คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เรืองฤทธิ์ ศรีวรรธนะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับสัญญา, หลักประกันสัญญา, การชดใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา, และอายุความฟ้องคดี
แม้ตามสัญญาข้อ 19 คู่สัญญาได้แสดงเจตนาไว้ชัดแจ้งว่าถ้าจำเลยทั้งสองส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จจำเลยทั้งสองยอมให้โจทก์ดำเนินการปรับเป็น รายวัน วันละ 1,939.50 บาท ก็ตาม แต่เงินค่าปรับ ในกรณีที่จำเลยทั้งสองส่งมอบงานล่าช้าดังกล่าวเป็น เบี้ยปรับอย่างหนึ่ง เพราะถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนด ไว้ล่วงหน้าเมื่อไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร ศาลจึงมี อำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดให้เหมาะสมได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง เงินตามสัญญาค้ำประกันของธนาคารซึ่งจำเลยทั้งสองใช้เป็นหลักประกันสัญญาจ้างที่โจทก์รับชำระไว้จากธนาคารได้มีการระบุไว้ในสัญญาจ้าง ข้อ 3 ว่า ให้ใช้เงินนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติงานรับจ้างของจำเลยทั้งสองตามสัญญาเงินตามหนังสือค้ำประกันของธนาคารดังกล่าวจึงไม่ใช่เงินมัดจำที่โจทก์จะริบได้เมื่อจำเลยทั้งสองผิดสัญญา แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญาซึ่งจำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำไปหักกับยอดเงินค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าปรับที่ศาลได้กำหนดให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง ได้ จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายเข้ารับเหมาก่อสร้างจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองที่จะต้องสำรวจสถานที่ก่อสร้าง ให้เรียบร้อยและหากมีสิ่งใดที่เป็นอุปสรรคย่อมต้องทำ สัญญาโดยกำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ก่อน ทั้งในการรื้ออาคารเรียน หลังเดิมโจทก์ก็ได้รื้อถอนจนเสร็จและมีหนังสือบอกกล่าวแจ้ง ให้จำเลยทั้งสองทราบแล้วแต่จำเลยทั้งสองก็ยังไม่ เข้าไปทำงาน โจทก์ต้องบอกกล่าวซ้ำไปอีกครั้ง จำเลยทั้งสองจึงได้เข้าทำงานหลังจากบอกกล่าว ครั้งแรกโดยล่าช้าไปถึง 2 เดือนเศษ สำหรับวัสดุก่อสร้าง ขึ้นราคาก็เป็นความผิดของจำเลยทั้งสองที่ไม่ได้เตรียมการ หาวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างไว้ล่วงหน้าและให้ได้ มาตรฐานตามที่ทางราชการกำหนดซึ่งจำเลยทั้งสองทราบล่วงหน้าในแบบแปลนการก่อสร้างก่อนแล้ว สำหรับปัญหาเรื่องนำเสาเข็มเข้าไปยังที่ก่อสร้างไม่ได้และไม่มีคนงานก่อสร้างนั้น ล้วนแล้วเป็นผลจากการกระทำของจำเลยทั้งสองทั้งสิ้น และยังมีมติของคณะรัฐมนตรีให้ขยายระยะเวลาแก่จำเลยทั้งสองในการก่อสร้างถึง 3 ครั้ง รวม 477 วันซึ่งเป็นระยะเวลานานพอที่จำเลยทั้งสองควรจะก่อสร้างได้เสร็จ แต่จำเลยทั้งสองก็ยังไม่เร่ง ก่อสร้างให้แล้วเสร็จทันกำหนดตามสัญญา โดยโจทก์ไม่มีส่วนในการที่ทำให้งานก่อสร้างต้องชะงักล่าช้าไปการที่โจทก์จ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสองในราคาที่แพงขึ้นเกือบถึง2 เท่าตัว ในปริมาณงานเท่ากัน แล้วมาเรียกเอาส่วนค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจากจำเลยทั้งสอง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ จัดให้มีการประกวดราคาค่าก่อสร้างในงานส่วนที่ต้อง ก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสองถูกต้องตามระเบียบทุกประการ เมื่อบริษัทพ. ชนะการประกวดราคาในราคาซึ่งถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสมในเวลาขณะนั้นแล้ว กรณี ถือไม่ได้ว่าเป็นการเอาเปรียบจำเลยทั้งสอง โจทก์ย่อม มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดชดใช้ค่าจ้างก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นเพราะการจ้างบุคคลอื่นก่อสร้างอาคารต่อจากจำเลยทั้งสองตามสัญญาได้ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในกรณีผิดสัญญาจ้าง ทำของ ขอเรียกค่าปรับรายวันและค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น จากการที่โจทก์จ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจาก จำเลยทั้งสอง อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่กฎหมายไม่ได้กำหนด อายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความสิบปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 จำเลยทั้งสองผิดสัญญาจ้างและโจทก์บอกเลิกสัญญาเมื่อ ปี 2534 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2537 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 56/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยครอบครองยาเสพติดจำนวนมาก เตรียมแบ่งขาย ศาลยืนโทษจำคุก
พยานโจทก์เป็นเจ้าพนักงานตำรวจได้ปฏิบัติราชการไปตามหน้าที่ และไม่เคยรู้จักจำเลยที่ 3 กับพวกมาก่อนไม่มีเหตุให้ต้องระแวงสงสัยว่าจะแกล้งเบิกความปรักปรำจำเลย นอกจากนี้ตามคำเบิกความของร้อยตำรวจเอกศ.และสิบตำรวจตรีพ.ยังตรงกันว่า เมื่อไปถึงบ้านที่เกิดเหตุปรากฏว่าประตูหน้าต่างบ้านนั้นปิดทั้งหมด ซึ่งหากในวันนั้นมีการ เปียแชร์ดังที่จำเลยที่ 3 ต่อสู้ ก็ไม่น่าจะต้องมีการปิด ประตูหน้าต่างกันแต่อย่างใด ทั้งเมื่อร้อยตำรวจเอกศ. เรียกให้เปิดประตูหน้าบ้าน จำเลยที่ 3 ก็วิ่งหนีออกไป ทางหลังบ้าน โดยในมือกำ ถุงพลาสติกบรรจุเมทแอมเฟตามีน 5 เม็ด และพวกของจำเลยที่ 3 อีก 2 คน ต่างก็มีเมทแอมเฟตามีนบรรจุ อยู่ในถุงพลาสติกคนละ 1 ใบ โดยเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 3 กับพวกครอบครองไว้นั้นมีลักษณะเช่นเดียวกับเมทแอมเฟตามีน จำนวน 300 เม็ด ที่บรรจุอยู่ในถุงพลาสติกสีแดง และหลอด พลาสติกสีเหลืองที่วางอยู่บริเวณพื้นกลางบ้านที่เกิดเหตุ น่าเชื่อว่าเมทแอมเฟตามีนที่จับได้ที่จำเลยที่ 3 กับพวกนั้น เป็นเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 3 กับพวกแต่ละคนแบ่งแยก ไปจากเมทแอมเฟตามีนที่บรรจุอยู่ในถุงพลาสติกสีแดงและใน หลอดพลาสติกสีเหลือง การที่จำเลยที่ 3 กับพวกแบ่งแยกใส่ ถุงพลาสติกถุงละ 5 เม็ด หรือ 10 เม็ด ก็เพื่อความสะดวก ในการจำหน่าย จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 กับพวกร่วมกันมี เมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8154/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินและประทานบัตรทำเหมืองแร่เป็นสิทธิแยกต่างหาก ผู้มีประทานบัตรยังคงมีสิทธิครอบครองได้ แม้ประทานบัตรหมดอายุ
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์ได้รับโอนประทานบัตรในการทำเหมืองแร่ มาจากบริษัท ซ. ซึ่งเป็นคนต่างด้าวเมื่อปี 2514 โจทก์ได้ยึดถือครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ดังนี้ แม้บริษัท ซ. ซึ่งเป็นคนต่างด้าวจะได้ที่ดินพิพาทมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ได้รับอนุญาตตาม ป.ที่ดิน แต่มิใช่ว่าการได้มาซึ่งที่ดินนั้นจะไม่มีผลเสียเลย กฎหมายเพียงแต่จำกัดสิทธิมิให้บริษัท ซ. ซึ่งเป็นคนต่างด้าวนั้นถือสิทธิหรือใช้สิทธิในที่ดินที่ได้มาอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ได้ และต้องจำหน่ายที่ดินนั้นไปตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 เมื่อบริษัท ซ. โอนสิทธิในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โจทก์ผู้รับโอนย่อมมีสิทธิในที่ดินนั้นโดยสมบูรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
