คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เรืองฤทธิ์ ศรีวรรธนะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาคดี ไม่อุทธรณ์ได้ตามมาตรา 226(1)
จำเลยยื่นคำร้อง ขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่น คำให้การศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตเพราะเห็นว่าการขาดนัด เป็นไปโดยจงใจและไม่มีเหตุสมควรให้ยกคำร้อง คำสั่ง ศาลชั้นต้นดังกล่าวมิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลย อันถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 แต่เป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้น จะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี จึงต้องห้ามมิให้ อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณาคดีตาม มาตรา 226(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ จึงไม่อุทธรณ์ได้
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขออนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตเพราะเห็นว่าเป็นการจงใจ ขาดนัดและไม่มีเหตุสมควร ยกคำร้องคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้อง ขออนุญาตยื่นคำให้การ มิใช่คำสั่ง ไม่รับคำให้การของจำเลยอันจะถือได้ว่าเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18กรณีจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มี คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดแห่งคดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ คำสั่งดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ ห้ามอุทธรณ์ระหว่างพิจารณา
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตเพราะเห็นว่า การขาดนัดเป็นไปโดยจงใจและไม่มีเหตุสมควรให้ยกคำร้อง คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวมิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลย อันถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 แต่เป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณาคดีตาม มาตรา 226 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 849/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาการยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่: ผลของพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้และการนับระยะเวลาตามกฎหมาย
ศาลได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2540 จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่อ้างว่ากรรมการของจำเลยเพิ่งพบคำบังคับเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2541 จึงทราบเรื่องที่ถูกโจทก์ฟ้องจึงเป็นกรณีที่จำเลยอ้างว่าจำเลยไม่อาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผลใช้ได้โดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ดังนี้ จำเลยจะต้องยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง คือภายในวันที่ 24 มกราคม 2541 แต่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในวันที่ 29 มกราคม 2541 จึงเกินกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับแรกโดยวินิจฉัยว่า จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดจำเลยมิได้อุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นย่อมเป็นอันถึงที่สุด แต่จำเลยก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้อีกภายในกำหนด ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยหาได้กระทำ การที่จำเลยยื่นคำร้องฉบับที่สองขอให้พิจารณาใหม่เมื่อเกินกำหนดเวลาตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในครั้งนี้ก็มิใช่เป็นคำร้องขอแก้ไขข้อผิดพลาดเกี่ยวกับวันเดือนปีที่จำเลยทราบคำบังคับตามที่บรรยายมาในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในครั้งแรกหรือเป็นส่วนหนึ่งของคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในครั้งแรกเพราะเป็นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ที่จำเลยยื่นภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยในครั้งแรกแล้ว จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับที่สองนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 849/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาใหม่ต้องยื่นภายในกำหนด หากเกินกำหนด แม้มีเหตุสุดวิสัยก็ไม่อาจยื่นได้อีก
