พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์อายุ 17 ปีบริบูรณ์ ทำให้ไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 277
ป.อ. มาตรา 277 วรรคท้าย บัญญัติว่า "...และภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกันผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ ถ้าศาลอนุญาตให้สมรสในระหว่างที่ผู้กระทำผิดกำลังรับโทษในความผิดนั้นอยู่ ให้ศาลปล่อยผู้กระทำผิดนั้นไป" หมายความว่า ชายหรือหญิงมีอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ จะสมรสกันจึงจะต้องขออนุญาตต่อศาลตาม ป.พ.พ. มาตรา 1448 แต่จำเลยและผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ได้จดทะเบียนสมรสกันในเวลาต่อมา ย่อมเป็นการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่ต้องขออนุญาตต่อศาล จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1116/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์แก้โทษลดลง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.การชลประทานหลวง พ.ศ. 2485 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง, 37 จำคุก 2 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับ 2,000 บาท อีกสถานหนึ่ง และรอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แม้ศาลอุทธรณ์จะลงโทษปรับจำเลยด้วย แต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ โทษที่จำเลยได้รับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงต่ำกว่าโทษที่จำเลยจะต้องรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย คดีนี้จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติข้างต้น ทั้งข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นอีกด้วย ฎีกาของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 883/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอสังหาริมทรัพย์ทางค้าหรือหากำไรจากสัญญาเช่าและการโอนกรรมสิทธิ์อาคารเข้าข่ายต้องเสียภาษี
โจทก์เช่าที่ดินจาก ร.โดยร. ตกลงให้โจทก์สร้างอาคารบนที่ดินที่เช่าและให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ร. ทันทีที่ลงมือปลูกสร้างแล้วโจทก์มีสิทธินำอาคารดังกล่าวไปให้เช่าจนกว่าจะครบอายุสัญญาเช่า23 ปี การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิตามสัญญาเช่าปลูกสร้างอาคารไว้ในที่ดินที่เช่า บรรดาอาคารสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆจึงมิได้ตกเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 146 ร. ย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ในบรรดาอาคารสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามมาตรา 144 วรรคสอง แต่ ร. ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นเนื่องจากสัญญาเช่าที่ตกลงกันไว้ซึ่งหากโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์มาก่อนโจทก์ย่อมไม่อาจจะตกลงให้ทรัพย์นั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ ร.ทันทีได้ จึงถือได้ว่าโจทก์จำหน่ายจ่ายโอนอาคาร สิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้แก่ ร. อันเข้าบทนิยาม คำว่า "ขาย" ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/1(4)
โจทก์สร้างอาคารลงบนที่ดินที่เช่าจาก ร. โดยตกลงให้บรรดาอาคารสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ ร.ทันทีที่ลงมือปลูกสร้างแล้ว โจทก์มีสิทธินำอาคารดังกล่าวไปให้เช่าหาประโยชน์ได้จนกว่าจะครบอายุสัญญาเช่า 23 ปี เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการให้ ร. อันเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามประมวลรัษฎากรมาตรา 91/2(6) ประกอบด้วยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 มาตรา 3(5) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์สร้างอาคารลงบนที่ดินที่เช่าจาก ร. โดยตกลงให้บรรดาอาคารสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ ร.ทันทีที่ลงมือปลูกสร้างแล้ว โจทก์มีสิทธินำอาคารดังกล่าวไปให้เช่าหาประโยชน์ได้จนกว่าจะครบอายุสัญญาเช่า 23 ปี เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการให้ ร. อันเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามประมวลรัษฎากรมาตรา 91/2(6) ประกอบด้วยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 มาตรา 3(5) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอสังหาริมทรัพย์ทางค้าหรือหากำไร กรณีโอนกรรมสิทธิ์อาคารให้การรถไฟฯ ตามสัญญาเช่า
โจทก์ทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามโครงการจัดสรรประโยชน์กับการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยโจทก์ในฐานะผู้เช่าจะปลูกสร้างอาคาร สิ่งปลูกสร้างและส่วนควบต่าง ๆ และให้บรรดาอาคาร สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดในพื้นที่เช่าที่ปลูกสร้างต่อเติม ดัดแปลง หรือติดตั้งขึ้นนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยทันทีที่ลงมือปลูกสร้างหรือติดตั้งแล้วโจทก์มีสิทธินำอาคารดังกล่าวไปประกอบกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ได้จนกว่าจะครบอายุสัญญาเช่า 23 ปี พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยตามสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ใช้สิทธินั้นปลูกสร้างโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นไว้ในที่ดินที่เช่า บรรดาอาคาร สิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆที่เป็นส่วนตรึงอาคารสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดหาได้ตกเป็นส่วนควบของที่ดินที่โจทก์เช่าจากการรถไฟแห่งประเทศไทยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146 ไม่ การรถไฟแห่งประเทศไทยย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ในบรรดาอาคาร สิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นส่วนตรึงอาคารสิ่งปลูกสร้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144 วรรคสอง แต่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้กรรมสิทธิ์ในบรรดาอาคาร สิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นส่วนตรึงอาคารสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดเนื่องมาจากข้อสัญญาเช่าฯ ที่โจทก์ตกลงให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยอันเป็นการแสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในอาคาร สิ่งปลูกสร้างและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆดังกล่าว เพราะหากโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์แล้วโจทก์ย่อมไม่อาจจะตกลงให้อาคาร สิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่เจ้าของที่ดินในทันทีได้ กรณีดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ได้จำหน่ายจ่ายโอนอาคาร สิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวอันเข้าบทนิยามคำว่า "ขาย" ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 91/1(4) แล้ว จึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ อันเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นการค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2(6) ประกอบด้วยพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร(ฉบับที่ 244)ฯ มาตรา 3(5) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอสังหาริมทรัพย์ทางภาษี: การโอนกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างจากการเช่า และการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม/ธุรกิจเฉพาะ
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินจากการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยมีข้อตกลงให้โจทก์สร้างอาคารบนที่ดินที่เช่า และให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยทันทีที่ลงมือปลูกสร้างหรือติดตั้ง แล้วโจทก์มีสิทธินำอาคารดังกล่าวไปประกอบกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ โดยได้รับสิทธิที่จะนำอาคารไปหาประโยชน์ได้จนกว่าจะครบ อายุสัญญาเช่า 23 ปี ถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยตามสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ใช้สิทธินั้นปลูกสร้างโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นไว้ในที่ดินที่เช่า บรรดาอาคาร สิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นส่วนตรึงอาคาร สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดหาได้ตกเป็นส่วนควบของที่ดินที่โจทก์เช่าจากการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 การรถไฟแห่งประเทศไทยย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ในบรรดาอาคาร สิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นส่วนตรึงอาคาร สิ่งปลูกสร้างทั้งหมด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 144 วรรคสอง แต่การที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้กรรมสิทธิ์ในบรรดาอาคาร สิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นส่วนตรึงอาคาร สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดก็เนื่องมาจากสัญญาเช่าที่โจทก์ตกลงว่าให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทั้งสิ้นทันที ที่ลงมือปลูกสร้างหรือติดตั้ง อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในอาคาร สิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังกล่าว กรณีดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ได้จำหน่ายจ่ายโอนอาคารสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวอันเข้าบทนิยามคำว่า "ขาย" ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) แล้ว และเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ อันเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2 (6) ประกอบด้วย พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 มาตรา 3 (5) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นด้วย
การที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องโจทก์ต้องอุทธรณ์ การประเมินไปยังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลย หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องโจทก์ชอบที่จะไปยื่นคำร้องขอภาษีมูลค่าเพิ่มคืนจากจำเลย และสำหรับภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นกรณีที่โจทก์ต้องชำระตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินเรียกเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจึงหาใช่เป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อนไม่
การที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องโจทก์ต้องอุทธรณ์ การประเมินไปยังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลย หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องโจทก์ชอบที่จะไปยื่นคำร้องขอภาษีมูลค่าเพิ่มคืนจากจำเลย และสำหรับภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นกรณีที่โจทก์ต้องชำระตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินเรียกเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจึงหาใช่เป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดิน - สิทธิครอบครอง - การซื้อขายโดยไม่สุจริต - คดีมีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์
การพิจารณาคดีมีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์รวมอยู่ในคดีเดียวกันว่าจะต้องห้ามอุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่ ย่อมต้องพิจารณาว่าคำขอใดเป็นหลัก คำขอใดเป็นคำขอที่ต่อเนื่อง โจทก์มีคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 โดยให้ถอนชื่อจำเลยที่ 2 ออกแล้วจึงให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ถือว่า คำขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพิพาทเป็นคำขอหลัก คำขอให้จำเลยที่ 1โอนที่ดินพิพาทเป็นคำขอต่อเนื่องคดีจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริง
ที่จำเลยที่ 2 เบิกความว่า จำเลยที่ 2 ได้ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่เคยขอดูหลักฐานทางทะเบียนว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทหรือไม่นั้นเป็นการผิดวิสัยของการซื้อที่ดินโดยทั่วไป ซึ่งจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าที่ดินที่จะซื้อเป็นของผู้ขายหรือไม่เพื่อไม่ให้มีปัญหาในภายหลัง จำเลยที่ 2ซื้อที่ดินพิพาทในราคาถึง 400,000 บาท แต่หลังจากซื้อแล้วก็ไม่ได้ เข้าทำประโยชน์ ข้อเท็จจริงก็ได้ความว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทและไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ดำเนินการใด ๆ ให้จำเลยที่ 1ออกจากที่ดินพิพาท กลับได้ความว่าจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทเพราะต้องการช่วยจำเลยที่ 1 ตามพฤติการณ์จึงเชื่อว่า ก่อนจะซื้อที่ดินพิพาทมาจำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทดังนั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตและจดทะเบียนโดยสุจริต จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง โจทก์ขอให้ เพิกถอนการจดทะเบียนขายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300
