พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6368/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและกระสุนปืน แม้ใช้ร่วมกันได้ ก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
การมีอาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 55, 78 วรรคหนึ่ง ส่วนการมีกระสุนปืนที่สามารถใช้ร่วมกันได้ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นความผิดตามมาตรา 7, 72 วรรคหนึ่ง การที่กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตรา ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่ามีความประสงค์จะแยกความผิดสองฐานนี้ออกจากกัน แม้ว่าจำเลยจะมีอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้ในครอบครองในเวลาเดียวกัน อาวุธปืนและกระสุนปืนใช้ร่วมกันได้ การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้องจึงไม่อาจแก้ไขให้เรียงกระทงลงโทษในส่วนนี้ได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3231/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชัดเจน-เกินสองแสน-ฟังข้อเท็จจริงนอกคำให้การ ศาลฎีกาคืนค่าขึ้นศาล
ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการฎีกา บัญญัติให้คู่ความผู้ยื่นฎีกาต้องกล่าวถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างไว้ให้ชัดแจ้งในฎีกา แต่ฎีกาของจำเลยทั้งสองเพียงแต่อ้างข้อเท็จจริงที่ได้จากทางนำสืบของโจทก์และจำเลยมาแสดงประกอบคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น แล้วอ้างว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้และตามคำให้การที่จำเลยทั้งสองต่อสู้ไว้ เมื่อปรากฏว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนของโจทก์ที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ถูกกลับโดยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 และฎีกาของจำเลยทั้งสองมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ว่า ไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูก ต้องเป็นอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตามบทกฎหมายข้างต้น เมื่อข้อต่อสู้ตามฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่า ศาลชั้นต้นมิได้ฟังข้อเท็จจริงนอกคำให้การ ไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง และมาตรา 177 ดังกล่าวเป็นฎีกาในข้อกฎหมายที่ไม่ชัดแจ้ง ทั้งเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องอาศัยข้อเท็จจริงเพื่อการวินิจฉัยอันมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และคดีในส่วนของโจทก์แต่ละคนมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฎีกาที่มิชอบ และไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย แม้ศาลฎีกาจะมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยทั้งสองในประเด็นดังกล่าว กรณีก็ไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21623/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อหาจากตัวการเป็นผู้สนับสนุน และการยกฟ้องเนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอในคดีข่มขืน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 5 มีความผิดฐานเป็นตัวการตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ประกอบมาตรา 83 ให้ส่งตัวจำเลยที่ 5 ไปรับการฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีกำหนด 2 ปี แต่ไม่เกินกว่าที่จำเลยที่ 5 จะมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ตาม ป.อ. มาตรา 75 ประกอบมาตรา 74 (5) ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 5 มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ประกอบมาตรา 86 ให้มอบตัวจำเลยที่ 5 ให้แก่บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ระวังจำเลยที่ 5 ไม่ให้ก่อเหตุร้ายตลอดเวลาภายใน 1 ปี หากจำเลยที่ 5 ก่อเหตุร้าย บิดา มารดา หรือผู้ปกครองต้องชำระเงินต่อศาลครั้งละ 1,000 บาท กับให้คุมความประพฤติจำเลยที่ 5 ไว้ 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 75 ประกอบมาตรา 74 (2) (3) มิใช่การลงโทษ จึงถือมิได้ว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 5 เกิน 2 ปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ที่โจทก์ฎีกาว่า พฤติกรรมของจำเลยที่ 5 เป็นความผิดฐานเป็นตัวการตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ประกอบมาตรา 83 เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21379/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำโดยประมาทเล็งเห็นผลเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย แม้ต่างจากที่ฟ้อง