สิทธิตามประทานบัตรซึ่งเป็นสิทธิในการทำเหมืองแร่นั้นเป็นสิทธิที่จะต้องบังคับตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 อันแตกต่างกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งต้องบังคับตาม ป.พ.พ. จึงเป็นสิทธิคนละส่วนแยกต่างหากจากกันได้ หาใช่ว่าหากผู้ใดมีสิทธิตามประทานบัตรแล้ว จะไม่อาจมีสิทธิครอบครองในที่ดินตามประทานบัตรนั้นได้เลยไม่ มิฉะนั้นจะมีผลเป็นว่า ผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงใดโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แต่เดิมแล้ว หากต่อมาได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ในที่ดินแปลงดังกล่าวจะทำให้สิทธิครอบครองซึ่งมีอยู่เดิมก่อนแล้วต้องหมดสิ้นไปด้วย
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิครอบครองได้โอนการครอบครองติดต่อกันมาจนถึงโจทก์ซึ่งรับโอนทั้งสิทธิครอบครองและสิทธิตามประทานบัตรจากบริษัท ซ.โจทก์ได้ยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 แม้ประทานบัตรของโจทก์หมดอายุแล้วก็หามีผลทำให้โจทก์สิ้นสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสิทธิคนละส่วนกันแต่อย่างใดไม่การที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองส่งมอบที่ดินพิพาทคืนโจทก์ แต่จำเลยทั้งสองและบริวารยังขืนอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปโดยไม่ยอมส่งมอบคืนโจทก์ จึงเป็นการรบกวนการครอบครองอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองและบริวารให้ออกไปจากที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8154/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินและการทำเหมืองแร่: สิทธิแยกต่างหาก โอนสิทธิได้ แม้ประทานบัตรหมดอายุ
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์ได้รับโอนประทานบัตรในการทำเหมืองแร่ มาจากบริษัท ซ.ซึ่งเป็นคนต่างด้าวเมื่อปี 2514 โจทก์ได้ยึดถือครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ดังนี้ แม้บริษัท ซ.ซึ่งเป็นคนต่างด้าวจะได้ที่ดินพิพาทมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ได้รับอนุญาตตามประมวลกฎหมายที่ดิน แต่มิใช่ว่าการได้มาซึ่งที่ดินนั้นจะไม่มีผลเสียเลย กฎหมายเพียงแต่จำกัดสิทธิมิให้บริษัท ซ. ซึ่งเป็นคนต่างด้าวนั้นถือสิทธิหรือใช้สิทธิในที่ดินที่ได้มาอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ได้และต้องจำหน่ายที่ดินนั้นไปตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 94เมื่อบริษัท ซ. โอนสิทธิในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โจทก์ผู้รับโอนย่อมมีสิทธิในที่ดินนั้นโดยสมบูรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง สิทธิตามประทานบัตรซึ่งเป็นสิทธิในการทำเหมืองแร่นั้นเป็นสิทธิที่จะต้องบังคับตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510อันแตกต่างกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงเป็นสิทธิคนละส่วนแยกต่างหากจากกันได้ หาใช่ว่าหากผู้ใดมีสิทธิตามประทานบัตรแล้วจะไม่อาจมีสิทธิครอบครองในที่ดินตามประทานบัตรนั้นได้เลยไม่ มิฉะนั้นจะมีผลเป็นว่า ผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงใดโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แต่เดิมแล้ว หากต่อมาได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ในที่ดินแปลงดังกล่าวจะทำให้สิทธิครอบครองซึ่งมีอยู่เดิมก่อนแล้วต้องหมดสิ้นไปด้วย ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิครอบครองได้โอนการครอบครองติดต่อกันมาจนถึงโจทก์ซึ่งรับโอนทั้งสิทธิครอบครองและสิทธิตามประทานบัตรจากบริษัท ซ.