คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เรืองฤทธิ์ ศรีวรรธนะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 571/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุโดยละเอียดชัดแจ้งถึงข้อคัดค้านคำพิพากษา หากไม่ชัดเจน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาตามที่จำเลยฎีกาว่าคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินของศาลแล้วนั้นศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ครบถ้วนชัดเจนแล้วว่าคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยเป็นเพียงข้อโต้เถียงว่าฟ้องของโจทก์ไม่ถูกต้องและเป็นการกล่าวอ้างเพียงลอย ๆ แต่ไม่ได้แสดงเหตุโดยละเอียดชัดแจ้งว่าคำพิพากษาไม่ชอบ ไม่ถูกต้องอย่างไร หากมีการพิจารณาใหม่แล้วศาลอาจพิพากษาให้จำเลยชนะคดีได้อย่างไร คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสองดังนั้น ปัญหาตามฎีกาของจำเลยจึงเป็นปัญหาอันไม่ควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 535/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำท้าทางกฎหมาย: ผลการรังวัดที่ดินพิพาทเป็นไปตามคำท้า จำเลยต้องแพ้คดี
ปัญหาตามที่จำเลยฎีกาว่าการรังวัดทำแผนที่พิพาทของเจ้าพนักงานที่ดินไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกรมที่ดิน จึงไม่เป็นไปตามคำท้านั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ได้วินิจฉัยไว้ครบถ้วนชัดแจ้งและโดยชอบแล้วว่าศาลชั้นต้นบันทึกสรุปใจความการสอบถามถ้อยคำของ ธ. ช่างรังวัดอ่านให้ทุกฝ่ายฟัง และ ธ. ลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาแล้ว กรณีจึงเชื่อได้ว่าศาลชั้นต้นจดบันทึกครบตามคำแถลงของ ธ. แล้ว และจากแผนที่พิพาทที่ ธ. ทำมาปรากฏว่าที่ดินที่จำเลยนำชี้ว่าเป็นของจำเลยนั้นรุกล้ำเข้ามาในทางสาธารณะ จึงเป็นไปตามคำท้า จำเลยจึงต้องแพ้คดีดังนั้น ปัญหาตามฎีกาของจำเลยจึงเป็นปัญหาอันไม่ควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่จำเป็น: เช็คพิพาทชำระหนี้แล้ว ไม่ก่อให้เกิดข้อพิพาทใหม่
ปัญหาตามที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวกับฟ้องเดิมเพราะเป็นมูลหนี้ที่เกิดจากการเป็นหนี้กันตามเช็คพิพาทและโจทก์ต้องคืนเช็คให้จำเลยนั้นศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ครบถ้วนชัดแจ้งแล้วว่า หากทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้โจทก์แล้ว เช็คพิพาทไม่มีผลบังคับให้จำเลยต้องชำระเงินตามเช็คอีกจึงเป็นฟ้องแย้งที่ไม่จำเป็น ดังนั้น ปัญหาตามฎีกาของจำเลยจึงเป็น ปัญหาอันไม่ควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการตรวจสอบและชี้ขาด หากไม่เป็นไปตามตกลง ถือเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
คู่ความตกลงกันให้ศาลตั้งผู้เชี่ยวชาญ 1 คน โจทก์ตั้ง 1 คน และจำเลยตั้ง 1 คน ร่วมกันตรวจสอบชี้ขาดว่าสามารถซ่อมแซมเสาเข็มต้นที่ 167 ให้ได้ดีเป็นปกติได้มาตรฐานเหมือนเสาเข็มต้นอื่นที่โจทก์ส่งมอบงานให้จำเลยแล้วหรือไม่ ถ้าเสียงข้างมากบอกว่าซ่อมไม่ได้โจทก์จะถอนฟ้อง หากเสียงข้างมากบอกว่าซ่อมได้ จำเลยจะจ่ายเงินประกันผลงานให้โจทก์ เมื่อเสียงข้างมากของผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าซ่อมไม่ได้ โจทก์จึงต้องถอนฟ้องไปตามข้อตกลง การที่โจทก์ไม่ถอนฟ้องภายในเวลาที่ศาลกำหนด จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้ อันเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการซ่อมแซมเสาเข็มและผลของการไม่ถอนฟ้องตามกำหนด การทิ้งฟ้องตามมาตรา 174(2)
คู่ความตกลงกันว่าให้ศาลตั้งผู้เชี่ยวชาญ 1 คน โจทก์ตั้ง 1 คนและจำเลยตั้ง 1 คน ร่วมกันตรวจสอบชี้ขาดว่า สามารถซ่อมแซมเสาเข็มต้นที่ 167 ได้ดีเป็นปกติได้มาตรฐานเหมือนเสาเข็มต้นอื่น ที่โจทก์ส่งมอบ งานให้จำเลยแล้วหรือไม่ ถ้าเสียงข้างมากว่าซ่อมไม่ได้โจทก์จะถอนฟ้องหากเสียงข้างมากว่าซ่อมได้ จำเลยจะจ่ายเงินประกันผลงานให้โจทก์ดังนั้น เมื่อเสียงข้างมากของผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าซ่อมไม่ได้ โจทก์จึงต้องถอนฟ้องไปตามข้อตกลง การที่โจทก์ไม่ถอนฟ้องภายในเวลาที่ศาลกำหนด จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้อันเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 394/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารปลอมเพื่อเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัท ความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิและเอกสารปลอม
สำเนารายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นซึ่งทำปลอมขึ้นโดยระบุให้จำเลยผู้เดียวมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัทลงชื่อผูกพันบริษัทเป็นหลักฐานเพื่อระงับสิทธิของโจทก์ร่วม ในการร่วมลงลายมือชื่อผูกพันบริษัท จึงเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9)
คำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัท เป็นเพียงเอกสารที่แจ้งความประสงค์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขให้ตามรายการที่ขอและหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารที่บุคคลหนึ่งระบุมอบหมายให้บุคคลอีกคนหนึ่งมีอำนาจทำกิจการใดแทนตนเท่านั้น เอกสารทั้งสองฉบับมิใช่หลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ จึงมิใช่เอกสารสิทธิ