จำเลยอ้างว่าไม่อาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผลโดยพฤติการณ์นอกเหนือ ไม่อาจบังคับได้ ดังนี้ จำเลยจะต้องยื่นคำขอให้พิจารณา ใหม่ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณา ใหม่เกินกำหนดดังกล่าว จึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้ การที่ จำเลยอ้างว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของ จำเลยโดยผิดหลงว่าจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เกินกำหนด แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องโดยวินิจฉัยว่าจำเลยยื่นคำร้อง ขอให้พิจารณาใหม่เกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด จำเลยก็ มิได้อุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นดังกล่าว คำสั่ง ศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นอันถึงที่สุด และจำเลยยังอาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ได้ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดแต่จำเลยก็มิได้กระทำ การที่จำเลย มายื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่อีกครั้งซึ่งเกินเวลาตาม ที่กฎหมายกำหนด ทั้งคำร้อง ขอให้พิจารณาใหม่นี้ก็มิใช่ คำร้อง ขอแก้ไขข้อผิดพลาดเกี่ยวกับวันเดือนปีตามที่จำเลยกล่าวอ้าง หรือเป็นส่วนหนึ่งของคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในครั้งแรกเพราะ เป็นคำร้อง ขอให้พิจารณาใหม่ที่จำเลยยื่นภายหลังจากศาลชั้นต้นมี คำสั่งให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยในครั้งแรกแล้ว จึงกระทำมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 849/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ เกินกำหนด และผลของการไม่โต้แย้งคำสั่งศาล
ศาลได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2540จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่อ้างว่ากรรมการของจำเลยเพิ่งพบคำบังคับเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2541จึงทราบเรื่องที่ถูกโจทก์ฟ้องจึงเป็นกรณีที่จำเลยอ้างว่าจำเลย ไม่อาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผลใช้ได้โดยพฤติการณ์นอกเหนือ ไม่อาจบังคับได้ ดังนี้ จำเลยจะต้องยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือ ไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง คือภายในวันที่ 24 มกราคม 2541 แต่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในวันที่ 29 มกราคม 2541 จึงเกินกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับ ได้สิ้นสุดลงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิ ขอให้พิจารณาใหม่ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับแรกโดยวินิจฉัยว่า จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดจำเลยมิได้อุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นย่อมเป็นอันถึงที่สุด แต่จำเลยก็ยังมีสิทธิ ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้อีกภายในกำหนด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยหาได้กระทำ การที่จำเลยยื่นคำร้องฉบับที่สอง ขอให้พิจารณาใหม่เมื่อเกินกำหนดเวลาตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในครั้งนี้ก็มิใช่เป็นคำร้องขอ แก้ไขข้อผิดพลาดเกี่ยวกับวันเดือนปีที่จำเลยทราบคำบังคับ ตามที่บรรยายมาในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในครั้งแรก หรือเป็นส่วนหนึ่งของคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในครั้งแรก เพราะเป็นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ที่จำเลยยื่นภายหลัง จากศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องให้ขอให้พิจารณาใหม่ ของจำเลยในครั้งแรกแล้ว จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้อง ขอให้พิจารณาใหม่ฉบับที่สองนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียก/สำเนาคำฟ้องไปยังภูมิลำเนาหลายแห่งของผู้ถูกฟ้อง การจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
