คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เรืองฤทธิ์ ศรีวรรธนะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1038/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต้องแยกจากกัน คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่อาจพิจารณาประเด็นนอกเหนือจากที่อุทธรณ์
ป.รัษฎากรได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินกับคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้ต่างหากจากกัน โดยเริ่มแรกหากเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไว้ไม่ถูกต้องตรงความเป็นจริง หรือไม่บริบูรณ์ ก็มีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแสดงได้ แล้วมีอำนาจแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิม โดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏ แล้วแจ้งจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระหรือต้องชำระเพิ่มไปยังผู้ที่ ต้องเสียภาษีอากร ในกรณีนี้ผู้ต้องเสียภาษีจะอุทธรณ์การประเมินก็ได้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 และ 20 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรดังกล่าวตามประเด็น ที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้ และผู้ที่ต้องเสียภาษีอากรได้อุทธรณ์ จะไปพิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินและผู้อุทธรณ์มิได้อุทธรณ์ รวมทั้งจะเปลี่ยนแปลงหรือประเมินเพิ่มเติมจากที่ประเมินไว้เดิมไม่ได้ เพราะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ใช่เจ้าพนักงานประเมินและยังเป็นการข้ามขั้นตอนโดยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 19 และ 20 แห่ง ป.รัษฎากรด้วย อีกทั้งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 31 วรรคสอง ก็มิใช่บทบัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาประเด็นใดหรือทำการประเมินเองก็ได้แต่อย่างใด ดังนั้นการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยให้ปลดภาษีโจทก์จากการประเมินตามมาตรา 71 (1) แล้วให้ประเมินภาษีของโจทก์ใหม่ตามมาตรา 65 โดยไม่ได้แจ้งให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินใหม่ จึงเป็นการพิจารณา ในประเด็นข้ออื่นที่มิได้ประเมินและอุทธรณ์ไว้ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบ ด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่มของสำนักงานใหญ่และสาขา โดยไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย
โจทก์มีสำนักงานสาขาแยกต่างหากจากสำนักงานใหญ่ถือว่าโจทก์มีสถานประกอบการหลายแห่ง โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีเป็นรายสถานประกอบการ การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีของสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขารวมกันโดยไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร จึงเป็นการฝ่าฝืนประมวลรัษฎากร มาตรา 83 วรรคสี่ เมื่อโจทก์ได้รับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) เฉพาะของสำนักงานใหญ่ แบบแสดงรายการภาษีที่ยื่นจึงเป็นแบบแสดงรายการภาษีเฉพาะของสำนักงานใหญ่ การที่โจทก์นำภาษีซื้อของสำนักงานสาขามาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของสำนักงานใหญ่โดยไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรจึงไม่ชอบ แม้คำฟ้องโจทก์จะบรรยายว่า การที่อธิบดีกรมสรรพากรไม่อนุมัติให้โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีรวมกันไม่ชอบ แต่โจทก์ก็มิได้มีคำขอท้ายฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งไม่อนุมัติดังกล่าว คำสั่งไม่อนุมัติดังกล่าวจะชอบหรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นในคดีนี้ แม้ศาลภาษีอากรกลางจะรับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528มาตรา 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 88(2) แห่งประมวลรัษฎากรประเมินภาษีโจทก์ ดังนั้น เจ้าพนักงานประเมินจะมีอำนาจ ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา (1) แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นในคดีนี้ อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อนี้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกยื่นภาษีของสำนักงานสาขา และการหักภาษีซื้อข้ามสถานประกอบการ
