พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3563/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์ภาษี: ศาลต้องพิจารณาความจำเป็นและประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 19 ประกอบด้วยมาตรา 24 ศาลภาษีอากรย่อมมีอำนาจขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
สำนวนคดีนี้มิได้มีถ้อยคำสำนวนมากมายและสลับซับซ้อนเป็นพิเศษและจำเลยยังมีเวลา 15 วัน กว่าจะครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ทั้งคดีนี้จำเลยไม่สืบพยานจึงไม่มีเอกสารจำนวนมากจนถึงกับจะเป็นเหตุให้ทนายจำเลยตรวจและทำคำฟ้องอุทธรณ์ไม่ทันภายในเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ กรณียังถือไม่ได้ว่ามีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลภาษีอากรจะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยขยายระยะยื่นอุทธรณ์
สำนวนคดีนี้มิได้มีถ้อยคำสำนวนมากมายและสลับซับซ้อนเป็นพิเศษและจำเลยยังมีเวลา 15 วัน กว่าจะครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ทั้งคดีนี้จำเลยไม่สืบพยานจึงไม่มีเอกสารจำนวนมากจนถึงกับจะเป็นเหตุให้ทนายจำเลยตรวจและทำคำฟ้องอุทธรณ์ไม่ทันภายในเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ กรณียังถือไม่ได้ว่ามีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลภาษีอากรจะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยขยายระยะยื่นอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3563/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ภาษีอากร: เหตุผลความจำเป็นและประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 19 ประกอบด้วยมาตรา 24ศาลภาษีอากรย่อมมีอำนาจขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม สำนวนคดีนี้มิได้มีถ้อยคำสำนวนมากมายและสลับซับซ้อน เป็นพิเศษและจำเลยยังมีเวลา 15 วัน กว่าจะครบกำหนด ยื่นอุทธรณ์ ทั้งคดีนี้จำเลยไม่สืบพยาน จึงไม่มีเอกสาร จำนวนมากจนถึงกับจะเป็นเหตุให้ทนายจำเลยตรวจและ ทำคำฟ้องอุทธรณ์ไม่ทันภายในเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ กรณียังถือไม่ได้ว่ามีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่ง ความยุติธรรมที่ศาลภาษีอากรจะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลย ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3562/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการนำภาษีซื้อมาใช้คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ผู้ขายมีพฤติกรรมการค้าผิดปกติ
บริษัท ท.เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ขายผ้าสำเร็จรูปให้โจทก์ในเดือนสิงหาคม 2538 จำนวน 2 ครั้ง และในเดือนกันยายน2538 จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 322,509 บาท และบริษัทดังกล่าวได้เบิกเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน (ธนาคารกสิกรไทย จำกัด) ของหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ไปแล้ว กับยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มต่อจำเลยสำหรับเดือนภาษีสิงหาคมและกันยายน 2538 และได้มีการขายสินค้าและออกใบกำกับภาษีของบริษัทดังกล่าวให้โจทก์ประกอบกับบริษัท ท.ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นผู้ประกอบการที่มีมูลค่าของฐานภาษี (รายรับ) เกิน 600,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปี มีความประสงค์จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษีด้วย ดังนั้น บริษัทดังกล่าวจึงเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีพิพาทจึงออกโดยผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษี แม้บริษัทดังกล่าวเป็นผู้ประกอบการขายส่งผ้า ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในปี 2537 ถึง2539 ทุกเดือน แต่ไม่มีภาษีที่ต้องชำระเลย คงมีแต่รายการขอคืนภาษีทุกเดือน เป็นการประกอบกิจการที่ผิดปกติการค้าโดยทั่วไปที่มีรายการยอดซื้อมากกว่ายอดขายก็ตามแต่ก็เป็นเรื่องผลประกอบกิจการของบริษัทอื่น ไม่เกี่ยวกับโจทก์แต่อย่างใด โจทก์จึงมีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีพิพาทมาใช้ในการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3562/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการนำภาษีซื้อมาใช้คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ผู้ขายมีลักษณะการประกอบกิจการที่ผิดปกติ
