คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เรืองฤทธิ์ ศรีวรรธนะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1797/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติ – สิทธิของผู้ครอบครองเดิม
การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกหนังสือที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกมาขึ้นมาวินิจฉัยว่าหนังสือดังกล่าวระบุไว้ชัดว่า โจทก์มอบที่ดินตามประกาศเรื่องมีผู้ขอจับจองที่ดินฉบับที่ 14/2494 ให้แก่กรมป่าไม้เพื่อใช้ประโยชน์ในราชการและสาธารณชนโดยทั่วไปแล้ว เป็นการอุทิศที่ดินเพื่อสาธารณสมบัติของแผ่นดินใช้ในราชการกรมป่าไม้ตั้งแต่ก่อนฟ้องคดีนี้ ทั้งที่ข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยทั้งหากฟังได้ว่าที่ดินตามฟ้องเป็นของกรมป่าไม้ซึ่งถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ตาม แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันผู้ที่ครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อนย่อมมีอำนาจฟ้องเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนสิทธิได้ ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จะด่วนวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินตามฟ้อง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง หาได้ไม่ ส่วนปัญหาอื่นที่ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ และโจทก์ขาดสิทธิในการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งครอบครองหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยมา แม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไปเสียเองก็ตาม แต่เพื่อให้คดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ทั้งผลการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิฎีกาของคู่ความศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ พิจารณาพิพากษาปัญหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1797/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีครอบครองที่ดิน: การอุทิศที่ดินให้กรมป่าไม้ และสิทธิของผู้ครอบครองเดิม
การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกหนังสือที่โจทก์ขอให้ศาล มีคำสั่งเรียกขึ้นมาวินิจฉัยว่าหนังสือดังกล่าวระบุไว้ชัดว่า โจทก์มอบที่ดินตามประกาศเรื่องมีผู้ขอจับจองที่ดินให้แก่ กรมป่าไม้เพื่อใช้ประโยชน์ในราชการและสาธารณชนโดยทั่วไปแล้ว เป็นการอุทิศที่ดินเพื่อสาธารณสมบัติของแผ่นดินใช้ในราชการ กรมป่าไม้ตั้งแต่ก่อนฟ้องคดีนี้ ทั้งที่ข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอ แก่การวินิจฉัยทั้งแม้หากฟังได้ว่าที่ดินตามฟ้องเป็นของ กรมป่าไม้ซึ่งถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ตาม แต่ใน ระหว่างราษฎรด้วยกันผู้ที่ครอบครองใช้ประโยชน์ อยู่ก่อนย่อมมีอำนาจฟ้องเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนสิทธิได้ดังนั้นศาลอุทธรณ์จะด่วนวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของผู้มี สิทธิครอบครองในที่ดินตามฟ้อง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่ ปัญหาที่ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่และโจทก์ขาดสิทธิ ในการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์ ยังไม่ได้วินิจฉัยมา แม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงมา เสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ไปเสียเองก็ตาม แต่เพื่อให้คดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ทั้งผลการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การกำจัด สิทธิฎีกาของคู่ความศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ พิจารณาพิพากษาปัญหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ที่ดินติดต่อเพื่อการก่อสร้างและการซ่อมแซมรั้ว/กำแพง แม้ฝ่าฝืนเทศบัญญัติก็ใช้สิทธิได้หากสุจริต
จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินติดต่อที่ดินของโจทก์ด้านที่ โจทก์จำเป็นต้องใช้ฉาบปูนและทาสีอันเป็นการจำเป็นในการ ปลูกสร้างอาคารของโจทก์เมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้ จำเลยทราบเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้วโจทก์ก็ย่อมใช้ที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่เพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อการดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1351 วรรคแรก โจทก์ฟ้องจำเลยเนื่องจากจำเลยไม่ยอมให้โจทก์เข้าไปใช้ ที่ดินของจำเลยตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1351 อันเป็นบทบัญญัติจำกัดสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ที่อยู่ติดต่อกับที่ดินของโจทก์ แม้การก่อสร้างอาคารของโจทก์ ซึ่งติดกับแนวเขตที่ดินจะเป็นการฝ่าฝืนเทศบัญญัติก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้ที่ดินติดต่อเพื่อก่อสร้าง/ซ่อมแซมอาคาร แม้ฝ่าฝืนเทศบัญญัติก็ใช้สิทธิได้หากสุจริต
จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินติดต่อที่ดินของโจทก์ด้านที่โจทก์จำเป็นต้องใช้ฉาบ ปูนและทาสีอันเป็นการจำเป็นในการปลูกสร้างอาคารของโจทก์ เมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้จำเลยทราบเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว โจทก์ก็ย่อมใช้ที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่เพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อการดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1351 วรรคแรก โจทก์ฟ้องจำเลยเนื่องจากจำเลยไม่ยอมให้โจทก์เข้าไปใช้ที่ดินของจำเลย ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1351 อันเป็นบทบัญญัติจำกัดสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่อยู่ติดต่อกับที่ดินของโจทก์ แม้การก่อสร้างอาคารของโจทก์ซึ่งติดกับแนวเขตที่ดินจะเป็นการฝ่าฝืนเทศบัญญัติก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ที่ดินติดต่อเพื่อการก่อสร้าง/ซ่อมแซมรั้ว/กำแพง แม้มีข้อจำกัดตามเทศบัญญัติ ก็ไม่ตัดสิทธิผู้มีสิทธิใช้
จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินติดต่อด้านที่โจทก์จำเป็น ต้องใช้ฉาบปูนและทาสีอันเป็นการจำเป็นในการปลูกสร้างอาคาร ของโจทก์ เมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้จำเลยทราบ เป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว โจทก์ก็ย่อมใช้ที่ดินที่จำเลย ครอบครองอยู่เพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อการดังกล่าวได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1351 บทบัญญัตินี้เป็นบทบัญญัติจำกัดสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่อยู่ติดต่อกับที่ดินของโจทก์ ทั้งการที่โจทก์ก่อสร้างอาคารของตน ก็ได้กระทำไปภายในขอบเขตที่ดินของโจทก์ แม้การก่อสร้างอาคาร ของโจทก์ซึ่งติดกับแนวเขตที่ดินจะเป็นการฝ่าฝืนเทศบัญญัติ ก็ไม่เป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะใช้สิทธิตามมาตรา 1351 ถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ที่ดินติดต่อเพื่อก่อสร้าง/ซ่อมแซมรั้ว อาคาร แม้ฝ่าฝืนเทศบัญญัติ ก็ใช้สิทธิได้หากสุจริต
จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินติดต่อที่ดินของโจทก์ด้านที่โจทก์จำเป็นต้องใช้ฉาบปูนและทาสีอันเป็นการจำเป็นในการปลูกสร้างอาคารของโจทก์ เมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้จำเลยทราบเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว โจทก์ก็ย่อมใช้ที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่เพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อการดังกล่าวได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา1351 วรรคแรก
โจทก์ฟ้องจำเลยเนื่องจากจำเลยไม่ยอมให้โจทก์เข้าไปใช้ที่ดินของจำเลย ตามที่ ป.พ.พ.มาตรา 1351 อันเป็นบทบัญญัติจำกัดสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่อยู่ติดต่อกับที่ดินของโจทก์ แม้การก่อสร้างอาคารของโจทก์ซึ่งติดกับแนวเขตที่ดินจะเป็นการฝ่าฝืนเทศบัญญัติก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาของผู้ให้เช่าซื้อและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในการขอคืนรถเช่าซื้อที่ถูกนำไปใช้กระทำผิด