แม้ข้อเท็จจริงที่ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคนร้ายที่ขับรถยนต์และใช้ไม้ถูพื้นไล่ตามทำร้ายผู้ตายกับพวก จะแตกต่างจากที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันขับรถยนต์ไล่ชนทำร้ายผู้ตาย แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อแตกต่างเกี่ยวกับวิธีการประทุษร้าย อันมิใช่สาระสำคัญแห่งคดี เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความดังกล่าวได้
การที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ไล่ทำร้ายผู้ตายกับพวกในระยะกระชั้นชิดโดยถือไม้ถูพื้นชูออกนอกรถยนต์เพื่อข่มขู่ผู้ตายกับพวกไปตลอดทาง โดยมีเจตนาจะทำร้ายผู้ตายกับพวก และผลจากการกระทำดังกล่าวทำให้ผู้ตายต้องขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูงเพื่อหลบหนีการถูกไล่ทำร้ายจนเกิดเหตุชนกับรถยนต์กระบะที่จอดอยู่ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้ตายได้รับอันตรายสาหัสและถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 290
การที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ไล่ทำร้ายผู้ตายกับพวกในระยะกระชั้นชิดโดยถือไม้ถูพื้นชูออกนอกรถยนต์เพื่อข่มขู่ผู้ตายกับพวกไปตลอดทาง โดยมีเจตนาจะทำร้ายผู้ตายกับพวก และผลจากการกระทำดังกล่าวทำให้ผู้ตายต้องขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูงเพื่อหลบหนีการถูกไล่ทำร้ายจนเกิดเหตุชนกับรถยนต์กระบะที่จอดอยู่ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้ตายได้รับอันตรายสาหัสและถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 290
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21166/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของสหกรณ์: เสียงข้างมากของคณะกรรมการดำเนินการ แม้มีการเปลี่ยนแปลงสมาชิก
ตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 50 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สหกรณ์มีคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกไม่เกินสิบสี่คนซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิก มาตรา 51 และข้อบังคับของโจทก์ ข้อ 65 วรรคหนึ่ง กำหนดให้คณะกรรมการดำเนินการเป็นผู้ดำเนินกิจการและเป็นผู้แทนโจทก์ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอกและเพื่อการนี้คณะกรรมการดำเนินการจะมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนหรือผู้จัดการทำการแทนก็ได้ ประกอบกับ พ.ร.บ.สหกรณ์ฯ และข้อบังคับของโจทก์มิได้กำหนดไว้ว่าโจทก์จะดำเนินกิจการใด ๆ ได้ต้องอาศัยความเห็นชอบของคณะกรรมการดำเนินการทุกคน กรณีจึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปเกี่ยวกับนิติบุคคลตาม ป.พ.พ. มาบังคับใช้ ซึ่งตามมาตรา 71 กำหนดให้เป็นไปตามเสียงข้างมากในหมู่ของคณะกรรมการดำเนินการ แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่าศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลปกครองขอนแก่นให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของสหกรณ์จังหวัดขอนแก่นที่ไม่ตัดสิทธิการสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานกรรมการดำเนินการสหกรณ์โจทก์ของ บ. อันมีผลทำให้การสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานกรรมการดำเนินการของ บ. เป็นการไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการดำเนินการส่วนที่เหลืออีก 14 คน ได้พ้นสภาพจากการเป็นคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ไปด้วย คณะกรรมการดำเนินการส่วนที่เหลือจึงยังมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการส่วนที่เหลือทั้ง 14 คน ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์มอบอำนาจให้ บ. และหรือ ส. เป็นผู้มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ จึงเป็นเสียงข้างมากตามมาตรา 71 การมอบอำนาจของโจทก์ย่อมสมบูรณ์ตามกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 17 กรรมการดำเนินการของสหกรณ์โจทก์อนุมัติให้ไถ่ถอนจำนองที่ดินที่จำเลยที่ 1 จำนองเป็นประกันหนี้กู้ยืมไว้แก่โจทก์โดยจำเลยอื่นมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยนั้น ย่อมทำให้โจทก์เสียสิทธิในการบังคับจำนองซึ่งเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่ง จึงต้องถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายแล้ว การกระทำของจำเลยทั้งยี่สิบจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามสัญญากู้ยืมอีกฐานะหนึ่งผิดนัดชำระหนี้หรือไม่
โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยนับแต่วันถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 15 ธ.ค. 2547) เป็นต้นไป ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งยี่สิบรับผิดชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2546 จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
