คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เรืองฤทธิ์ ศรีวรรธนะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การรังวัดที่ดินเป็นสาระสำคัญสัญญา ผู้ซื้อผิดสัญญาไม่รับโอน ผู้ขายมีสิทธิริบมัดจำ
ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท คู่สัญญาตกลงกันว่าจะไปรังวัดตรวจสอบเนื้อที่ของที่ดินทั้งหมดเพื่อทราบจำนวนเนื้อที่ที่แน่นอนอีกครั้งหนึ่งและคิดราคากันในอัตราต่อไร่ตามเนื้อที่ ที่วัดตรวจสอบได้จริง แสดงให้เห็นว่ามีเจตนาอันเป็นสาระสำคัญ ว่าจะต้องรังวัดตรวจสอบเนื้อที่ดินทั้งหมดเพื่อให้ทราบจำนวน เนื้อที่ที่แน่นอนเพื่อจะได้คิดราคากันในอัตราไร่ละ 1,602,000 บาท ตามเนื้อที่ที่วัดตรวจสอบได้จริง หาใช่มีสาระสำคัญอยู่ที่ว่า โจทก์จำเลยจะต้องไปรังวัดตรวจสอบเนื้อที่ดินร่วมกันไม่ ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาโดยอ้างเหตุเพียงว่า จำเลยไม่ได้ทำการรังวัดตรวจสอบเนื้อที่ดินเพื่อทราบจำนวน เนื้อที่ดินให้เป็นไปตามสัญญาเท่านั้น หาได้กล่าวอ้างเหตุ ที่จำเลยผิดสัญญาว่าจำเลยไปทำการรังวัดตรวจสอบเนื้อที่ดิน เพียงฝ่ายเดียวไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ก่อนวันจดทะเบียน โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยให้เจ้าหน้าที่ที่ดินรังวัดตรวจสอบ เนื้อที่ดินถูกต้องแล้ว โดยในข้อนี้โจทก์แก้ฎีกาเพียงว่าที่ จำเลยได้รังวัดตรวจสอบเนื้อที่อย่างเป็นทางการได้จำนวน เนื้อที่ถูกต้องนั้น เป็นระยะเวลาภายหลังโจทก์จำเลยไม่สามารถ ตกลงกันได้ในเรื่องเงื่อนไขตามสัญญาแล้วเท่านั้น โจทก์หาได้แก้ ฎีกาโต้แย้งว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่จำเลยทำการรังวัด ตรวจสอบนั้นไม่ถูกต้องแต่ประการใด จึงฟังได้ว่าจำเลย ได้รังวัดตรวจสอบเนื้อที่ดินจนทราบจำนวนเนื้อที่ดินที่แน่นอน แล้ว ถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามข้อสัญญาแล้ว ดังนั้น ในวันนัดจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทโจทก์และจำเลยไปที่ สำนักงานที่ดินแล้ว แต่โจทก์บอกปัดไม่รับโอนโจทก์จึงเป็น ผู้ผิดสัญญา เมื่อตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินระบุว่าหาก ผู้จะซื้อผิดสัญญาไม่ยอมจดทะเบียนรับซื้อที่ดินพร้อมทั้ง ชำระราคาค่าที่ดินที่เหลือ ให้ถือว่าสัญญาจะซื้อขายที่ดินเป็นอันเลิกกันทันทีโดยผู้จะขายไม่จำต้องบอกกล่าว ก่อนและผู้จะขายมีสิทธิริบมัดจำที่ผู้จะซื้อได้ชำระไว้แล้ว ดังนี้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นอันเลิกกัน จำเลย มีสิทธิริบมัดจำที่โจทก์วางไว้ตามข้อสัญญาดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3775/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมและการหักเครดิตภาษีที่เหลือ การงดเบี้ยปรับกรณีแก้ไขแบบแสดงรายการด้วยความเข้าใจผิด
แม้แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 30 จะไม่ได้แจ้งไว้ในแบบแสดงรายการที่ยื่นว่าเป็นการยื่นเพิ่มเติมก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าเป็นการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ. 30 ฉบับที่สอง จึงถือว่าการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ. 30 ของโจทก์ดังกล่าวเป็นการยื่นแบบแสดงรายการเพิ่มเติมตามมาตรา 83/4 แห่ง ป. รัษฎากร ซึ่งการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมนี้ มาตรา 84 มิให้นำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนภาษีมาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม เพียงแต่ให้สิทธิในการขอคืนภาษีได้เท่านั้น โจทก์จะต้องนำภาษีมาชำระพร้อมยื่นแบบแสดงรายการเพิ่มเติมตามมาตรา 83/4 แม้โจทก์มีภาษีที่ชำระเกินยกมาจากเดือนมิถุนายน 2540 จำนวน 50,561.91 บาท แต่โจทก์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนพิพาทจำนวน 5,050.72 บาท โจทก์จะนำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีที่มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติม เพราะยื่นแบบแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้องตามมาตรา 83/4 ไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยประเมินภาษีเพิ่มเติมพร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (4) แห่ง ป. รัษฎากร จำนวน 17,434.58 บาท โดยมิชอบ ขอให้เพิกถอนการประเมินดังกล่าวของจำเลย จำเลยให้การว่าการประเมินชอบแล้ว กรณีจึงไม่มีประเด็นพิจารณาว่าโจทก์จะต้องเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (3) จำนวน 505.07 บาท หรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรวินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม 5,050.72 บาท พร้อมเบี้ยปรับจำนวน 505.07 บาท จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 30 มียอดภาษีซื้อผิดพลาดโดยนำยอดซื้อที่ไม่สามารถนำมาคำนวณเป็นภาษีซื้อได้ โดยโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการขอแก้ไขเองก่อนกำหนดชำระภาษีในงวดถัดไป แสดงว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงผิดพลาดโดยไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีแต่อย่างใด จึงสมควรให้อภัยโดยงดเบี้ยปรับให้
