คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เรืองฤทธิ์ ศรีวรรธนะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7966/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลไม่ส่งข้อโต้แย้งถึงศาลรัฐธรรมนูญ หากเป็นการโต้แย้งดุลพินิจศาล ไม่ใช่บทบัญญัติกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ
ศาลจะส่งความเห็นหรือข้อโต้แย้งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยและรอการพิจารณาพิพากษาคดีนั้นไว้ชั่วคราวก็ต่อเมื่อคู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่ตามคำร้องของโจทก์อ้างแต่เพียงว่า การใช้ดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ออกหมายเรียกวัตถุพยานตามคำร้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยหลักการของรัฐธรรมนูญ มิได้อ้างว่ามีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงมิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นจะส่งข้อโต้แย้งของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยและรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7945/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาเงินกู้: การคิดดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา, ความรับผิดของลูกหนี้ร่วมและผู้ค้ำประกัน
ปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์เพราะไม่มีตราสำคัญของโจทก์ประทับเป็นข้อเท็จจริงนอกประเด็น ซึ่งจำเลยทั้งสี่เพิ่งยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้อง อุทธรณ์ข้อนี้จึงมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
โจทก์จำเลยทำสัญญาตกลงอัตราดอกเบี้ยไว้ชัดเจนและไม่ต้องห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินอัตรา ซึ่งโจทก์เป็นสถาบันการเงินได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีที่พระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินฯ และตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดแล้ว ก็ต้องผูกพันตามนั้น
แม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่ากำหนดชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดงวดใดยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระมาทบเป็นต้นเงินได้ และสัญญาไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดจนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญา หรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตาม แต่ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันระบุว่าจำเลยที่ 1 ใช้เช็คถอนเงินสดครั้งสุดท้ายวันที่ 6 มีนาคม 2535 จำนวน850,000 บาท แล้วไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลย คงมีแต่หักทอนบัญชีคิดดอกเบี้ยที่ค้างชำระในแต่ละเดือน โดยมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 31มีนาคม 2535 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้สูงกว่าวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีมาก ทั้งตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันก็ระบุว่า ห้ามผ่านเช็ค ซึ่งแสดงว่าโจทก์ระงับการจ่ายเงินตามเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่าย แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะเลิกการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไป สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกำหนดหักทอนบัญชีทุกวันสิ้นเดือน สัญญาจึงเลิกกันในวันที่ 31 มีนาคม 2535

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7909/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คชำระหนี้แยกต่างหาก แม้ดอกเบี้ยผิดกฎหมายก็ไม่กระทบสิทธิรับต้นเงิน การออกเช็คจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
หนี้ต้นเงินกู้ยืมจำนวน 500,000 บาท ที่จำเลยออกเช็คพิพาทสั่งจ่ายให้แก่โจทก์กับดอกเบี้ยของต้นเงินกู้ยืมดังกล่าวอีกจำนวน7,500 บาท เป็นหนี้คนละส่วนแยกต่างหากจากกันได้ แม้จำนวนดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยจะเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยก็คงมีผลแต่เพียงว่าโจทก์สิ้นสิทธิในการได้รับดอกเบี้ยที่คิดเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือไม่อาจคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยเท่านั้นแต่หาได้สิ้นสิทธิที่จะได้รับต้นเงินกู้ยืมไม่ และหากจำเลยชำระดอกเบี้ยไปแล้วก็หาอาจที่จะเรียกคืนหรือนำไปหักจากต้นเงินกู้ยืมได้ไม่ เมื่อเช็คพิพาทที่จำเลยออกมิได้รวมดอกเบี้ยที่มิชอบเข้าไว้ด้วย การออกเช็คพิพาทของจำเลยจึงเป็นการออกเช็คชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7909/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คชำระหนี้กู้ยืม แม้ดอกเบี้ยเกินอัตรากฎหมาย ก็ไม่กระทบสิทธิเรียกร้องเงินต้น การออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชีเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