จำเลยยื่นเอกสารปลอม 3 ฉบับ ประกอบกันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยมีเจตนาเดียวเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขจำนวนกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัท จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
ปัญหาการปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่น ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์โต้แย้งข้อเท็จจริงเรื่องเจตนาลักทรัพย์ ย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ชอบ แม้ไม่ได้โต้เถียงดุลพินิจพยาน
แม้จำเลยจะไม่ได้อุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังคำเบิกความของ จ. และ ว. ประจักษ์พยานโจทก์ว่ามีข้อพิรุธหรือไม่น่าเชื่อถืออย่างไรแต่การที่จำเลยอุทธรณ์โดยกล่าวว่าการที่ ป. ได้โยนถาดทองเหลืองออกมาจากกุฏิของผู้เสียหายเพื่อให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความเกรงกลัว และเพื่อที่จะเปิดทางหลบหนีไป ทั้งเมื่อ ป. หลบหนีไปก็มิได้มาเอา ถาดทองเหลืองนั้นไปด้วย ป. มิได้มีเจตนายึดถือเอาถาดทองเหลือง เป็นของตนหรือผู้อื่นโดยทุจริต ป. จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ ทำให้จำเลยซึ่งร่วมไปกับ ป. ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ไปด้วยนั้น ย่อมเห็นได้ว่าอุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่ง นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว แม้จำเลยจะให้การปฏิเสธโดยนำสืบอ้างฐานที่อยู่จำเลยก็ชอบที่จะอุทธรณ์ ในข้อนี้ได้ หาใช่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นแต่ประการใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับการงดบังคับคดีเป็นที่สุดตามกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งงดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 293 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2543 อันเป็นเวลาภายหลังจากบทบัญญัติมาตรา 293 วรรคสาม ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542 มีผลบังคับใช้แล้ว (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542) คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุด ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 293 วรรคสาม ประกอบมาตรา 223 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8852/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักลดหย่อนภาษี: การเลือกวิธีหักค่าใช้จ่าย และการลดเบี้ยปรับกรณีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8 วรรคสอง ได้บัญญัติให้ผู้มีเงินได้จากกิจการดังกล่าวสามารถหักค่าใช้จ่าย ได้ 2 วิธี คือหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา หรือหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร หากผู้มีเงินได้ใช้สิทธิเลือก หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรแล้วก็จะกลับไปขอใช้วิธีหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาอีกไม่ได้ เมื่อโจทก์ได้เลือกหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร แต่โจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของโจทก์ได้ตาม ที่ต้องการ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิกลับไปใช้วิธีหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้อีก
แม้พฤติการณ์ของโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจพิจารณาลดเบี้ยปรับลงได้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 37/2534 เรื่อง ระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 และ ภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ 2 (3) (ก) เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์เกิดขึ้นภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน กรณีมีเหตุสมควรที่จะลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7979/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช็คชำระหนี้ที่ไม่สมบูรณ์: การพิสูจน์เจตนาและองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
ผู้เสียหายให้จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินในฐานะผู้กู้ไว้โดยยังมิได้กรอกข้อความและให้จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อเป็นประกันว่า เมื่อถึงกำหนดชำระเงินตามเช็คจำเลยจะต้องชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่ผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายได้กรอกข้อความในสัญญากู้ยืมเงินขณะไปแจ้งความดำเนินคดีกับจำเลยหลังจากผู้เสียหายได้ให้จำเลยยืมเงินไปแล้ว ซึ่งเห็นได้ว่าการกู้ยืมเงินกันแต่ละครั้งขณะลงลายมือชื่อไม่มีข้อความว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปเป็นจำนวนเท่าใดและจะต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างใด เอกสารลงลายมือชื่อของจำเลยที่ไม่ปรากฏความรับผิดหรือการเป็นหนี้ของจำเลย จึงหาใช่เป็นหลักฐานที่จะใช้ฟ้องร้องบังคับจำเลยได้ไม่ ฉะนั้น หนี้ตามสัญญากู้ที่โจทก์ฟ้องจึงไม่อาจบังคับจำเลยได้
of 36