คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เรืองฤทธิ์ ศรีวรรธนะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้และเช็คเพื่อชำระหนี้ การฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คที่ถูกต้องตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทให้แก่บริษัท บ.ซึ่งมี ฮ.เป็นกรรมการผู้จัดการ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน บริษัท บ.โดย ฮ.ได้มอบอำนาจให้ พ.ไปร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ เช่นนี้ บริษัท บ.จึงเป็นผู้เสียหาย ซึ่งได้มอบอำนาจให้ร้องทุกข์โดยชอบแล้ว แม้ตามฟ้องโจทก์จะบรรยายฟ้องว่า ฮ.เป็นผู้เสียหาย ก็เป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อย และข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่สาระสำคัญ ทั้งจำเลยที่ 1 ก็มิได้หลงต่อสู้ หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดจริง ก็ชอบที่ศาลจะลงโทษจำเลยที่ 1 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสองโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
เมื่อ ข.ไม่สามารถนำเพชรที่รับไปจากผู้เสียหายเพื่อนำไปขายมาคืนให้ผู้เสียหายได้ จำเลยที่ 3 จึงได้ทำบันทึกข้อตกลงชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 3 ได้นำเช็คพิพาทสั่งจ่ายเงิน 60,000 บาทพร้อมเงินสดอีก 46,000 บาท มาแลกเช็คฉบับแรกของจำเลยที่ 3 จากผู้เสียหายการที่ ข.เป็นหนี้ค่าเพชรแก่ผู้เสียหาย แล้วจำเลยทั้งสามเข้ามารับผิดชำระหนี้แทนแก่ผู้เสียหายก็มุ่งประสงค์มิให้ ข.ต้องถูกดำเนินคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ดังนั้น ข้อตกลงดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3กับผู้เสียหาย จึงเป็นการตกลงทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ เช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 ออกและมอบให้แก่ผู้เสียหายจึงเป็นเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อธนาคารตามเช็คที่จำเลยที่ 1 ออกให้ผู้เสียหายดังกล่าวปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3577/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักวันคุมขังก่อนศาลพิพากษาเป็นเรื่องต้องดำเนินการตามลำดับชั้นศาล การฎีกาในประเด็นนี้จึงไม่ชอบ
ปัญหาที่จำเลยฎีกาขึ้นมาว่า ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกระหว่างอุทธรณ์ฎีกาโดยคิดหักวันที่จำเลยถูกคุมขังมาแล้วให้ไม่ถูกต้องนั้นเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี เมื่อมิใช่เป็นการฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่พิพากษาว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ว่าไม่ถูกต้องแต่ประการใดจึงเป็นเรื่องที่จำเลยต้องดำเนินการให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาล หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นหักวันที่ถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษาออกจากโทษจำคุกตามคำพิพากษาไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 แล้วก็ชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านโดยขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นประการใดแล้วจำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อมาได้เป็นลำดับ การที่จำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามานั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3577/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักวันคุมขังก่อนศาลพิพากษา: ต้องยื่นคัดค้านต่อศาลชั้นต้นก่อนฎีกา
ปัญหาที่จำเลยฎีกาขึ้นมาว่า ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกระหว่างอุทธรณ์ฎีกาโดยคิดหักวันที่จำเลยถูกคุมขังมาแล้วให้ไม่ถูกต้องนั้นเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี เมื่อมิใช่เป็นการฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่พิพากษาว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ว่าไม่ถูกต้องแต่ประการใดจึงเป็นเรื่องที่จำเลยต้องดำเนินการให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาล หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นหักวันที่ถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษาออกจากโทษจำคุกตามคำพิพากษาไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องตาม ป.อ.มาตรา 22 แล้ว ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านโดยขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นประการใดแล้ว จำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อมาได้เป็นลำดับ การที่จำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามานั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3350/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดบังคับคดีต้องได้ราคาสูงสุดตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แม้ประเมินราคาต่ำกว่าตลาด
ตามประเพณีของธนาคารจะให้วงเงินรับจำนองทรัพย์ต่ำกว่าราคาที่เป็นจริงสำหรับราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเพียงการประมาณราคาเพื่อนำมาคำนวณค่าธรรมเนียม ในกรณียึดแล้วไม่มีการขาย และเพื่อดูว่าทรัพย์สินที่ยึด เพียงพอที่จะบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ เป็นการ ประเมินแบบคร่าว ๆ มิใช่ประเมินตามราคาท้องตลาดที่แท้จริง แต่การขายทอดตลาดผู้ทอดตลาดอาจคำนวณราคาโดยอาศัยวงเงิน ที่โจทก์รับจำนองประกอบกับประเพณีของธนาคารที่จะรับจำนอง ในวงเงินที่ต่ำกว่าราคาทรัพย์ที่แท้จริงและจำเลยไม่จำเป็น ต้องคัดค้างการประเมินราคาของเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะประเมินราคาให้เหมาะสม โดยให้ขายได้ราคาสูงสุดเท่าที่จะสามารถประมูลขายได้ เมื่อพฤติการณ์น่าเชื่อว่าหากมีการประกาศขายใหม่จะมี ผู้สู้ราคาสูงกว่าในครั้งนี้ การอนุญาตให้ขายของเจ้าพนักงาน บังคับคดีในครั้งนี้จึงมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการ ขายทอดตลาด เป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 153 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 308 ซึ่งศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงาน บังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3348/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา และเจตนาในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงภาษี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า บิลเงินสดเป็นเอกสารสิทธิจึงไม่จำต้องบรรยายซ้ำลงในคำฟ้องอีกว่าเป็นเอกสารที่ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ เมื่อคำฟ้องของโจทก์ ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและ สถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของ ที่เกี่ยวข้อด้วยพอสมควร ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เข้าใจข้อหา ได้แล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการฉ้อโกงภาษี ซึ่งเงินที่เก็บได้จากภาษีนี้เป็นรายได้ของรัฐที่จะนำไป พัฒนาประเทศชาติ แม้การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะคิดเป็นจำนวนเงินที่ไม่มากมาย แต่ก็ทำให้เกิดความเสียหาย ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ถือได้ว่าเป็นความผิดที่ร้ายแรง การไม่รอการลงโทษให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 นั้นจึงเหมาะสม แก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความไล่เบี้ยประกันภัย: ผู้รับประกันภัยฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัยด้วยกัน ต้องใช้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535มาตรา 31 กำหนดให้บริษัทหรือสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ซึ่งได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว เป็นจำนวนเท่าใด มีสิทธิไล่เบี้ยเอากับบุคคลภายนอกเจ้าของรถผู้ขับขี่ ผู้ซึ่งอยู่ในรถหรือผู้ประสบภัยซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ภายในกำหนดอายุความ1 ปี นับแต่วันที่ได้จ่ายเงินค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย มิใช่เป็นบุคคลภายนอกผู้ก่อให้เกิดความเสียหายให้เหตุที่รถชนกันจึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถฯ มาตรา 31 วรรคสองมาใช้บังคับ แต่เป็นเรื่อง ที่ผู้รับประกันภัยฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเอาจาก ผู้รับประกันภัยด้วยกันจึงต้องใช้อายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความไล่เบี้ย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัย: ความแตกต่างระหว่างบุคคลภายนอกกับผู้รับประกันภัยด้วยกัน
บทบัญญัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535มาตรา 31 มีความหมายว่า ให้บริษัทหรือสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยซึ่งได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใด มีสิทธิไล่เบี้ยเอากับบุคคลภายนอก เจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถ ผู้ซึ่งอยู่ในรถหรือผู้ประสบภัย ซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ภายในกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ได้จ่ายเงินค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย
จำเลยเป็นเพียงบริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยจึงมิใช่บุคคลภายนอกผู้ก่อให้เกิดความเสียหายในเหตุที่รถชนกัน กรณีจึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ.2535 มาตรา 31 วรรคสอง มาใช้บังคับ การที่ผู้รับประกันภัยฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเอาจากจำเลยผู้รับประกันภัยด้วยกัน จึงต้องนำอายุความ 2 ปีนับแต่วันวินาศภัย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำคุกในคดีความผิดหลายกรรมต่างกันที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายอาญา ม.91(2)
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) ซึ่งบัญญัติว่าเมื่อปรากฏว่าผู้ใดกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูง เกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดยี่สิบปีนั้น เป็นบทบัญญัติ เกี่ยวกับการลงโทษจำคุกจำเลยในกรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมเกี่ยวพันกัน โดยอาจถูกฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือแยกฟ้องเป็นหลายคดีสำหรับคดีของจำเลยทั้ง 11 คดีซึ่งเป็นคดีที่จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ 10 คดี และฐานรับของโจร 1 คดีนั้น เป็นการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระแยกต่างหากโดยไม่มีความเกี่ยวพันกัน ทั้งไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) จึงนับโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาทั้ง 11 คดี ติดต่อกันเกินกว่า 20 ปีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2922/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้รับมอบอำนาจในการอุทธรณ์คำสั่งศาลจำกัดเฉพาะการถอนหลักทรัพย์และเงินวางศาลเท่านั้น
ข. เป็นผู้รับมอบอำนาจจาก ก. ให้นำที่ดินตาม น.ส.3ไปประกันตัวจำเลยต่อศาลชั้นต้น ตามหนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่า ก. ได้มอบให้ ข. นำที่ดินตาม น.ส.3ดังกล่าวข้างต้นไปประกันตัวจำเลยต่อศาล และให้มีอำนาจประกันตัวในชั้นอุทธรณ์ ชั้นฎีกาหรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุดและให้ ข. ทำหน้าที่ต่าง ๆ ในฐานะผู้ประกันอันพึงปฏิบัติทั้งให้ถอนหลักทรัพย์และเงินวางศาลคืนจากศาลได้เท่านั้นก. หาได้มอบอำนาจให้ ข. อุทธรณ์คำสั่งศาลที่สั่งปรับก. ผู้ประกันแทน ก. แต่อย่างใดไม่ ข. จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2922/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจผู้รับมอบอำนาจ: การอุทธรณ์คำสั่งปรับของผู้ประกัน
ข.เป็นผู้รับมอบอำนาจจาก ก.ให้นำที่ดินตาม น.ส.3ไปประกันตัวจำเลยต่อศาลชั้นต้น ตามหนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่า ก.ได้มอบให้ ข.นำที่ดินตาม น.ส.3 ดังกล่าวข้างต้นไปประกันตัวจำเลยต่อศาล และให้มีอำนาจประกันตัวในชั้นอุทธรณ์ ชั้นฎีกาหรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุด และให้ ข.ทำหน้าที่ต่าง ๆ ในฐานะผู้ประกันอันพึงปฏิบัติ ทั้งให้ถอนหลักทรัพย์และเงินวางศาลคืนจากศาลได้เท่านั้นก.หาได้มอบอำนาจให้ ข.อุทธรณ์คำสั่งศาลที่สั่งปรับ ก.ผู้ประกันแทน ก.แต่อย่างใดไม่ข.จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นได้
of 36