พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9317/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแม้ไม่มีการนำสืบจำนวนเงินโดยละเอียด ศาลวินิจฉัยได้ตามข้อเท็จจริงที่มีอยู่
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์จำนวน 1 เดือน กับ 16 วัน เป็นเงิน 107,333 บาท แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบถึงวิธีการคิดคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือไม่มีพยานโจทก์คนใดเบิกความถึงเงินจำนวนตามฟ้องเลยก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างอัตราค่าจ้างเดือนละเท่าใด สัญญาจ้างไม่มีกำหนดเวลาจ้างไว้แน่นอนหรือไม่ และจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่เท่าใดโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าย่อมเพียงพอที่ศาลแรงงานจะวินิจฉัยต่อไปได้ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่เพียงใด ไม่เป็นการพิจารณาข้อเท็จจริงนอกเหนือไปจากที่คู่ความนำสืบไว้ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20กุมภาพันธ์ 2541 และตามมาตรา 2 บัญญัติให้พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2541 ก่อนวันที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับกรณีจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 164 ที่บัญญัติให้คดีที่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ให้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมซึ่งออกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16มีนาคม พ.ศ. 2515 จนกว่าคดีนั้น ๆ จะถึงที่สุด การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยคดีนี้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: พิจารณาเหตุผลทางธุรกิจและความจำเป็นในการลดกำลังคน
หลักเกณฑ์การพิจารณาเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 ศาลต้องพิจารณาว่ามีสาเหตุแห่ง การเลิกจ้างหรือไม่ และมีเหตุเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่ เป็นสำคัญ แม้การเลิกจ้างนั้นจะเป็นเหตุให้ลูกจ้างเดือดร้อน หากเป็นความจำเป็นทางด้านนายจ้างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง ได้เพื่อให้กิจการของนายจ้างยังคงดำรงอยู่ต่อไป โดยหวังว่า กิจการของนายจ้างจะมีโอกาสกลับฟื้นคืนตัวได้ใหม่ย่อม เป็นสาเหตุที่จำเป็นและเพียงพอแก่การเลิกจ้างแล้วกรณีไม่อาจถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ระเบียบข้อบังคับกำหนดว่า จำเลยจะจ่ายโบนัสแก่พนักงานในวันที่ 15 กรกฎาคม และวันที่ 15 มกราคม ของปีถัดไปโดยไม่มีข้อความว่าจะจ่ายให้แก่พนักงานที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานก่อนวันดังกล่าว ซึ่งหมายความว่า พนักงานที่มีสิทธิได้รับโบนัสจะต้องมีตัวอยู่ในวันครบกำหนดจ่ายโบนัสด้วย วันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คเงินเดือนรวมกับเงินอื่นพร้อมที่จะจ่ายให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมลงลายมือชื่อรับเงินเพราะเกรงจะเป็นการสมัครใจลาออกจากงานนั้น เป็นกรณีที่จำเลยขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้วแต่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควรแม้จำเลยจะไม่นำเงินดังกล่าวไปมอบไว้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่ง อธิบดีมอบหมายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคสาม ก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิ คิดเงินเพิ่มตามข้อ 31 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353-1368/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พิจารณาจากสาเหตุความจำเป็นทางธุรกิจและผลกระทบทางเศรษฐกิจ
หลักเกณฑ์การพิจารณาเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522มาตรา 49 ศาลจำต้องพิจารณาว่ามีสาเหตุแห่งการเลิกจ้างหรือไม่ และสาเหตุดังกล่าวมีเหตุเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญแม้การเลิกจ้างนั้นจะเป็นเหตุให้ลูกจ้างเดือดร้อนก็ตามแต่หากเป็นความจำเป็นทางด้านนายจ้างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อให้กิจการของนายจ้างยังคงดำรงย่อมเป็นสาเหตุที่จำเป็นและเพียงพอแก่การเลิกจ้างแล้ว ไม่ถือว่าเป็นการอยู่ต่อไป โดยหวังว่ากิจการของนายจ้างจะมีโอกาสกลับฟื้นคืนตัวได้ใหม่เลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งแตกต่างจากหลักเกณฑ์เรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 121 มาตรา 122และมาตรา 123 จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะจำเลยประสบภาวะเศรษฐกิจ ลูกค้าของจำเลยลดการสั่งซื้อสินค้าทำให้การผลิตลดลง เป็นเหตุให้จำเลยต้องลดอัตรากำลังคนให้พอเหมาะแก่ปริมาณงานที่แท้จริง ทั้งก่อนจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยก็ได้คัดเลือกโจทก์ออกจากงานตามหลักเกณฑ์ที่ทุกฝ่ายยอมรับโดยไม่เลือกปฏิบัติหรือกลั่นแกล้งโจทก์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์กับลูกจ้างคนอื่น