บริษัท ท. เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มขายผ้าสำเร็จรูปให้โจทก์ในเดือนสิงหาคม 2538 จำนวน 2 ครั้งและในเดือนกันยายน 2538 จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 322,509 บาทและบริษัทดังกล่าวได้เบิกเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน(ธนาคารกสิกรไทย จำกัด) ของห้างหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ไปแล้ว กับยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มต่อจำเลยสำหรับเดือนภาษีสิงหาคมและกันยายน 2538 และได้มีการ ขายสินค้าและออกใบกำกับภาษีของบริษัทดังกล่าวให้โจทก์ ประกอบกับบริษัท ท. ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการที่มีมูลค่าของฐานภาษี (รายรับ)เกิน 600,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปีมีความประสงค์จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขาย หักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษีด้วย ดังนั้น บริษัทดังกล่าว จึงเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้ ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีพิพาทจึงออกโดยผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษี แม้บริษัทดังกล่าวเป็นผู้ประกอบการขายส่งผ้ายื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในปี 2537 ถึง 2539 ทุกเดือนแต่ไม่มี ภาษีที่ต้องชำระเลย คงมีแต่รายการขอคืนภาษีทุกเดือน เป็นการประกอบกิจการที่ผิดปกติการค้าโดยทั่วไปที่มี รายการยอดซื้อมากกว่ายอดขายก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องผลประกอบ กิจการของบริษัทอื่น ไม่เกี่ยวกับโจทก์แต่อย่างใดโจทก์จึงมีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีพิพาทมาใช้ในการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3562/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการนำภาษีซื้อมาใช้คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ผู้ขายมีผลประกอบการผิดปกติ
บริษัทท. เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มขายผ้าสำเร็จรูปให้โจทก์ในเดือนสิงหาคม 2538 จำนวน 2 ครั้ง และ ในเดือนกันยายน 2538 จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 322,509 บาท และบริษัทดังกล่าวได้เบิกเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน (ธนาคารกสิกรไทย จำกัด) ของหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ไปแล้วกับยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มต่อจำเลยสำหรับเดือนภาษี สิงหาคมและกันยายน 2538 และได้มีการขายสินค้าและออกใบกำกับ ภาษีของบริษัทดังกล่าวให้โจทก์ประกอบกับบริษัท ท. ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นผู้ประกอบการที่มีมูลค่าของฐานภาษี (รายรับ) เกิน 600,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปี มีความประสงค์จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษี ขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษีด้วย ดังนั้น บริษัทดังกล่าว จึงเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้ ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีพิพาทจึงออกโดยผู้มีสิทธิออกใบ กำกับภาษี แม้บริษัทดังกล่าวเป็นผู้ประกอบการขายส่งผ้า ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในปี 2537 ถึง 2539 ทุกเดือน แต่ไม่มีภาษีที่ต้องชำระเลย คงมีแต่รายการขอคืนภาษีทุกเดือน เป็นการประกอบกิจการที่ผิดปกติการค้าโดยทั่วไปที่มีรายการ ยอดซื้อมากกว่ายอดขายก็ตามแต่ก็เป็นเรื่องผลประกอบกิจการของ บริษัทอื่น ไม่เกี่ยวกับโจทก์แต่อย่างใด โจทก์จึงมีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีพิพาทมาใช้ในการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3480/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดแต่ไร้ความเสียหาย: แม้จำเลยประมาทเลินเล่อไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ แต่บริษัทลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สิน โจทก์จึงไม่เสียหาย
แม้จำเลยได้รับมอบฉันทะจากโจทก์ให้ไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ ในคดีล้มละลายที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดบริษัท ส.แต่จำเลยไม่ไปตามที่ได้รับมอบฉันทะจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่าบริษัท ส.เองก็ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ ที่จะยึดมาชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ ทั้งหลาย และปัจจุบันก็ได้ปิดกิจการทิ้งร้างไปแล้ว ดังนั้นหากจำเลยไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดโจทก์ก็ไม่อาจได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของบริษัทนั้นได้ เมื่อโจทก์ไม่มีทางจะได้รับชำระหนี้จากบริษัทลูกหนี้ผู้ล้มละลายแม้การกระทำของจำเลยจะเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์แต่ก็ไม่มีความเสียหายที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2459/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตยาเสพติดเพื่อจำหน่าย ศาลลงโทษตามฟ้องได้แม้โจทก์อ้างมาตราผิด ประเด็นอำนาจศาลตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคห้า
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าขณะเกิดเหตุจำเลยกำลังแบ่งบรรจุ เมทแอมเฟตามีนของกลางจริง การกระทำของจำเลยดังกล่าวตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4ถือว่าเป็นการผลิตเมทแอมเฟตามีนแล้ว และพฤติการณ์ของจำเลย ที่แบ่งเมทแอมเฟตามีนของกลางออกเป็นส่วนย่อยและบรรจุลง ในหลอดดูดเครื่องดื่มแล้วจำนวน 1 หลอด ทั้งยังมีหลอดดูด เครื่องดื่มเปล่าตัดเป็นท่อน ๆ จำนวนหนึ่งวางอยู่ เป็นการกระทำ เพื่อความสะดวกในการจัดจำหน่ายนั่นเอง จำเลยย่อมมีความผิด ฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย โจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยการแบ่งบรรจุจากถุงพลาสติกใส่หลอดเครื่องดื่มเสร็จแล้ว 1 หลอด จำนวน 2 เม็ด เพื่อจำหน่าย ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย เป็นการ ฟังข้อเท็จจริงที่โจทก์สืบสมตามที่โจทก์บรรยายฟ้องแล้ว ที่โจทก์ อ้างขอให้ลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 15 และมาตรา 85 แทนที่จะอ้างมาตรา 65จึงเป็นกรณีที่โจทก์อ้างบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลย ตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า กรณีหาใช่ศาลฟังข้อเท็จจริงในทางพิจารณา แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้องในข้อที่มิใช่สาระสำคัญ อันจะต้องพิจารณาว่าจำเลยมิได้หลงต่อสู้ด้วยหรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 65 วรรคสอง จึงไม่เกินคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2305/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด/ตัวแทนจำลอง: การรับผิดในสัญญาซื้อขายเมื่อมีเจตนาซ่อนเร้นและความร่วมมือในการดำเนินงาน
แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะตกลงให้จำเลยที่ 3 รับเหมาช่วงงานก่อสร้างบางส่วนแต่ตามข้อเท็จจริงมีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิดจำเลยที่ 3 ผู้รับเหมาช่วงออกแสดงเป็นตัวแทนหรือรู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 3 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการติดต่อซื้อวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างจากโจทก์ เมื่อโจทก์ เชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยที่ 3 ได้สั่งซื้ออุปกรณ์การก่อสร้าง จากโจทก์แทนและในนามจำเลยที่ 1 มิใช่กระทำเป็นส่วนตัว ของจำเลยที่ 3 แต่อย่างใด จำเลยที่ 1 ตัวการจึงต้องรับผิด ในผลแห่งการกระทำของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระราคาค่าสินค้าที่ค้างชำระให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และเป็น หุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดจึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ด้วย แต่จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทน หรือตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 ในการติดต่อซื้อวัสดุอุปกรณ์ การก่อสร้างจากโจทก์ ขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระ เงินค่าสินค้าที่ค้างชำระแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยโดยมิได้ กล่าวอ้างเลยว่าจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ดำเนินกิจการก่อสร้าง ร่วมกัน กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดต่อโจทก์เพราะเหตุที่จำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ดำเนินกิจการก่อสร้างร่วมกันตามที่โจทก์ยกขึ้นอ้างในฎีกา ฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในเรื่องที่เกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องของโจทก์ เป็นข้อที่มิได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีซ้ำ และการคืนเงินภาษีเกินสิทธิ ทำให้การประเมินภาษีครั้งหลังไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในครั้งแรกเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีการค้าโจทก์สำหรับรายรับในเดือนธันวาคม 2529 โดยอ้างว่าโจทก์ มีรายรับต้องเสียภาษีการค้าจำนวน 3,876,591.69 บาท และโจทก์ได้ชำระภาษีการค้า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มรวมเป็นเงิน 336,449.37 บาท ตามการประเมินแล้ว แต่รายรับตาม จำนวนที่ศาลภาษีอากรกลางและตามคำพิพากษาฎีกาที่ 1768/2536 ให้หักออกจากการประเมินมีจำนวน 3,454,107.77 บาท