ที่จำเลยที่ 2 เบิกความว่า จำเลยที่ 2 ได้ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่เคยขอดูหลักฐานทางทะเบียนว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทหรือไม่นั้นเป็นการผิดวิสัยของการซื้อที่ดินโดยทั่วไป ซึ่งจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าที่ดินที่จะซื้อเป็นของผู้ขายหรือไม่เพื่อไม่ให้มีปัญหาในภายหลัง จำเลยที่ 2ซื้อที่ดินพิพาทในราคาถึง 400,000 บาท แต่หลังจากซื้อแล้วก็ไม่ได้ เข้าทำประโยชน์ ข้อเท็จจริงก็ได้ความว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทและไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ดำเนินการใด ๆ ให้จำเลยที่ 1ออกจากที่ดินพิพาท กลับได้ความว่าจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทเพราะต้องการช่วยจำเลยที่ 1 ตามพฤติการณ์จึงเชื่อว่า ก่อนจะซื้อที่ดินพิพาทมาจำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทดังนั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตและจดทะเบียนโดยสุจริต จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง โจทก์ขอให้ เพิกถอนการจดทะเบียนขายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษา: ลูกหนี้ตามคำพิพากษาสามารถร้องขอให้ศาลบังคับคดีลูกหนี้อีกฝ่ายได้
ตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นเป็นผลให้โจทก์และจำเลยต่างมีสภาพเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่มีหนี้ต้องชำระต่างตอบแทนกัน ในส่วนจำเลยจะต้องโอนสิทธิครอบครองในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ และโจทก์จะต้องชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยเช่นกัน อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 272 จำเลยย่อมมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับเพื่อดำเนินการบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับชำระหนี้บัตรภาษีที่พิพาทร่วมกันระหว่างผู้ขอออกบัตรและผู้รับโอน รวมถึงการคิดดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียม
จำเลยที่ 1 สำเนาข้อความอันเป็นเท็จไว้ในใบขนสินค้าขาออกและแบบแสดงรายการการค้าว่าได้มีการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักรแล้วยื่นคำขอรับเงินค่าชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าที่ส่งออกนั้นต่อมาโจทก์ได้จ่ายเงินชดเชยเป็นบัตรภาษีให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ซึ่งเป็นผู้รับโอนบัตรภาษีจากจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1ที่หลอกลวงโจทก์จนเป็นเหตุให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยเป็นบัตรภาษีเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6ได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปของบัตรภาษีโดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 ที่มิชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยดังกล่าว จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ผู้รับโอนจึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอน ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3ที่ 4 และที่ 6 ได้รับสิทธิตามบัตรภาษีไปจากโจทก์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นการให้โจทก์เสียเปรียบเงินชดเชยค่าภาษีอากรที่จ่ายในรูปบัตรภาษีดังกล่าวจึงเป็นลาภมิควรได้
เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงต้องชดใช้จำนวนเงินตามบัตรภาษีที่พิพาทและตกเป็นผู้ผิดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ทำละเมิดหรือวันที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4และที่ 6 รับบัตรภาษีไปจากโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6ต้องรับผิดในมูลหนี้อันเป็นลาภมิควรได้นั้น เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 สุจริต จึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 จะต้องคืนเงินหรือเวลาที่โจทก์เรียกคืนบัตรภาษี
เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงต้องชดใช้จำนวนเงินตามบัตรภาษีที่พิพาทและตกเป็นผู้ผิดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ทำละเมิดหรือวันที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4และที่ 6 รับบัตรภาษีไปจากโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6ต้องรับผิดในมูลหนี้อันเป็นลาภมิควรได้นั้น เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 สุจริต จึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 จะต้องคืนเงินหรือเวลาที่โจทก์เรียกคืนบัตรภาษี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 719/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในคดีเรียกค่าเสียหาย: เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เสียหายต้องเป็นผู้มีอำนาจฟ้อง
จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่ต้องซ่อมรถยนต์คันที่จำเลยขับชนกับรถยนต์โจทก์รวมทั้งที่รถยนต์คันดังกล่าวต้องเสื่อมราคาและไม่สามารถใช้งานได้ในระหว่างที่ซ่อม ในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 แต่ปรากฏว่ารถยนต์เป็นของบิดาจำเลยมิใช่ของจำเลย จำเลยจึงไม่อาจใช้สิทธิในฐานะเจ้าของเรียกค่าเสียหายสำหรับความเสียหายดังกล่าวได้จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยืนยันลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงิน: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยซ้ำหากศาลชั้นต้น-อุทธรณ์วินิจฉัยครบถ้วน
ปัญหาตามที่จำเลยฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์มีพิรุธและไม่แน่ชัดรับฟังไม่ได้ว่า จ. ลงชื่อในสัญญากู้นั้น ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9ได้วินิจฉัยไว้ครบถ้วนชัดแจ้งแล้วว่า โจทก์มีประจักษ์พยานยืนยันว่า จ. ลงลายมือชื่อในช่องผู้กู้ ประกอบกับผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าเป็นลายมือชื่อของ จ. จึงฟังได้ว่า จ. ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและลงชื่อในช่องผู้กู้ ดังนั้นปัญหาตามฎีกาของจำเลย จึงเป็นปัญหาอันไม่ควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง