบัญชีรับและจำหน่ายไม้แปรรูป บัญชีรับและจำหน่ายสิ่งประดิษฐ์เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามให้ถูกต้องตามความจริงอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 58 ประกอบด้วยมาตรา 73 ทวิ เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษสำหรับผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้หรือผู้รับใบอนุญาตให้ค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้าม จำเลยเป็นเพียงตัวแทนดูแลกิจการโรงงานแปรรูปไม้ที่เกิดขึ้นของผู้รับอนุญาต จำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้หรือผู้รับใบอนุญาตให้ค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามประการหนึ่ง กับเมื่อผู้รับอนุญาตซึ่งเป็นตัวการได้มอบอำนาจให้จำเลยตัวแทนมีอำนาจเฉพาะสั่งให้คนงานหรือผู้รับจ้างหยุดทำการแปรรูปไม้หยุดขนหรือเคลื่อนย้ายไม้เมื่อได้รับคำสั่งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ อำนวยความสะดวก ตอบข้อซักถาม และรับทราบคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจสอบกิจการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ ลงนามในหนังสือกำกับไม้แปรรูปและลงนามในคำขอใบเบิกทางเพื่อขอนำไม้เคลื่อนที่ และลงนามในหนังสือกำกับสิ่งประดิษฐ์และลงนามในคำขอประทับรอยตราประจำต่อหนังสือกำกับสิ่งประดิษฐ์ติดต่อเจ้าหน้าที่ป่าไม้กับโรงงานแปรรูปไม้ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือตั้งตัวแทนเท่านั้น อันมีลักษณะเป็นกรณีที่จำเลยตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีรับและจำหน่ายไม้แปรรูป บัญชีรับและจำหน่ายสิ่งประดิษฐ์เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดดังนี้ แม้จำเลยไม่ได้จัดทำบัญชีดังกล่าว จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดอันเป็นความผิดตามมาตรา 58ประกอบด้วยมาตรา 73 ทวิ และตามข้อกำหนดฉบับที่ 18(พ.ศ.2532) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ว่าด้วยการควบคุมการแปรรูปไม้ ข้อ 14 ระบุว่า ผู้รับอนุญาตต้องอยู่ดูแลกิจการแปรรูปไม้ด้วยตนเอง หากไม่อาจอยู่ดูแลกิจการด้วยตนเองได้ต้องจัดให้มีตัวแทนเป็นลายลักษณ์อักษรตามแบบที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนด เพื่ออำนวยความสะดวกและตอบคำถามแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ และวรรคสามระบุว่า หากฝ่าฝืนให้สั่งพักใช้ใบอนุญาต ตามข้อกำหนดดังกล่าวมีความหมายเพียงว่า ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตไม่อาจอยู่ดูแลกิจการแปรรูปไม้ด้วยตนเองได้ ต้องจัดให้มีตัวแทนเพื่ออำนวยความสะดวกและตอบคำถามแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หากผู้รับอนุญาตฝ่าฝืนไม่จัดให้มีตัวแทนเพื่อการดังกล่าวไว้ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งพักใช้ใบอนุญาตของผู้รับอนุญาตได้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5011/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ตัวแทนโรงงานแปรรูปไม้: ผู้รับอนุญาตต้องรับผิดชอบการจัดทำบัญชี ไม่ใช่ตัวแทน
พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 58 ประกอบมาตรา 73 ทวิ และกฎกระทรวงฉบับที่ 27(พ.ศ. 2530) ข้อ 5 วรรคหนึ่ง และข้อกำหนดฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2526)ข้อ 5 ประกอบกันความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดที่ไม่จัดทำบัญชีรับและจำหน่ายไม้แปรรูป บัญชีรับและจำหน่ายสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามให้ถูกต้องตามความเป็นจริงอันเป็นความผิดตามมาตรา 58 ประกอบด้วยมาตรา 73 ทวิ นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษสำหรับผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้หรือผู้รับอนุญาตให้ค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามดังจะเห็นได้จากข้อกำหนดฉบับที่ 18(พ.