ๆ เพื่อต้องการพยุงกิจการของจำเลยให้อยู่รอดต่อไปได้เช่นนี้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีสาเหตุอันจำเป็นและเพียงพอแก่การเลิกจ้างแล้วกรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่าจำเลยจะจ่ายโบนัสแก่พนักงานในวันที่ 15 กรกฎาคม และวันที่ 15 มกราคม ของปีถัดไป โดยไม่มีข้อความว่าจะจ่ายให้แก่พนักงานที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานก่อนวันดังกล่าว อันมีความหมายว่า พนักงานที่มีสิทธิได้รับโบนัสจะต้องมีตัวอยู่ในวันครบกำหนดจ่ายโบนัสด้วย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทำให้โจทก์สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป ดังนั้นเมื่อถึงกำหนดเวลาที่จำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงานในวันที่ 15 มกราคม 2541 โจทก์สิ้นสภาพการเป็นพนักงานไปก่อนวันครบกำหนดจ่ายเงินโบนัสเสียแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกเงินโบนัสจากจำเลย ในวันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คเงินเดือนรวมกับเงินอื่นพร้อมที่จะจ่ายให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมลงลายมือชื่อรับเงินเพราะเกรงจะเป็นการสมัครใจลาออกจากงาน เมื่อเห็นได้ว่าจำเลยขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้ว แต่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควรแม้จำเลยจะไม่นำเงินดังกล่าวไปมอบไว้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคสามก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดเงินเพิ่มตามข้อ 31 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6261/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระค่าจ้างและการคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ร้องเรียนต่อหน่วยงานราชการ
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่เมื่อใดแต่การที่จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าจ้างค้างแก่โจทก์โดยโจทก์ได้ทวงถามจนกระทั่งโจทก์ยื่นคำร้องต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครศรีธรรมราช จำเลยก็ยัง ไม่ยอมชำระให้นั้น ถือว่าจำเลยผิดนัดในการชำระค่าจ้างค้าง แก่โจทก์แล้ว จำเลยต้องรับผิดในดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันที่ โจทก์ยื่นคำร้องต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6250/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ใช้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 (ร้อยละ 7.5 ต่อปี)
ข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานเพราะเป็นการเลิกจ้างตามมติที่ประชุมคณะกรรมการของจำเลยเนื่องจากโจทก์มีความผิดตามระเบียบว่าด้วยการพนักงานของจำเลยเพราะโจทก์สร้างความขัดแย้งแตกแยกในหมู่พนักงาน จึงไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมนั้น ตามข้ออุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว อ้างว่าสาเหตุที่เลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ผิดระเบียบว่าด้วยการพนักงานของจำเลยดังกล่าว แต่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่มีความผิดในการปฏิบัติหน้าที่หรือมีความประพฤติเสียหายอันจะถือได้ว่ามีเหตุผลสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้เช่นนี้ข้ออุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ในปี 2536 โจทก์ทำงานกับจำเลยเต็มปีทางบัญชี โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินโบนัสตามระเบียบวาระการประชุมกรรมการดำเนินการซึ่งจำเลยกำหนดจ่ายเงินโบนัสให้พนักงานที่ปฏิบัติงานครบ1 ปี ได้รับเต็มจำนวนหมายถึง เท่ากับเงินเดือน 1 เดือนจำเลยต้องจ่ายเงินโบนัสสำหรับปี 2536 ให้แก่โจทก์จำนวน18,140 บาท ส่วนจะได้รับเท่าใดนั้น ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าการที่จำเลยตกลงจ่ายเงินโบนัสให้พนักงานที่ปฏิบัติงานครบ 1 ปีได้รับเต็มจำนวนคือ เงินเดือน 1 เดือน เมื่อระเบียบวาระการประชุมกรรมการดำเนินการระบุว่า พนักงานเต็มปี53.08 เปอร์เซ็นต์ เป็นเงิน 538,273.61 บาท หมายถึงพนักงานที่ปฏิบัติงานครบ 1 ปี ได้รับเต็มจำนวนคือ 53.08 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน 1 เดือน หาใช่หมายถึงได้รับเท่ากับเงินเดือน1 เดือน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินโบนัสปี 2536 จำนวน53.08 บาท เปอร์เซ็นต์ ของเงินเดือนจำนวน 1 เดือน เท่านั้นคือ 18,140 บาท คิดเป็นเงิน 9,628.71 บาท ความในข้อ 31 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ที่กำหนดว่าถ้านายจ้างผิดนัดในการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด ให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปีบทบัญญัติดังกล่าวหาได้กำหนดเรื่องค่าเสียหายที่นายจ้างจะต้องจ่ายระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีไม่ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 มิได้บัญญัติกำหนดอัตราดอกเบี้ยของค่าเสียหายกรณีเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างไว้ กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไป ที่กำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในส่วนค่าเสียหายได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5609/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องวินิจฉัยดอกเบี้ยค่าล่วงเวลาตามคำขอท้ายฟ้อง แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาถึงเรื่องค่าล่วงเวลาแล้ว
