คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เรืองฤทธิ์ ศรีวรรธนะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดพยายามจำหน่ายยาเสพติดตามกฎหมายพิเศษ โจทก์ต้องขอท้ายฟ้อง
จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แต่ พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 7 เป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติให้ผู้กระทำความผิดฐานพยายามต้องระวางโทษเท่ากับความผิดสำเร็จ บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นผลร้ายแก่จำเลย เพราะทำให้จำเลยต้องรับโทษสูงขึ้นกว่าการกระทำความผิดขั้นพยายามทั่ว ๆ ไป เมื่อโจทก์มิได้อ้างมาตรา 7 ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษหนักขึ้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีใหม่หลังศาลจำหน่ายคดีเดิมเนื่องจากไม่มีอำนาจ พิจารณาจากวันที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี
โจทก์เคยฟ้องจำเลยในมูลคดีเดียวกันกับคดีนี้ที่ศาลแพ่งธนบุรีแต่ศาลแพ่งธนบุรีมีคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2539เนื่องจากจำเลยไม่ได้มีภูมิลำเนาหรือมูลคดีเกิดขึ้นในเขตอำนาจซึ่งคดีจะครบอายุความภายในวันที่ 7 มิถุนายน 2539 กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 วรรคสองโจทก์มีสิทธิฟ้องคดีได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งศาลแพ่งธนบุรีถึงที่สุด โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 4 กรกฎาคม 2539 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุในคดีฆ่า: การพิจารณาพฤติการณ์ก่อน, ระหว่าง และหลังการกระทำ
ผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุขับรถยนต์ปิกอัพแซงปาดหน้าจะให้รถยนต์เก๋งที่จำเลยที่ 2 ขับมีจำเลยที่ 1 นั่งมาชนกำแพงคอนกรีตกลางถนนหลายครั้งแต่ก็ไม่ได้ใช้อาวุธใดทำร้ายจำเลยที่ 1 ด้วยวิธีอื่นอีก แม้ผู้ตายยังขับรถตามมาชนท้ายรถยนต์เก๋งในซอยซึ่งเป็นซอยตัน แต่ขณะที่จำเลยที่ 1 เปิดประตูรถยนต์เก๋งลงไปยิงผู้ตายนั้น ผู้ตายยังนั่งอยู่ในรถยนต์ปิกอัพ จำเลยที่ 1 ยิงผู้ตายช่วงแรก 2 นัดจนกระสุนปืนหมดแล้วกลับไปเอาอาวุธปืนของจำเลยที่ 2ซึ่งเก็บไว้ในรถยนต์เก๋งวิ่งอ้อมท้ายรถยนต์ปิกอัพไปยิงผู้ตายถูกที่ด้านขวาของลำตัวถึง 5 นัด การยิงในช่วงหลัง จำเลยที่ 1ย่อมมีเวลาใคร่ครวญตั้งสติได้แล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1จึงเป็นการป้องกันสิทธิของตนเกินสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายเกินสมควรแก่เหตุ กรณีถูกคุกคามด้วยรถยนต์
คดีฟังได้เป็นยุติตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่า การที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายเป็นการกระทำเพื่อป้องกัน แม้ในวันเกิดเหตุผู้ตายจะเป็นฝ่ายก่อเหตุขับรถยนต์ปิกอัพแซงปาดหน้าจะให้รถยนต์เก๋งที่จำเลยที่ 1 นั่งมาชนกำแพงคอนกรีตกลางถนนหลายครั้ง ก็ไม่ปรากฏว่าผู้ตายจะใช้อาวุธใดทำร้ายจำเลยที่ 1 หรือจะทำร้ายจำเลยที่ 1 ด้วยวิธีอื่นอีก การที่ผู้ตายยังขับรถยนต์ปิกอัพตามมาชนท้ายรถยนต์เก๋งในซอยทั้งที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงยางรถยนต์ปิกอัพแล้ว แม้จะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 เชื่อว่าผู้ตายจะตามมาทำร้าย แต่ขณะที่จำเลยที่ 1 เปิดประตูรถยนต์เก๋งลงไปยืนที่พื้นข้างประตูรถด้านที่จำเลยที่ 1 นั่งและใช้อาวุธปืนที่จำเลยที่ 1 พาติดตัวมายิงผู้ตายนั้น ผู้ตายก็ยังนั่งอยู่ในรถยนต์ปิกอัพ จำเลยที่ 1 ยิงผู้ตายช่วงแรก 2 นัด จนกระสุนปืนหมดแล้วกลับเข้าไปในรถยนต์เก๋งเอาอาวุธปืนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเก็บไว้ในรถวิ่งอ้อมท้ายรถยนต์ปิกอัพไปยืนที่ข้างประตูรถด้านที่ผู้ตายนั่งแล้วใช้อาวุธปืนของจำเลยที่ 2 ยิงผู้ตายอีกหลายนัด จนผู้ตายถูกกระสุนปืนที่ด้านขวาของลำตัวถึง 5 นัด การยิงผู้ตายในช่วงหลัง จำเลยที่ 1 ย่อมมีเวลาใคร่ครวญตั้งสติได้แล้ว ทั้งขณะนั้นผู้ตายก็ยังนั่งอยู่ในรถยนต์ปิกอัพ โดยไม่ปรากฏว่าผู้ตายจะทำอันตรายใดแก่จำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการป้องกันสิทธิของตนเกินสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้แทนบริษัทต่างประเทศมีหน้าที่เสียภาษีในไทย ผู้ค้ำประกันต้องชำระแทนหากเรียกจากผู้แทนไม่ได้