ศ. 2532) ข้อ 8 และข้อ 11 จำเลยเป็นเพียงตัวแทนดูแลกิจการโรงงานแปรรูปไม้ที่เกิดขึ้นของผู้รับอนุญาต จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้หรือผู้รับอนุญาตให้ค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามแม้จำเลยเป็นตัวแทนของผู้รับอนุญาตแต่หนังสือตั้งตัวแทนก็มิได้ระบุให้จำเลยมีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีตามที่กล่าวมาข้างต้นอันเป็นหน้าที่ของผู้รับอนุญาตแต่อย่างใด จำเลยไม่จัดทำบัญชีดังกล่าวจึงไม่มีความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดอันเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 58 ประกอบมาตรา 73 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4344/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อที่ดินเพื่อปล่อยเช่าเป็นรายจ่ายลงทุน ไม่สามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้
++ เรื่อง ภาษีอากร ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่องด้วยระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งว่า
++ โจทก์ได้ยืมเงินจากบริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย)จำกัด (มหาชน) เพื่อซื้อที่ดินให้เช่า หลังจากบริษัทเอสโซ่เช่าที่ดินจากโจทก์แล้ว โจทก์ได้จ่ายดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินดังกล่าวให้บริษัทเอสโซ่และได้นำดอกเบี้ยนั้นไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 ถึง 2536 จำนวน 8,719,864.61 บาท123,445,339.03 บาท และ 171,976,301 บาท ตามลำดับ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการว่ามีกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.50 ในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวเป็นเงิน 405,000.53 บาท 2,299,305.17 บาท และ3,150,823 บาท ตามลำดับ บริษัทเอสโซ่หักเงินของโจทก์ไว้เป็นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจากค่าเช่าซึ่งต้องชำระให้แก่โจทก์และได้นำส่งชำระให้จำเลยเกินไปกว่าที่โจทก์ต้องชำระตามแบบ ภ.ง.ด.50 ในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวจำนวน 340,299.05 บาท 4,042,032.83 บาทและ 9,269,739.75 บาท ตามลำดับ
++ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีดังกล่าวจากจำเลย เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2535 วันที่ 1 กรกฎาคม2536 และวันที่ 5 สิงหาคม 2537 ตามลำดับ
++ ต่อมาในวันที่ 23 กันยายน2535 จำเลยแจ้งคืนภาษีให้โจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 จำนวน340,299.05 บาท และเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2537 จำเลยแจ้งคืนภาษีให้แก่โจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 จำนวน 4,042,032.83 บาท
++ แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2538 จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ส่งคืนเงินสองจำนวนดังกล่าวอ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับภาษีคืนตามที่ยื่นคำร้องไว้โจทก์จึงคืนเงินสองจำนวนนั้นให้แก่จำเลยเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2538
++ ส่วนภาษีซึ่งโจทก์ขอคืนในรอบระยะเวลาบัญชี 2536จำเลยออกหนังสือลงวันที่ 11 มกราคม 2539 แจ้งไม่คืนให้โจทก์ และเจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนและแจ้งการประเมินว่า โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการว่ามีกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.50 ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 ถึง 2536 จำนวน 405,000.53 บาท 2,299,305.17 บาทและ 3,150,823 บาท ตามลำดับ แต่โจทก์มีรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) จำนวน 8,719,864.61 บาท123,445,339.03 บาท และ 171,976,301 บาท ตามลำดับ กำไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้วเป็นจำนวน 9,124,865.14 บาท 125,744,644.20 บาทและ 175,127,124 บาท ตามลำดับ คิดเป็นค่าภาษีจำนวน 3,193,702.80บาท 37,723,393.26 บาท และ 52,538,137.20 บาท ตามลำดับโจทก์ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้จำนวน 482,049.05 บาท 4,731,824.33บาท และ 10,214,986.65 บาท ตามลำดับ ดังนั้น จึงต้องชำระหนี้อีกจำนวน 2,711,653.75 บาท 32,991,568.93 บาท และ42,323,150.55 บาท ตามลำดับ เบี้ยปรับจำนวน 2,711,653.75 บาท32,991,568.93 บาท และ 42,323,150.55 บาท ตามลำดับ และเงินเพิ่มจำนวน 1,382,943.41 บาท 10,887,217.75 บาท และ12,062,097.91 บาท ตามลำดับ รวมเป็นเงินภาษีพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจำนวน 6,806,250.91 บาท 76,870,355.61 บาท และ96,708,399 บาท ตามลำดับ