โจทก์มีสำนักงานสาขาแยกต่างหากจากสำนักงานใหญ่ ถือว่าโจทก์มีสถานประกอบการหลายแห่ง โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีเป็นรายสถานประกอบการ การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีของสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขารวมกันโดยไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร จึงเป็นการฝ่าฝืน ป.รัษฎากร มาตรา 83 วรรคสี่ เมื่อโจทก์ได้รับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) เฉพาะของสำนักงานใหญ่ แบบแสดงรายการภาษีที่ยื่นจึงเป็นแบบแสดงรายการภาษีเฉพาะของสำนักงานใหญ่ การที่โจทก์นำภาษีซื้อของสำนักงานสาขามาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของสำนักงานใหญ่โดยไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรจึงไม่ชอบ
แม้คำฟ้องโจทก์จะบรรยายว่า การที่อธิบดีกรมสรรพากรไม่อนุมัติให้โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีรวมกันไม่ชอบ แต่โจทก์ก็มิได้มีคำขอท้ายฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งไม่อนุมัติดังกล่าว คำสั่งไม่อนุมัติดังกล่าวจะชอบหรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นในคดีนี้ แม้ศาลภาษีอากรกลางจะรับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 88 (2) แห่ง ป.รัษฎากร ประเมินภาษีโจทก์ ดังนั้นเจ้าพนักงานประเมินจะมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 88 (1) แห่งป.รัษฎากรหรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นในคดีนี้ อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเสียภาษีการค้าสำหรับสัญญาจะขายวัสดุก่อสร้างที่ผ่อนชำระก่อน 1 ม.ค. 2535 และอำนาจวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากร
ตามมาตรา 26 วรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 นั้น เป็นเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผ่อนผันให้ผู้ประกอบการการขายสินค้าหรือการให้บริการได้รับสิทธิชำระภาษีการค้าต่อไปโดยได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าตามสัญญาจะขายหรือให้เช่าซื้อสินค้า การให้เช่าเครื่องจักร เครื่องมือ หรือเครื่องกลที่ใช้ในการผลิตหรือการให้บริการ ที่ได้มีการทำสัญญาจะขาย สัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่าและมีการผ่อนชำระหรือชำระค่าเช่าตามสัญญาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 ซึ่งวรรคห้าของมาตรา 26 บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติตามมาตรานี้ให้อธิบดีมีอำนาจวินิจฉัย และคำวินิจฉัยของอธิบดีให้ถือเป็นที่สุด" นั้น หมายความว่า บทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรที่จะวินิจฉัยปัญหาข้อขัดข้องต่าง ๆ ในชั้นที่ผู้ประกอบการยื่นคำขอรับสิทธิเสียภาษีการค้าต่อไปอีกว่า กรณีเข้าหลักเกณฑ์และถูกต้องตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ดังนั้น ที่กฎหมายบัญญัติว่า คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับปัญหาในการปฏิบัติตามมาตรานี้เป็นที่สุด จึงย่อมต้องหมายความว่าเป็นที่สุดในขั้นตอนของการปฏิบัติงานในชั้นนี้เท่านั้น เพื่อที่จะได้ดำเนินการตามขั้นตอนตามมาตราอื่นต่อไป หาได้ทำให้ขั้นตอนอื่นที่กฎหมายกำหนดเป็นอันยุติไปด้วยไม่ หากจะแปลตามมาตรา 26 วรรคห้า ว่า คำวินิจฉัยอธิบดีกรมสรรพากรกรณีนี้เป็นที่สุด ไม่สามารถยกขึ้นพิจารณาทบทวนได้อีก แม้คำวินิจฉัยนั้นไม่มีกฎหมายให้อำนาจหรือปราศจากพยานหลักฐานและเหตุผลสนับสนุนเพียงพอก็จะเป็นการให้อำนาจเด็ดขาดแก่อธิบดีกรมสรรพากรแต่เพียงผู้เดียว