หนี้ต้นเงินกู้ยืมที่จำเลยออกเช็คพิพาทสั่งจ่ายให้แก่โจทก์กับดอกเบี้ยของต้นเงินกู้ยืมเป็นหนี้คนละส่วนแยกต่างหากจากกันได้แม้จำนวนดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยจะเกินจากอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยก็คงมีผลแต่เพียงว่าโจทก์สิ้นสิทธิในการได้รับดอกเบี้ยที่คิดเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือไม่อาจคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยเท่านั้นแต่หาได้สิ้นสิทธิที่จะได้รับต้นเงินกู้ยืมไม่ และหากจำเลยชำระดอกเบี้ยไปแล้วก็หาอาจที่จะเรียกคืนหรือนำไปหักจากต้นเงินกู้ยืมได้ไม่ เมื่อเช็คพิพาทที่จำเลยออกมิได้รวมดอกเบี้ยที่มิชอบเข้าไว้ด้วยการออกเช็คพิพาทของจำเลยจึงเป็นการออกเช็คชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คดังกล่าวไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้เพราะขณะที่ออกไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงใช้เงินได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7909/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ต้นเงินกู้ยืมและดอกเบี้ยเป็นสิทธิแยกกัน แม้ดอกเบี้ยผิดกฎหมายก็ไม่กระทบสิทธิรับต้นเงิน การออกเช็คที่ไม่มีเงินในบัญชีเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
หนี้ต้นเงินกู้ยืมที่จำเลยออกเช็คพิพาทสั่งจ่ายให้แก่โจทก์กับดอกเบี้ยของต้นเงินกู้ยืมเป็นหนี้คนละส่วนแยกต่างหากจากกันได้ แม้จำนวนดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยจะเกินจากอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยก็คงมีผลแต่เพียงว่าโจทก์สิ้นสิทธิในการได้รับดอกเบี้ยที่คิดเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือไม่อาจคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยเท่านั้น แต่หาได้สิ้นสิทธิที่จะได้รับต้นเงินกู้ยืมไม่ และหากจำเลยชำระดอกเบี้ยไปแล้วก็หาอาจที่จะเรียกคืนหรือนำไปหักจากต้นเงินกู้ยืมได้ไม่ เมื่อเช็คพิพาทที่จำเลยออกมิได้รวมดอกเบี้ยที่มิชอบเข้าไว้ด้วย การออกเช็คพิพาทของจำเลยจึงเป็นการออกเช็คชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คดังกล่าวไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้เพราะขณะที่ออกไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงใช้เงินได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7850/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามมิให้วินิจฉัยเกินคำขอ และประเด็นการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบในศาลอุทธรณ์ กรณีปล้นทรัพย์
++ เรื่อง ปล้นทรัพย์ ++
ในข้อที่จำเลยฎีกาว่ามีเหตุปล้นทรัพย์หรือไม่ ในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่ามีการปล้นทรัพย์ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้องดังที่ศาลชั้นต้นฟังมา นอกจากนั้นจำเลยยังอ้างในอุทธรณ์อีกว่าตอนเกิดเหตุปล้นทรัพย์ผู้เสียหายอยู่ในภาวะหวาดกลัวจนขาดสติสัมปชัญญะ ผู้เสียหายไม่น่าจะสามารถจำคนร้ายได้ แสดงอยู่ในตัวว่า จำเลยยอมรับว่ามีเหตุการณ์ปล้นทรัพย์ดังที่ศาลชั้นต้นรับฟัง ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบด้วยป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องว่า ในการปล้นทรัพย์ จำเลยหรือพวกของจำเลยคนหนึ่งคนใดมีอาวุธติดตัวไปด้วย อันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา340 วรรคสอง ดังที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษา และการกระทำของจำเลยตามฟ้องคงเป็นความผิดตามมาตรา 340 วรรคแรก ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่า กรณีจึงต้องห้ามมิให้พิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรกปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วย มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7826/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี การประมาณการรายได้ และเบี้ยปรับตามมาตรา 67 ทวิ และ 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
การที่จำเลยไม่มาพบและส่งบัญชีเอกสารสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ทำให้เจ้าพนักงานของโจทก์ไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวได้ เจ้าพนักงานประเมินจึงอาศัยอำนาจตาม ป. รัษฎากรมาตรา 71 (1) ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่ากัน นอกจากนี้เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม ป. รัษฎากร มาตรา 67 ทวิ จำเลยจึงต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตาม ป. รัษฎากร มาตรา 67 ตรี
ข้อความในมาตรา 67 ทวิ แห่ง ป. รัษฎากร มีความหมายชัดเจนว่า บทมาตรานี้บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการตามมาตรา 68 จึงให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดทำประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วยื่นรายการเพื่อชำระภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยให้ยื่นชำระภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว และหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควร ก็จะต้องรับผิดตามมาตรา 67 ตรี ซึ่งกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาดแล้วแต่กรณี ดังนั้น การฝ่าฝืนมาตรา 67 ทวิ ได้มีบทบัญญัติกำหนดความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 เจ้าพนักงานประเมินอาจประเมินให้ชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มได้ทันทีเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ หรือเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบ ภ.ง.ด. 50 เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่จำต้องออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ใน ป. รัษฎากร มาตรา 19 และมาตรา 23 แต่ประการใด เมื่อกรณีตามฟ้องมิใช่เรื่องการไม่ยื่นรายการและมีการออกหมายเรียกไต่สวนตรวจสอบแล้วจึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจสอบ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 และมาตรา 24 เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 26