++ นอกจากนี้ โจทก์ยังยื่นประมาณการกำไรสุทธิรอบระยะเวลาหกเดือนของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2536 ขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ โดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มจำนวน 26,874.69 บาท และเบี้ยปรับจำนวน 134,373.45 บาทสำหรับเบี้ยปรับลดให้ร้อยละห้าสิบคงเหลือจำนวน 67,186.73 บาท
++ รวมเป็นเงินเพิ่มและเบี้ยปรับจำนวน 94,061 บาท ปรากฏตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ 1016/2/100641 ที่ 1016/2/100640ที่ 1016/2/100826 และที่ 1016/2/100825 เอกสารหมาย จ.1แผ่นที่ 57 ถึง 60
++ โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ปรากฏตามอุทธรณ์เอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 61 ถึง 143
++ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ ปรากฏตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์เลขที่สภ.1(กม.3)/2540/166 เลขที่ สภ.1(กม.3)/2540/167 และเลขที่241/2540/สภ.1(กม.4) เอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 149 ถึง 152
++
++คดีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า ดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมาเพื่อซื้อที่ดินซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่สามารถนำที่ดินออกให้เช่าได้เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนหรือไม่
++
++ เห็นว่า การกู้ยืมเงินมาเพื่อจ่ายค่าซื้อที่ดิน เงินที่กู้ยืมมานั้นเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนของโจทก์ เมื่อเงินที่กู้ยืมมานั้นมีภาระต้องเสียดอกเบี้ย ดอกเบี้ยของเงินที่กู้ยืมมาจึงเป็นรายจ่ายต่อเนื่องของรายจ่ายค่าซื้อที่ดินอันถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินซึ่งเป็นต้นทุน และจะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายธรรมดาในการดำเนินธุรกิจการค้าหากำไรของโจทก์หาได้ไม่
++ ดอกเบี้ยอันเกิดจากการที่โจทก์กู้ยืมเงินมาซื้อที่ดินเพื่อนำไปให้ผู้อื่นเช่าจึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนเช่นเดียวกับค่าซื้อที่ดิน โจทก์ไม่อาจนำดอกเบี้ยดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา65 ตรี (5)
++ ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มนั้น
++ เห็นว่าแนวปฏิบัติที่โจทก์อาศัยเป็นหลักในการยื่นแบบแสดงรายการในคดีนี้มาจากแนวความคิดในหลักการทางบัญชีซึ่งแตกต่างจากประมวลรัษฎากรดังได้ความตามคำเบิกความของนางสาวประไพ อารยะรังสฤษฏ์ รองอธิบดีของจำเลย พยานจำเลยเบิกความรับว่า ที่จำเลยวางแนวปฏิบัติมิให้ถือดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นรายจ่าย ตามมติของคณะกรรมการพิจารณาปัญหากฎหมายและอุทธรณ์หรือคำร้อง (กพอ.) ครั้งที่ 12/2528 ลงวันที่ 18กรกฎาคม 2528 ตามเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่ 45 และ 46 นั้นได้รับการทักท้วงไม่เห็นด้วยจากสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยตามเอกสารหมาย ล.5 แผ่นที่ 89 ถึง 91 กรณีจึงยังไม่พอฟังว่าโจทก์มีเจตนาจะเลี่ยงภาษี
++ ประกอบกับนางสาวอุไรวัลก์สกุลวานิชธนา พยานจำเลย ผู้พิจารณาและควบคุมการทำรายงานพิจารณาอุทธรณ์เบิกความตอบคำถามค้านทนายโจทก์ว่าโจทก์มิได้มีเจตนาเลี่ยงภาษีและได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีเป็นอย่างดี
++ ดังนั้น กรณีจึงมีเหตุลดเบี้ยปรับให้โจทก์ ที่ศาลภาษีอากรกลางลดเบี้ยปรับให้โจทก์กึ่งหนึ่งนั้นสมควรแล้ว
