พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2787/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์และการแก้ไขอุทธรณ์ต้องยื่นภายในกำหนดเวลา การรับคำรับสารภาพ และรายงานการสืบเสาะพฤติการณ์
การยื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 198 ได้กำหนดให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์ฟัง อันเป็นการกำหนดระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ไว้ซึ่งต่างกับการยื่นคำฟ้องในศาลชั้นต้นที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการยื่นฟ้องไว้ ดังนั้นหากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3จะขอแก้หรือเพิ่มเติมอุทธรณ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ก็จะต้องยื่นภายในกำหนดอายุอุทธรณ์ด้วยเช่นกัน จะนำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาในศาลชั้นต้นมาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยื่นคำร้องขอแก้และเพิ่มเติมอุทธรณ์ล่วงเลยกำหนดอายุอุทธรณ์แล้ว จึงรับไว้พิจารณาเป็นส่วนหนึ่งของอุทธรณ์เดิมไม่ได้ คำแถลงประกอบคำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3มิใช่คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นเพียงคำแถลงอย่างหนึ่งซึ่งทนายจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ได้อ่านข้อความในคำแถลงประกอบคำรับสารภาพดังกล่าว และศาลชั้นต้นไม่ได้สอบจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 ก็ตาม คำแถลงประกอบคำรับสารภาพของจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 นั้น ก็ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นเป็นผู้สั่งให้พนักงานคุมประพฤติไปทำการสืบเสาะประวัติความประพฤติ และพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แล้วให้พนักงานคุมประพฤติทำรายงานเสนอต่อศาล เพื่อศาลจะได้ใช้รายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติดังกล่าวประกอบดุลพินิจในการลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เมื่อศาลชั้นต้นได้แจ้งรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ทราบแล้ว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่คัดค้าน และยืนยันให้การ รับสารภาพเช่นเดิมเช่นนี้ กระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้น กระทำต่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย สำนักงานทนายความเลิกกิจการแล้ว
หากข้อเท็จจริงได้ความตามคำร้อง ของ จำเลยที่ 1 และที่ 2ว่าสำนักงานของทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามที่พนักงานเดินหมายไปปิดหมายนั้นได้เลิกประกอบกิจการไปนานแล้ว ไม่มีผู้ใดอาศัยอยู่ในสำนักงานดังกล่าว ซึ่งพนักงานเดินหมาย ก็ทราบดี จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมไม่อาจทราบเรื่องหมายนัด ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำการ ไต่สวนให้ได้ความว่าการส่งหมายนัดดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 และ ที่ 2 ชอบแล้วหรือไม่ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2513/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์: การซื้อเพื่อค้า vs. การซื้อเพื่ออยู่อาศัย และอำนาจการประเมินราคา
โจทก์ซื้อที่ดินมาดำเนินการแบ่งแยกโฉนดเป็น 9 โฉนดแล้วปลูกสร้างตึกแถวบนที่ดินที่แบ่งแยก จากนั้นทยอยขายไปจนหมด เช่นนี้เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าโจทก์ซื้อที่ดินมาเพื่อมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร เข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าในประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์จึงต้องนำรายรับมาเสียภาษีการค้า และต้องนำเงินได้จากการขายที่ดินและตึกแถวนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย โจทก์มิได้ขายที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างไปในราคาที่ปรากฏตามหนังสือสัญญาขายที่ดิน เมื่อราคาที่ประเมินโดยใช้หลักเกณฑ์ของกรมโยธาธิการสามารถแสดงถึงราคาที่โจทก์ควรจะขายที่แท้จริงได้ ดังนั้น ราคาขายที่ดินที่เจ้าพนักงานประเมินใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีการค้าและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้วส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อราคาที่ดินและอาคารที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดเป็นราคาที่โจทก์ควรจะขายที่แท้จริงได้ จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์โดยมีค่าตอบแทนที่ต่ำกว่าราคาที่พึงได้รับตามปกติเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจกำหนดราคาขายอสังหาริมทรัพย์นั้น ตามราคาที่โจทก์พึงได้รับจากการขายตามปกติได้ ตามมาตรา 49 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น และราคาที่โจทก์ควรจะขายที่แท้จริงได้นั้นถือได้ว่าราคาดังกล่าวเป็นจำนวนทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามความหมายในมาตรา 49 ทวิ โจทก์จึงต้องนำรายรับดังกล่าวไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าจะต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ครึ่งปี) หากมีเงินได้ตามมาตรา 40(8) ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนเมื่อยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมิน ย่อมมีอำนาจออกหมายเรียกและประเมินภาษีได้ตามมาตรา 19 และ 20แห่งประมวลรัษฎากร เงินที่โจทก์ได้รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณและชำระภาษีให้ถูกต้อง เมื่อโจทก์มิได้นำมารวมคำนวณเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียก และประเมินภาษีที่ต้องชำระได้ตามมาตรา 19 และมาตรา 20 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์มีหน้าที่ต้องนำรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์มาเสียภาษีการค้าและต้องนำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและมิได้นำเงินได้มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โจทก์จึงต้องเสียภาษีที่ชำระขาดพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับให้คงเหลือเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมายนั้นเหมาะสมแล้ว ไม่มีเหตุที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2513/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อค้ากำไร ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดราคาขายที่แท้จริงได้
โจทก์ซื้อที่ดินมาดำเนินการแบ่งแยกโฉนดเป็น 9 โฉนด แล้วปลูกสร้างตึกแถวบนที่ดินที่แบ่งแยก จากนั้นทยอยขายไปจนหมด เช่นนี้เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าโจทก์ซื้อที่ดินมาเพื่อมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร เข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าในประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ จึงต้องนำรายรับมาเสียภาษีการค้า และต้องนำเงินได้จากการขายที่ดินและตึกแถวนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย
โจทก์มิได้ขายที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างไปในราคาที่ปรากฏตามหนังสือสัญญาขายที่ดิน เมื่อราคาที่ประเมินโดยใช้หลักเกณฑ์ของกรมโยธาธิการสามารถแสดงถึงราคาที่โจทก์ควรจะขายที่แท้จริงได้ ดังนั้น ราคาขายที่ดินที่เจ้าพนักงานประเมินใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีการค้าและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อราคาที่ดินและอาคารที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดเป็นราคาที่โจทก์ควรจะขายที่แท้จริงได้ จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์โดยมีค่าตอบแทนที่ต่ำกว่าราคาที่พึงได้รับตามปกติเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจกำหนดราคาขายอสังหาริมทรัพย์นั้น ตามราคาที่โจทก์พึงได้รับจากการขายตามปกติได้ ตามมาตรา 49 ทวิ แห่งป.รัษฎากร ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น และราคาที่โจทก์ควรจะขายที่แท้จริงได้นั้น ถือได้ว่าราคาดังกล่าวเป็นจำนวนทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามความหมายในมาตรา 49 ทวิ โจทก์จึงต้องนำรายรับดังกล่าวไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
กฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าจะต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ครึ่งปี) หากมีเงินได้ตามมาตรา 40 (8) ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน เมื่อยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงาน-ประเมินย่อมมีอำนาจออกหมายเรียกและประเมินภาษีได้ตามมาตรา 19 และ 20แห่ง ป.รัษฎากร เงินที่โจทก์ได้รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณและชำระภาษีให้ถูกต้อง เมื่อโจทก์มิได้นำมารวมคำนวณเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกและประเมินภาษีที่ต้องชำระได้ตามมาตรา 19 และมาตรา 20 แห่ง ป.รัษฎากร
โจทก์มีหน้าที่ต้องนำรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์มาเสียภาษีการค้าและต้องนำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและมิได้นำเงินได้มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โจทก์จึงต้องเสียภาษีที่ชำระขาดพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับให้คงเหลือเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมายนั้นเหมาะสมแล้ว ไม่มีเหตุที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับแต่อย่างใด