ส. บิดาจำเลยเป็นทั้งผู้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางและผู้รับมอบอำนาจให้ยื่นคำร้องคดีนี้จากผู้ร้องผู้ให้เช่าซื้อเมื่อ ส. ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อแล้วผู้ร้องมิได้บอกเลิกสัญญาหรือติดตามยึดรถจักรยานยนต์ของกลางที่เช่าซื้อคืน จนกระทั่งจำเลยนำไปใช้กระทำความผิดในคดีนี้ และตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 10 ระบุว่า หากเกิดความเสียหายหรือสูญหายผู้เช่าซื้อยินยอมรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายและค่าเช่าซื้อที่ยังค้างชำระอยู่ทั้งสิ้นทั้งยังได้ความว่า ส.กับผู้ร้องตกลงกันว่าหากส.นำรถจักรยานยนต์ของกลางคืนให้แก่ผู้ร้องได้ ผู้ร้องยินดีจะขายให้แก่ ส. โดยคิดค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ ดังนี้เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าผู้ร้องมีเจตนาเพียงต้องการที่จะได้รับค่าเช่าซื้อตามสัญญาเท่านั้นและไม่ประสงค์จะขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง แต่การที่ผู้ร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนนั้นก็เพื่อประโยชน์ของ ส.ผู้เช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียว ถือได้ว่าผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริต ผู้ร้องจึงไม่อาจที่จะขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณรายได้จากสัญญาจะซื้อจะขาย, การขายเครื่องเรือนพร้อมอาคารชุด และรายได้จากสัญญาสิทธิเก็บกิน กรณีภาษีอากร
++ เรื่อง ภาษีอากร ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ ++
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่โจทก์ทำไว้กับผู้จะซื้อมีข้อตกลงให้ผู้จะซื้อจะต้องชำระราคาเป็นงวด ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องของการกำหนดราคาค่าห้องชุดว่ามีราคาเท่าใดและจะชำระราคาห้องชุดกันอย่างไร ซึ่งเงินที่ผู้จะซื้อชำระให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จะขายนั้นไม่ว่าจะเป็นเงินที่ชำระในวันทำสัญญาเป็นรายงวดหรือวันโอนกรรมสิทธิ์ก็ตาม เงินจำนวนดังกล่าวก็เป็นส่วนหนึ่งของราคาห้องชุดตามที่ตกลงกันไว้แต่แรก หาใช่เป็นเงินมัดจำที่ผู้จะซื้อวางไว้ในการเข้าทำสัญญา เมื่อโจทก์ใช้ระบบบัญชีเกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำค่าห้องชุดที่ผู้จะซื้อชำระให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จะขายนั้น ไม่ว่าจะชำระในวันทำสัญญาหรือชำระเป็นรายงวดมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะเป็นรายได้ของโจทก์ที่เกิดขึ้นแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 วรรคสอง
โจทก์ปลูกสร้างอาคารชุด จำนวน 293 ห้อง ขณะเริ่มแรกจำหน่ายโจทก์จำหน่ายห้องชุดโดยไม่มีเครื่องเรือน แสดงว่าโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะประกอบการค้าจำหน่ายห้องชุดพร้อมเครื่องเรือนมาแต่ต้นและเครื่องเรือนที่โจทก์นำมาติดตั้งนั้นเป็นการติดตั้งภายหลังและสามารถเคลื่อนย้ายหรือรื้อถอนได้ และหากผู้จะซื้อรายใดไม่ต้องการเครื่องเรือนชิ้นใด โจทก์จะแยกนำออกไปจากห้องชุด แสดงว่า โจทก์ไม่ได้บังคับผู้จะซื้อให้ต้องซื้อห้องชุดพร้อมกับเครื่องเรือน อีกทั้งในการทำสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ก็ได้แยกราคาห้องชุดและราคาของเครื่องเรือนออกจากกันชัดแจ้งดังนั้น เครื่องเรือนตามฟ้องที่ขายไปพร้อมห้องชุดจึงมีลักษณะซื้อมาขายไปและมีสภาพแยกออกจากกันกับห้องชุด จึงถือไม่ได้ว่าการจำหน่ายเครื่องเรือนในลักษณะเช่นนั้นเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ด้วยโจทก์จึงไม่ต้องนำรายรับในการจำหน่ายเครื่องเรือนที่จำหน่ายพร้อมกับห้องชุดไปรวมคำนวณเสียภาษีการค้า