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มลงรายการยอดซื้อที่มีสิทธินำภาษีซื้อมาหักไว้จำนวน 2,687,902.44 บาท ซึ่งคลาดเคลื่อนไป เพราะนำเอายอดที่ไม่มีสิทธิหักภาษีซื้อมารวมไว้ด้วย จำนวน 2,490,654.21 บาท เมื่อโจทก์จะชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติม โจทก์จึงควรนำยอดขายลบด้วยยอดซื้อที่แท้จริงเพื่อหาจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะชำระเพิ่มเติม การที่โจทก์คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมด้วยการนำเอายอดซื้อซึ่งไม่มีสิทธินำไปหักในการคำนวณภาษีจำนวน 2,490,654.21 บาท ไประบุว่าเป็นยอดขายและยอดขายที่ต้องเสียภาษี จึงเป็นการลงรายการที่คลาดเคลื่อน ดังนั้นการที่ศาลภาษีอากรกลางปรับปรุงรายการแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มเสียใหม่ด้วยการนำภาษีซื้อจากยอดซื้อ ที่ถูกต้องนำไปหักจากภาษีขายเพื่อหาจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะชำระเพิ่มเติมจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3774/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุขาดนัดและข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดอย่างชัดเจน
ในคดีภาษีอากร คำขอให้พิจารณาใหม่นั้น คู่ความต้องกล่าวถึง เหตุที่ขาดนัดประการหนึ่ง และข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาด ของศาลอีกประการหนึ่งโดยละเอียดและชัดแจ้งทั้ง 2 ประการ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคท้าย ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดี ภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยกล่าวแต่เหตุที่จำเลยขาดนัดแต่เพียงประการเดียว การที่จำเลยกล่าวมาในคำขอแต่เพียงว่า หากจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจำเลยจะต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดีและมาศาลตามกำหนดนัด เพราะจำเลยมีทางชนะคดีโจทก์ได้อย่างแน่นอนข้อความในคำขอดังกล่าวไม่ได้กล่าวแสดงเหตุโดยละเอียดและชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาล คำขอให้ พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3774/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอพิจารณาใหม่ในคดีภาษีอากรต้องระบุเหตุขาดนัดและข้อคัดค้านคำตัดสินอย่างชัดเจน
ในคดีภาษีอากรคำขอให้พิจารณาใหม่นั้น คู่ความจะต้องกล่าวถึงเหตุที่ขาดนัดประการหนึ่ง และข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลอีกประการหนึ่ง โดยละเอียดและชัดแจ้งทั้ง 2 ประการ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคท้าย ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17
คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยกล่าวแต่เหตุที่จำเลยขาดนัดแต่เพียงประการเดียว การที่จำเลยกล่าวมาในคำขอแต่เพียงว่า หากจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง จำเลยจะต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดีและมาศาลตามกำหนดนัด เพราะจำเลยมีทางชนะคดีโจทก์ได้อย่างแน่นอน ข้อความในคำขอดังกล่าวไม่ได้กล่าวแสดงเหตุโดยละเอียดและชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาล คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบ ที่ศาลภาษีอากรมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3774/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุขาดนัดและข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดโดยชัดแจ้ง
ในคดีภาษีอากรคำขอให้พิจารณาใหม่นั้น คู่ความจะต้องกล่าวถึงเหตุที่ขาดนัดประการหนึ่ง และข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลอีกประการหนึ่ง โดยละเอียดและชัดแจ้งทั้ง 2 ประการ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 วรรคท้าย ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยกล่าวแต่เหตุที่จำเลยขาดนัดแต่เพียงประการเดียว การที่จำเลยกล่าวมาในคำขอแต่เพียงว่าหากจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง จำเลยจะต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดีและมาศาลตามกำหนดนัด เพราะจำเลยมีทางชนะคดีโจทก์ได้อย่างแน่นอน ข้อความในคำขอดังกล่าวไม่ได้กล่าวแสดงเหตุโดยละเอียดและชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาล คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบ ที่ศาลภาษีอากรมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3641/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือประนีประนอมไม่ระงับหนี้ละเมิดทั้งหมด เจตนาชำระหนี้บางส่วนและลดโทษอาญา
หนังสือประนีประนอมเอกสารที่พิพาทเป็นแบบพิมพ์ของจำเลยที่ 2ถูกทำขึ้นไว้ก่อนแล้วนำมาให้ ส.ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ลงชื่อรับเงินในวันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในข้อหาขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส โดยจำเลยที่ 2 มิได้มอบเงินจำนวนที่ระบุในหนังสือประนีประนอมให้แก่โจทก์ในวันที่ระบุในหนังสือประนีประนอม และโจทก์ยังติดใจเรียกร้องค่าเสียหายส่วนที่ขาดอยู่อีก การยอมรับเงินจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอม โจทก์มีเจตนารับชำระไว้เป็นค่าเสียหายเพียงบางส่วนกับมีเจตนาเพื่อให้จำเลยที่ 1 ได้รับโทษทางอาญาในสถานเบา มิใช่เป็นการตกลงกันในค่าเสียหายทั้งหมด มูลหนี้ละเมิดที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ดังกล่าวจึงยังไม่ระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3641/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือประนีประนอมที่ไม่สมบูรณ์ ไม่ระงับมูลหนี้ละเมิด โจทก์ยังติดใจเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมได้
