คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าจ้างค้างจ่าย: ศาลยืนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ให้จ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี เหนือกว่าประมวลกฎหมายแพ่ง
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างค้างจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปีแก่โจทก์ ตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 31 กำหนดไว้ มิใช่จ่ายร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 28/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างค่าทำงานวันหยุดและดอกเบี้ย กรณีนายจ้างไม่ประกาศวันหยุดและผิดนัดชำระ
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า จำเลยนายจ้างได้ประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีและวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ทราบล่วงหน้าซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่า โจทก์ไม่ได้หยุดงานในวันดังกล่าวส่วนวันหยุดประจำสัปดาห์ จำเลยมิได้ปฏิเสธไว้ต้องถือว่าจำเลยสั่งให้โจทก์ทำงานในวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ โจทก์จึงมิต้องนำสืบในข้อนี้อีก จำเลยจึงต้องจ่ายเงินสำหรับวันหยุดทั้ง 3 ประเภท ดังกล่าวแก่โจทก์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานหมวด 4ข้อ 31 วรรคแรก ถ้านายจ้างผิดนัดในการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวจะมิได้กำหนดให้ลูกจ้างต้องทวงถามเสียก่อนจึงจะมีสิทธิได้ดอกเบี้ยซึ่งมีความหมายว่านายจ้างจะต้องจ่ายดอกเบี้ยทันทีที่ผิดนัดก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยผิดนัดในเรื่องดอกเบี้ยของแต่ละรายการตั้งแต่เมื่อใดและอย่างไร ทั้งยังเบิกความว่าขอเรียกดอกเบี้ยนับจากวันฟ้องเป็นต้นไป ที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5851/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นค่าจ้าง นายจ้างต้องจ่ายตามส่วน หากเลิกจ้างโดยมิได้มีความผิด และมิได้ใช้สิทธิลาหยุด
ค่าจ้างหมายความรวมถึงเงินที่จ่ายให้ในวันหยุดซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย และถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มีความผิด ให้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ โดยให้จ่ายเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ดังนั้นค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจึงเป็นค่าจ้าง ลูกจ้างทำงานมานาน 1 ปี 8 เดือนครึ่ง แล้วถูกเลิกจ้าง โดยมิได้มีความผิด เมื่อยังมิได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วน ที่มีสิทธิได้รับโดยสำหรับปีแรกเต็มปีจำนวน 6 วันทำงาน และอีก 8 เดือนครึ่งจำนวน 4 วันทำงาน รวมเป็น 10 วันทำงาน เมื่อนายจ้างเลิกจ้างก็ได้จ่ายเงินค่าจ้าง เงินค่าสินจ้าง แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินค่าชดเชยให้ครบถ้วนแล้ว คงมีปัญหาเฉพาะเรื่องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีโดยนายจ้าง อ้างว่าลูกจ้างใช้สิทธิลาหยุดด้วยวาจาไปครบถ้วนแล้วซึ่ง ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าในฐานะที่นายจ้างประกอบกิจการโรงพยาบาล ก็น่าจะมีวิธีการจดแจ้งหรือบันทึกเรื่องการลาหยุดไว้ จึงฟังได้ว่า ลูกจ้างยังมิได้ใช้สิทธิลาหยุด พฤติการณ์ที่ปรากฏยังไม่เพียงพอว่า นายจ้างจงใจผิดนัดในการจ่ายโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร จึง ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม โจทก์ฟ้องขอให้ชำระเงินเพิ่มเติมของเงินค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีจำนวน 68,400 บาท และให้ชำระเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 15ของเงินค้างจ่ายทุกระยะเวลา 7 วันนับแต่วันฟ้อง โดยมิได้มีคำขอให้ชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้น อุทธรณ์ของโจทก์ที่ขอให้ชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จึงเป็นข้อมิได้ยกขึ้นว่ากล่าว ในศาลแรงงานกลาง และคำขอนี้ก็มิได้ระบุไว้ในคำขอท้ายฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 688/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การพิสูจน์สิทธิโดยเอกสารหลักฐานและการเช่าซื้อที่ดิน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)มิได้กำหนดว่าคำตักเตือนเป็นหนังสือมีระยะเวลานานเท่าใดจึงจะเป็นระยะเวลานานเกินสมควรอันจะถือว่าคำตักเตือนนั้นสิ้นผลที่ไม่อาจถือได้ว่ามีการตักเตือน แต่ก็มิได้หมายความว่าเมื่อนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว คำตักเตือนจะมีผลอยู่ตลอดไป การพิจารณาว่าระยะเวลาเนิ่นนานหรือไม่เพียงใดนั้น จะต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์เป็นแต่ละกรณีถึงเหตุและความหนักเบาของการกระทำความผิดตลอดจนความเสียหายที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดแก่นายจ้างว่ามีเพียงใด การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยทำหน้าที่เป็นพนักงานขับรถรับส่งพนักงานของจำเลยได้กระทำผิดครั้งแรกโดยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่สั่งให้โจทก์ขับรถไปส่งคนเจ็บและจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วต่อมาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่สั่งให้ขับรถไปส่งพนักงานจ่ายเงินอีก ซึ่งมิใช่เป็นความผิดเล็กน้อย อันอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยได้ ซึ่งเมื่อนับแต่ที่จำเลยได้ตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือเนื่องจากการกระทำผิดครั้งแรกเมื่อวันที่ 21มีนาคม 2532 จนถึงวันที่โจทก์กระทำผิดครั้งหลังเมื่อวันที่ 7มีนาคม 2533 เป็นเวลาไม่เนิ่นนาน ทั้งไม่ปรากฏว่าในช่วงระยะเวลาดังกล่าวโจทก์ได้ปรับปรุงตน ไม่ได้กระทำผิดโดยที่ได้สำนึกและเชื่อฟังคำตักเตือนดังกล่าว คำตักเตือนของจำเลยจึงยังมีผลอยู่การกระทำผิดของโจทก์ครั้งหลัง จึงเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน นายจ้างไม่จ่ายค่าล่วงเวลาตามกำหนดย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 31.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3755/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทแรงงาน: การจ่ายค่าจ้าง, โบนัส, และดอกเบี้ยกรณีผิดนัด จ่ายค่าจ้างต่ำกว่าขั้นต่ำ
โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยหลีกเลี่ยงให้โจทก์เป็นลูกจ้างรายวันและหาทางบ่ายเบี่ยงไม่ให้ค่าจ้างโจทก์ในวันที่โจทก์มาลงชื่อเพื่อปฏิบัติงานในวันต่อไป เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการอุทธรณ์นอกเหนือไปจากที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคแรก ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์และจำเลยทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างว่าจำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงานของจำเลยทุกคนในวันที่ 28 สิงหาคม 2533โดยไม่มีข้อความว่าจะจ่ายให้แก่พนักงานที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานก่อนวันดังกล่าว ย่อมมีความหมายว่าการจ่ายเงินโบนัสของจำเลยในวันดังกล่าวนอกจากพนักงานผู้มีสิทธิได้รับเงินโบนัสต้องมีอายุการทำงานครบ 1 ปี นับแต่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วยังต้องมีตัวอยู่ในวันที่มีการจ่ายเงินโบนัสด้วย เมื่อโจทก์ถูกเลิกจ้างก่อนวันที่จำเลยจะจ่ายเงินโบนัส โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัส จำเลยจ่ายค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายเป็นการผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างส่วนที่ยังจ่ายให้ไม่ครบตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ จำเลยต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่โจทก์ระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 31 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5212/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องคดีแรงงานหลังสืบพยาน และการคำนวณดอกเบี้ยค้างชำระ
โจทก์ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำขอท้ายฟ้อง โดยขอให้จำเลยจ่ายเงินเพิ่มร้อยละสิบห้าทุกระยะเจ็ดวันของค่าจ้างที่เป็นค่านายหน้าจากการขายไปจนกว่าจะชำระเสร็จ อันเป็นกรณีที่โจทก์เรียกร้องเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 ซึ่งขณะยื่นฟ้องโจทก์ทราบถึงสิทธิในข้อนี้อยู่แล้วและคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานแล้วแต่กรณี โจทก์ฟ้องเรียกค่านายหน้าจากการขายจากจำเลย จำเลยให้การว่าค่านายหน้าที่โจทก์เรียกมา 8,103.55 บาท นั้น จำเลยขอปฏิเสธความจริงจำเลยค้างชำระอยู่เพียง 2,722.29 บาท ถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิเสธจำนวนค่านายหน้าที่ต้องรับผิดต่อโจทก์แล้ว ที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายค่านายหน้าตามจำนวนที่โจทก์ฟ้อง เพราะจำเลยยังมิได้รับชำระราคาสินค้า จึงอยู่ในประเด็นที่จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5003/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างขั้นต่ำมีผลบังคับใช้ แม้มีมติคณะรัฐมนตรีห้ามปรับปรุงค่าจ้างของรัฐวิสาหกิจ นายจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยหากผิดนัด
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำพ.ศ. 2515 ก็ดี ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2527 ก็ดี ต่างก็ได้ออกโดยอาศัยอำนาจประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 จึงมีสภาพบังคับเป็นกฎหมายเมื่อจำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจและเป็นนายจ้างของโจทก์จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดของประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว แม้จะมีมติของคณะรัฐมนตรีห้ามรัฐวิสาหกิจทำการปรับปรุงค่าจ้างของลูกจ้างเว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเป็นพิเศษ แต่ก็ปรากฏว่าประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวมีผลใช้บังคับภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติ จำเลยจึงไม่อาจอ้างมติคณะรัฐมนตรีมาเป็นข้อยกเว้นบทกฎหมายได้ และถือว่าจำเลยผิดนัดในการจ่ายค่าจ้าง ต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรก อีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4545/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ดอกเบี้ยค่าจ้าง: ประเด็นใหม่ต้องยกขึ้นในศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างที่จำเลยไม่ชำระและเงินเพิ่มร้อยละสิบห้าของค่าจ้างที่ค้างชำระทุกเจ็ดวันนับแต่วันถึงกำหนดจ่ายจากจำเลย มิได้ขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยร้อยละสิบห้าต่อปีของค่าจ้างค้างชำระ ดังนี้ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าเมื่อจำเลยไม่ชำระค่าจ้าง จเลยต้องจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีของค่าจ้างค้างจ่ายนับแต่วันค้างชำระเป็นต้นไป เว้นแต่จะนำค่าจ้างไปมอบแก่อธิบดีกรมแรงงานหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายเพื่อให้ลูกจ้างรับไป จึงจะไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย นั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดเงินเพิ่มจากค่าจ้างค้างชำระ: ศาลยืนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดอัตราเงินเพิ่มรายเจ็ดวัน มิใช่รายปี
จำเลยจงใจผิดนัดจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 31 ในอัตราร้อยละ 15 ของเงินค่าจ้างที่ค้างชำระทุกระยะเจ็ดวัน มิใช่ร้อยละ 15ต่อปี.
of 4