ตามคำฟ้องเป็นกรณีที่จำเลยรายเดียวถูกประเมินภาษีหลายคราวแล้วโจทก์รวมฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีมาเป็นคดีเดียว แม้กรณีจะได้ความว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหลายหนหลายคราว แต่การประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ซึ่งมีทั้งการประเมินครึ่งปีกับเต็มปี จำนวนเงินภาษีของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 จึงมียอดเงินภาษีของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 (ครึ่งปี) และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 (เต็มปี) อันเป็นจำนวนเดียวกัน จึงเป็นข้อหาเดียวเกี่ยวข้องกัน ส่วนการประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งเป็นภาษีอากรประเมิน ป. รัษฎากรว่าด้วยการเก็บภาษีจากบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มาตรา 65 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลว่าให้เสียเป็นรอบระยะเวลาบัญชี ดังนั้น ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยซึ่งเป็นบริษัทจำกัดตามฟ้องของโจทก์จึงมี 2 รอบระยะเวลาบัญชี คือรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 ซึ่งในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีจำเลยดำเนินกิจการและมีผลประกอบการแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีในกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีจึงมีสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับแตกต่างกัน สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกจากกันได้ การที่โจทก์รวมภาษีทั้งสองรอบระยะเวลาบัญชีมาเป็นจำนวนเดียว และเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดเพียงจำนวนเดียวจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7758/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงขอเงินชดเชยภาษีอากร, การโอนบัตรภาษีโดยไม่ชอบ, ความรับผิดร่วมกันของจำเลยในการชดใช้เงินและดอกเบี้ย
ศาลภาษีอากรกลางอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2541 โจทก์ต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 24 การนับเวลา ยื่นอุทธรณ์ 1 เดือน ต้องนับวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรกตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 และสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น ตามมาตรา 193/5 โจทก์ยื่นอุทธรณ์วันที่ 28 สิงหาคม 2541 จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 มิได้ส่งสินค้าตามใบขนสินค้าขาออกและแบบแสดงรายการการค้า 22 ฉบับ ออกไปนอกราชอาณาจักร แต่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการหลอกลวงโจทก์ โดยยื่นคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าที่อ้างว่าส่งออกตามใบขนสินค้าขาออกฯ ดังกล่าวจนเป็นเหตุให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยในรูปของบัตรภาษีให้แก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับโอนบัตรภาษีจากจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปของบัตรภาษีโดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 ที่มิชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปของ บัตรภาษี จำเลยที่ 3 ผู้รับโอนสิทธิต่อจากจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอน จำเลยที่ 3 จึงได้รับสิทธิตามบัตรภาษีไปจากโจทก์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เงินชดเชย ค่าภาษีอากรที่จ่ายในรูปบัตรภาษีจึงเป็นลาภมิควรได้ จำเลยที่ 3 จะต้องคืนบัตรภาษีให้แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ต้องชดใช้ราคาแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
จำเลยที่ 3 ให้การว่า สิทธิเรียกร้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ขาดอายุความ เพราะจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหม ทดแทน โจทก์ทราบเรื่องเมื่อเดือนกรกฎาคม 2534 แต่ฟ้องคดีวันที่ 5 สิงหาคม 2540 สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึง ขาดอายุความ จึงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยเพียงว่า สิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความตามมูลละเมิดหรือไม่เท่านั้น เมื่อคดีของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ฟังได้ว่าเป็นเรื่องสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ลาภมิควรได้ การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในมูลหนี้ลาภมิควรได้สำหรับจำเลยที่ 3 ขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำให้การของจำเลยที่ 3 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้ง ศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17, 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