ทั้งจะเป็นการทำลายระบบการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรที่กฎหมายบัญญัติไว้ด้วย ดังนั้น เมื่อคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรที่ว่าโจทก์ไม่ได้รับสิทธิเสียภาษีการค้าหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ขายวัสดุอุปกรณ์ เช่นเหล็ก หิน ปูน ทราย ซีเมนต์ ไม้ อิฐ กระเบื้อง พรม สุขภัณฑ์ ท่อ สายไฟฟ้า สีที่ใช้ในการตกแต่งห้องชุด ซึ่งแยกต่างหากจากโครงสร้างอาคาร โดยทำสัญญาจะซื้อจะขายกับลูกค้า จำเลยหาได้ให้การปฏิเสธว่า เหล็ก หิน ทราย ซีเมนต์ ไม้และอิฐ ที่โจทก์ทำสัญญาจะขายให้แก่ลูกค้ามิใช่วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตกแต่งอาคารชุดแต่อย่างใดไม่ ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติตามคำฟ้องว่า เหล็ก หิน ทราย ซีเมนต์ ไม้และอิฐ ที่โจทก์ทำสัญญาจะขายตามฟ้องเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตกแต่งห้องชุดอุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า เหล็ก หิน ทราย ซีเมนต์ ไม้ อิฐ ที่โจทก์ทำสัญญาจะขายให้แก่ลูกค้า มิได้เป็นวัสดุอุปกรณ์ในการตกแต่งห้องชุด แต่เป็นวัสดุก่อสร้างตัวอาคารโดยตรงนั้น จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากร ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า สัญญาจะซื้อจะขายมีได้เฉพาะอสังหาริมทรัพย์แต่ทรัพย์สินที่โจทก์ขายแก่ลูกค้าเป็นสังหาริมทรัพย์ จึงไม่อาจจะเป็นสัญญาจะซื้อขายได้นั้น เกี่ยวกับการประเมินภาษีรายนี้ นอกจากจะมีคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรว่า โจทก์ไม่ได้รับสิทธิเสียภาษีการค้าต่อไปแล้ว อธิบดีกรมสรรพากรยังได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์ที่โจทก์ทำกับลูกค้านั้นว่า "กรณีเป็นสัญญาจะขายหากมีการผ่อนชำระเงินตามสัญญา โดยมีหลักฐานชัดแจ้ง บริษัท (โจทก์) ก็ย่อมได้รับสิทธิเสียภาษีการค้า หรือยกเว้นภาษีการค้าต่อไปตามมาตรา 26" คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับปัญหาในทางปฏิบัติตามมาตรา26 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 โดยวินิจฉัยว่าสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์ที่โจทก์ทำกับลูกค้าที่ซื้อห้องชุดโครงการ ส.และโครงการก.เป็นสัญญาจะขายไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยได้กล่าวอ้างว่าคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรฉบับนี้ไม่ชอบแต่อย่างใด ทั้งไม่มีคู่ความฝ่ายใดขอให้ยกเลิกเพิกถอนด้วยคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรที่ว่า กรณีเป็นสัญญาจะขายจึงถึงที่สุด ตามมาตรา26 วรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534จำเลยจึงโต้เถียงว่าสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์มิใช่สัญญาจะขายอีกไม่ได้
การรับเงินค่างวดจากลูกค้าผู้ทำสัญญาซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการตกแต่งห้องชุด ซึ่งมีการผ่อนชำระตามสัญญาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 นั้น เพื่อความสะดวกแก่ลูกค้าที่จะได้ชำระเงินในคราวเดียว โจทก์จึงให้บริษัท ส. และบริษัท ก. ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการรับเงินจากลูกค้าแทน ตามตัวอย่างใบเสร็จรับเงินค่างวดจากลูกค้าของบริษัท ส. ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2534 ออกให้แก่ ว.ระบุรายละเอียดว่าเป็นการชำระค่างวดที่ 12 ห้อง 2015 จำนวน 20,000 บาทแยกเป็น รับชำระค่างวดบริษัท ส.จำนวน 9,000 บาท รับชำระค่างวดแทนบริษัทโจทก์จำนวน 10,000 บาท และรับชำระค่างวดแทนบริษัท ย.จำนวน 1,000บาท ส่วนใบเสร็จรับเงินของบริษัท ก.ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2534 ออกให้แก่ ร.ระบุรายละเอียดว่าชำระค่างวดที่ 6 ห้อง 1810 จำนวน 18,000 บาท แยกเป็นรับชำระค่างวดบริษัท ก.จำนวน 9,200 บาท รับชำระค่างวดแทนบริษัทโจทก์จำนวน8,000 บาท และรับชำระค่างวดแทนบริษัท ย.จำนวน 800 บาท แสดงว่าลูกค้าซึ่งได้ทำสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์อันเป็นสัญญาจะขายกับโจทก์ได้ผ่อนชำระเงินตามสัญญานั้นแล้วก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 โดยชำระแก่บริษัท ส.หรือบริษัท ก.ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์