แม้จำเลยกับครอบครัวอยู่อาศัยที่บ้านเลขที่ 303/5 จังหวัดกาญจนบุรี แต่หลังจากศาลชั้นต้นสั่งรับคำฟ้องแล้วได้มีการออกหมายเรียกและส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลย ณ บ้านเลขที่ 1/1 จังหวัดนครปฐม ที่จำเลยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามฟ้อง จำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ด้วยตนเอง โดยจำเลยไม่ได้ปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้อยู่ที่บ้านหลังนี้และในการนัดสืบพยานโจทก์พนักงานเดินหมายของศาลชั้นต้นนำหมายนัดสืบพยานโจทก์ไปส่งให้แก่จำเลยที่บ้านหลังนี้อีก แต่ไม่พบจำเลย สอบถามหญิงในบ้านอายุประมาณ30 ปี แจ้งว่าจำเลยไปต่างจังหวัด ไม่ยอมรับหมายไว้แทน พนักงานเดินหมายจึงปิดหมายตามคำสั่งศาล โดยไม่ปรากฏว่ามีการปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้อยู่ที่บ้านหลังนี้แต่อย่างใด เชื่อได้ว่าจำเลยอยู่อาศัยที่บ้านหลังดังกล่าวนี้ด้วย และถือได้ว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่หลายแห่งซึ่งอยู่สับเปลี่ยนกันไป ดังนั้น บ้านที่ระบุในคำฟ้องจึงเป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งของจำเลย การที่พนักงานเดินหมายนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องกับหมายนัดสืบพยานโจทก์ไปส่งให้แก่จำเลยที่บ้านเลขที่ 1/1 จังหวัดนครปฐม อันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามคำฟ้อง จึงเป็นการส่งหมายนั้น ๆ ให้แก่จำเลยทราบโดยชอบแล้ว เมื่อจำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ ถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาจำเลยจึงไม่อาจขอให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกไปยังภูมิลำเนาหลายแห่ง การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ทำให้ไม่สามารถขอพิจารณาใหม่ได้
แม้จำเลยกับครอบครัวอยู่อาศัยที่บ้านเลขที่ 303/5จังหวัดกาญจนบุรี แต่หลังจากศาลชั้นต้นสั่งรับคำฟ้องแล้วได้มีการออกหมายเรียกและส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยณ บ้านเลขที่ 1/1 จังหวัดนครปฐม ที่จำเลยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามฟ้องจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ด้วยตนเองโดยจำเลยไม่ได้ปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้อยู่ที่บ้านหลังนี้และในการนัดสืบพยานโจทก์พนักงานเดินหมายของศาลชั้นต้นนำหมายนัดสืบพยานโจทก์ไปส่งให้แก่จำเลยที่บ้านหลังนี้อีก แต่ไม่พบจำเลย สอบถามหญิงในบ้านอายุประมาณ 30 ปี แจ้งว่าจำเลยไปต่างจังหวัดไม่ยอมรับหมายไว้แทน พนักงานเดินหมายจึงปิดหมายตามคำสั่งศาล โดยไม่ปรากฏว่ามีการปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้อยู่ที่บ้านหลังนี้แต่อย่างใด เชื่อได้ว่าจำเลยอยู่อาศัยที่บ้านหลังดังกล่าวนี้ด้วย และถือได้ว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่หลายแห่งซึ่งอยู่สับเปลี่ยนกันไป ดังนั้น บ้านที่ระบุในคำฟ้องจึงเป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งของจำเลยการที่พนักงานเดินหมายนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องกับหมายนัดสืบพยานโจทก์ไปส่งให้แก่จำเลยที่บ้านเลขที่ 1/1จังหวัดนครปฐม อันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามคำฟ้องจึงเป็นการส่งหมายนั้น ๆ ให้แก่จำเลยทราบโดยชอบแล้วเมื่อจำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ ถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาจำเลยจึงไม่อาจขอให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับสัญญา, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา, การชดใช้ค่าจ้างเพิ่ม, และอายุความคดีแพ่ง
เงินค่าปรับในกรณีที่จำเลยส่งมอบงานล่าช้าเป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่ง เพราะถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ ล่วงหน้าเมื่อไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร ศาลมีอำนาจ ใช้ดุลพินิจกำหนดให้เหมาะสมได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง สัญญาจ้างก่อสร้างระบุว่า เงินตามสัญญาค้ำประกันของธนาคารที่โจทก์รับชำระไว้จากธนาคารนั้นเป็นหลักประกันในการปฏิบัติงานรับจ้างของจำเลย จึงไม่ใช่เงินมัดจำที่โจทก์จะริบได้เมื่อจำเลยทั้งสองผิดสัญญา แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา จำเลยจึงมีสิทธินำเงินจำนวนนี้ไปหักกับยอดเงินค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าปรับที่ศาลได้กำหนดให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 380 วรรคสอง โจทก์ประกวดราคาค่าก่อสร้างในงานส่วนที่ต้องสร้างต่อจากจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าจ้างก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นเพราะการจ้างบุคคลอื่นก่อสร้างอาคารต่อจากจำเลยได้ตามสัญญา ไม่ถือเป็นการเอาเปรียบจำเลย โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในกรณีผิดสัญญาจ้างทำของขอเรียกค่าปรับรายวันและค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจากการที่โจทก์จ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลย สิทธิเรียกร้องนี้ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับสัญญา, หลักประกันสัญญา, และการเรียกร้องค่าเสียหายจากความล่าช้าในการก่อสร้าง