ที่จำเลยที่ 3 แก้อุทธรณ์ว่า เอกสารชุดคำขอที่โจทก์อ้างส่งเป็นเอกสารที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้รับบัตรภาษีและนำบัตรภาษีของโจทก์ไปใช้แล้วนั้น เป็นคำแก้อุทธรณ์ที่ขัดกับคำให้การของจำเลยที่ 3 จึงเป็นข้อที่มิได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 4 และที่ 5 ได้รับสิทธิตามบัตรภาษีไปจากโจทก์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เงินชดเชยค่าภาษีอากรที่จำเลยที่ 4 และที่ 5 รับไปจากโจทก์ จึงเป็นลาภมิควรได้ จำเลยที่ 4 และที่ 5 จะต้องคืนบัตรภาษีให้แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ต้องชดใช้ราคาตามที่กำหนดไว้ในบัตรภาษีให้แก่โจทก์
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้สำแดงข้อความอันเป็นเท็จไว้ในใบขนสินค้าขาออกและแบบแสดงรายการการค้าว่าส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร แล้วจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าที่ส่งออกนั้น และโจทก์ได้จ่ายเงินชดเชยเป็นบัตรภาษีให้แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็น ผู้รับโอนบัตรภาษีจากจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องคืนบัตรภาษีดังกล่าว หากคืนไม่ได้ก็ต้องชดใช้ราคาและตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ทำละเมิดหรือวันที่รับบัตรภาษี
แม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ไม่ได้ร่วมกระทำละเมิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่ตามพฤติการณ์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ได้รับโอนบัตรภาษีมาโดยสุจริต จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระ ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีให้แก่โจทก์นับแต่วันที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 จะต้องคืนทรัพย์สินนั้นหรือเวลาที่โจทก์เรียกคืนบัตรภาษีเพราะมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นมูลหนี้ลาภมิควรได้ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ได้รับหนังสือแจ้งจากโจทก์ให้คืนบัตรภาษีเมื่อใด ถือว่าโจทก์เรียกให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 คืนบัตรภาษีนับแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7722/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์: การร่วมกระทำผิดกับผู้อื่น และขอบเขตความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง
แม้ว่าเงินที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ลักมาจะเป็นเงินของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 2 มิได้เป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วมด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ของนายจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7664/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงเครื่องชั่งเพื่อโกงน้ำหนัก และการใช้เครื่องชั่งที่ผิดกฎหมาย ศาลฎีกาพิพากษากลับ
จำเลยซึ่งเป็นพ่อค้าซื้อขายข้าวเปลือกต้องรู้เรื่องเครื่องชั่งเป็นอย่างดีการที่จำเลยนำเครื่องชั่งของกลางไปซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา ซึ่งเป็นเครื่องชั่งที่มีการแก้ไขดัดแปลงโดยถอดนอตเดิมออกแล้วใช้นอตอื่นใส่แทนในลักษณะหลวมเป็นผลให้ผู้ซื้อจะได้สินค้าที่มีน้ำหนักมากกว่าที่เครื่องชั่งแสดง เชื่อว่าจำเลยมีเจตนาดัดแปลงแก้ไขเครื่องชั่งของกลางเพื่อเอาเปรียบในทางการค้า
ระหว่างการพิจารณาของศาลมี พระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัดพ.ศ. 2542 ใช้บังคับให้ยกเลิก พระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด เดิมทุกฉบับตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติความผิดฐานกระทำการใด ๆ เพื่อให้เครื่องชั่งที่มีการให้คำรับรองแล้วแสดงน้ำหนักผิดไปจากที่ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงไว้ในมาตรา 75 และการใช้เครื่องชั่งโดยรู้ว่าเป็นเครื่องชั่งที่ถูกแก้เปลี่ยนไว้ในมาตรา 76 และมีระวางโทษเป็นคุณกว่าโทษตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 32 วรรคหนึ่งและวรรคสองตามลำดับ จึงต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคหนึ่ง
ส่วนการที่จำเลยมีเครื่องชั่งซึ่งไม่ถูกต้องไว้ แม้จะเป็นเครื่องชั่งที่มีการแก้ไขลดเครื่องชั่งที่ได้ทำการให้คำรับรองจากทางราชการก็ตามแต่ตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มิได้บัญญัติความผิดในการมีเครื่องชั่งที่มีการแก้ไขลดดังกล่าวให้เป็นความผิดไว้โดยเฉพาะ จำเลยจึงมีความผิดฐานมีเครื่องชั่งซึ่งไม่ถูกต้องตามความประสงค์ไว้เพื่อใช้ในกิจการต่อเนื่องกับผู้อื่นและในพาณิชยกิจของจำเลยตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 31เท่านั้น ดังนั้น แม้ตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542จะบัญญัติให้การมีเครื่องชั่งที่มีการให้คำรับรองแล้วแสดงน้ำหนักผิดไปจากที่ได้ตรวจสอบความเที่ยงเป็นความผิดตามมาตรา 76 ก็ตามก็ไม่อาจลงโทษได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2
สำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466มาตรา 31 นั้น ได้มีพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542 บัญญัติความผิดฐานมีเครื่องชั่งโดยรู้ว่าเครื่องชั่งนั้นมีความเที่ยงผิดอัตราไว้ในมาตรา 79และมีระวางโทษเป็นคุณกว่าโทษตามมาตรา 31 จึงต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคหนึ่ง
of 36