++ ส่วนเงินเพิ่มนั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 กำหนดไว้แน่นอนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดได้และจะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมายศาลจึงไม่อาจงดหรือลดได้ ++
++ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ในกรณีที่โจทก์ยื่นประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิโดยไม่มีเหตุอันสมควรจำเลยย่อมมีสิทธิเรียกให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับอีก 1 เท่า จากจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรี นั้น
++ เห็นว่า บทบัญญัติของประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 20 ที่จำเลยอ้างขึ้นมาเพื่อให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 นั้น เป็นบทบัญญัติทั่วไปในการเรียกเบี้ยปรับแต่กรณีการยื่นรายการและชำระภาษีโดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิโดยไม่มีเหตุอันสมควร มีประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรี บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ผู้ที่กระทำผิดเงื่อนไขเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของภาษีที่ชำระขาด
++ ดังนั้น แม้จะมีการออกหมายเรียกโจทก์เพื่อมาทำการไต่สวนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19แล้วทำการประเมินตามมาตรา 20 ก็ตาม เจ้าพนักงานประเมินก็ไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 ได้อีก ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่องด้วยระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งว่า
++ โจทก์ได้ยืมเงินจากบริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย)จำกัด (มหาชน) เพื่อซื้อที่ดินให้เช่า หลังจากบริษัทเอสโซ่เช่าที่ดินจากโจทก์แล้ว โจทก์ได้จ่ายดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินดังกล่าวให้บริษัทเอสโซ่และได้นำดอกเบี้ยนั้นไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 ถึง 2536 จำนวน 8,719,864.61 บาท123,445,339.03 บาท และ 171,976,301 บาท ตามลำดับ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการว่ามีกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.50 ในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวเป็นเงิน 405,000.53 บาท 2,299,305.17 บาท และ3,150,823 บาท ตามลำดับ บริษัทเอสโซ่หักเงินของโจทก์ไว้เป็นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจากค่าเช่าซึ่งต้องชำระให้แก่โจทก์และได้นำส่งชำระให้จำเลยเกินไปกว่าที่โจทก์ต้องชำระตามแบบ ภ.ง.ด.50 ในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวจำนวน 340,299.05 บาท 4,042,032.83 บาทและ 9,269,739.75 บาท ตามลำดับ
++ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีดังกล่าวจากจำเลย เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2535 วันที่ 1 กรกฎาคม2536 และวันที่ 5 สิงหาคม 2537 ตามลำดับ
++ ต่อมาในวันที่ 23 กันยายน2535 จำเลยแจ้งคืนภาษีให้โจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 จำนวน340,299.05 บาท และเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2537 จำเลยแจ้งคืนภาษีให้แก่โจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 จำนวน 4,042,032.83 บาท
++ แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2538 จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ส่งคืนเงินสองจำนวนดังกล่าวอ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับภาษีคืนตามที่ยื่นคำร้องไว้โจทก์จึงคืนเงินสองจำนวนนั้นให้แก่จำเลยเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2538
