พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เกณฑ์สิทธิในการคำนวณภาษี, การเว้นภาษีซ้อน, และข้อจำกัดในการอุทธรณ์คดีภาษีอากร
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2527 มาตรา 20 บัญญัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี โดยรายได้ที่นำมาคำนวณให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะใช้เกณฑ์อย่างอื่นแทนเกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร เมื่อโจทก์ไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรเพื่อเปลี่ยนแปลงเกณฑ์สิทธิเพื่อคำนวณรายได้และรายจ่าย ทั้งกิจการของโจทก์มิใช่กิจการตามประเภทระบุไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรที่จะทำให้โจทก์สามารถใช้เกณฑ์อื่นในการคำนวณกำไรสุทธิได้แต่อย่างใด ดังนั้นโจทก์จึงต้องใช้ระบบบัญชีเกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี โจทก์จะใช้ระบบบัญชีเกณฑ์เงินสดในการคำนวณกำไรสุทธิหาได้ไม่
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าดอกเบี้ยค้างรับมิใช่รายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องใช้เกณฑ์สิทธินั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ค่าใช้จ่ายที่จะถือว่าเป็นรายจ่ายต้องห้ามตาม ป.รัษฎากรมาตรา 65 ตรี (18) หรือไม่นั้น โจทก์ต้องพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงิน เมื่อโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงินจำนวนดังกล่าว ย่อมเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (18)
แม้เงินกำไรที่พิพาทจะเป็นเงินกำไรที่บริษัท น.ประเทศญี่ปุ่นได้มาจากการขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยโดยตรง ไม่ได้ขายสินค้าโดยผ่านโจทก์ซึ่งเป็นสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยเลย แต่เมื่อเงินกำไรที่บริษัท น.ประเทศญี่ปุ่น ได้จากการขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยโดยตรงนั้นเป็นกิจกรรมเช่นที่โจทก์ซึ่งเป็นสถานประกอบการถาวรได้ประกอบอยู่โดยปกติ และโจทก์สามารถปฏิบัติได้ จึงถือว่ากำไรที่พิพาทกันเป็นกำไรที่เกิดจากโจทก์ตามความในวรรค 4 ของหนังสือที่ผู้แทนรัฐบาลไทยและผู้แทนรัฐบาลญี่ปุ่นจัดทำขึ้น ประกอบกับข้อ 3 วรรค 1 แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ โจทก์จึงต้องเสียภาษีจากกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 66 วรรคสองดังนั้น เมื่อมีการส่งเงินกำไรดังกล่าวออกจากประเทศไทย แม้ว่าลูกค้าในประเทศไทยจะเป็นผู้ส่งให้แก่บริษัท น.ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของโจทก์ ก็ย่อมถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นสาขาเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรนั้นออกไปจากประเทศไทย โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตาม มาตรา 70 ทวิ
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์คำนวณกำไรขั้นต้นถูกต้อง และในการคำนวณกำไรสุทธิของสำนักงานใหญ่ โจทก์มีสิทธินำค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรับรองและค่าเสื่อมราคามาเฉลี่ยในการคำนวณได้นั้น โจทก์มิได้ยกข้อดังกล่าวเป็นข้ออ้างเพื่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ในคำฟ้อง แม้ว่าโจทก์และจำเลยจะได้สืบพยานและศาลภาษีอากรกลางได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าดอกเบี้ยค้างรับมิใช่รายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องใช้เกณฑ์สิทธินั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ค่าใช้จ่ายที่จะถือว่าเป็นรายจ่ายต้องห้ามตาม ป.รัษฎากรมาตรา 65 ตรี (18) หรือไม่นั้น โจทก์ต้องพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงิน เมื่อโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงินจำนวนดังกล่าว ย่อมเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (18)
แม้เงินกำไรที่พิพาทจะเป็นเงินกำไรที่บริษัท น.ประเทศญี่ปุ่นได้มาจากการขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยโดยตรง ไม่ได้ขายสินค้าโดยผ่านโจทก์ซึ่งเป็นสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยเลย แต่เมื่อเงินกำไรที่บริษัท น.ประเทศญี่ปุ่น ได้จากการขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยโดยตรงนั้นเป็นกิจกรรมเช่นที่โจทก์ซึ่งเป็นสถานประกอบการถาวรได้ประกอบอยู่โดยปกติ และโจทก์สามารถปฏิบัติได้ จึงถือว่ากำไรที่พิพาทกันเป็นกำไรที่เกิดจากโจทก์ตามความในวรรค 4 ของหนังสือที่ผู้แทนรัฐบาลไทยและผู้แทนรัฐบาลญี่ปุ่นจัดทำขึ้น ประกอบกับข้อ 3 วรรค 1 แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ โจทก์จึงต้องเสียภาษีจากกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 66 วรรคสองดังนั้น เมื่อมีการส่งเงินกำไรดังกล่าวออกจากประเทศไทย แม้ว่าลูกค้าในประเทศไทยจะเป็นผู้ส่งให้แก่บริษัท น.ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของโจทก์ ก็ย่อมถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นสาขาเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรนั้นออกไปจากประเทศไทย โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตาม มาตรา 70 ทวิ
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์คำนวณกำไรขั้นต้นถูกต้อง และในการคำนวณกำไรสุทธิของสำนักงานใหญ่ โจทก์มีสิทธินำค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรับรองและค่าเสื่อมราคามาเฉลี่ยในการคำนวณได้นั้น โจทก์มิได้ยกข้อดังกล่าวเป็นข้ออ้างเพื่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ในคำฟ้อง แม้ว่าโจทก์และจำเลยจะได้สืบพยานและศาลภาษีอากรกลางได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้จากกำไรของบริษัทต่างประเทศที่ขายสินค้าให้ลูกค้าในไทยโดยผ่านสาขาในไทย และการส่งกำไรออกนอกประเทศ
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 มาตรา 20 บัญญัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ต้องใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี โดยรายได้ที่นำมาคำนวณให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใดแม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณ เป็นรายได้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะใช้เกณฑ์อย่างอื่นแทนเกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรเมื่อโจทก์ไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรเพื่อเปลี่ยนแปลงเกณฑ์สิทธิเพื่อคำนวณรายได้และรายจ่าย ทั้งกิจการของโจทก์มิใช่กิจการตามประเภทระบุไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรที่จะทำให้โจทก์สามารถใช้เกณฑ์อื่นในการคำนวณกำไรสุทธิได้แต่อย่างใดดังนั้น โจทก์จึงต้องใช้ระบบบัญชีเกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี โจทก์จะใช้ระบบบัญชีเกณฑ์เงินสดในการคำนวณกำไรสุทธิหาได้ไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าดอกเบี้ยค้างรับมิใช่รายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องใช้เกณฑ์สิทธินั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ค่าใช้จ่ายที่จะถือว่าเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(18) หรือไม่นั้น โจทก์ต้องพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงิน เมื่อโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงินจำนวนดังกล่าว ย่อมเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(18) แม้เงินกำไรที่พิพาทจะเป็นเงินกำไรที่บริษัทน.ประเทศญี่ปุ่นได้มาจากการขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยโดยตรงไม่ได้ขายสินค้าโดยผ่านโจทก์ซึ่งเป็นสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยเลย แต่เมื่อเงินกำไรที่บริษัทน.ประเทศญี่ปุ่นได้จากการขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยโดยตรงนั้นเป็นกิจกรรมเช่นที่โจทก์ซึ่งเป็นสถานประกอบการถาวรได้ประกอบอยู่โดยปกติ และโจทก์สามารถปฏิบัติได้ จึงถือว่ากำไรทีพิพาทกันเป็นกำไรที่เกิดจากโจทก์ตามความในวรรค 4ของหนังสือที่ผู้แทนรัฐสภาไทยและผู้แทนรัฐบาลญี่ปุ่นจัดทำขึ้น ประกอบกับข้อ 3 วรรค 1 แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ โจทก์จึงต้องเสียภาษีจากกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อมีการส่งเงินกำไรดังกล่าวออกจากประเทศไทย แม้ว่าลูกค้าในประเทศไทยจะเป็นผู้ส่งให้แก่บริษัทน.ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของโจทก์ ก็ย่อมถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นสาขาเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรนั้นออกไปจากประเทศไทย โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 ทวิ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์คำนวณกำไรขั้นต้นถูกต้อง และในการ คำนวณกำไรสุทธิของสำนักงานใหญ่ โจทก์มีสิทธินำค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ การรับรองและค่าเสื่อมราคามาเฉลี่ยในการคำนวณได้นั้นโจทก์มิได้ยกข้อดังกล่าวเป็นข้ออ้างเพื่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ในคำฟ้อง แม้ว่าโจทก์และจำเลยจะได้สืบพยานและศาลภาษีอากรกลางได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้าม มิให้อุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถือครองกรรมสิทธิ์แทนและการยักยอกทรัพย์ จำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนบริษัทผู้เสียหาย ไม่ใช่ผู้ครอบครองทรัพย์
เมื่อจำเลยเป็นแต่เพียงมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนบริษัทผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อันแท้จริงโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้าเกี่ยวข้องครอบครองที่ดินพิพาทแต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352ดังนั้น แม้จำเลยกับ จ. จะไปดำเนินการไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท และนำไปขายโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ ป. กับ ร.โดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัทผู้เสียหาย และเอาเงินที่ได้จากการขายที่ดินพิพาทไป การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำละเมิดจากการสำแดงเท็จเพื่อรับเงินชดเชยภาษีอากร ดอกเบี้ยเริ่มนับจากวันที่รับบัตรภาษี
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1ได้สำแดงข้อความอันเป็นเท็จไว้ในใบขนสินค้าขาออกและแบบแสดงรายการการค้าว่าส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักรแล้วจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าที่ส่งออกนั้น ต่อมากรมศุลกากรโจทก์ได้จ่ายเงินชดเชยเป็นบัตรภาษีให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4ซึ่งเป็นผู้รับโอนบัตรภาษีจากจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่หลอกลวงโจทก์จนเป็นเหตุให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยเป็นบัตรภาษีจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เมื่อมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องเรียกบัตรภาษีคืนจากจำเลยทั้งสี่เป็นมูลหนี้ละเมิด จำเลยทั้งสี่จึงต้องตกเป็นผู้ผิดนัดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์นับแต่วันที่ทำละเมิดคือวันที่รับบัตรภาษีหาใช่นับแต่วันที่จำเลยทั้งสี่ได้รับหนังสือแจ้งให้คืนหรือชดใช้ราคาบัตรภาษีไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการสำแดงเท็จเพื่อรับเงินชดเชยภาษีอากร: ดอกเบี้ยผิดนัดเริ่มนับแต่วันทำละเมิด
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้สำแดงข้อความอันเป็นเท็จไว้ในใบขนสินค้าขาออกและแบบแสดงรายการการค้าว่าส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร แล้วจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าที่ส่งออกนั้น ต่อมากรมศุลกากรโจทก์ได้จ่ายเงินชดเชยเป็นบัตรภาษีให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นผู้รับโอนบัตรภาษีจากจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่หลอกลวงโจทก์จนเป็นเหตุให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยเป็นบัตรภาษีจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ เมื่อมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องเรียกบัตรภาษีคืนจากจำเลยทั้งสี่เป็นมูลหนี้ละเมิด จำเลยทั้งสี่จึงต้องตกเป็นผู้ผิดนัดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์นับแต่วันที่ทำละเมิดคือวันที่รับบัตรภาษี หาใช่นับแต่วันที่จำเลยทั้งสี่ได้รับหนังสือแจ้งให้คืนหรือชดใช้ราคาบัตรภาษีไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานประเมินภาษีการค้าเมื่อผู้ประกอบการยื่นแบบไม่ถูกต้อง และการประเมินรายรับจากภัตตาคาร