โจทก์ได้ยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมาโจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 แม้ประทานบัตรของโจทก์หมดอายุแล้วก็หามีผลทำให้โจทก์สิ้นสิทธิครองครองในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสิทธิคนละส่วนกันแต่อย่างใดไม่การที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองส่งมอบที่ดินพิพาทคืนโจทก์แต่จำเลยทั้งสองและบริวารยังขืนอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปโดยไม่ยอมส่งมอบคืนโจทก์ จึงเป็นการรบกวนการครอบครองอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองและบริวารให้ออกไปจากที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7185/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายจำนวนมากกระทบความมั่นคงชาติ ศาลฎีกาเพิ่มโทษจำคุก
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษชนิด ร้ายแรงในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายถึง 380 เม็ด น้ำหนัก 34.550 กรัม คำนวณเป็น สารบริสุทธิ์ได้หนักถึง 8.886 กรัม ซึ่งถือได้ว่าเป็นจำนวนมากทั้งความผิดดังกล่าวเกี่ยวโยงกับความปลอดภัยและความมั่นคงของประเทศชาติโดยตรงเพราะผู้ที่ซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยไปเสพ นอกจากจะเกิดอันตรายแก่ตัวเองแล้ว ยังอาจจะเป็นอันตรายแก่บุคคลที่อยู่ ข้างเคียงเมื่อผู้เสพเกิดมีอาการเมาเมทแอมเฟตามีนได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำผิดที่ร้ายแรงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ลงโทษจำเลยโดยจำคุก 10 ปีและลดโทษให้กึ่งหนึ่งเหลือ 5 ปี นั้นน้อยเกินไป ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดโทษจำเลยใหม่ให้หนักขึ้นเป็นจำคุก 20 ปีลดโทษให้กึ่งหนึ่งเหลือจำคุก 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7094/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การว่าจ้างทำของและหุ้นส่วนทางธุรกิจ ศาลไม่ถือว่าวินิจฉัยนอกฟ้องหากเชื่อมโยงกับการว่าจ้าง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งห้าว่าจ้างโจทก์ทำอุปกรณ์บรรจุเทปเพลง ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ให้ร่วมกันรับผิดตามสัญญาจ้างทำของ ประเด็นข้อพิพาทมีว่าจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างโจทก์ทำสินค้าตามฟ้องหรือไม่ โจทก์ได้นำสืบถึงความเป็นมาแห่งคดีและได้แสดงเอกสารและวัตถุพยานเกี่ยวกับการว่าจ้างรายนี้ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 2 เนื่องจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้น เป็นการเข้าหุ้นส่วนกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7074/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดร้ายแรง ไม่มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ
จำเลยมีกัญชาไว้เพื่อจำหน่ายจำนวน 7 ถุง น้ำหนัก 14.70 กรัม และจำหน่ายไปจำนวน 4 ถุง เป็นความผิดเกี่ยวโยงกับความสงบสุขและความปลอดภัยของสังคมเป็นความผิดร้ายแรงไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7011/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้ด้วยวาจาไม่สมบูรณ์จนกว่าจะจดทะเบียน การสละมรดกต้องทำเป็นหนังสือจึงมีผล