++ ส่วนภาษีซึ่งโจทก์ขอคืนในรอบระยะเวลาบัญชี 2536จำเลยออกหนังสือลงวันที่ 11 มกราคม 2539 แจ้งไม่คืนให้โจทก์ และเจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนและแจ้งการประเมินว่า โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการว่ามีกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.50 ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 ถึง 2536 จำนวน 405,000.53 บาท 2,299,305.17 บาทและ 3,150,823 บาท ตามลำดับ แต่โจทก์มีรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) จำนวน 8,719,864.61 บาท123,445,339.03 บาท และ 171,976,301 บาท ตามลำดับ กำไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้วเป็นจำนวน 9,124,865.14 บาท 125,744,644.20 บาทและ 175,127,124 บาท ตามลำดับ คิดเป็นค่าภาษีจำนวน 3,193,702.80บาท 37,723,393.26 บาท และ 52,538,137.20 บาท ตามลำดับโจทก์ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้จำนวน 482,049.05 บาท 4,731,824.33บาท และ 10,214,986.65 บาท ตามลำดับ ดังนั้น จึงต้องชำระหนี้อีกจำนวน 2,711,653.75 บาท 32,991,568.93 บาท และ42,323,150.55 บาท ตามลำดับ เบี้ยปรับจำนวน 2,711,653.75 บาท32,991,568.93 บาท และ 42,323,150.55 บาท ตามลำดับ และเงินเพิ่มจำนวน 1,382,943.41 บาท 10,887,217.75 บาท และ12,062,097.91 บาท ตามลำดับ รวมเป็นเงินภาษีพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจำนวน 6,806,250.91 บาท 76,870,355.61 บาท และ96,708,399 บาท ตามลำดับ
++ นอกจากนี้ โจทก์ยังยื่นประมาณการกำไรสุทธิรอบระยะเวลาหกเดือนของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2536 ขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ โดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มจำนวน 26,874.69 บาท และเบี้ยปรับจำนวน 134,373.45 บาทสำหรับเบี้ยปรับลดให้ร้อยละห้าสิบคงเหลือจำนวน 67,186.73 บาท
++ รวมเป็นเงินเพิ่มและเบี้ยปรับจำนวน 94,061 บาท ปรากฏตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ 1016/2/100641 ที่ 1016/2/100640ที่ 1016/2/100826 และที่ 1016/2/100825 เอกสารหมาย จ.1แผ่นที่ 57 ถึง 60
++ โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ปรากฏตามอุทธรณ์เอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 61 ถึง 143
++ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ ปรากฏตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์เลขที่สภ.1(กม.3)/2540/166 เลขที่ สภ.1(กม.3)/2540/167 และเลขที่241/2540/สภ.1(กม.4) เอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 149 ถึง 152
++
++คดีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า ดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมาเพื่อซื้อที่ดินซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่สามารถนำที่ดินออกให้เช่าได้เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนหรือไม่
++
++ เห็นว่า การกู้ยืมเงินมาเพื่อจ่ายค่าซื้อที่ดิน เงินที่กู้ยืมมานั้นเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนของโจทก์ เมื่อเงินที่กู้ยืมมานั้นมีภาระต้องเสียดอกเบี้ย ดอกเบี้ยของเงินที่กู้ยืมมาจึงเป็นรายจ่ายต่อเนื่องของรายจ่ายค่าซื้อที่ดินอันถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินซึ่งเป็นต้นทุน และจะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายธรรมดาในการดำเนินธุรกิจการค้าหากำไรของโจทก์หาได้ไม่
++ ดอกเบี้ยอันเกิดจากการที่โจทก์กู้ยืมเงินมาซื้อที่ดินเพื่อนำไปให้ผู้อื่นเช่าจึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนเช่นเดียวกับค่าซื้อที่ดิน โจทก์ไม่อาจนำดอกเบี้ยดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา65 ตรี (5)
++ ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มนั้น
++ เห็นว่าแนวปฏิบัติที่โจทก์อาศัยเป็นหลักในการยื่นแบบแสดงรายการในคดีนี้มาจากแนวความคิดในหลักการทางบัญชีซึ่งแตกต่างจากประมวลรัษฎากรดังได้ความตามคำเบิกความของนางสาวประไพ อารยะรังสฤษฏ์ รองอธิบดีของจำเลย พยานจำเลยเบิกความรับว่า ที่จำเลยวางแนวปฏิบัติมิให้ถือดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นรายจ่าย ตามมติของคณะกรรมการพิจารณาปัญหากฎหมายและอุทธรณ์หรือคำร้อง (กพอ.) ครั้งที่ 12/2528 ลงวันที่ 18กรกฎาคม 2528 ตามเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่ 45 และ 46 นั้นได้รับการทักท้วงไม่เห็นด้วยจากสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยตามเอกสารหมาย ล.5 แผ่นที่ 89 ถึง 91 กรณีจึงยังไม่พอฟังว่าโจทก์มีเจตนาจะเลี่ยงภาษี