อนึ่ง ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกามีเพียงจำนวนต้นเงินและดอกเบี้ยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นคำนวณถึงวันฟ้อง แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามทุนทรัพย์ตามคำฟ้อง จึงเสียค่าขึ้นศาลเกินมา ให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมาแก่โจทก์
การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 17 กรรมการดำเนินการของสหกรณ์โจทก์อนุมัติให้ไถ่ถอนจำนองที่ดินที่จำเลยที่ 1 จำนองเป็นประกันหนี้กู้ยืมไว้แก่โจทก์โดยจำเลยอื่นมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยนั้น ย่อมทำให้โจทก์เสียสิทธิในการบังคับจำนองซึ่งเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่ง จึงต้องถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายแล้ว การกระทำของจำเลยทั้งยี่สิบจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามสัญญากู้ยืมอีกฐานะหนึ่งผิดนัดชำระหนี้หรือไม่
โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยนับแต่วันถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 15 ธ.ค. 2547) เป็นต้นไป ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งยี่สิบรับผิดชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2546 จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
อนึ่ง ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกามีเพียงจำนวนต้นเงินและดอกเบี้ยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นคำนวณถึงวันฟ้อง แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามทุนทรัพย์ตามคำฟ้อง จึงเสียค่าขึ้นศาลเกินมา ให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมาแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20005-20007/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนบัตรปลอม: การรู้เจตนาจากพฤติการณ์ และความผิดกรรมเดียว
องค์ประกอบสำคัญของความผิดฐานมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรของรัฐบาลต่างประเทศปลอมตาม ป.อ. มาตรา 244 ประกอบมาตรา 247 อันเป็นความผิดตามฟ้องคือ ผู้ซึ่งมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรของรัฐบาลต่างประเทศนั้นต้องได้ธนบัตรนั้นมาโดยรู้ว่าเป็นธนบัตรปลอม ซึ่งการรู้หรือไม่รู้ว่าเป็นธนบัตรปลอมดังกล่าวเป็นเรื่องของเจตนาซึ่งอยู่ภายใน การพิจารณาว่าจำเลยกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่จึงจำต้องอาศัยพฤติการณ์ของจำเลยและพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นเครื่องบ่งชี้ การที่จำเลยนำธนบัตรปลอมไปทยอยแลกหลายครั้ง ครั้งละไม่กี่ฉบับ และแลกกับธนาคารหลายแห่งซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน เป็นพฤติการณ์ที่ผิดปกติวิสัยไปจากที่สุจริตชนพึงกระทำ แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ประสงค์ให้การแลกธนบัตรของจำเลยเป็นที่สังเกตอันจะทำให้มีการตรวจสอบธนบัตรของกลางอย่างละเอียดว่าเป็นธนบัตรปลอมหรือไม่ บ่งชี้ว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าธนบัตรที่จำเลยนำไปแลกนั้นเป็นธนบัตรปลอม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามฟ้อง
ความผิดฐานมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรของรัฐบาลต่างประเทศอันตนได้มาโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นธนบัตรปลอมตาม ป.อ. มาตรา 244 ประกอบมาตรา 247 เป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่มีการรับธนบัตรนั้นไว้เพื่อนำออกใช้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นธนบัตรปลอม ไม่ใช่เมื่อมีการนำออกใช้ แม้จะนำออกใช้หลายคราวจำเลยก็มีความผิดเพียงกรรมเดียว
ความผิดฐานมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรของรัฐบาลต่างประเทศอันตนได้มาโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นธนบัตรปลอมตาม ป.อ. มาตรา 244 ประกอบมาตรา 247 เป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่มีการรับธนบัตรนั้นไว้เพื่อนำออกใช้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นธนบัตรปลอม ไม่ใช่เมื่อมีการนำออกใช้ แม้จะนำออกใช้หลายคราวจำเลยก็มีความผิดเพียงกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19332/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ที่ดินขายฝาก: การใช้สิทธิภายในกำหนดเวลา แม้จดทะเบียนไม่ได้ทัน