แม้ตามสัญญาข้อ 19 คู่สัญญาได้แสดงเจตนาไว้ชัดแจ้งว่าถ้าจำเลยทั้งสองส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จ จำเลยทั้งสองยอมให้โจทก์ดำเนินการปรับเป็นรายวัน วันละ 1,939.50 บาท ก็ตาม แต่เงินค่าปรับในกรณีที่จำเลยทั้งสองส่งมอบงานล่าช้าดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่ง เพราะถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร ศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดให้เหมาะสมได้ ตามป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
เงินตามสัญญาค้ำประกันของธนาคารซึ่งจำเลยทั้งสองใช้เป็นหลักประกันสัญญาจ้างที่โจทก์รับชำระไว้จากธนาคาร ได้มีการระบุไว้ในสัญญาจ้าง ข้อ 3ว่า ให้ใช้เงินนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติงานรับจ้างของจำเลยทั้งสองตามสัญญาเงินตามหนังสือค้ำประกันของธนาคารดังกล่าวจึงไม่ใช่เงินมัดจำที่โจทก์จะริบได้เมื่อจำเลยทั้งสองผิดสัญญา แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา ซึ่งจำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำไปหักกับยอดเงินค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าปรับที่ศาลได้กำหนดให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 380 วรรคสอง ได้
จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายเข้ารับเหมาก่อสร้าง จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองที่จะต้องสำรวจสถานที่ก่อสร้างให้เรียบร้อยและหากมีสิ่งใดที่เป็นอุปสรรคย่อมต้องทำสัญญาโดยกำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ก่อน ทั้งในการรื้ออาคารเรียนหลังเดิมโจทก์ก็ได้รื้อถอนจนเสร็จและมีหนังสือบอกกล่าวแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบแล้ว แต่จำเลยทั้งสองก็ยังไม่เข้าไปทำงาน โจทก์ต้องบอกกล่าวซ้ำไปอีกครั้ง จำเลยทั้งสองจึงได้เข้าทำงานหลังจากบอกกล่าวครั้งแรกโดยล่าช้าไปถึง 2 เดือนเศษ สำหรับวัสดุก่อสร้างขึ้นราคาก็เป็นความผิดของจำเลยทั้งสองที่ไม่ได้เตรียมการหาวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างไว้ล่วงหน้าและให้ได้มาตรฐานตามที่ทางราชการกำหนดซึ่งจำเลยทั้งสองทราบล่วงหน้าในแบบแปลนการก่อสร้างก่อนแล้ว สำหรับปัญหาเรื่องนำเสาเข็มเข้าไปยังที่ก่อสร้างไม่ได้และไม่มีคนงานก่อสร้างนั้น ล้วนแล้วเป็นผลจากการกระทำของจำเลยทั้งสองทั้งสิ้น และยังมีมติของคณะรัฐมนตรีให้ขยายระยะเวลาแก่จำเลยทั้งสองในการก่อสร้างถึง 3 ครั้ง รวม 477 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลานานพอที่จำเลยทั้งสองควรจะก่อสร้างได้เสร็จ แต่จำเลยทั้งสองก็ยังไม่เร่งก่อสร้างให้แล้วเสร็จทันกำหนดตามสัญญา โดยโจทก์ไม่มีส่วนในการที่ทำให้งานก่อสร้างต้องชะงักล่าช้าไปการที่โจทก์จ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสองในราคาที่แพงขึ้นเกือบถึง 2 เท่าตัว ในปริมาณงานเท่ากัน แล้วมาเรียกเอาส่วนค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจากจำเลยทั้งสอง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้จัดให้มีการประกวดราคาค่าก่อสร้างในงานส่วนที่ต้องก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสองถูกต้องตามระเบียบทุกประการ เมื่อบริษัท พ.ชนะการประกวดราคาในราคาซึ่งถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสมในเวลาขณะนั้นแล้ว กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการเอาเปรียบจำเลยทั้งสอง โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดชดใช้ค่าจ้างก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นเพราะการจ้างบุคคลอื่นก่อสร้างอาคารต่อจากจำเลยทั้งสองตามสัญญาได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในกรณีผิดสัญญาจ้างทำของ ขอเรียกค่าปรับรายวันและค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจากการที่โจทก์จ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสอง อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่กฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 จำเลยทั้งสองผิดสัญญาจ้างและโจทก์บอกเลิกสัญญาเมื่อปี 2534 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 เมษายน2537 จึงไม่ขาดอายุความ
of 36