โจทก์จึงมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าอยู่อีกจำนวน 422,483.92 บาท ตามคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางและ คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวได้พิพากษาให้นำรายรับ จำนวน 3,454,107.77 บาท มาหักออกจากยอดรายรับตาม การประเมินจำนวน 3,876,591.69 บาท เหลือรายรับเท่าใด แล้วจึงคำนวณภาษีการค้า หากมีภาษีการค้าที่จะต้องคืนแก่โจทก์ให้จำเลยคืนภาษีการค้าพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่ง ต่อปี แม้จะได้ความว่า ต่อมาโจทก์ได้ขอคืนเงินภาษีและจำเลย ได้คืนเงินที่โจทก์ได้ชำระภาษีการค้าเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ให้แก่โจทก์ทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยคืนภาษีการค้า เบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม ให้แก่โจทก์ไปเกินกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับคืนตามคำพิพากษา ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องเรียกเงินที่ชำระแก่โจทก์ เกินไปคืน การที่จำเลยกลับมาทำการประเมินและปรากฏว่า รายรับพิพาทจำนวน 422,483.92 บาท เป็นรายรับที่รวมอยู่ ในจำนวนเดียวกันกับรายรับจำนวน 3,876,591.69 บาท ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินได้เคยทำการประเมินแล้ว การที่ เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งภาษีการค้าสำหรับรายรับพิพาท จำนวน 422,483.92 บาท จึงเป็นการประเมินซ้ำกับการประเมินครั้งแรก ทำให้โจทก์เสียหายโดยต้องชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระเพียงภาษีการค้าที่ จำเลยคืนให้โจทก์เกินไปเท่านั้น ไม่มีหน้าที่ต้องชำระเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มแต่อย่างใด ทำให้หนังสือแจ้งภาษีการค้าดังกล่าว เป็นหนังสือแจ้งการประเมินที่ออกโดยไม่มีอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นเหตุให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ชอบตามไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีซ้ำโดยเจ้าพนักงานประเมิน หลังศาลมีคำพิพากษาแล้ว ถือเป็นการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในครั้งแรกเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีการค้าโจทก์สำหรับรายรับในเดือนธันวาคม 2529 โดยอ้างว่าโจทก์มีรายรับต้องเสียภาษีการค้าจำนวน 3,876,591.69 บาทและโจทก์ได้ชำระภาษีการค้า เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม รวมเป็นเงิน336,449.37 บาท ตามการประเมินแล้วแต่รายรับตามจำนวนที่ศาลภาษีอากรกลางและตามคำพิพากษาฎีกาที่ 1768/2536ให้หักออกจากการประเมินมีจำนวน 3,454,107.77 บาทโจทก์จึงมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าอยู่อีกจำนวน422,483.92 บาท ตามคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางและคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวได้พิพากษาให้นำรายรับ จำนวน 3,454,107.77 บาท มาหักออกจากยอดรายรับตามการประเมิน จำนวน 3,876,591.69 บาท เหลือรายรับเท่าใดแล้ว จึงคำนวณ ภาษีการค้า หากมีภาษีการค้าที่จะต้องคืนแก่โจทก์ให้จำเลย คืนภาษีการค้าพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี แม้จะได้ความว่า ต่อมาโจทก์ได้ขอคืนเงินภาษีและจำเลย ได้คืนเงินที่โจทก์ได้ชำระภาษีการค้า เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มให้แก่ โจทก์ทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ซึ่งเป็น กรณีที่จำเลยคืนภาษีการค้า เบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม ให้แก่โจทก์ไปเกินกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับคืนตามคำพิพากษา ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องเรียกเงินที่ชำระแก่โจทก์เกินไปคืน การที่จำเลยกลับมาทำการประเมินและปรากฏว่า รายรับพิพาทจำนวน 422,483.92 บาท เป็นรายรับ ที่รวมอยู่ในจำนวนเดียวกันกับรายรับจำนวน 3,876,591.69 บาท ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินได้เคยทำการประเมินแล้ว การที่ เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งภาษีการค้าสำหรับรายรับ พิพาทจำนวน 422,483.92 บาท จึงเป็นการประเมินซ้ำกับ การประเมินครั้งแรก ทำให้โจทก์เสียหาย ต้องชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระเพียงภาษีการค้าที่จำเลยคืนให้โจทก์เกินไปเท่านั้น ไม่มีหน้าที่ต้องชำระเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มแต่อย่างใดทำให้หนังสือแจ้งภาษีการค้าดังกล่าว เป็นหนังสือแจ้งการประเมินที่ออกโดยไม่มีอำนาจ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นเหตุให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ชอบตามไปด้วย