โจทก์ใช้สิทธิไถ่ที่ดินจากจำเลยเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2554 อันเป็นวันครบกำหนดเวลาไถ่ที่ดินซึ่งขายฝาก โดยนำเงินสินไถ่เพื่อไปชำระให้แก่จำเลยที่บ้าน แต่จำเลยบ่ายเบี่ยงอ้างว่าหมดเวลาราชการแล้ว การกระทำของโจทก์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิไถ่ที่ดินซึ่งขายฝากต่อจำเลยภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาขายฝากโดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 492 ประกอบมาตรา 498 แล้ว จำเลยต้องรับการไถ่ แม้โจทก์ใช้สิทธิไถ่ที่ดินนั้นในเวลา 18 นาฬิกา ซึ่งล่วงพ้นเวลาราชการแล้ว และไม่สามารถจดทะเบียนการไถ่ขายฝากที่ดินในวันดังกล่าวได้ก็ตาม แต่การจดทะเบียนไถ่ทรัพย์ซึ่งขายฝาก กฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์คืน เมื่อโจทก์ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากนั้นต่อจำเลยภายในกำหนดเวลาไถ่ตามสัญญาขายฝากโดยชอบแล้ว จึงมีผลผูกพันใช้ยันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิไถ่ที่ดินซึ่งขายฝากได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13033/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมสิ้นสุดลงเมื่อไม่ได้ใช้เกิน 10 ปี โจทก์มีสิทธิเพิกถอนได้ แม้จำเลยเพิ่งรับโอน
ภายหลังการจดทะเบียนภาระจำยอม บริษัท ด. ผู้เป็นเจ้าของสามยทรัพย์มิได้ใช้ที่ดินภาระจำยอมของโจทก์เป็นเวลาเกินกว่าสิบปี ภาระจำยอมดังกล่าวย่อมสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1399 ซึ่งเป็นการสิ้นไปโดยผลแห่งกฎหมายและก่อสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะขอให้เพิกถอนภาระจำยอมนับตั้งแต่ครบกำหนดเวลาดังกล่าว เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 1399 มิได้กำหนดเงื่อนเวลาในการใช้สิทธิดังกล่าวโจทก์ย่อมชอบที่จะใช้สิทธิฟ้องคดีเพื่อขอให้เพิกถอนภาระจำยอมในเวลาใด ๆ นับตั้งแต่เกิดสิทธิดังกล่าว และเมื่อจำเลยเพิ่งรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินสามยทรัพย์จากบริษัท ด. ภายหลังภาระจำยอมสิ้นไปแล้ว ทั้งเพิ่งใช้ทางภาระจำยอมในที่ดินของโจทก์ยังไม่ครบกำหนดสิบปี ยังไม่ได้ภาระจำยอมโดยอายุความ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนเพิกถอนภาระจำยอมได้
โจทก์กับพวกขายที่ดินภารยทรัพย์ทั้งห้าแปลงให้บริษัท ด. และจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินของโจทก์ให้แก่ที่ดินภารยทรัพย์ทั้งห้าแปลงโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาและไม่มีค่าตอบแทน ซึ่งจำเลยอ้างว่าเพื่อตอบแทนการซื้อที่ดินภารยทรัพย์ทั้งห้าแปลงก็ตาม แต่การจดทะเบียนภาระจำยอมดังกล่าวเป็นเพียงการทำนิติกรรมที่ไม่มีเงื่อนเวลาสิ้นสุด และภาระจำยอมไม่ว่าจะได้มาโดยนิติกรรมหรืออายุความ เมื่อไม่ได้ใช้เป็นเวลานานถึงสิบปีภาระจำยอมนั้นย่อมสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1399 การฟ้องคดีของโจทก์จึงเป็นการอ้างสิทธิตามกฎหมาย หาใช่การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด
โจทก์กับพวกขายที่ดินภารยทรัพย์ทั้งห้าแปลงให้บริษัท ด. และจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินของโจทก์ให้แก่ที่ดินภารยทรัพย์ทั้งห้าแปลงโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาและไม่มีค่าตอบแทน ซึ่งจำเลยอ้างว่าเพื่อตอบแทนการซื้อที่ดินภารยทรัพย์ทั้งห้าแปลงก็ตาม แต่การจดทะเบียนภาระจำยอมดังกล่าวเป็นเพียงการทำนิติกรรมที่ไม่มีเงื่อนเวลาสิ้นสุด และภาระจำยอมไม่ว่าจะได้มาโดยนิติกรรมหรืออายุความ เมื่อไม่ได้ใช้เป็นเวลานานถึงสิบปีภาระจำยอมนั้นย่อมสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1399 การฟ้องคดีของโจทก์จึงเป็นการอ้างสิทธิตามกฎหมาย หาใช่การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11190/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์ในสถานที่ราชการ: การพิจารณา 'สถานที่ปฏิบัติราชการโดยตรง' และความผิดฐานลักทรัพย์
การกระทำอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ราชการนั้น ต้องเป็นการลักทรัพย์ในสถานที่ซึ่งใช้ปฏิบัติราชการโดยตรง หาได้หมายความรวมถึงบริเวณของสถานที่ราชการนั้นด้วย การที่จำเลยลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่จอดไว้ระหว่างป้อมยามที่ 1 และป้อมยามที่ 2 บริเวณทางเข้าวนอุทยานที่เกิดเหตุ ซึ่งมิใช่สถานที่ซึ่งใช้ปฏิบัติราชการโดยตรง จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ราชการตาม ป.อ. มาตรา 335 (8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11031/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลายมือชื่อในสัญญาซื้อขาย แม้เป็นของจำเลย แต่หากไม่รู้เห็นการกรอกข้อความ สัญญาไม่สมบูรณ์ ไม่ถือเป็นการทำสัญญา
จำเลยให้การว่าลายมือชื่อในหนังสือสัญญาจะซื้อขายไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยเป็นเอกสารปลอม คำให้การดังนี้เป็นการปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงของหนังสือสัญญาจะซื้อขายดังกล่าว นอกจากนั้นยังเป็นการอ้างว่าจำเลยไม่ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์หรือไม่ เมื่อคดีฟังได้ว่าลายมือชื่อในสัญญาจะซื้อขายเป็นของจำเลยแต่จำเลยไม่ได้รู้เห็นในการเขียนข้อความในหนังสือสัญญาจะซื้อขายดังกล่าว เท่ากับหนังสือสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวไม่ถูกต้อง จำเลยไม่ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ดังฟ้อง กรณีจึงไม่เป็นการนำสืบและรับฟังนอกประเด็นที่ให้การ