พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8119/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การพิจารณาพื้นที่ใช้ประโยชน์ต่อเนื่องและเงินช่วยเหลือค่าก่อสร้าง
การที่โจทก์ชำระหนี้ค่าภาษีแทนสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โจทก์ร่วมในนามของโจทก์ร่วมตามความผูกพันในสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมนั้น ทำให้โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการชำระค่าภาษีดังกล่าวแทนโจทก์ร่วมหากปรากฏว่าจำเลยเรียกเก็บภาษีเกินไป จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยึดเงินส่วนที่เกินนั้นไว้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับคืนเงินดังกล่าวจากจำเลยและมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลย คืนเงินส่วนที่เกินให้แก่โจทก์ได้ โจทก์หาจำต้องมีนิติสัมพันธ์ กับจำเลยจึงจะมีอำนาจฟ้องจำเลยไม่ โจทก์ร่วมมิได้ยื่นฟ้องเองหรือมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องภายใน 30 วัน นับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 31แต่โจทก์ได้ยื่นฟ้องเองภายในกำหนดเวลาดังกล่าว และต่อมาเมื่อพ้นกำหนดเวลานั้นแล้ว โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้ โดยอ้างว่าโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของโรงเรือนพิพาทและโจทก์มีหน้าที่ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนโจทก์ร่วมตามสัญญาเช่าซึ่งศาลเห็นว่ากรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงอนุญาตตามคำร้องและได้ออกหมายเรียกโจทก์ร่วมให้เข้าเป็น โจทก์ร่วมในคดีนี้ ดังนั้น การที่โจทก์ร่วมเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้จึงเป็นการเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามคำสั่งของศาล เนื่องจากศาลเห็นจำเป็นที่จะเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ ในส่วนที่โจทก์ร่วมให้โจทก์เช่านั้น โจทก์ร่วมได้ค่าตอบแทนการให้เช่าที่ดิน 390,000,000 บาท ได้อาคารศูนย์การค้าและโรงแรมพร้อมทั้งอุปกรณ์และได้ค่าเช่าที่ดินและอาคารอีกปีละ 24,000,000 บาท ดังนี้ ค่าตอบแทนการให้เช่าที่ดินจำนวนดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ได้มีการชำระให้โจทก์ล่วงหน้า จึงต้องนำมาเฉลี่ยตามจำนวนปีที่เช่าแล้วรวมคำนวณเพื่อกำหนดค่ารายปีในการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ร่วมด้วย เงินค่าตอบแทนค่าเช่าที่ดินดังกล่าว ไม่เป็นการซ้ำซ้อนกับค่าเช่าที่ดินตามสัญญาเช่าแต่อย่างใด ที่คณะกรรมการของจำเลยนำค่าตอบแทนการเช่าที่ดินมารวมคำนวณเพื่อกำหนดค่ารายปีจึงถูกต้องและชอบแล้ว สำหรับส่วนที่โจทก์นำไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงนั้นสัญญาเช่าช่วงมีทั้งมีการเก็บค่าเช่าอย่างเดียวและมีการเก็บค่าเช่ากับค่าช่วยค่าก่อสร้างด้วยรายไหนเก็บเงินช่วยค่าก่อสร้างก็คิดค่าเช่าถูกลง รายไหนไม่ได้มีการเรียกเก็บเงินช่วยก่อสร้างล่วงหน้าก็คิดค่าเช่าต่อเดือนแพงกว่ากันมากโดยรายที่มีการคิดค่าเช่าอย่างเดียว คิดค่าเช่าตารางเมตรละ798 บาท ส่วนสัญญาเช่าที่มีการเก็บเงินช่วยค่าก่อสร้างคิดค่าเช่าตารางเมตรละ 20 บาท จึงฟังได้ว่าเงินช่วยค่าก่อสร้างที่โจทก์เรียกเก็บจากผู้เช่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่โจทก์เรียกเก็บล่วงหน้า