การที่โจทก์ให้ลูกค้าซึ่งเป็นชาวต่างประเทศได้ใช้สอยและใช้ประโยชน์ในห้องชุดตามสัญญาเป็นเพียงการมอบการครอบครองให้ใช้สอยและจัดการห้องชุดแก่ชาวต่างประเทศในฐานะที่โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เท่านั้น ประกอบกับชาวต่างประเทศไม่สามารถรับโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เพราะกฎหมายไม่อนุญาตให้ชาวต่างประเทศถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าว ดังนั้น กรรมสิทธิ์ในห้องชุดจึงไม่อาจเปลี่ยนโอนไปยังลูกค้าชาวต่างประเทศได้เช่นเดียวกับสัญญาขาย จะขายขายฝาก แลกเปลี่ยน หรือให้เช่าซื้อ ทั้งไม่อาจถือได้ว่าเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนห้องชุดดังกล่าว เพราะกรรมสิทธิ์ในห้องชุดยังเป็นของโจทก์อยู่ สัญญาดังกล่าวจึงหาใช่เป็นการ "ขาย" ตามที่นิยามความหมายไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 77 แม้โจทก์จะได้ค่าตอบแทนจากการให้ใช้สอยก็ตาม ค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับดังกล่าวจึงมิใช่รายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 11

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณรายได้จากสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด และการจำหน่ายเครื่องเรือนประกอบอาคารชุดภายใต้กฎหมายภาษีอากร
ตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดที่โจทก์ทำไว้กับผู้จะซื้อมีข้อตกลงให้ผู้จะซื้อจะต้องชำระราคาเป็นงวด ข้อตกลงดังกล่าว เป็นเรื่องของการกำหนดราคาค่าห้องชุดว่ามีราคาเท่าใด และจะชำระราคาห้องชุดกันอย่างไร ซึ่งเงินที่ผู้จะซื้อ ชำระให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จะขายนั้นไม่ว่าจะเป็นเงินที่ชำระ ในวันทำสัญญาเป็นรายงวดหรือวันโอนกรรมสิทธิ์ก็ตาม เงินจำนวนดังกล่าวก็เป็นส่วนหนึ่งของราคาห้องชุดตามที่ ตกลงกันไว้แต่แรก หาใช่เงินมัดจำที่ผู้จะซื้อวางไว้ในการ เข้าทำสัญญาไม่ เมื่อโจทก์ใช้ระบบบัญชีเกณฑ์สิทธิในการ คำนวณกำไรสุทธิ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำค่าห้องชุดที่ ผู้จะซื้อชำระให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จะขาย ไม่ว่าจะชำระ ในวันทำสัญญาหรือชำระเป็นรายงวดมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเพราะเป็นรายได้ของโจทก์ที่เกิดขึ้นแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 วรรคสอง โจทก์ไม่ได้บังคับผู้จะซื้อให้ต้องซื้อห้องชุดพร้อมกับเครื่องเรือน ซึ่งในการทำสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวโจทก์ได้แยกราคาห้องชุดและราคาของเครื่องเรือนออกจากกัน ชัดแจ้ง ดังนั้น เครื่องเรือนที่ขายไปพร้อมห้องชุดจึงมี ลักษณะซื้อมาขายไปและมีสภาพแยกออกจากกันกับห้องชุด ถือไม่ได้ว่าการจำหน่ายเครื่องเรือนในลักษณะเช่นนั้นเป็นการ ขายอสังหาริมทรัพย์ด้วย โจทก์จึงไม่จำต้องนำรายรับในการจำหน่ายเครื่องเรือนที่จำหน่ายพร้อมกับห้องชุดไปรวมคำนวณเสียภาษีการค้า ประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นได้นิยามคำว่า "ขาย" ไว้ว่าหมายความรวมถึงสัญญาจะขายขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้เช่าซื้อ หรือจำหน่ายจ่ายโอนโดยมีประโยชน์ตอบแทนด้วย การที่โจทก์ให้ลูกค้าซึ่งเป็น ชาวต่างประเทศได้ใช้สอยและใช้ประโยชน์ในห้องชุดเป็นเพียง การมอบการครอบครองให้ใช้สอยและจัดการห้องชุดแก่ชาวต่างประเทศ ในฐานะที่โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เท่านั้น หาใช่เป็นการขายตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ แม้โจทก์จะได้ค่าตอบแทนจากการให้ใช้สอยก็ตาม ค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับดังกล่าวจึงมิใช่รายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 11

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายร่างกาย vs. พยายามฆ่า: การพิจารณาปริมาณสารพิษและแรงจูงใจของผู้กระทำ
จำเลยที่ 2 ได้นำยาฆ่าแมลงซึ่งมีสารพิษชนิดมีโธมิลผสมน้ำใส่ในขวดยาลดไข้พาราเซตามอลชนิดน้ำ แล้วใช้ให้จำเลยที่ 1 นำไปให้ผู้เสียหายดื่มเมื่อผู้เสียหายดื่มยาลดไข้ผสมสารพิษชนิดมีโธมิลแล้วก็เกิดอาเจียน และจำเลยที่ 1ใช้นิ้วล้วงคอให้ผู้เสียหายอาเจียน จนกระทั่ง ส.นำน้ำมาให้ดื่ม ผู้เสียหายก็อาเจียนอีกและไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เคยมีสาเหตุโกรธเคืองผู้เสียหายมาก่อน ประกอบกับสารพิษมีโธมิลต้องกินเข้าไปในปริมาณมากพอจึงจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนี้ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย คงฟังได้เพียงว่าจำเลยที่ 2มีเพียงเจตนาทำร้ายผู้เสียหายให้เจ็บป่วยเท่านั้น และศาลย่อมลงโทษจำเลยที่ 2ในความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาได้ความนี้ได้
of 36