พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7664/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายที่เป็นคุณต่อจำเลยในความผิดเกี่ยวกับเครื่องชั่งตวงวัด และการพิจารณาโทษกรรมเดียวผิดหลายบท
พ.ร.บ.มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542 มาตรา 79 ซึ่งแก้ไขใหม่ มีระวางโทษเป็นคุณกว่าโทษตามกฎหมายเดิม จึงต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยมีเครื่องชั่งซึ่งไม่ถูกต้อง แม้จะเป็นเครื่องชั่งที่มีการแก้ไขลดเครื่องชั่งที่ได้ทำการให้คำรับรองจากทางราชการอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542 มาตรา 76 ซึ่งแก้ไขใหม่ก็ตาม แต่ตาม พ.ร.บ.มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 อันเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ขณะจำเลยกระทำความผิดมิได้บัญญัติไว้เป็นความผิด จำเลยจึงคงมีความผิดฐานมีเครื่องชั่งซึ่งไม่ถูกต้องตามความประสงค์ไว้เพื่อใช้ในกิจการต่อเนื่องกับผู้อื่นและในพาณิชยกิจของจำเลย ตาม พ.ร.บ.มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 31 เท่านั้น ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยมีเครื่องชั่งซึ่งไม่ถูกต้อง แม้จะเป็นเครื่องชั่งที่มีการแก้ไขลดเครื่องชั่งที่ได้ทำการให้คำรับรองจากทางราชการอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542 มาตรา 76 ซึ่งแก้ไขใหม่ก็ตาม แต่ตาม พ.ร.บ.มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 อันเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ขณะจำเลยกระทำความผิดมิได้บัญญัติไว้เป็นความผิด จำเลยจึงคงมีความผิดฐานมีเครื่องชั่งซึ่งไม่ถูกต้องตามความประสงค์ไว้เพื่อใช้ในกิจการต่อเนื่องกับผู้อื่นและในพาณิชยกิจของจำเลย ตาม พ.ร.บ.มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 31 เท่านั้น ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7663/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัยการพิเศษถูกกลั่นแกล้งทางการเมือง: การใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบเพื่อกลั่นแกล้งโจทก์
แม้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการฯ มาตรา 27บัญญัติให้เป็นอำนาจของประธานคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.)ที่จะเสนอก.อ.ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งข้าราชการอัยการนอกจากตำแหน่งอัยการผู้ช่วยแต่จำเลยซึ่งเป็นอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดในฐานะผู้บังคับบัญชาของข้าราชการอัยการทั่วประเทศในการใช้อำนาจบริหารงานบุคคลยังมีอำนาจเสนอตารางประวัติการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อประกอบการพิจารณาในการปฏิบัติหน้าที่ของประธาน ก.อ.รวมทั้งมีอำนาจเสนอเรื่องต่อก.อ. ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 21 การจัดทำตารางประวัติการปฏิบัติราชการเสนอที่ประชุมก.อ. เพื่อพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการอัยการ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลย
อำนาจของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดในเรื่องนี้มีลักษณะเป็นอำนาจในเชิงดุลพินิจที่อาจเลือกวินิจฉัยหรือเลือกกระทำได้หลายอย่างที่ชอบด้วยกฎหมาย การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157นี้ นอกจากหมายถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการกระทำนอกขอบเขตแห่งอำนาจหรือโดยปราศจากอำนาจประการหนึ่ง ที่เป็นการกระทำฝ่าฝืนต่อวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการนั้นประการหนึ่ง และที่เป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอีกประการหนึ่งแล้ว ยังหมายถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบอีกด้วย
การใช้อำนาจดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาสั่งการหรือเลือกกระทำตามที่เห็นว่าเหมาะสมโดยศาลไม่แทรกแซงนั้น หมายความว่า เมื่อผู้บังคับบัญชาใช้ดุลพินิจไปในทางใดแล้ว ศาลต้องยอมรับการใช้ดุลพินิจนั้น แต่การใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาจะต้องอยู่ภายในขอบเขตของความชอบด้วยกฎหมาย คือ ต้องมิใช่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ มิใช่การใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ หรือโดยปราศจากเหตุผล
การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ รวมทั้งตำแหน่งอัยการพิเศษฝ่ายนั้นมีการพิจารณาอาวุโสประกอบ การที่จำเลยเสนอตารางประวัติการปฏิบัติราชการแก่ประธาน ก.อ. เพื่อแต่งตั้งอัยการพิเศษฝ่ายโดยเสนอชื่อบุคคลที่มีอาวุโสต่ำกว่าโจทก์ไว้เป็นอันดับสูงกว่าโจทก์ถึงสามครั้งเพราะถือเอาสาเหตุที่จำเลยมีสาเหตุส่วนตัวกับโจทก์ เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและในการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบดังกล่าวจำเลยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,91
อำนาจของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดในเรื่องนี้มีลักษณะเป็นอำนาจในเชิงดุลพินิจที่อาจเลือกวินิจฉัยหรือเลือกกระทำได้หลายอย่างที่ชอบด้วยกฎหมาย การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157นี้ นอกจากหมายถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการกระทำนอกขอบเขตแห่งอำนาจหรือโดยปราศจากอำนาจประการหนึ่ง ที่เป็นการกระทำฝ่าฝืนต่อวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการนั้นประการหนึ่ง และที่เป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอีกประการหนึ่งแล้ว ยังหมายถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบอีกด้วย