จึงต้องนำมาเฉลี่ยตามจำนวนปีที่เช่าเพื่อคิดคำนวณเป็นค่ารายปีที่แท้จริงด้วยและการคิดคำนวณตามวิธีดังกล่าวไม่เป็นการซ้ำซ้อนกันเพราะนำมาคิดรวมเฉลี่ยเป็นค่าเช่าที่โจทก์ให้เช่า ทั้งไม่เป็นการซ้ำซ้อนกับมูลค่าของโรงเรือนพิพาทเพราะไม่ได้นำมูลค่าของโรงเรือนพิพาทมารวมคำนวณด้วย ลานอเนกประสงค์ของโจทก์ คือพื้นที่ว่างภายในตัวอาคารรวมกับเนื้อที่นอกตัวอาคารต่อจากทางเดินภายนอกจนถึง บริเวณถนนส่วนบุคคลและด้านล่างใต้ดินของพื้นที่ ลานอเนกประสงค์ดังกล่าวที่เป็นชั้นที่ 1 และที่ 2 ใช้เป็นลานจอดรถ ดังนี้ลานอเนกประสงค์ดังกล่าวแม้บางส่วนจะเป็นพื้นที่นอกตัวอาคารแต่ก็เป็นพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ร่วมกันหรือเพื่อประโยชน์ของพื้นที่อื่นของตัวอาคาร รวมทั้งเป็นพื้นที่ที่ใช้ต่อเนื่องกับพื้นที่ส่วนอื่นของอาคารโรงเรือน และต่อเนื่องกับพื้นที่ที่ใช้เป็นที่จอดรถจึงต้องนำพื้นที่ดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นพื้นที่โรงเรือนด้วย ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2474มาตรา 6 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8119/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษี, การเฉลี่ยค่าเช่าล่วงหน้า, และการคำนวณพื้นที่โรงเรือนเพื่อเสียภาษี
การที่โจทก์ชำระหนี้ค่าภาษีแทนสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โจทก์ร่วมในนามของโจทก์ร่วมตามความผูกพันในสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมนั้น ทำให้โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการชำระค่าภาษีดังกล่าวแทนโจทก์ร่วม หากปรากฏว่าจำเลยเรียกเก็บภาษีเกินไป จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยึดเงินส่วนที่เกินนั้นไว้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับคืนเงินดังกล่าวจากจำเลยและมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยคืนเงินส่วนที่เกินให้แก่โจทก์ได้โจทก์หาจำต้องมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยจึงจะมีอำนาจฟ้องจำเลยไม่
โจทก์ร่วมมิได้ยื่นฟ้องเองหรือมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องภายใน30 วัน นับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 31 แต่โจทก์ได้ยื่นฟ้องเองภายในกำหนดเวลาดังกล่าวและต่อมาเมื่อพ้นกำหนดเวลานั้นแล้ว โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้ โดยอ้างว่าโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของโรงเรือนพิพาทและโจทก์มีหน้าที่ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนโจทก์ร่วมตามสัญญาเช่าซึ่งศาลเห็นว่ากรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงอนุญาตตามคำร้องและได้ออกหมายเรียกโจทก์ร่วมให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้ ดังนั้นการที่โจทก์ร่วมเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้จึงเป็นการเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามคำสั่งของศาล เนื่องจากศาลเห็นจำเป็นที่จะเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
ในส่วนที่โจทก์ร่วมให้โจทก์เช่านั้น โจทก์ร่วมได้ค่าตอบแทนการให้เช่าที่ดิน 390,000,000 บาท ได้อาคารศูนย์การค้าและโรงแรมพร้อมทั้งอุปกรณ์และได้ค่าเช่าที่ดินและอาคารอีกปีละ 24,000,000 บาท ดังนี้ ค่าตอบแทนการให้เช่าที่ดินจำนวนดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ได้มีการชำระให้โจทก์ล่วงหน้า จึงต้องนำมาเฉลี่ยตามจำนวนปีที่เช่าแล้วรวมคำนวณเพื่อกำหนดค่ารายปีในการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ร่วมด้วย เงินค่าตอบแทนค่าเช่าที่ดินดังกล่าวไม่เป็นการซ้ำซ้อนกับค่าเช่าที่ดินตามสัญญาเช่าแต่อย่างใด ที่คณะกรรมการของจำเลยนำค่าตอบแทนการเช่าที่ดินมารวมคำนวณเพื่อกำหนดค่ารายปีจึงถูกต้องและชอบแล้ว