โจทก์มิได้ขายที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างไปในราคาที่ปรากฏตามหนังสือสัญญาขายที่ดิน เมื่อราคาที่ประเมินโดยใช้หลักเกณฑ์ของกรมโยธาธิการสามารถแสดงถึงราคาที่โจทก์ควรจะขายที่แท้จริงได้ ดังนั้น ราคาขายที่ดินที่เจ้าพนักงานประเมินใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีการค้าและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อราคาที่ดินและอาคารที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดเป็นราคาที่โจทก์ควรจะขายที่แท้จริงได้ จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์โดยมีค่าตอบแทนที่ต่ำกว่าราคาที่พึงได้รับตามปกติเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจกำหนดราคาขายอสังหาริมทรัพย์นั้น ตามราคาที่โจทก์พึงได้รับจากการขายตามปกติได้ ตามมาตรา 49 ทวิ แห่งป.รัษฎากร ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น และราคาที่โจทก์ควรจะขายที่แท้จริงได้นั้น ถือได้ว่าราคาดังกล่าวเป็นจำนวนทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามความหมายในมาตรา 49 ทวิ โจทก์จึงต้องนำรายรับดังกล่าวไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
กฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าจะต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ครึ่งปี) หากมีเงินได้ตามมาตรา 40 (8) ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน เมื่อยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงาน-ประเมินย่อมมีอำนาจออกหมายเรียกและประเมินภาษีได้ตามมาตรา 19 และ 20แห่ง ป.รัษฎากร เงินที่โจทก์ได้รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณและชำระภาษีให้ถูกต้อง เมื่อโจทก์มิได้นำมารวมคำนวณเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกและประเมินภาษีที่ต้องชำระได้ตามมาตรา 19 และมาตรา 20 แห่ง ป.รัษฎากร
โจทก์มีหน้าที่ต้องนำรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์มาเสียภาษีการค้าและต้องนำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและมิได้นำเงินได้มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โจทก์จึงต้องเสียภาษีที่ชำระขาดพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับให้คงเหลือเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมายนั้นเหมาะสมแล้ว ไม่มีเหตุที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2042/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช็คและการไม่หลงต่อสู้ในรายละเอียดฟ้องที่ไม่ใช่สาระสำคัญ
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดระหว่างปลายเดือนสิงหาคม 2539 ถึงกลางเดือนกันยายน 2539โดยมิได้ระบุเวลาเกิดเหตุว่าเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืนก็ตาม แต่การเรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทก็อยู่ภายในกำหนดเวลา ดังกล่าว และจำเลยนำสืบต่อสู้โดยมิได้หลงเข้าใจผิดเกี่ยวกับเวลาที่กระทำความผิด เมื่อวันเวลาที่อ้างว่า จำเลยกระทำผิดเป็นเพียงรายละเอียดของฟ้อง มิใช่ข้อสาระสำคัญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)และจำเลยมิได้หลงต่อสู้จึงมิใช่เหตุอันจะพึงยกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2042/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายละเอียดเวลาในฟ้องไม่เป็นสาระสำคัญ หากจำเลยไม่หลงต่อสู้
ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4), 158 (5), 192พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดระหว่างปลายเดือนสิงหาคม 2539 ถึงกลางเดือนกันยายน 2539 โดยมิได้ระบุเวลาเกิดเหตุว่าเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืนก็ตาม แต่การเรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทก็อยู่ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว และจำเลยนำสืบต่อสู้โดยมิได้หลงเข้าใจผิดเกี่ยวกับเวลาที่กระทำความผิด เมื่อวันเวลาที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดเป็นเพียงรายละเอียดของฟ้อง มิใช่ข้อสาระสำคัญตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) และจำเลยมิได้หลงต่อสู้จึงมิใช่เหตุอันจะพึงยกฟ้องโจทก์
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดระหว่างปลายเดือนสิงหาคม 2539 ถึงกลางเดือนกันยายน 2539 โดยมิได้ระบุเวลาเกิดเหตุว่าเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืนก็ตาม แต่การเรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทก็อยู่ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว และจำเลยนำสืบต่อสู้โดยมิได้หลงเข้าใจผิดเกี่ยวกับเวลาที่กระทำความผิด เมื่อวันเวลาที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดเป็นเพียงรายละเอียดของฟ้อง มิใช่ข้อสาระสำคัญตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) และจำเลยมิได้หลงต่อสู้จึงมิใช่เหตุอันจะพึงยกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2006/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาทุจริต: จำเป็นต้องระบุหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายในคำฟ้อง