การใช้อำนาจดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาสั่งการหรือเลือกกระทำตามที่เห็นว่าเหมาะสมโดยศาลไม่แทรกแซงนั้น หมายความว่า เมื่อผู้บังคับบัญชาใช้ดุลพินิจไปในทางใดแล้ว ศาลต้องยอมรับการใช้ดุลพินิจนั้น แต่การใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาจะต้องอยู่ภายในขอบเขตของความชอบด้วยกฎหมาย คือ ต้องมิใช่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ มิใช่การใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ หรือโดยปราศจากเหตุผล
การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ รวมทั้งตำแหน่งอัยการพิเศษฝ่ายนั้นมีการพิจารณาอาวุโสประกอบ การที่จำเลยเสนอตารางประวัติการปฏิบัติราชการแก่ประธาน ก.อ. เพื่อแต่งตั้งอัยการพิเศษฝ่ายโดยเสนอชื่อบุคคลที่มีอาวุโสต่ำกว่าโจทก์ไว้เป็นอันดับสูงกว่าโจทก์ถึงสามครั้งเพราะถือเอาสาเหตุที่จำเลยมีสาเหตุส่วนตัวกับโจทก์ เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและในการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบดังกล่าวจำเลยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7458/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของบุตรนอกกฎหมายที่บิดาไม่ได้จดทะเบียนรับรอง
โจทก์เป็นผู้เยาว์เป็นบุตรของนาง ด. กับนาย ป. ผู้ตายซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และผู้ตายก็ไม่ได้จดทะเบียนรับรองว่าโจทก์เป็นบุตรนาย ป. เพียงแต่ให้ใช้นามสกุลและให้การอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 บิดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วตามมาตรา 1627 บัญญัติให้ถือว่า เป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลทำให้เป็นผู้มีสิทธิรับมรดกในฐานะเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629เท่านั้น เมื่อนาย ป. ผู้ตายไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลย ผู้กระทำละเมิดเป็นเหตุให้นาย ป. ถึงแก่ความตายกรณีดังกล่าว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5ในเรื่องครอบครัวก็ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งแล้ว จึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7458/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของบุตรนอกกฎหมายที่บิดาไม่ได้จดทะเบียนรับรอง
โจทก์เป็นผู้เยาว์เป็นบุตรของนางด. กับนายป. ผู้ตาย ซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และผู้ตายก็ไม่ได้จดทะเบียนรับรองว่าโจทก์เป็นบุตรนายป. เพียงแต่ให้ใช้นามสกุลและให้การอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564บิดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ส่วนบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วตามมาตรา 1627 บัญญัติให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลให้เป็นผู้มีสิทธิรับมรดกในฐานะเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 เท่านั้นเมื่อนายป. ผู้ตายไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยผู้กระทำละเมิดเป็นเหตุให้นาย ป. ถึงแก่ความตาย กรณีดังกล่าวประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ในเรื่องครอบครัวได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งแล้ว จึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7458/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของบุตรนอกกฎหมายที่บิดาไม่ได้จดทะเบียนรับรอง
โจทก์เป็นผู้เยาว์เป็นบุตรของนาง ด.กับนาย ป.ผู้ตาย ซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และผู้ตายก็ไม่ได้จดทะเบียนรับรองว่าโจทก์เป็นบุตร นาย ป.เพียงแต่ให้ใช้นามสกุลและให้การอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ และตามป.พ.พ. มาตรา 1564 บิดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายส่วนบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วตามมาตรา 1627 บัญญัติให้ถือว่า เป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลทำให้เป็นผู้มีสิทธิรับมรดกในฐานะเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 เท่านั้น เมื่อนาย ป.ผู้ตายไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลย ผู้กระทำละเมิดเป็นเหตุให้นาย ป.ถึงแก่ความตาย กรณีดังกล่าว ป.พ.พ.บรรพ 5 ในเรื่องครอบครัวก็ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งแล้ว จึงนำ ป.พ.พ. มาตรา 4มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7429/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ภาษีอากรเกิน 10 ปี และผลกระทบต่ออายุความ การฟ้องล้มละลายไม่สะดุดอายุความ
การใช้วิธีการยึดทรัพย์สินและการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ที่ค้างชำระหนี้ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 12มีกำหนด 10 ปี ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 12 วรรคสี่ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2526 ถือว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่โจทก์แล้ว เมื่อโจทก์ไม่ชำระภาษีอากรตามการประเมิน จำเลยที่ 1 มีอำนาจยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ได้ภายในกำหนด 10 ปี การที่จำเลยที่ 1ยึดทรัพย์สินโจทก์ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 จึงล่วงเลยกำหนดเวลาแล้วจึงหมดสิทธิจะใช้วิธีการนี้กับโจทก์