สำหรับส่วนที่โจทก์นำไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงนั้น สัญญาเช่าช่วงมีทั้งมีการเก็บค่าเช่าอย่างเดียวและมีการเก็บค่าเช่ากับค่าช่วยค่าก่อสร้างด้วยรายไหนเก็บเงินช่วยค่าก่อสร้างก็คิดค่าเช่าถูกลง รายไหนไม่ได้มีการเรียกเก็บเงินช่วยก่อสร้างล่วงหน้าก็คิดค่าเช่าต่อเดือนแพงกว่ากันมากโดยรายที่มีการคิดค่าเช่าอย่างเดียว คิดค่าเช่าตารางเมตรละ 798 บาท ส่วนสัญญาเช่าที่มีการเก็บเงินช่วยค่าก่อสร้างคิดค่าเช่าตารางเมตรละ 20 บาท จึงฟังได้ว่าเงินช่วยค่าก่อสร้างที่โจทก์เรียกเก็บจากผู้เช่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่โจทก์เรียกเก็บล่วงหน้า จึงต้องนำมาเฉลี่ยตามจำนวนปีที่เช่าเพื่อคิดคำนวณเป็นค่ารายปีที่แท้จริงด้วย และการคิดคำนวณตามวิธีดังกล่าวไม่เป็นการซ้ำซ้อนกัน เพราะนำมาคิดรวมเฉลี่ยเป็นค่าเช่าที่โจทก์ให้เช่า ทั้งไม่เป็นการซ้ำซ้อนกับมูลค่าของโรงเรือนพิพาทเพราะไม่ได้นำมูลค่าของโรงเรือนพิพาทมารวมคำนวณด้วย
ลานอเนกประสงค์ของโจทก์ คือพื้นที่ว่างภายในตัวอาคารรวมกับเนื้อที่นอกตัวอาคารต่อจากทางเดินภายนอกจนถึงบริเวณถนนส่วนบุคคลและด้านล่างใต้ดินของพื้นที่ ลานอเนกประสงค์ดังกล่าวที่เป็นชั้นที่ 1 และที่ 2ใช้เป็นลานจอดรถ ดังนี้ ลานอเนกประสงค์ดังกล่าวแม้บางส่วนจะเป็นพื้นที่นอกตัวอาคาร แต่ก็เป็นพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ร่วมกันหรือเพื่อประโยชน์ของพื้นที่อื่นของตัวอาคาร รวมทั้งเป็นพื้นที่ที่ใช้ต่อเนื่องกับพื้นที่ส่วนอื่นของอาคารโรงเรือน และต่อเนื่องกับพื้นที่ที่ใช้เป็นที่จอดรถจึงต้องนำพื้นที่ดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นพื้นที่โรงเรือนด้วย ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2474มาตรา 6 วรรคสอง
โจทก์ร่วมมิได้ยื่นฟ้องเองหรือมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องภายใน30 วัน นับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 31 แต่โจทก์ได้ยื่นฟ้องเองภายในกำหนดเวลาดังกล่าวและต่อมาเมื่อพ้นกำหนดเวลานั้นแล้ว โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้ โดยอ้างว่าโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของโรงเรือนพิพาทและโจทก์มีหน้าที่ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนโจทก์ร่วมตามสัญญาเช่าซึ่งศาลเห็นว่ากรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงอนุญาตตามคำร้องและได้ออกหมายเรียกโจทก์ร่วมให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้ ดังนั้นการที่โจทก์ร่วมเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้จึงเป็นการเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามคำสั่งของศาล เนื่องจากศาลเห็นจำเป็นที่จะเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