การรับชำระเงินที่ลูกค้าผ่อนชำระตามสัญญาจะซื้อขายนั้นกฎหมายมิได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้น การที่โจทก์ตั้งบริษัท ส. และบริษัท ก.เป็นตัวแทนรับชำระเงินจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือ
วิธีการใช้เกณฑ์สิทธิเพื่อคำนวณรายได้และรายจ่าย ที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 65 เป็นข้อกฎหมาย คู่ความจึงไม่ต้องนำสืบ
โจทก์เป็นผู้ประกอบการการขายสินค้าซึ่งได้ทำสัญญาจะขายและลูกค้าได้ผ่อนชำระตามสัญญานั้นแล้วก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 เมื่อโจทก์ยื่นคำขอรับสิทธิเพื่อเสียภาษีการค้าต่อไปภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ 1 มกราคม2535 โจทก์ย่อมได้รับสิทธิเสียภาษีการค้าตามหมวด 4 ในลักษณะ 2 แห่งป.รัษฎากร ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 มาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเสียภาษีการค้าสำหรับสัญญาจะขายที่ลูกค้าผ่อนชำระก่อน 1 มกราคม 2535
ตามมาตรา 26 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 นั้น เป็นเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผ่อนผันให้ผู้ประกอบการการขายสินค้าหรือการให้บริการให้บริการได้รับสิทธิชำระภาษีการค้าต่อไปโดยได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าตามสัญญาจะขายหรือให้เช่าซื้อสินค้า การให้เช่าเครื่องจักร เครื่องมือ หรือเครื่องกลที่ใช้ในการผลิตหรือการให้บริการ ที่ได้มีการทำสัญญาจะขาย สัญญาเช่าซื้อสัญญาเช่าและมีการผ่อนชำระหรือชำระค่าเช่าตามสัญญาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 ซึ่งวรรคห้าของมาตรา 26 บัญญัติว่า"ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติตามมาตรานี้ให้อธิบดีมีอำนาจวินิจฉัย และคำวินิจฉัยของอธิบดีให้ถือเป็นที่สุด" นั้นหมายความว่า บทบัญญัติดังกล่าว ให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรที่จะวินิจฉัยปัญหาข้อขัดข้องต่าง ๆ ในชั้นที่ผู้ประกอบการยื่นคำขอรับสิทธิเสียภาษีการค้าต่อไปอีกว่า กรณีเข้าหลักเกณฑ์และถูกต้องตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ดังนั้นที่กฎหมายบัญญัติว่า คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับปัญหาในการปฏิบัติตามมาตรานี้เป็นที่สุด จึงย่อมต้องหมายความว่าเป็นที่สุดในขั้นตอนของการปฏิบัติงานในชั้นนี้เท่านั้น เพื่อที่จะได้ดำเนินการตามขั้นตอนตามมาตราอื่นต่อไป หาได้ทำให้ขั้นตอนอื่นที่กฎหมายกำหนดเป็นอันยุติไปด้วยไม่ หากจะแปลตามมาตรา 26 วรรคห้า ว่า คำวินิจฉัยอธิบดีกรมสรรพากรกรณีนี้เป็นที่สุด ไม่สามารถยกขึ้นพิจารณาทบทวนได้อีก แม้คำวินิจฉัยนั้นไม่มีกฎหมายให้อำนาจหรือปราศจากพยานหลักฐานและเหตุผลสนับสนุนเพียงพอก็จะเป็นการให้อำนาจเด็ดขาดแก่อธิบดีกรมสรรพากรแต่เพียงผู้เดียว ทั้งจะเป็นการทำลายระบบการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรที่กฎหมายบัญญัติไว้ด้วย ดังนั้น เมื่อคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรที่ว่าโจทก์ไม่ได้รับสิทธิเสียภาษีการค้าหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์โจทก์ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ขายวัสดุอุปกรณ์ เช่นเหล็ก หิน ปูน ทราบ ซีเมนต์ ไม้ อิฐ กระเบื้อง พรมสุขภัณฑ์ท่อ สายไฟฟ้า สี ที่ใช้ในการตกแต่งห้องชัด ซึ่งแยกต่างหากจากโครงสร้างอาคาร โดยทำสัญญาจะซื้อจะขายกับลูกค้าจำเลยหาได้ให้การปฏิเสธว่า เหล็ก หิน ทราบ ซีเมนต์ไม้ และอิฐ ที่โจทก์ทำสัญญาจะขายให้แก่ลูกค้ามิใช่วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตกแต่งอาคารชุดแต่อย่างใดไม่ ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติตามคำฟ้องว่า เหล็ก หิน ทราบ ซีเมนต์ไม้ และอิฐ ที่โจทก์ทำสัญญาจะขายตามฟ้องเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตกแต่งห้องชุดอุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า เหล็ก หินทราบ ซีเมนต์ ไม้ อิฐ ที่โจทก์ทำสัญญาจะขายให้แก่ลูกค้ามิได้เป็นวัสดุอุปกรณ์ในการตกแต่งห้องชุด แต่เป็นวัสดุก่อสร้างตัวอาคารโดยตรงนั้น จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากร ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า สัญญาจะซื้อขายมิได้เฉพาะอสังหาริมทรัพย์แต่ทรัพย์สินที่โจทก์ขายแก่ลูกค้าเป็นสังหาริมทรัพย์ จึงไม่อาจจะเป็นสัญญาจะซื้อขายได้นั้น เกี่ยวกับการประเมินภาษีรายนี้นอกจากจะมีคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรว่า โจทก์ไม่ได้รับสิทธิเสียภาษีการค้าต่อไปแล้ว อธิบดีกรมสรรพากรยังได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์ที่โจทก์ทำกับลูกค้านั้นว่า "กรณีเป็นสัญญาจะขายหากมีการผ่อนชำระเงินตามสัญญา โดยมีหลักฐานชัดแจ้ง บริษัท (โจทก์) ก็ย่อมได้รับสิทธิเสียภาษีการค้า หรือยกเว้นภาษีการค้าต่อไปตามมาตรา 26"คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับปัญหาในทางปฏิบัติตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30)พ.ศ. 2534 โดยวินิจฉัยว่าสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์ที่โจทก์ทำกับลูกค้าที่ซื้อห้องชุดโครงการ ส. และโครงการ ก.เป็นสัญญาจะขายไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยได้กล่าวอ้างว่าคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรฉบับนี้ไม่ชอบแต่อย่างใดทั้งไม่มีคู่ความฝ่ายใดขอให้ยกเลิกเพิกถอนด้วยคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรที่ว่า กรณีเป็นสัญญาจะขายจึงถึงที่สุดตามมาตรา 26 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 จำเลยจึงโต้เถียงว่าสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์มิใช่สัญญาจะขายอีกไม่ได้ การรับเงินค่างวดจากลูกค้าผู้ทำสัญญาซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการตกแต่งห้องชุด ซึ่งมีการผ่อนชำระตามสัญญาก่อนวันที่1 มกราคม 2535 นั้น เพื่อความสะดวกแก่ลูกค้าที่จะได้ชำระเงินในคราวเดียว โจทก์จึงให้บริษัทส. และบริษัทก. ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการรับเงินจากลูกค้าแทน ตามตัวอย่างใบเสร็จรับเงินค่างวดจากลูกค้าของบริษัทส.ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2534ออกให้แก่ ว. ระบุรายละเอียดว่าเป็นการชำระค่างวดที่ 12 ห้อง2015 จำนวน 20,000 บาท แยกเป็น รับชำระค่างวดบริษัทส. จำนวน 9,000 บาท รับชำระค่างวดแทนบริษัทโจทก์จำนวน 10,000 บาท และรับชำระค่างวดแทนบริษัทย.จำนวน 1,000 บาท ส่วนใบเสร็จรับเงินของบริษัทก.ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2534 ออกให้แก่ ร. ระบุรายละเอียดว่าชำระค่างวดที่ 6 ห้อง 1810 จำนวน 18,000 บาท แยกเป็นรับชำระค่างวดบริษัท ก. จำนวน 9,200 บาท รับชำระค่างวดแทนบริษัทโจทก์จำนวน 8,000 บาท และรับชำระค่างวดแทนบริษัทย. จำนวน 800 บาท แสดงว่าลูกค้าซึ่งได้ทำสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์อันเป็นสัญญาจะขายกับโจทก์ได้ผ่อนชำระเงินตามสัญญานั้นแล้วก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 โดยชำระแก่บริษัทส.หรือบริษัทก.ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ การรับชำระหนี้ที่ลูกค้าผ่อนชำระตามสัญญาจะซื้อขายนั้นกฎหมายมิได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้น การที่โจทก์ตั้งบริษัทส. และบริษัทก.เป็นตัวแทนรับชำระเงินจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือ วิธีการใช้เกณฑ์สิทธิเพื่อคำนวณรายได้และรายจ่ายที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 645 เป็นข้อกฎหมายคู่ความจึงไม่ต้องนำสืบ โจทก์เป็นผู้ประกอบการขายสินค้าซึ่งได้ทำสัญญาจะขายและลูกค้าได้ผ่อนชำระตามสัญญานั้นแล้วก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535เมื่อโจทก์ยื่นคำขอรับสิทธิเพื่อเสียภาษีการค้าต่อไปภายใน30 วัน นับแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 โจทก์ย่อมได้รับสิทธิเสียภาษีการค้าตามหมวด 4 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรก่อนการแก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ตาม พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 มาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ชำระบัญชีละเว้นการชำระภาษีอากรหลังเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีต้องรับผิดในหนี้ภาษี
จำเลยที่ 2 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2538 หลังจากที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินซึ่งจะต้องชำระภาษีอากรตามฟ้องเพียง 9 วัน จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 ควรจะต้องรู้ว่าการขายที่ดินดังกล่าวเป็นการขายเพื่อการค้าหรือหากำไร เพราะจำเลยที่ 1ซื้อที่ดินทั้งหมดมาในราคาประมาณ 7,000,000 บาท แต่ขายต่อไปในระยะเวลาประมาณ 6 เดือน เป็นเงินถึง 124 ล้านบาทเศษ ซึ่งการขายในลักษณะดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ภายหลังจากการขายที่ดินดังกล่าวในวันที่ 5 กันยายน 2538แล้วก็ได้มีการแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชีเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2538 และหลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็รีบไปจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 ในวันที่ 20 กันยายน 2538 และไปจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2538 กรณีจึงน่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2ได้รู้ว่าในการขายที่ดินดังกล่าวนี้ บริษัทจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชี และบริษัทจำเลยที่ 1 จึงได้ร่วมกับบริษัทจำเลยที่ 1 รีบจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1และรีบจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการชำระบัญชีของจำเลยที่ 2 ยังปรากฏว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ยังมีเงินสดเหลืออยู่อีกจำนวน 1,480,108.75บาท การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีได้แบ่งเงินที่เหลือดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกคนเฉลี่ยตามสัดส่วนของการถือหุ้น จึงเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ.มาตรา 1269เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่นำเงินที่เหลือจำนวน 1,480,108.75 บาท ไปชำระหนี้ภาษีตามฟ้องให้แก่กรมสรรพากรโจทก์ก่อน จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 นับตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ชำระบัญชีในวงเงินไม่เกิน1,480,108.75 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายน้ำมันโดยบริษัทในเครือต่างประเทศ ไม่ถือเป็นกิจการหรือเนื่องจากกิจการของโจทก์ ไม่ต้องเสียภาษี
โจทก์ฟ้องว่า บริษัทในเครือของบริษัท อ.ซึ่งอยู่ต่างประเทศเป็นผู้ขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ในต่างประเทศโดยลำพังตนเอง ไม่ได้ขายแทนโจทก์ จำเลยให้การว่า การขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ในต่างประเทศบริษัทในเครือของบริษัท อ.เป็นผู้กระทำแทนโจทก์ และศาลภาษีอาการกลางกำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่าโจทก์มีรายได้จากการที่กระทำให้บริษัท อ. หรือบริษัทสาขาหรือบริษัทในเครือใด ๆ ของบริษัท อ.มีการขายและส่งมอบน้ำมันให้แก่บริษัท ก.ในต่างประเทศหรือไม่ คำว่า รายได้ในประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว หมายถึงรายได้ซึ่งเป็นฐานในการคำนวณหากำไรสุทธิอันเป็นเงินได้ที่จะต้องเสียภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งต้องเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำ ดังนั้น ที่ศาลภาษีอากรกลางหยิบยกปัญหาว่า การขายและส่งมอบน้ำมันให้แก่บริษัท ก.ในต่างประเทศเป็นกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำของโจทก์หรือไม่ขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทหาได้เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบไม่