++ ประกอบกับนางสาวอุไรวัลก์สกุลวานิชธนา พยานจำเลย ผู้พิจารณาและควบคุมการทำรายงานพิจารณาอุทธรณ์เบิกความตอบคำถามค้านทนายโจทก์ว่าโจทก์มิได้มีเจตนาเลี่ยงภาษีและได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีเป็นอย่างดี
++ ดังนั้น กรณีจึงมีเหตุลดเบี้ยปรับให้โจทก์ ที่ศาลภาษีอากรกลางลดเบี้ยปรับให้โจทก์กึ่งหนึ่งนั้นสมควรแล้ว
++ ส่วนเงินเพิ่มนั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 กำหนดไว้แน่นอนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดได้และจะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมายศาลจึงไม่อาจงดหรือลดได้ ++
++ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ในกรณีที่โจทก์ยื่นประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิโดยไม่มีเหตุอันสมควรจำเลยย่อมมีสิทธิเรียกให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับอีก 1 เท่า จากจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรี นั้น
++ เห็นว่า บทบัญญัติของประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 20 ที่จำเลยอ้างขึ้นมาเพื่อให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 นั้น เป็นบทบัญญัติทั่วไปในการเรียกเบี้ยปรับแต่กรณีการยื่นรายการและชำระภาษีโดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิโดยไม่มีเหตุอันสมควร มีประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรี บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ผู้ที่กระทำผิดเงื่อนไขเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของภาษีที่ชำระขาด
++ ดังนั้น แม้จะมีการออกหมายเรียกโจทก์เพื่อมาทำการไต่สวนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19แล้วทำการประเมินตามมาตรา 20 ก็ตาม เจ้าพนักงานประเมินก็ไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 ได้อีก ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4249/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: ศาลยืนความผิดมาตรา 326 แม้เกินอำนาจศาลแขวงตามมาตรา 328
ความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 เป็นบทความผิดลักษณะฉกรรจ์ของความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 กฎหมายหาได้บัญญัติแยกการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 กับความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาตามมาตรา 328 ออกต่างหากจากกันไม่ เมื่อเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาตามมาตรา 328 แล้ว ก็ไม่จำต้องยกมาตรา 326 ขึ้นปรับมาลงโทษอีกดังนี้ เมื่อศาลแขวงไม่มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 เพราะเกินอำนาจพิจารณาพิพากษาและได้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อหาความผิดตามมาตรา 328 ไปแล้ว เมื่อจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์ด้วยการโฆษณาที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 326 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4220/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องคดีอาญา: เหตุอันควร, ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ, ก่อนสืบพยาน