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 ที่บัญญัติว่า ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ฯลฯ เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้นผู้ออกเช็คมีความผิด นั้นการออกเช็คที่จะเป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวจะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายและหนี้ตามเช็คที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงประการหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดด้วย เมื่อคำฟ้องโจทก์บรรยายแต่เพียงว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ โดยมิได้ระบุว่าเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ทั้งโจทก์มิได้แนบสำเนาสัญญากู้ยืมมาท้ายฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงขาดข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) โจทก์จะมาขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในภายหลังเพื่อให้ฟ้องโจทก์สมบูรณ์ขึ้นอันเป็นการกระทำให้เสียเปรียบจึงไม่อาจกระทำได้ ศาลจึงอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2006/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเช็คต้องระบุหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ฟ้องไม่สมบูรณ์แก้ไขไม่ได้
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ที่บัญญัติว่า ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ฯลฯ เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้นผู้ออกเช็คมีความผิด...นั้นการออกเช็คที่จะเป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวจะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย และหนี้ตามเช็คที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงประการหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดด้วย เมื่อคำฟ้องโจทก์บรรยายแต่เพียงว่า จำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ โดยมิได้ระบุว่าเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ทั้งโจทก์มิได้แนบสำเนาสัญญากู้ยืมมาท้ายฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงขาดข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4 เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5)โจทก์จะมาขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในภายหลังเพื่อให้ฟ้องโจทก์สมบูรณ์ขึ้นอันเป็นการกระทำให้เสียเปรียบ จึงไม่อาจกระทำได้ ศาลจึงอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1970/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของการพิทักษ์ทรัพย์ต่อคดีเช่า: สิทธิการบังคับคดีและการตรวจสอบรายรับรายจ่าย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดตามสัญญาเช่า ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารกับให้ใช้ค่าเสียหาย เมื่อปรากฎว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวแล้วตั้งแต่ก่อนโจทก์ยื่นฎีกา ซึ่งเมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจในการเก็บรวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น แม้แต่คำสั่งของศาลที่ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ชั่วคราว หรือหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นก็จะใช้ยันแก่ จ.พ.ท.ของลูกหนี้ไม่ได้ตาม พ.ร.บ ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (2) และมาตรา 110 วรรคหนึ่ง ดังนั้นโจทก์จึงไม่อาจจะฎีกาขอให้ศาลในคดีนี้มีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์โดยให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือตัวแทนของโจทก์เข้าไปตรวจสอบรายรับรายจ่ายของรายได้จากเงินค่าเช่าทรัพย์สินที่พิพาท แล้วให้นำเงินค่าเช่าบางส่วนหลังจากหักค่าใช้จ่ายมาวางศาลในระหว่างการพิจารณาตาม ป.วิ.พ มาตรา 264 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1970/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ต่อการบังคับคดีและการคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดตามสัญญาเช่า ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารกับให้ใช้ค่าเสียหาย เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวแล้วตั้งแต่ก่อนโจทก์ยื่นฎีกา ซึ่งเมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจในการเก็บรวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่นแม้แต่คำสั่งของศาลที่ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ชั่วคราว หรือหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นก็จะใช้ยันแก่ จ.พ.ท.ของลูกหนี้ไม่ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22(2) และมาตรา 110 วรรคหนึ่ง ดังนั้นโจทก์จึงไม่อาจจะฎีกาขอให้ศาลในคดีนี้มีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์โดยให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือตัวแทนของโจทก์เข้าไปตรวจสอบรายรับรายจ่ายของรายได้จากเงินค่าเช่าทรัพย์สินที่พิพาท แล้วให้นำเงินค่าเช่าบางส่วนหลังจากหักค่าใช้จ่ายมาวางศาลให้ระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ได้