บ. ยกที่ดินให้แก่ ว. ด้วยวาจา โดยมีเจตนาจะไปดำเนินการจดทะเบียนการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในภายหลัง ถือว่าในขณะนั้น บ. ยังมิได้มีเจตนาสละการครอบครอง การที่ ว. เข้าครอบครองที่ดินพิพาทก่อนทำการโอนจึงเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของ บ. ที่บอกจะยกให้ ไม่ได้เข้าครอบครองในฐานะผู้แย่งการครอบครอง แม้จะครอบครองนานเท่าใดก็ไม่ทำให้ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ฉะนั้นเมื่อการยกที่ดินพิพาทให้ระหว่าง บ. กับ ว. ยังไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การให้ดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 ที่ดินพิพาทยังไม่ตกเป็นของ ว. โดยการให้ เมื่อ บ. ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของ บ. ไม่อาจนำที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ. ผู้ตายไปโอนให้ ว. ภายหลัง บ. ถึงแก่ความตายแล้วได้ และเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ทายาทของ บ. ได้แสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือว่าขอสละมรดก ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่ายอมสละมรดก ดังนั้น หลังจากที่ บ. ตาย แม้จะได้มีการจดทะเบียนการยกให้ที่ดินพิพาทดังกล่าวให้แก่ ว. โดยขณะจดทะเบียนทายาททุกคนของ บ. ทราบและไม่มีผู้ใดคัดค้าน ก็ถือไม่ได้ว่าทายาทของ บ. ได้สละมรดกรายนี้แล้ว การทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทก็ไม่มีผลให้ ว. ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6806/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาด: เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมาย, จำเป็นต้องไต่สวนและรับฟังทุกฝ่าย
คำร้องขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดของจำเลย อ้างว่าพนักงานของโจทก์และผู้ซื้อทรัพย์สนิทสนมกับเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงขายทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าราคาขายทอดตลาดในครั้งแรก คำร้องมีข้อความครบถ้วนแสดงให้เห็นว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสองแล้ว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องเป็นการไม่ชอบ แต่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาด โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องและสำเนาให้ทุกฝ่ายคัดค้าน แล้วทำการไต่สวนและมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดีนั้นก็ยังไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสาม ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และคำสั่งศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องของจำเลยทั้งสองไว้ดำเนินการไต่สวนต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6575/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมเอกสาร ใช้เอกสารปลอม และฉ้อโกง โดยเป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดหลายบท
การที่จำเลยได้ปลอมใบรับฝากรวม 6 ฉบับ ของที่ทำการไปรษณีย์ ธ. โดยเพิ่มเติมจำนวนรายการจดหมายลงทะเบียนและพัสดุไปรษณีย์ภัณฑ์กับปลอมใบนำส่งจดหมาย 2 ฉบับ ของบริษัท บ.ผู้เสียหาย โดยแก้ไขจำนวนจดหมายลงทะเบียนและลบแก้ไขจำนวนจดหมายธรรมดาแล้วจากนั้นจำเลยได้ใช้เอกสารที่ตนเองทำปลอมขึ้นทั้งหมดไปหลอกลวงผู้เสียหาย เป็นเหตุให้จำเลยได้เงินไปจำนวน11,218 บาท นั้น เป็นการที่จำเลยได้กระทำการทั้งหลายอย่างต่อเนื่องกัน โดยจำเลยมีเจตนาอย่างเดียวคือให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยได้ทำปลอมขึ้นเป็นเอกสารที่แท้จริงจะได้มอบเงินจำนวน 11,218 บาท ให้แก่จำเลยเท่านั้น การกระทำของจำเลยเกี่ยวกับเอกสารทั้งสองประเภทดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมโดยจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารเองซึ่งต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียว และเป็นความผิดฐานฉ้อโกงอีกบทหนึ่ง อันเป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ความผิดทั้งสองฐานนี้มีโทษเท่ากัน ศาลฎีกาให้ลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียว
of 36