บริษัท อ. เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มี พ. เป็นผู้กระทำการแทนในการประกอบกิจการในประเทศไทยซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย พ. จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการ และเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม ป.รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
โจทก์ส่งหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังบริษัท อ. โดย พ. ในฐานะผู้ทำการแทนแสดงให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ได้เรียก พ. ผู้มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรที่ผู้ทำการแทนเป็นผู้ทำให้บริษัท อ.ได้รับในประเทศไทยมาไต่สวนและแจ้งจำนวนเงินที่ประเมินไปยัง พ. เพื่อที่ พ. จะได้มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตาม ป. รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคสาม ก่อนแล้วจึงมิใช่เป็นการออกหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังบริษัท อ. เพื่อให้รับผิดตามมาตรา 66 เท่านั้น และโจทก์ไม่จำเป็นต้องออกหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยัง พ. แยกต่างหาก การออกและส่งหมายเรียกและหนังสือแจ้งการประเมินในลักษณะดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการออกและส่งหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและหนังสือแจ้งการประเมินทั้งบริษัท อ. และ พ. โดยชอบแล้ว
โจทก์ได้ติดตามสืบหาทรัพย์สินของบริษัท อ. และ พ. แต่ไม่มีทรัพย์สินใดให้ยึด นอกจากนี้โจทก์ได้มีหนังสือเตือนให้ พ. ในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท อ. นำเงินภาษีอากรค้างไปชำระ แต่ พ. ไม่ชำระ เช่นนี้ ถือว่าโจทก์ได้พิสูจน์แล้วว่าโจทก์ได้เรียกร้องหนี้ภาษีอากรค้างจาก พ. แล้วแต่เรียกไม่ได้ จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องชำระเงินภาษีอากรค้างแทน พ. โดยมิต้องเรียกร้องให้ พ. ชำระก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ทำการแทนบริษัทต่างประเทศมีหน้าที่เสียภาษีในไทย ศาลยืนตามคำพิพากษาถึงที่สุด
หมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลของกรมสรรพากรโจทก์ที่แจ้งไปยังบริษัท อ.ซึ่งอยู่ต่างประเทศโดยพ. ในฐานะผู้ทำการแทนแสดงให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ได้เรียก พ. ผู้มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรที่ผู้ทำการแทนเป็นผู้ทำให้บริษัทดังกล่าวได้รับในประเทศไทยมาไต่สวนและแจ้งจำนวนเงินที่ประเมินไปยังบุคคลผู้มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษี เพื่อที่บุคคลนั้นจะได้มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคสาม ก่อนแล้วจึงใช่เป็นการออกหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังบริษัท อ.เพื่อให้รับผิดตามมาตรา 66 เท่านั้น และโจทก์ไม่จำเป็นต้องออกหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยัง พ. แยกต่างหากถือได้ว่าเป็นการออกและส่งหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและหนังสือแจ้งการประเมินทั้งบริษัท อ.และ พ. โดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1794/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามกฎหมายและเหตุผลที่สมควร มิอาจใช้ความผิดพลาดของผู้ร้องหรือคำสั่งศาลที่ผิดพลาดมาเป็นประโยชน์
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งแรกศาลชั้นต้นอนุญาตให้ถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2542 จำเลยไม่ได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ภายในเวลาดังกล่าว ครั้นวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2542 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เป็นครั้งที่ 2 โดยมิได้อ้างเหตุสุดวิสัยแม้ศาลชั้นต้นได้รับคำร้องของจำเลยไว้พิจารณาและมีคำสั่งอนุญาตแล้วก็เป็นการสั่งไปโดยผิดหลง หาเป็นการถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายไม่ เพราะการใช้ดุลพินิจของศาลนั้นจะต้องใช้ดุลพินิจที่ยืนอยู่บนความถูกต้องตามกฎหมายมิใช่เป็นการสั่งไปโดยผิดหลง จึงถือไม่ได้ว่า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1440/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมลักลอบนำเข้าและขายน้ำมันเถื่อน ศาลฎีกายืนโทษเดิม