ก่อนที่จะพ้น 10 ปี นับแต่โจทก์ได้รับแจ้งการประเมิน จำเลยที่ 1ฟ้องโจทก์เป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2536 นั้น ไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(2) เนื่องจากกำหนดเวลาบังคับชำระหนี้ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 12 วรรคสี่ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 เป็นเรื่องระยะเวลาที่จะบังคับแก่ผู้ที่ค้างชำระภาษีอากร ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่ใช่อายุความ กรณีไม่อาจนำเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้
ก่อนที่จะพ้น 10 ปี นับแต่โจทก์ได้รับแจ้งการประเมิน จำเลยที่ 1ฟ้องโจทก์เป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2536 นั้น ไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(2) เนื่องจากกำหนดเวลาบังคับชำระหนี้ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 12 วรรคสี่ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 เป็นเรื่องระยะเวลาที่จะบังคับแก่ผู้ที่ค้างชำระภาษีอากร ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่ใช่อายุความ กรณีไม่อาจนำเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7429/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาบังคับชำระหนี้ภาษีอากร 10 ปี และผลกระทบต่อการยึดทรัพย์หลังพ้นกำหนด
การใช้วิธีการยึดอายัดทรัพย์สินและการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ที่ค้างชำระหนี้ภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 นั้นมีกำหนดเวลา 10 ปี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2526ซึ่งถือว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ทราบการประเมินแล้วไม่ชำระ จำเลยที่ 1ชอบที่จะใช้อำนาจยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ได้ภายในกำหนด 10 ปี การที่จำเลยที่ 1 กับพวกยึดทรัพย์สินของโจทก์ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 จึงล่วงเลยกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยที่ 1 ย่อมหมดสิทธิที่จะใช้วิธีการนี้บังคับแก่โจทก์
กำหนดเวลาบังคับชำระหนี้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 12 วรรคสี่ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 เป็นเรื่องระยะเวลาที่จะบังคับแก่ผู้ที่ค้างชำระหนี้ภาษีอากร ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่ใช่อายุความ กรณีไม่อาจนำเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้
กำหนดเวลาบังคับชำระหนี้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 12 วรรคสี่ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 เป็นเรื่องระยะเวลาที่จะบังคับแก่ผู้ที่ค้างชำระหนี้ภาษีอากร ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่ใช่อายุความ กรณีไม่อาจนำเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7429/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาบังคับชำระภาษีอากร 10 ปี: สิทธิเรียกร้องของเจ้าพนักงานประเมิน
การใช้วิธีการยึดอายัดทรัพย์สินและการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ที่ค้างชำระหนี้ภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 นั้น มีกำหนดเวลา10 ปี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 271โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2526 ซึ่งถือว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ทราบการประเมินแล้วไม่ชำระ จำเลยที่ 1 ชอบที่จะใช้อำนาจยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ได้ภายในกำหนด 10 ปี การที่จำเลยที่ 1 กับพวกยึดทรัพย์สินของโจทก์ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 จึงล่วงเลยกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยที่ 1 ย่อมหมดสิทธิที่จะใช้วิธีการนี้บังคับแก่โจทก์
กำหนดเวลาบังคับชำระหนี้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12วรรคสี่ ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 271 เป็นเรื่องระยะเวลาที่จะบังคับแก่ผู้ที่ค้างชำระหนี้ภาษีอากร ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. จึงไม่ใช่อายุความกรณีไม่อาจนำเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้
กำหนดเวลาบังคับชำระหนี้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12วรรคสี่ ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 271 เป็นเรื่องระยะเวลาที่จะบังคับแก่ผู้ที่ค้างชำระหนี้ภาษีอากร ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. จึงไม่ใช่อายุความกรณีไม่อาจนำเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7199/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีสรรพสามิตต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการคัดค้านและอุทธรณ์ตามกฎหมายก่อน