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชำระดอกเบี้ยของค่าล่วงเวลาในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี และศาลแรงงานกลางได้กำหนดประเด็นพิพาทไว้แล้ว การที่ศาลแรงงานกลางมิได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยของค่าล่วงเวลาตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่เพียงใด จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 51 นายจ้างที่ไม่ชำระค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างลูกจ้างย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากนายจ้างในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีนับแต่วันที่ผิดนัด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรกซึ่งตามข้อ 29(1) ลูกจ้างจะได้รับค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่าเดือนละหนึ่งครั้ง เมื่อนายจ้างมิได้ชำระแต่ละเดือนจึงถือว่าผิดนัดตั้งแต่วันที่จะต้องชำระในแต่ละเดือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2282/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนจากการจัดหางานโครงการเป็นค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน แม้เรียก 'โบนัส' ก็ตาม
สัญญาจ้างระบุว่า โจทก์จะได้รับเงิน 40,000 บาท ต่อเดือนเงินโบนัสประจำปีเท่ากับเงินเดือน 1 เดือน และจะมีเงินโบนัสสำหรับการปฏิบัติหน้าที่จ่ายให้แก่โจทก์สำหรับงานใด ๆ ซึ่งโจทก์จัดการให้ได้มาแก่จำเลยด้วยความพยายามของโจทก์เอง โดยจ่ายให้ในอัตราร้อยละ 2.5 ของสินจ้างของงานนั้น ๆ ดังนั้น นอกจากโจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างเป็นรายเดือนแล้ว เมื่อโจทก์จัดหางานตามโครงการมาได้ โจทก์ยังมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนร้อยละ 2.5 ของสินจ้างที่จำเลยได้รับอันเป็นผลงานที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างหามาได้ย่อมถือได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จ่ายตอบแทนการทำงานโดยตรง แม้ในสัญญาจ้างจะเรียกเงินดังกล่าวว่าโบนัส ก็เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 เมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดจ่ายเงินค่าจ้างแก่โจทก์เมื่อใดจึงให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรก ตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ส่วนเงินเพิ่มนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่ายเงินค่าจ้าง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2282/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนจากการจัดหางาน โบนัส ถือเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย แม้เรียกชื่ออื่น
ตามสัญญาจ้างมีข้อตกลงว่า นอกจากโจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนแล้วเมื่อโจทก์จัดหางานตามโครงการมาได้ โจทก์ยังมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนร้อยละ 2.5 ของสินจ้างที่จำเลยได้รับอันเป็นผลงานที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทำมาได้ ย่อมถือได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จ่ายตอบแทนการทำงานโดยตรงแม้ในสัญญาจ้างจะเรียกเงินดังกล่าวว่าโบนัสก็เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลาพนักงานรัฐวิสาหกิจ: ผลกระทบประกาศกระทรวงมหาดไทย และเหตุผลสมควรในการไม่จ่าย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ไม่ใช้บังคับได้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2534 ซึ่งข้อ 3 กำหนดให้ข้อพิพาทหรือคดีของโจทก์ซึ่งยังไม่ถึงที่สุดให้บังคับตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 จนกว่าข้อพิพาทหรือคดีจะถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อข้อพิพาทหรือคดีของโจทก์ได้เกิดขึ้นก่อนและยังไม่ถึงที่สุดก่อนใช้ประกาศฉบับดังกล่าวข้างต้นจึงนำพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534มาใช้บังคับไม่ได้ จำเลยไม่จ่ายค่าล่วงเวลาให้โจทก์ซึ่งเป็นการกระทำตามระเบียบโดยมีเหตุผลอันสมควร จึงไม่เป็นการกระทำโดยจงใจผิดนัดและไม่มีเหตุสมควร โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าจ้างค้างจ่าย: ประกาศกระทรวงมหาดไทยเฉพาะเจาะจงมีผลเหนือกว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 31วรรคแรก กำหนดให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างร้อยละสิบห้าต่อปี ไว้โดยเฉพาะแล้ว จะนำ ป.พ.พ.มาตรา 224 มาใช้บังคับหาได้ไม่.