หนังสือประนีประนอมเอกสารที่พิพาทเป็นแบบพิมพ์ของจำเลยที่ 2 ถูกทำขึ้นไว้ก่อนแล้วนำมาให้ ส. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ลงชื่อรับเงินในวันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในข้อหาขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส โดยจำเลยที่ 2 มิได้มอบเงินจำนวนที่ระบุในหนังสือประนีประนอมให้แก่โจทก์ในวันที่ระบุในหนังสือประนีประนอม และโจทก์ยังติดใจเรียกร้องค่าเสียหายส่วนที่ขาดอยู่อีก การยอมรับเงินจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอม โจทก์มีเจตนารับชำระไว้เป็นค่าเสียหายเพียงบางส่วนกับมีเจตนาเพื่อให้จำเลยที่ 1 ได้รับโทษทางอาญาในสถานเบา มิใช่เป็นการตกลงกันในค่าเสียหายทั้งหมด มูลหนี้ละเมิดที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ดังกล่าวจึงยังไม่ระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3601/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการให้โดยเสน่หาเนื่องจากผู้รับให้ไม่ช่วยเหลือผู้ให้เมื่อยากไร้ และมีมูลเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา 531
โจทก์กู้เงินจาก ร. โดยนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทให้ ร. ยึดถือไว้เป็นประกัน จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แทนโจทก์เป็นเงิน 70,000 บาท และรับหนังสือรับรองการทำประโยชน์คืนมา ต่อมาโจทก์ขอออกโฉนดที่ดินพิพาทแล้วจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างราคา 500,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา ไม่มีค่าตอบแทน เมื่อเปรียบเทียบแล้วราคาที่ดินพิพาทสูงกว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แทนโจทก์เมื่อ 3 ถึง 4 ปี ที่แล้วไม่น้อยกว่า 7 เท่า การที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทจึงถือไม่ได้ว่าเป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้ในการที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แทน และการที่ ร. ยึดถือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทไว้โดยไม่ได้จดทะเบียนจำนอง ไม่ใช่กรณีที่มีภาระเกี่ยวกับตัวที่ดินพิพาท การให้ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่การให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน จำเลยที่ 1 บอกปัดไม่ยอมให้เงินโจทก์ซื้อยารักษาตัวอันเป็นการบอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์ในเวลาที่โจทก์ยากไร้และจำเลยที่ 1 ยังสามารถจะให้ได้ โจทก์จึงเรียกถอนคืนการให้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (3)
โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (3) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกถอนคืนการให้จากจำเลยที่ 1 ได้แต่เพียงผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3570/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากร: คดีพิพาทหนี้ภาษีอากร แม้เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
คำฟ้องของโจทก์เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้อง ของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร แม้ตามคำฟ้องจะปรากฏว่า โจทก์ เคยฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดว. ในหนี้ดังกล่าว ซึ่งศาลภาษีอากรกลางได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ ห้างหุ้นส่วนจำกัดว. รับผิดในหนี้ดังกล่าวแล้วก็ตามก็หาทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในคดีนี้กลายเป็นหนี้ ตามคำพิพากษาดังที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยไม่ คดีของ โจทก์จึงเป็นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรกลาง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3563/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์คดีภาษีอากร: ศาลต้องพิจารณาความจำเป็นและประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นพิเศษ
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 19 ประกอบด้วยมาตรา 24ศาลภาษีอากรย่อมมีอำนาจขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม สำนวนคดีนี้มิได้มีถ้อยคำสำนวนมากมายและสลับซับซ้อนเป็นพิเศษและจำเลยยังมีเวลา 15 วัน กว่าจะครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ทั้งคดีนี้จำเลยไม่สืบพยานจึงไม่มีเอกสารจำนวนมากจนถึงกับจะเป็นเหตุให้ทนายจำเลยตรวจและทำคำฟ้องอุทธรณ์ไม่ทันภายในเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ กรณียังถือไม่ได้ว่ามีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลภาษีอากรจะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยขยายระยะยื่นอุทธรณ์
of 36