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 96ประกอบมาตรา 86 และ 89 กำหนดให้การฟ้องคดีเกี่ยวกับการประเมินภาษีสรรพสามิตจะกระทำได้ต่อเมื่อได้ทำการคัดค้านการประเมินต่ออธิบดีกรมสรรพสามิตจำเลยที่ 2 หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายและต้องได้อุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของอธิบดีดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามกฎหมายภายในกำหนดเวลาด้วย แต่ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าหลังจากโจทก์ได้รับแจ้งการประเมินให้ชำระภาษีสรรพสามิตแล้วโจทก์ได้คัดค้านการประเมินหรือได้อุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพสามิตจำเลยที่ 2 แต่อย่างใด เมื่อโจทก์มิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ก่อนที่จะฟ้องร้องดำเนินคดี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
แม้กรมศุลกากรจำเลยที่ 1 จะได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมสรรพสามิตให้ดำเนินการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตแทนจำเลยที่ 2ก็ตาม แต่ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏพยานหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าอธิบดีกรมสรรพสามิตได้มอบหมายให้กรมศุลกากรจำเลยที่ 1 หรือเจ้าหน้าที่คนใดในกรมศุลกากรเป็นผู้รับคำคัดค้านหรือรับอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพสามิต จำเลยที่ 2 การที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อกองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากร ยังฟังไม่ได้ว่ายื่นอุทธรณ์ต่อผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมสรรพสามิต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
แม้กรมศุลกากรจำเลยที่ 1 จะได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมสรรพสามิตให้ดำเนินการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตแทนจำเลยที่ 2ก็ตาม แต่ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏพยานหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าอธิบดีกรมสรรพสามิตได้มอบหมายให้กรมศุลกากรจำเลยที่ 1 หรือเจ้าหน้าที่คนใดในกรมศุลกากรเป็นผู้รับคำคัดค้านหรือรับอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพสามิต จำเลยที่ 2 การที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อกองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากร ยังฟังไม่ได้ว่ายื่นอุทธรณ์ต่อผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมสรรพสามิต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7199/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีภาษีสรรพสามิตต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการคัดค้านและอุทธรณ์ตามกฎหมายก่อน มิฉะนั้นไม่มีอำนาจฟ้อง
พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 96 ประกอบมาตรา 86 และ 89 กำหนดให้การฟ้องคดีเกี่ยวกับการประเมินภาษีสรรพสามิตจะกระทำได้ต่อเมื่อได้ทำการคัดค้านการประเมินต่ออธิบดีกรมสรรพสามิตจำเลยที่ 2หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายและต้องได้อุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของอธิบดีดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามกฎหมายภายในกำหนดเวลาด้วย แต่ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าหลังจากโจทก์ได้รับแจ้งการประเมินให้ชำระภาษีสรรพสามิตแล้วโจทก์ได้คัดค้านการประเมินหรือได้อุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพสามิตจำเลยที่ 2 แต่อย่างใด เมื่อโจทก์มิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ก่อนที่จะฟ้องร้องดำเนินคดี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
แม้กรมศุลกากรจำเลยที่ 1 จะได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมสรรพสามิตให้ดำเนินการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตแทนจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏพยานหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าอธิบดีกรมสรรพสามิตได้มอบหมายให้กรมศุลกากรจำเลยที่ 1 หรือเจ้าหน้าที่คนใดในกรมศุลกากรเป็นผู้รับคำคัดค้านหรือรับอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพสามิตจำเลยที่ 2 การที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อกองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากร ยังฟังไม่ได้ว่ายื่นอุทธรณ์ต่อผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมสรรพสามิต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
แม้กรมศุลกากรจำเลยที่ 1 จะได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมสรรพสามิตให้ดำเนินการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตแทนจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏพยานหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าอธิบดีกรมสรรพสามิตได้มอบหมายให้กรมศุลกากรจำเลยที่ 1 หรือเจ้าหน้าที่คนใดในกรมศุลกากรเป็นผู้รับคำคัดค้านหรือรับอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพสามิตจำเลยที่ 2 การที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อกองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากร ยังฟังไม่ได้ว่ายื่นอุทธรณ์ต่อผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมสรรพสามิต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2