เมื่อผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 87(2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจกำหนดรายรับโดยพิจารณาถึงฐานะความเป็นอยู่หรือพฤติการณ์ของผู้ประกอบการค้าหรือสถิติของผู้ประกอบการค้าเองหรือของผู้ประกอบการค้าอื่นที่กระทำกิจการทำนองเดียวกัน หรือพิจารณาจากหลักเกณฑ์อย่างอื่นอันอาจแสดงรายรับได้โดยสมควร ตามมาตรา 87 ทวิ(7)แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชักลากไม้โดยไม่ปฏิบัติตามระเบียบกรมป่าไม้ และความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวน
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4(5) ประกอบมาตรา 11 วรรคหนึ่ง การชักลากไม้ถือเป็นการทำไม้ ดังนั้นการชักลากไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือระเบียบในการชักลากไม้ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย จึงเป็นการทำไม้โดยไม่รับอนุญาตตามมาตรา 11 ซึ่งผู้กระทำ ต้องรับโทษตามมาตรา 73 จำเลยชักลากไม้โดยยังไม่ได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจวัดคำนวณค่าภาคหลวงตามระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการกำหนด หลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไขและระยะเวลาในการชักลาก และนำ ไม้เคลื่อนที่ภายหลังสัมปทานสิ้นสุดลง พ.ศ. 2532 ซึ่งออกตามความในมาตรา 68 เบญจ วรรคท้าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตรวม 2 กระทง พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 68 เบญจ วรรคสาม ที่บัญญัติว่าผู้รับสัมปทานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการเงื่อนไข และระยะเวลาตามที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนดดังกล่าวให้หมดสิทธิในไม้นั้น และให้ไม้นั้นตกเป็นของแผ่นดินเป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดให้ผู้รับสัมปทานหมดสิทธิในไม้โดยให้ไม้ตกเป็นของแผ่นดิน มิใช่หมายความว่าเมื่อไม้ตกเป็นของแผ่นดินแล้วการกระทำไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติมาตราอื่นอีก และเมื่อการกระทำความผิดของจำเลยเป็นการทำไม้ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยจึงมีความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชักลากไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตและในเขตป่าสงวน ถือเป็นความผิดฐานทำไม้ แม้ไม้จะตกเป็นของแผ่นดิน
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4 (5) ประกอบมาตรา11 วรรคหนึ่ง การชักลากไม้ถือเป็นการทำไม้ ดังนั้น การชักลากไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือระเบียบในการชักลากไม้ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย จึงเป็นการทำไม้โดยไม่รับอนุญาตตามมาตรา 11 ซึ่งผู้กระทำต้องรับโทษตามมาตรา 73
จำเลยชักลากไม้โดยยังไม่ได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจวัดคำนวณค่าภาคหลวงตามระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไขและระยะเวลาในการชักลาก และนำไม้เคลื่อนที่ภายหลังสัมปทานสิ้นสุดลงพ.ศ.2532 ซึ่งออกตามความในมาตรา 68 เบญจ วรรคท้าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตรวม 2 กระทง
พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ มาตรา 68 เบญจ วรรคสาม ที่บัญญัติว่าผู้รับสัมปทานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาตามที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนดดังกล่าวให้หมดสิทธิในไม้นั้น และให้ไม้นั้นตกเป็นของแผ่นดินเป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดให้ผู้รับสัมปทานหมดสิทธิในไม้โดยให้ไม้ตกเป็นของแผ่นดิน มิใช่หมายความว่าเมื่อไม้ตกเป็นของแผ่นดินแล้วการกระทำไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติมาตราอื่นอีก และเมื่อการกระทำความผิดของจำเลยเป็นการทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยจึงมีความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนอีกด้วย
จำเลยชักลากไม้โดยยังไม่ได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจวัดคำนวณค่าภาคหลวงตามระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไขและระยะเวลาในการชักลาก และนำไม้เคลื่อนที่ภายหลังสัมปทานสิ้นสุดลงพ.ศ.2532 ซึ่งออกตามความในมาตรา 68 เบญจ วรรคท้าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตรวม 2 กระทง
พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ มาตรา 68 เบญจ วรรคสาม ที่บัญญัติว่าผู้รับสัมปทานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาตามที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนดดังกล่าวให้หมดสิทธิในไม้นั้น และให้ไม้นั้นตกเป็นของแผ่นดินเป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดให้ผู้รับสัมปทานหมดสิทธิในไม้โดยให้ไม้ตกเป็นของแผ่นดิน มิใช่หมายความว่าเมื่อไม้ตกเป็นของแผ่นดินแล้วการกระทำไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติมาตราอื่นอีก และเมื่อการกระทำความผิดของจำเลยเป็นการทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยจึงมีความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความแยกความรับผิดชอบ การบังคับคดีเฉพาะผู้ผิดสัญญา
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมแล้ว ได้ระบุข้อตกลงในการปฏิบัติการชำระหนี้ไว้อย่างชัดแจ้งโดยข้อ 1 ระบุให้จำเลยที่ 1 เพียงคนเดียว เป็นผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์ ส่วนข้อ 2 ระบุให้จำเลยทั้งสองหรือจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คนใดคนหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ในการชำระหนี้ และในข้อ 3 ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ตามข้อตกลงดังกล่าวแสดงว่าจำเลยทั้งสองแยกกันรับผิดในการปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 เพียงคนเดียว จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะบังคับคดีเอาแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้นส่วนสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 6 ที่ระบุว่าหากจำเลยที่ 1ที่ 2 ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความข้อหนึ่งข้อใดให้โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ทันที มีความหมายเพียงว่า ถ้าจำเลยคนใดผิดสัญญาข้อใดก็ให้บังคับคดีเอาแก่จำเลยคนนั้นตามสัญญา แต่ละข้อเท่านั้น เพราะในสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับ ดังกล่าวมิได้มีข้อตกลงให้จำเลยทั้งสองรับผิดร่วมกันในการชำระหนี้แก่โจทก์ การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นของจำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ จึงให้เพิกถอนการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 นั้นเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดในสัญญาประนีประนอมยอมความ: การบังคับคดีเฉพาะตัวผู้ผิดสัญญา
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมแล้ว ได้ระบุข้อตกลงในการปฏิบัติการชำระหนี้ไว้อย่างชัดแจ้ง โดยข้อ 1 ระบุให้จำเลยที่ 1 เพียงคนเดียว เป็นผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์ ส่วนข้อ 2ระบุให้จำเลยทั้งสองหรือจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คนใดคนหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ในการชำระหนี้ และในข้อ 3 ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ตามข้อตกลงดังกล่าวแสดงว่าจำเลยทั้งสองแยกกันรับผิดในการปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 เพียงคนเดียว จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะบังคับคดีเอาแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น ส่วนสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 6 ที่ระบุว่าหากจำเลยที่ 1 ที่ 2 ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความข้อหนึ่งข้อใดให้โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ทันที มีความหมายเพียงว่า ถ้าจำเลยคนใดผิดสัญญาข้อใดก็ให้บังคับคดีเอาแก่จำเลยคนนั้นตามสัญญาแต่ละข้อเท่านั้น เพราะในสัญญาประนี-ประนอมยอมความฉบับดังกล่าวมิได้มีข้อตกลงให้จำเลยทั้งสองรับผิดร่วมกันในการชำระหนี้แก่โจทก์ การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นของจำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ จึงให้เพิกถอนการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2นั้นเสีย