ตามสัญญาระหว่างโจทก์และบริษัท ก. ได้ตกลงให้อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายแห่งประเทศไทย และมีข้อสัญญาระบุว่า กรรมสิทธิ์ในน้ำมันเป็นของผู้ซื้อ เมื่อได้ผ่านเข้าระบบเชื้อเพลิงใต้ปีกเครื่องบินแล้ว ซึ่งต้องมีการตวงวัดปริมาณน้ำมัน เพื่อให้รู้กำหนดราคาน้ำมันที่แน่นอนแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แต่เป็นสัญญาซื้อขายที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายจะโอนไปยังผู้ซื้อเมื่อได้มีการตวงวัดปริมาณน้ำมันเพื่อให้รู้กำหนดราคาทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ.มาตรา 460 วรรคสอง เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อความในตอนต้นของสัญญาที่ว่า ผู้ขายตกลงที่จะขายและส่งมอบหรือกระทำให้มีการส่งมอบโดยอีกฝ่ายหนึ่งตามที่ผู้ขายจะเลือก กับข้อความในสัญญาดังกล่าวที่ว่า สัญญานี้ผู้ขายอาจมอบหมายทั้งหมดหรือบางส่วนให้แก่ฝ่ายใด ๆ ตามที่ตนจะกำหนด และข้อความในตอนต้นของสัญญาที่ว่าผู้ขายตกลงที่จะขายและส่งมอบหรือกระทำให้มีการขายและส่งมอบ ซึ่งเชื้อเพลิงอากาศยานเทอร์โบกับข้อความในสัญญาอีกข้อหนึ่งที่ว่าผู้ขายอาจโอนสิทธิของตนภายใต้สัญญานี้ทั้งหมดหรือบางส่วน และ/หรือกระทำให้ข้อผูกพันของตนข้อหนึ่งข้อใดหรือทั้งหมดได้รับการปฏิบัติตามโดยผู้อื่นแล้ว แสดงว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายตามสัญญามีสิทธิที่จะขายหรือส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ด้วยตนเองให้ตัวแทนส่งมอบ หรือจะให้บุคคลอื่นเป็นผู้ขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ก็ได้
การที่บริษัท อ.ในต่างประเทศขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ในต่างประเทศ เป็นการที่ขายด้วยตนเอง มิได้กระทำในฐานะตัวแทนของโจทก์ และโจทก์มิได้รับผลประโยชน์จากกรณีดังกล่าว การขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.จึงมิใช่กิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่ต้องเสียภาษีส่งเงินได้นิติบุคคลจากการขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ในต่างประเทศ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิการขายน้ำมันของบริษัทในเครือต่างประเทศ การขายน้ำมันโดยบริษัทในเครือต่างประเทศไม่ใช่กิจการของโจทก์
โจทก์ฟ้องว่า บริษัทในเครือของบริษัท อ. ซึ่งอยู่ต่างประเทศเป็นผู้ขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ในต่างประเทศโดยลำพังตนเอง ไม่ได้ขายแทนโจทก์ จำเลยให้การว่า การขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก. ในต่างประเทศบริษัทในเครือของบริษัท อ. เป็นผู้กระทำแทนโจทก์ และศาลภาษีอากรกลางกำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่าโจทก์มีรายได้จากการที่กระทำให้บริษัท อ. หรือบริษัทสาขาหรือบริษัทในเครือใด ๆ ของบริษัท อ. มีการขายและส่งมอบน้ำมันให้แก่บริษัท ก. ในต่างประเทศหรือไม่ คำว่า รายได้ในประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว หมายถึงรายได้ซึ่งเป็นฐานในการคำนวณหากำไรสุทธิอันเป็นเงินได้ที่จะต้องเสียภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งต้องเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำ ดังนั้น ที่ศาลภาษีอากรกลางหยิบยกปัญหาว่า การขายและส่งมอบน้ำมันให้แก่บริษัท ก. ในต่างประเทศเป็นกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำของโจทก์หรือไม่ขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทหาได้เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบไม่ ตามสัญญาระหว่างโจทก์และบริษัท ก. ได้ตกลงให้อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายแห่งประเทศไทย และมีข้อสัญญาระบุว่ากรรมสิทธิ์ในน้ำมันเป็นของผู้ซื้อ เมื่อได้ผ่านเข้าระบบเชื้อเพลิงใต้ปีกเครื่องบินแล้ว ซึ่งต้องมีการตวงวัดปริมาณน้ำมัน เพื่อให้รู้กำหนดราคาน้ำมันที่แน่นอนแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แต่เป็นสัญญาซื้อขายที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายจะโอนไปยังผู้ซื้อเมื่อได้มีการตวงวัดปริมาณน้ำมันเพื่อให้รู้กำหนดราคาทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 460 วรรคสอง เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อความในตอนต้นของสัญญาที่ว่า ผู้ขายตกลงที่จะขายและส่งมอบหรือกระทำให้มีการส่งมอบโดยอีกฝ่ายหนึ่งตามที่ผู้ขายจะเลือกกับข้อความในสัญญาดังกล่าวที่ว่า สัญญานี้ผู้ขายอาจมอบหมายทั้งหมดหรือบางส่วนให้แก่ฝ่ายใด ๆ ตามที่ตนจะกำหนด และข้อความในตอนต้นของสัญญาที่ว่าผู้ขายตกลงที่จะขายและส่งมอบหรือกระทำให้มีการขายและส่งมอบ ซึ่งเชื้อเพลิงอากาศยานเทอร์โบกับข้อความในสัญญาอีกข้อหนึ่งที่ว่าผู้ขายอาจโอนสิทธิของตนภายใต้สัญญานี้ทั้งหมดหรือบางส่วน และ/หรือกระทำให้ข้อผูกพันของตนข้อหนึ่งข้อใดหรือทั้งหมดได้รับการปฏิบัติตามโดยผู้อื่นแล้ว แสดงว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายตามสัญญามีสิทธิที่จะขายหรือส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ด้วยตนเองให้ตัวแทนส่งมอบ หรือจะให้บุคคลอื่นเป็นผู้ขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก. ก็ได้ การที่บริษัท อ. ในต่างประเทศขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก. ในต่างประเทศ เป็นการที่ขายด้วยตนเอง มิได้กระทำในฐานะตัวแทนของโจทก์ และโจทก์มิได้รับผลประโยชน์จากกรณีดังกล่าว การขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก. จึงมิใช่กิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่ต้องเสียภาษีส่งเงินได้นิติบุคคลจากการขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก. ในต่างประเทศ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดก: กรณีที่ยังไม่ได้แบ่งปัน
เมื่อทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกที่พิพาทยังอยู่ระหว่างทายาทครอบครองร่วมกันและยังมิได้มีการแบ่งปันกัน แม้จำเลยจะครอบครองทรัพย์มรดกก็เป็นการครอบครองทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกที่ยังมิได้แบ่งปันกัน เป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วย แม้โจทก์จะฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด1 ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายหรือนับแต่เมื่อโจทก์รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก คดีของโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 และเมื่อพ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสตูล พ.ศ.2489 มาตรา 3 กำหนดให้การวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องอายุความมรดกไม่อยู่ในบังคับต้องใช้กฎหมายอิสลาม กรณีจึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิการฎีกาในความผิดที่เหลือ หลังศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 147,86 รวม 40 กระทง ให้ลงโทษจำคุกกระทงละ 4 ปี รวมเป็นจำคุก 160 ปี จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิด 30 กระทง จำคุกกระทงละ4 ปี รวมเป็นจำคุก 120 ปี ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าว เท่ากับความผิดที่เหลือ 30 กระทง ศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษายืนและลงโทษจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน5 ปี จำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดที่เหลือทั้ง 30 กระทงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
of 36