พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4882/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกยื่นภาษีของคู่สมรส: เงินได้บางส่วนต้องรวมคำนวณภาษีกับคู่สมรส
โจทก์ซึ่งเป็นหญิงมีสามีสามารถแยกยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้แต่เฉพาะในส่วนของเงินได้ตามมาตรา 40 (1) เท่านั้น ส่วนเงินได้ของโจทก์ตามมาตรา 40 (4) (ก) นั้น ถือเป็นเงินได้ของสามีโจทก์ และสามีโจทก์มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี แม้โจทก์จะแยกยื่นรายการเพื่อเสียภาษี การแยกยื่นของโจทก์ต้องไม่ทำให้ภาษีที่ต้องเสียเปลี่ยนแปลง ดังนั้น โจทก์ต้องนำเงินได้พึงประเมินของโจทก์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (4) (ก) ไปรวมคำนวณภาษีเงินได้กับเงินได้ของสามีโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4720/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดกของทายาทโดยธรรม การจัดการมรดกโดยผู้จัดการ และอายุความฟ้องแบ่งมรดก
จำเลยให้การว่า โจทก์มิได้เป็นทายาทของผู้ตายเพราะผู้ตายสมรสกับ บ. หลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันแสดงว่า จำเลยยอมรับว่า บ. เป็นภริยาของผู้ตาย โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และ ป. เป็นบุตรซึ่งเกิดจากผู้ตายและ บ. โจทก์ที่ 4 เป็นบุตรของ ป. ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และ ป. ไม่ใช่บุตรที่เกิดจากผู้ตายและ บ. ทั้งมิได้นำสืบหักล้างว่า โจทก์ที่ 4 มิใช่บุตรของ ป. จึงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และป. เป็นบุตรของผู้ตายที่เกิดจาก บ. เมื่อ ป. ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรของ ป. จึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่ ป. ได้ และเมื่อปรากฏว่าผู้ตายสมรสกับ บ. ก่อนปี2473 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใช้บังคับ ผู้ตายกับบ. จึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสี่ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย
ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกอาจตกลงตั้งจำเลยซึ่งไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมายเป็นผู้จัดการมรดกได้ โดยไม่จำต้องไปร้องขอให้ศาลแต่งตั้ง การที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายในฐานะดังกล่าวจึงเป็นการครอบครองแทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายทุกคนรวมทั้งโจทก์ด้วย แม้เกินกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย โจทก์ก็ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่โจทก์ทั้งสี่ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกอาจตกลงตั้งจำเลยซึ่งไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมายเป็นผู้จัดการมรดกได้ โดยไม่จำต้องไปร้องขอให้ศาลแต่งตั้ง การที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายในฐานะดังกล่าวจึงเป็นการครอบครองแทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายทุกคนรวมทั้งโจทก์ด้วย แม้เกินกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย โจทก์ก็ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่โจทก์ทั้งสี่ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4720/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทและการจัดการมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกเกิน 1 ปี ไม่ขาดอายุความ
จำเลยให้การว่า โจทก์มิได้เป็นทายาทของผู้ตายเพราะผู้ตายสมรสกับ บ.หลังใช้ ป.พ.พ. โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันแสดงว่า จำเลยยอมรับว่าบ.เป็นภริยาของผู้ตาย โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และ ป.เป็นบุตรซึ่งเกิดจากผู้ตายและ บ.โจทก์ที่ 4 เป็นบุตรของ ป. ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และ ป.ไม่ใช่บุตรที่เกิดจากผู้ตายและ บ. ทั้งมิได้นำสืบหักล้างว่า โจทก์ที่ 4 มิใช่บุตรของ ป. จึงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และป.เป็นบุตรของผู้ตายที่เกิดจาก บ. เมื่อ ป.ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรของ ป.จึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่ ป.ได้ และเมื่อปรากฏว่าผู้ตายสมรสกับ บ.ก่อนปี2473 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่ ป.พ.พ.บรรพ 5 ใช้บังคับ ผู้ตายกับ บ.จึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสี่ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย
ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกอาจตกลงตั้งจำเลยซึ่งไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมายเป็นผู้จัดการมรดกได้ โดยไม่จำต้องไปร้องขอให้ศาลแต่งตั้ง การที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายในฐานะดังกล่าวจึงเป็นการครอบครองแทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายทุกคนรวมทั้งโจทก์ด้วย แม้เกินกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย โจทก์ก็ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่โจทก์ทั้งสี่ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกอาจตกลงตั้งจำเลยซึ่งไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมายเป็นผู้จัดการมรดกได้ โดยไม่จำต้องไปร้องขอให้ศาลแต่งตั้ง การที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายในฐานะดังกล่าวจึงเป็นการครอบครองแทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายทุกคนรวมทั้งโจทก์ด้วย แม้เกินกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย โจทก์ก็ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่โจทก์ทั้งสี่ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4418/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีและเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้ากรณีราคาสำแดงต่ำกว่าราคาจริง และการตัดเศษของบาทในการคำนวณภาษี
การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าอีกร้อยละ 20 ตามมาตรา 112 ตรี มีได้เฉพาะ 2 กรณี คือ กรณีมิได้ชำระเงินอากรครบถ้วนตามมาตรา 112 ทวิ อย่างหนึ่ง กับกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดตามมาตรา 40 อีกอย่างหนึ่ง คดีนี้แม้จะปรากฏว่าจำเลยนำสินค้าเข้าโดยแสดงความจำนงว่าจะนำมาใช้ในการผลิต สินค้าสำเร็จรูปเพื่อส่งออกไปเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี นับแต่วันนำเข้า โดยวางหนังสือค้ำประกันของธนาคารต่อ โจทก์ที่ 1 และจำเลยมิได้นำสินค้าที่นำเข้านี้ไปผลิตเพื่อ ส่งออกให้เสร็จสิ้นครบถ้วนภายใน 1 ปีก็ตาม แต่เนื่องจาก พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 เห็นว่าจำเลย สำแดงราคาต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงทำการประเมิน ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น การประเมินดังกล่าวเกิดจากการที่จำเลย ยื่นใบขนสินค้าไม่ถูกต้อง กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยปฏิบัติ ผิดเงื่อนไขในการที่ผู้นำเข้าจะนำของออกจากอารักขาของ กรมศุลกากร ตามมาตรา 40 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกเก็บ เงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้ พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 มาตรา 5 บัญญัติให้ยกเว้นภาษีเงินได้ในหมวด 3 และภาษีการค้าในหมวด 4ของลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเฉพาะเศษของบาทจากการคำนวณภาษี และพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 112 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในการเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้ เศษของหนึ่งบาทให้ตัดทิ้ง" บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่อง ที่ยกเว้นภาษีแก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเฉพาะเศษของบาทจากการ คำนวณในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีนำเงินค่าภาษีทั้งหมด มาชำระ เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้นำเงินค่าภาษีมาชำระ หรือชำระไม่ครบถ้วน การคำนวณภาษีดังกล่าวจึงยังไม่สิ้นสุด การที่ศาลภาษีอากรวินิจฉัยให้ตัดเศษของบาทจากการคำนวณ ภาษีจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4418/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรและการเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าเมื่อผู้นำเข้าไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าอีกร้อยละ 20 ตามมาตรา 112ตรี นั้นว่ามีได้เฉพาะ 2 กรณี คือ กรณีมิได้ชำระเงินอากรครบถ้วนตามมาตรา 112 ทวิอย่างหนึ่ง กับกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดตามมาตรา 40 อีกอย่างหนึ่ง คดีนี้แม้จะปรากฏว่า จำเลยนำสินค้าเข้าโดยแสดงความจำนงว่าจะนำมาใช้ในการผลิตสินค้าสำเร็จรูปเพื่อส่งออกไปเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปีนับแต่วันนำเข้า โดยวางหนังสือค้ำประกันของธนาคารต่อโจทก์ที่ 1 และจำเลยมิได้นำสินค้าที่นำเข้านี้ไปผลิตเพื่อส่งออกให้เสร็จสิ้นครบถ้วนภายใน 1 ปี ก็ตาม แต่เนื่องจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่า จำเลยสำแดงราคาต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงทำการประเมินราคาสินค้าเพิ่มขึ้น การประเมินดังกล่าวเกิดจากการที่จำเลยยื่นใบขนสินค้าไม่ถูกต้อง กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการที่ผู้นำเข้าจะนำของออกจากอารักขาของศุลกากร ตามมาตรา 40 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้
พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2500 มาตรา 5 บัญญัติว่า "ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ในหมวด 3 และภาษีการค้าในหมวด 4 ของลักษณะ 2 แห่ง ป.รัษฎากร แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเฉพาะเศษของบาทจากการคำนวณภาษี" และ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ.2528 มาตรา 112 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในการเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้ เศษของหนึ่งบาทให้ตัดทิ้ง" บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่องที่ยกเว้นภาษีแก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเฉพาะเศษของบาทจากการคำนวณในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีนำเงินค่าภาษีทั้งหมดมาชำระ เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้นำเงินค่าภาษีมาชำระหรือชำระไม่ครบถ้วน การคำนวณภาษีดังกล่าวจึงยังไม่สิ้นสุด การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยให้ตัดเศษของบาทจากการคำนวณภาษีจึงไม่ชอบ
พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2500 มาตรา 5 บัญญัติว่า "ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ในหมวด 3 และภาษีการค้าในหมวด 4 ของลักษณะ 2 แห่ง ป.รัษฎากร แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเฉพาะเศษของบาทจากการคำนวณภาษี" และ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ.2528 มาตรา 112 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในการเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้ เศษของหนึ่งบาทให้ตัดทิ้ง" บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่องที่ยกเว้นภาษีแก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเฉพาะเศษของบาทจากการคำนวณในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีนำเงินค่าภาษีทั้งหมดมาชำระ เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้นำเงินค่าภาษีมาชำระหรือชำระไม่ครบถ้วน การคำนวณภาษีดังกล่าวจึงยังไม่สิ้นสุด การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยให้ตัดเศษของบาทจากการคำนวณภาษีจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4003/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถจักรยานยนต์ที่ใช้ในการแข่งรถบนถนนสาธารณะ แม้ไม่ใช่ของผู้กระทำผิดโดยตรง
รถจักรยานยนต์ของกลางที่ใช้แข่งขันกันตามถนนหลวงที่คนทั่วไปต้องใช้สัญจรไปมาเป็นทรัพย์สินที่จำเลยทั้งสองได้ใช้ในการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)การที่จำเลยทั้งสองได้ขับรถจักรยานยนต์ของกลางแข่งขันกันโดยฝ่าฝืนกฎหมายและคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรโดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนรำคาญและอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอื่น เป็นพฤติการณ์ที่พึงริบรถจักรยานยนต์ของกลางแม้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นของบิดาจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วย ก็เป็นเรื่องที่เจ้าของแท้จริงจะต้องร้องขอคืนของกลางต่อศาล ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3758/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้จำเลยไม่ทราบถึงการพิจารณาคดี ศาลฎีกาเพิกถอนการอ่านคำพิพากษา
จำเลยทั้งสองไม่เคยได้รับหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ตลอดจนหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เนื่องจากบ้านเลขที่ตามฟ้องจำเลยทั้งสองใช้เป็นสถานที่สำหรับเก็บยางรถยนต์เก่าเท่านั้น ไม่มีผู้ใดพักอาศัยอยู่เลย แม้จำเลยที่ 2จะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามฟ้อง แต่จำเลยที่ 2ก็ได้อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 1 ที่บ้านเลขที่355/17-18 แสดงว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ใช้บ้านเลขที่ตามฟ้องเป็นสถานที่อยู่อันเป็นแหล่งสำคัญอีกแห่งหนึ่ง กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่355/17-18 การที่ศาลชั้นต้นส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลยทั้งสองที่บ้านเลขที่ตามฟ้องจึงมีเหตุผลเชื่อได้ว่าจำเลยทั้งสองยังไม่ทราบนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อจำเลยทั้งสองไม่มาศาลย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองฟังโดยชอบแล้วศาลฎีกาชอบที่จะเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3758/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายแจ้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากจำเลยไม่ได้อาศัยอยู่ที่ภูมิลำเนาตามที่ระบุในฟ้อง
เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองไม่เคยได้รับหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ตลอดจนหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เนื่องจากจำเลยทั้งสองใช้บ้านเลขที่ตามฟ้องเป็นสถานที่สำหรับเก็บยางรถยนต์เก่าเท่านั้น โดยไม่มีผู้ใดพักอาศัยอยู่เลย แม้จำเลยที่ 2 ผู้เป็นสามีจะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามฟ้อง แต่จำเลยที่ 2 ก็ได้อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 1ที่บ้านเลขที่ 3558/17-18 จังหวัดปทุมธานี จำเลยที่ 2ไม่ได้ใช้บ้านเลขที่ตามฟ้องเป็นสถานที่อยู่อันเป็นแหล่งสำคัญอีกแห่งหนึ่งด้วย กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ 355/17-18 การที่ศาลชั้นต้นส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลยทั้งสองที่บ้านเลขที่ตามฟ้อง และคดีมีเหตุผลเชื่อได้ว่าจำเลยทั้งสองยังไม่ทราบนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่มาศาลย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองฟังโดยชอบแล้ว ศาลฎีกาชอบที่จะ เพิกถอนเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 โดยให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์เฉพาะส่วน ที่ถือว่าอ่านให้จำเลยทั้งสองฟังแล้ว ให้ศาลชั้นต้นนัด จำเลยทั้งสองมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ใหม่แล้ว ดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3758/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดและแจ้งคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากจำเลยไม่ได้มีภูมิลำเนาตามที่ระบุ
เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองไม่เคยได้รับหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ตลอดจนหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เนื่องจากจำเลยทั้งสองใช้บ้านเลขที่ตามฟ้องเป็นสถานที่สำหรับเก็บยางรถยนต์เก่าเท่านั้น โดยไม่มีผู้ใดพักอาศัยอยู่เลย แม้จำเลยที่ 2 ผู้เป็นสามีจะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามฟ้อง แต่จำเลยที่ 2ก็ได้อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 1 ที่บ้านเลขที่ 355/17 - 18 จังหวัดปทุมธานีจำเลยที่ 2 ไม่ได้ใช้บ้านเลขที่ตามฟ้องเป็นสถานที่อยู่อันเป็นแหล่งสำคัญอีกแห่งหนึ่งด้วย กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ 355/17 - 18การที่ศาลชั้นต้นส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลยทั้งสองที่บ้านเลขที่ตามฟ้อง และคดีมีเหตุผลเชื่อได้ว่าจำเลยทั้งสองยังไม่ทราบนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่มาศาลย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองฟังโดยชอบแล้ว ศาลฎีกาชอบที่จะเพิกถอนเสียตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27โดยให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะส่วนที่ถือว่าอ่านให้จำเลยทั้งสองฟังแล้ว ให้ศาลชั้นต้นนัดจำเลยทั้งสองมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ใหม่แล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้และเช็คเพื่อชำระหนี้: อำนาจฟ้องของผู้รับมอบอำนาจและความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทให้แก่บริษัท บ. ซึ่งมี ฮ.เป็นกรรมการผู้จัดการ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินบริษัท บ. โดย ฮ.ได้มอบอำนาจให้พ. ไปร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในความผิดเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ เช่นนี้บริษัท บ.จึงเป็นผู้เสียหาย ซึ่งได้มอบอำนาจให้ร้องทุกข์โดยชอบแล้วแม้ตามฟ้องโจทก์จะบรรยายฟ้องว่า ฮ. เป็นผู้เสียหายก็เป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อย และข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ สาระสำคัญ ทั้งจำเลยที่ 1 ก็มิได้หลงต่อสู้ หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดจริง ก็ชอบที่ศาลจะลงโทษจำเลยที่ 1 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสองโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เมื่อ ข. ไม่สามารถนำเพชรที่รับไปจากผู้เสียหายเพื่อนำไปขายมาคืนให้ผู้เสียหายได้ จำเลยที่ 3 จึงได้ทำบันทึก ข้อตกลงชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 3 ได้นำเช็คพิพาทสั่งจ่ายเงิน 60,000 บาทพร้อมเงินสดอีก 46,000 บาท มาแลกเช็คฉบับแรกของจำเลยที่ 3 จากผู้เสียหายการที่ ข. เป็นหนี้ค่าเพชรแก่ผู้เสียหายแล้วจำเลยทั้งสามเข้ามารับผิดชำระหนี้แทนแก่ผู้เสียหาย ก็มุ่งประสงค์มิให้ ข. ต้องถูกดำเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ฯดังนั้น ข้อตกลงดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3กับผู้เสียหาย จึงเป็นการตกลงทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ เช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 ออกและมอบให้แก่ผู้เสียหายจึงเป็นเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อธนาคารตามเช็คที่จำเลยที่ 1 ออกให้ผู้เสียหายดังกล่าวปฏิเสธ การจ่ายเงิน จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามฟ้อง