ในส่วนที่โจทก์ร่วมให้โจทก์เช่านั้น โจทก์ร่วมได้ค่าตอบแทนการให้เช่าที่ดิน 390,000,000 บาท ได้อาคารศูนย์การค้าและโรงแรมพร้อมทั้งอุปกรณ์และได้ค่าเช่าที่ดินและอาคารอีกปีละ 24,000,000 บาท ดังนี้ ค่าตอบแทนการให้เช่าที่ดินจำนวนดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ได้มีการชำระให้โจทก์ล่วงหน้า จึงต้องนำมาเฉลี่ยตามจำนวนปีที่เช่าแล้วรวมคำนวณเพื่อกำหนดค่ารายปีในการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ร่วมด้วย เงินค่าตอบแทนค่าเช่าที่ดินดังกล่าวไม่เป็นการซ้ำซ้อนกับค่าเช่าที่ดินตามสัญญาเช่าแต่อย่างใด ที่คณะกรรมการของจำเลยนำค่าตอบแทนการเช่าที่ดินมารวมคำนวณเพื่อกำหนดค่ารายปีจึงถูกต้องและชอบแล้ว
สำหรับส่วนที่โจทก์นำไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงนั้น สัญญาเช่าช่วงมีทั้งมีการเก็บค่าเช่าอย่างเดียวและมีการเก็บค่าเช่ากับค่าช่วยค่าก่อสร้างด้วยรายไหนเก็บเงินช่วยค่าก่อสร้างก็คิดค่าเช่าถูกลง รายไหนไม่ได้มีการเรียกเก็บเงินช่วยก่อสร้างล่วงหน้าก็คิดค่าเช่าต่อเดือนแพงกว่ากันมากโดยรายที่มีการคิดค่าเช่าอย่างเดียว คิดค่าเช่าตารางเมตรละ 798 บาท ส่วนสัญญาเช่าที่มีการเก็บเงินช่วยค่าก่อสร้างคิดค่าเช่าตารางเมตรละ 20 บาท จึงฟังได้ว่าเงินช่วยค่าก่อสร้างที่โจทก์เรียกเก็บจากผู้เช่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่โจทก์เรียกเก็บล่วงหน้า จึงต้องนำมาเฉลี่ยตามจำนวนปีที่เช่าเพื่อคิดคำนวณเป็นค่ารายปีที่แท้จริงด้วย และการคิดคำนวณตามวิธีดังกล่าวไม่เป็นการซ้ำซ้อนกัน เพราะนำมาคิดรวมเฉลี่ยเป็นค่าเช่าที่โจทก์ให้เช่า ทั้งไม่เป็นการซ้ำซ้อนกับมูลค่าของโรงเรือนพิพาทเพราะไม่ได้นำมูลค่าของโรงเรือนพิพาทมารวมคำนวณด้วย
ลานอเนกประสงค์ของโจทก์ คือพื้นที่ว่างภายในตัวอาคารรวมกับเนื้อที่นอกตัวอาคารต่อจากทางเดินภายนอกจนถึงบริเวณถนนส่วนบุคคลและด้านล่างใต้ดินของพื้นที่ ลานอเนกประสงค์ดังกล่าวที่เป็นชั้นที่ 1 และที่ 2ใช้เป็นลานจอดรถ ดังนี้ ลานอเนกประสงค์ดังกล่าวแม้บางส่วนจะเป็นพื้นที่นอกตัวอาคาร แต่ก็เป็นพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ร่วมกันหรือเพื่อประโยชน์ของพื้นที่อื่นของตัวอาคาร รวมทั้งเป็นพื้นที่ที่ใช้ต่อเนื่องกับพื้นที่ส่วนอื่นของอาคารโรงเรือน และต่อเนื่องกับพื้นที่ที่ใช้เป็นที่จอดรถจึงต้องนำพื้นที่ดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นพื้นที่โรงเรือนด้วย ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2474มาตรา 6 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7938/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยการระบุประเภททรัพย์สินและค่าใช้จ่ายครบถ้วน
ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 24บัญญัติให้เจ้าพนักงานเก็บภาษีแจ้งรายการประเมิน มีรายการตามที่กฎหมายกำหนดไว้3 ประการ คือ ประเภทแห่งทรัพย์สิน ค่ารายปีแห่งทรัพย์สิน และค่าภาษีที่จะต้องเสียไปให้ผู้รับประเมินทราบ และตามใบแจ้งรายการประเมินที่โจทก์ได้รับมีข้อความระบุว่าทรัพย์สินเป็นคลังน้ำมันเอสโซ่ สาขาสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่เลขที่ 63 หมู่ที่ 4 ตำบลบางกุ้งอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีค่ารายปีเป็นเงิน 1,875,600 บาทและค่าภาษีเป็นเงิน 234,450 บาท ดังนั้นใบแจ้งรายการประเมินดังกล่าวเป็นการแจ้งรวม เจ้าพนักงานได้แจ้งรายการทรัพย์สินของโจทก์ว่าเป็นคลังน้ำมันซึ่งเป็นประเภทสิ่งปลูกสร้างต้องถูกจัดเก็บภาษีตามมาตรา 24 ประกอบด้วยมาตรา 6 แห่งพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ครบถ้วนชัดเจนแล้ว หาจำต้องระบุรายละเอียดแยกแต่ละรายการของประเภททรัพย์สินที่จะต้องถูกจัดเก็บไม่ ทั้งนี้ ในแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2539 ของโจทก์ ก็ได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับโรงเรือนและที่ดินที่จะต้องชำระภาษีไว้ครบถ้วน โจทก์ก็ย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าใบแจ้งรายการประเมินที่เจ้าพนักงานแจ้งให้โจทก์ทราบ เป็นการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินตามแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินที่โจทก์ได้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยนั่นเอง ซึ่งโจทก์เข้าใจดีอยู่แล้ว ดังนั้นใบแจ้งรายการประเมินของเจ้าพนักงานเก็บภาษีของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7938/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ความชอบด้วยกฎหมายของใบแจ้งรายการประเมินที่ระบุประเภททรัพย์สินรวม
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475มาตรา 24 บัญญัติให้เจ้าพนักงานเก็บภาษีแจ้งรายการประเมินมีรายการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ 3 ประการ คือ ประเภทแห่งทรัพย์สิน ค่ารายปีแห่งทรัพย์สิน และค่าภาษีที่จะต้องเสียไปให้ผู้รับประเมินทราบ และตามใบแจ้งรายการประเมินที่โจทก์ได้รับมีข้อความระบุว่าทรัพย์สินเป็นคลังน้ำมันเอสโซ่ สาขาสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่เลขที่ 63 หมู่ที่ 4ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีค่ารายปีเป็นเงิน 1,875,600 บาท และค่าภาษีเป็นเงิน234,450 บาท ดังนั้นใบแจ้งรายการประเมินดังกล่าวเป็นการแจ้งรวม เจ้าพนักงานได้แจ้งรายการทรัพย์สินของโจทก์ว่าเป็นคลังน้ำมันซึ่งเป็นประเภทสิ่งปลูกสร้างต้องถูกจัดเก็บภาษีตามมาตรา 24 ประกอบด้วยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ครบถ้วนชัดเจนแล้ว หาจำต้องระบุรายละเอียดแยกแต่ละรายการของประเภททรัพย์สินที่จะต้องถูกจัดเก็บไม่ ทั้งนี้ ในแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2539ของโจทก์ ก็ได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับโรงเรือนและที่ดินที่จะต้องชำระภาษีไว้ครบถ้วน โจทก์ก็ย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าใบแจ้งรายการประเมินที่เจ้าพนักงานแจ้งให้โจทก์ทราบเป็นการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินตามแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินที่โจทก์ได้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยนั่นเอง ซึ่งโจทก์เข้าใจดีอยู่แล้วดังนั้น ใบแจ้งรายการประเมินของเจ้าพนักงานเก็บภาษีของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเกินกำหนดระยะเวลา ศาลฎีกาให้ส่งสำนวนกลับไปพิจารณาใหม่
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 3 ลักษณะ 2ว่าด้วยฎีกามิได้บัญญัติถึงวิธีปฏิบัติในการยื่นคำร้องเพื่อที่จะได้รับอนุญาตให้ฎีกาเป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงต้องนำบทบัญญัติตามมาตรา 230 วรรคสาม ในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 247 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาการที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งว่า จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้รับรองฎีกาเกินกำหนดระยะเวลาฎีกา จึงไม่รับรองฎีกาให้นั้นเป็นการไม่ชอบและถือว่ายังไม่ได้พิจารณาสั่งคำร้องของจำเลยทั้งสอง ศาลฎีกาย่อมให้ศาลชั้นต้นจัดส่งสำนวนและคำร้องดังกล่าวไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อพิจารณาสั่งต่อไป