จำเลยทั้งห้ากระทำความผิดฐานร่วมกันขนถ่ายน้ำมันในเขตต่อเนื่องโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 37 ตรี หลังจากที่จำเลยลักลอบนำน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาในเขตต่อเนื่องแล้ว ซึ่งไม่แน่ชัดว่าจำเลยทั้งห้าขนถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีหรือเจตนาอื่น จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำความผิดโดยเจตนาต่างหากจากความผิดฐานอื่นเมื่อจำเลยทั้งห้าให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าการกระทำความผิดของจำเลยทั้งห้าในความผิดฐานนี้เป็นความผิดกรรมเดียว ส่วนความผิดฐานร่วมกันนำน้ำมันเชื้อเพลิงที่ยังไม่ได้เสียภาษีศุลกากรและภาษีสรรพสามิตเข้ามาในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27 กับความผิดฐานร่วมกันขายหรือมีไว้เพื่อขาย ซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มิได้เสียภาษีสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติสรรพสามิตฯ มาตรา 162(1) เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต่างพระราชบัญญัติกัน โดยมีเจตนาประสงค์ต่อผลแตกต่างกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้จึงเป็นความผิดหลายกรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งห้าทุกกรรมเป็นกระทงความผิดตามที่โจทก์ฟ้องให้จำคุกสถานเดียวเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาให้รอการลงโทษแต่กำหนดโทษปรับอีกสถานหนึ่ง ก็ยังทำให้จำเลยทั้งห้าไม่ต้องรับโทษจำคุกเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ลงโทษเบากว่าศาลชั้นต้น กรณีไม่ใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
จำเลยทั้งห้ามีอาชีพรับจ้าง การกระทำของจำเลยทั้งห้าจึงเป็นการกระทำตามคำสั่งของนายจ้างเพื่อหาเลี้ยงชีพ เมื่อจำเลยทั้งห้าไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อนประกอบกับมีภาระที่จะต้องเลี้ยงดูครอบครัว เห็นควรให้โอกาสจำเลยทั้งห้ากลับตนเป็นพลเมืองดีจึงเห็นพ้องกับที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้รอการลงโทษจำคุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับชำระค่าธรรมเนียมจากเงินวางศาลของผู้แพ้คดีตามมาตรา 229 ว.พ.พ.
เงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาที่ผู้อุทธรณ์นำมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 เป็นเงินที่วางเพื่อเป็นประกันว่าหากในที่สุดศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้อุทธรณ์ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมแทนคู่ความที่ชนะคดีแล้วผู้ชนะคดีจะมีสิทธิได้รับค่าธรรมเนียมที่ได้ออกใช้ก่อนจากเงินที่ผู้อุทธรณ์วางไว้ได้โดยผู้ชนะคดีไม่จำต้องดำเนินการบังคับคดี ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์เป็นผู้ชนะคดีและให้จำเลยผู้อุทธรณ์รับผิดในค่าธรรมเนียมแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิขอรับเงินค่าธรรมเนียมที่จำเลยวางไว้ต่อศาลเพื่อชำระค่าธรรมเนียมที่จำเลยต้องใช้ให้แก่ตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ที่มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ทำให้จำเลยไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานชำเรา
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคท้าย ที่บัญญัติว่า"และภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ ถ้าศาลอนุญาตให้สมรสในระหว่างที่ผู้กระทำผิดกำลังรับโทษในความผิดนั้นอยู่ ให้ศาลปล่อยตัวผู้กระทำผิดนั้นไป" นั้นสำหรับกรณีที่จะต้องให้ศาลอนุญาตให้สมรสกันดังกล่าวนั้นหมายความว่าชายหรือหญิงมีอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ จะสมรสกันจึงจะต้องขออนุญาตต่อศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 แต่จำเลยและผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ได้จดทะเบียนสมรสกันในเวลาต่อมาย่อมเป็นการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วโดยไม่ต้องขออนุญาตต่อศาลจำเลยจึงไม่ต้องรับโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคท้าย
of 36