คำร้องขอแก้ฟ้องโจทก์ อ้างเหตุว่า คำฟ้องของโจทก์มีข้อบกพร่องคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับน้ำหนักเฮโรอีนของกลาง ขอแก้ไขน้ำหนักเฮโรอีนของกลางจาก 1.52 กรัม เป็น 0.05 กรัม เนื่องจากพนักงานสอบสวนส่งรายงานการตรวจพิสูจน์ของกลางมาให้ผิดพลาด ถือได้ว่าเป็นเหตุอันควรอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้ และการที่โจทก์ขอแก้ฟ้องเกี่ยวกับจำนวนน้ำหนักเฮโรอีนของกลางให้ลดลงจากเดิมเป็นการแก้ไขรายละเอียดเรื่องของกลางซึ่งต้องแถลงในฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 จึงไม่ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 164ทั้งคดีนี้จำเลยเพียงแต่ให้การปฏิเสธลอย แม้โจทก์จะระบุน้ำหนักเฮโรอีนในฟ้องผิดแต่โจทก์ได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับของกลาง คือบรรยายว่า ของกลางที่ยึดได้เป็นเฮโรอีน ทั้งการขอแก้ฟ้องได้กระทำก่อนสืบพยานโจทก์เสร็จและจำเลยยังมิได้สืบพยาน จำเลยย่อมมีโอกาสต่อสู้คดีได้เต็มที่ จำเลยไม่มีทางหลงต่อสู้ในข้อที่ผิดไปนี้ได้ จึงชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4220/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตแก้ฟ้องคดีอาญา: เหตุผลความคลาดเคลื่อนของน้ำหนักของกลางไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
คำร้องขอแก้ฟ้อง โจทก์อ้างเหตุว่า คำฟ้องของโจทก์มีข้อบกพร่องคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับน้ำหนักเฮโรอีนของกลาง ขอแก้ไขน้ำหนักเฮโรอีนของกลางจาก 1.52 กรัม เป็น 0.05 กรัม เนื่องจากพนักงานสอบสวนส่งรายงานการตรวจพิสูจน์ของกลางมาให้ผิดพลาด ถือได้ว่าเป็นเหตุอันควรอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้ และการที่โจทก์ขอแก้ฟ้องเกี่ยวกับจำนวนน้ำหนักเฮโรอีนของกลางให้ลดลงจากเดิม เป็นการแก้ไขรายละเอียดเรื่องของกลางซึ่งต้องแถลงในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 จึงไม่ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 164 ทั้งคดีนี้จำเลยเพียงแต่ให้การปฏิเสธลอย แม้โจทก์จะระบุน้ำหนักเฮโรอีนในฟ้องผิดแต่โจทก์ได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับของกลาง คือ บรรยายว่า ของกลางที่ยึดได้เป็นเฮโรอีน ทั้งการขอแก้ฟ้องได้กระทำก่อนสืบพยานโจทก์เสร็จและจำเลยยังมิได้สืบพยาน จำเลยย่อมมีโอกาสต่อสู้คดีได้เต็มที่ จำเลยไม่มีทางหลงต่อสู้ในข้อที่ผิดไปนี้ได้ จึงชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4220/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตให้แก้ฟ้องคดีอาญา: เหตุผลความจำเป็น, รายละเอียดของกลาง, และผลกระทบต่อจำเลย
คำร้องขอแก้ฟ้องโจทก์ อ้างเหตุว่า คำฟ้องของโจทก์มีข้อบกพร่องคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับน้ำหนักเฮโรอีนของกลาง ขอแก้ไขน้ำหนักเฮโรอีนของกลางจาก 1.52 กรัม เป็น0.05 กรัม เนื่องจากพนักงานสอบสวนส่งรายงานการตรวจพิสูจน์ของกลางมาให้ผิดพลาด ถือได้ว่าเป็นเหตุอันควรอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้ และการที่โจทก์ขอแก้ฟ้องเกี่ยวกับจำนวนน้ำหนักเฮโรอีนของกลางให้ลดลงจากเดิมเป็นการแก้ไขรายละเอียดเรื่องของกลางซึ่งต้องแถลงในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158จึงไม่ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 164 ทั้งคดีนี้จำเลยเพียงแต่ให้การปฏิเสธลอย แม้โจทก์จะระบุน้ำหนักเฮโรอีนในฟ้องผิด แต่โจทก์ได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับของกลาง คือบรรยายว่า ของกลางที่ยึดได้เป็นเฮโรอีน ทั้งการขอแก้ฟ้องได้กระทำก่อนสืบพยานโจทก์เสร็จและจำเลยยังมิได้สืบพยาน จำเลยย่อมมีโอกาสต่อสู้คดีได้เต็มที่ จำเลยไม่มีทางหลงต่อสู้ในข้อที่ผิดไปนี้ได้ จึงชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4220/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับปริมาณยาเสพติดไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบหากจำเลยยังไม่ได้สืบพยาน
การที่โจทก์ขอแก้ฟ้องเกี่ยวกับจำนวนน้ำหนักเฮโรอีนของกลางให้ลดลงจากเดิมเป็นการแก้ไขรายละเอียดเรื่องของกลางซึ่งต้องแถลงในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 ไม่ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 164 และจำเลยเพียงแต่ให้การปฏิเสธลอยแม้โจทก์จะระบุน้ำหนักเฮโรอีนในฟ้องผิด แต่โจทก์ได้บรรยายรายละเอียด เกี่ยวกับของกลางว่าของกลางที่ยึดเป็นเฮโรอีน ทั้งการขอแก้ฟ้อง ได้กระทำก่อนสืบพยานโจทก์เสร็จและจำเลยยังไม่ได้สืบพยาน จำเลยย่อมมีโอกาสต่อสู้คดีได้เต็มที่ จำเลยไม่มีทางหลง ต่อสู้ในข้อที่ผิดนี้ได้ การให้โจทก์แก้ฟ้องจึงชอบแล้ว