พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4330/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเจ้าหน้าที่รัฐกีดกันการเสนอราคาโดยมิชอบ ต้องพิสูจน์เจตนาเอื้อประโยชน์ผู้เสนอราคารายอื่นและมีพยานหลักฐานเพียงพอ
ความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานของรัฐกระทำการใด ๆ โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคาใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐนั้น นอกจากผู้กระทำต้องมีเจตนาไม่ให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมแล้วยังต้องมีเจตนาเพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐอีกด้วย โจทก์จึงมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมานำสืบให้เห็นชัดว่า จำเลยมีเจตนาเพื่อเอื้ออำนวยให้แก่ผู้เข้าเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ มิฉะนั้นไม่อาจลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอให้ส่งข้อโต้แย้งต่อศาลรัฐธรรมนูญต้องกระทำก่อนคดีถึงที่สุด และการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาทางจอภาพชอบด้วยกฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 212 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับแก่คดีใด ถ้าศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยมาตรา 5... ให้ศาลส่งความเห็นเช่นว่านั้นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย ในระหว่างนั้น ให้ศาลดำเนินการพิจารณาต่อไปได้แต่ให้รอการพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ" เห็นได้ว่า การยื่นคำร้องต่อศาลตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องยื่นในระหว่างพิจารณา ก่อนคดีถึงที่สุด คดีนี้ ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2563 ในลักษณะการประชุมทางจอภาพ จึงถือว่า คดีถึงที่สุดในวันดังกล่าว จำเลยยื่นคำร้องขอให้ส่งข้อโต้แย้งของจำเลยให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563 ภายหลังจากคดีถึงที่สุดแล้ว เป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2026/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์มรดก, สัญญาเช่า, การคืนค่าเช่า, และความรับผิดของทายาทและผู้เช่า
โจทก์ทั้งสองฟ้องตั้งประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมรู้กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 หาประโยชน์จากกองมรดกของผู้ตายด้วยการนำคลังสินค้าพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายออกให้จำเลยที่ 2 เช่าในราคาต่ำ แล้วจำเลยที่ 2 นำคลังสินค้าพิพาทออกให้จำเลยที่ 3 เช่าช่วง ทำให้กองมรดกของผู้ตายเสียหายต้องขาดรายได้ที่ควรจะได้รับ สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมอีกผู้หนึ่ง นำเอาทรัพย์มรดกของผู้ตายไปหาประโยชน์แก่ตนและพวกโดยไม่มีสิทธิ ขอให้บังคับคืนเงินค่าเช่าดังกล่าวแก่กองมรดกของผู้ตายและขับไล่จำเลยทั้งสามจากคลังสินค้าพิพาท อันถือเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก ซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง ดังนั้น แม้โจทก์ทั้งสองจะกล่าวบรรยายฟ้องอ้างการกระทำของจำเลยทั้งสามว่าเป็นการทำสัญญาโดยกลฉ้อฉลและละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง กรณีก็ไม่อาจฟังว่าสภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นมูลคดีละเมิดและกลฉ้อฉลอันมีอายุความ 1 ปี ตามข้ออ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 และเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การรับว่าโจทก์ทั้งสองทราบถึงการละเมิดและทราบตัวผู้จะพึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนก่อนวันที่ 11 เมษายน 2554 และโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2555 ซึ่งยังไม่เกินกำหนด 5 ปี คดีโจทก์ทั้งสองจึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า จำเลยที่ 1 นำคลังสินค้าพิพาทออกให้เช่าในฐานะทายาทตามพินัยกรรม (ผู้รับพินัยกรรม) เงินค่าเช่าต้องกลับเข้าสู่กองมรดกของผู้ตาย สิทธิของจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาศาลฎีกา (ในอีกคดีหนึ่ง) ต้องไปว่ากล่าวกันในภายหลัง และหากจำเลยที่ 1 มีสิทธิกึ่งหนึ่งในค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทก็คงมีสิทธิได้รับจากค่าเช่าซึ่งจำเลยที่ 2 ชำระให้แก่จำเลยที่ 1 ทั้งความเป็นหุ้นส่วนก็เป็นเรื่องเฉพาะตัว เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนกับผู้ตาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทเต็มจำนวนนั้น เป็นข้อที่โจทก์ทั้งสองเพิ่งหยิบยกขึ้นต่อสู้ในชั้นฎีกาโดยไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยทุจริตร่วมมือกันหาประโยชน์จากกองมรดกของผู้ตาย โดยจำเลยที่ 1 นำคลังสินค้าพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายออกให้จำเลยที่ 2 เช่าในราคาเหมาเดือนละ 20,000 บาท ทั้งที่สามารถให้เช่าเก็บข้าวสารได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 500,000 บาท แล้วจำเลยที่ 2 โดยทุจริตร่วมมือกับจำเลยที่ 3 นำคลังสินค้าพิพาทออกให้จำเลยที่ 3 เช่าช่วงในอัตราเดือนละ 524,880 บาท โดยสัญญาเช่าคลังสินค้าพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นการทำสัญญาโดยกลฉ้อฉลและรู้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำไปโดยไม่มีอำนาจ ทำให้กองมรดกของผู้ตายได้รับความเสียหาย ซึ่งตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ทั้งสองเห็นได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเอาคลังสินค้าพิพาทไปให้จำเลยที่ 3 เช่าเพื่อแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์มรดกของผู้ตายร่วมกันโดยไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้ และยังอ้างว่าสัญญาเช่าคลังสินค้าพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำโดยกลฉ้อฉล กรณีตามคำฟ้องจึงมีเหตุอันควรเชื่อว่าสัญญาเช่าคลังสินค้าพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นการทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในการทำสัญญาให้จำเลยที่ 3 เช่าช่วงคลังสินค้าพิพาท โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีเจตนาที่จะผูกพันชำระค่าเช่าต่อกัน ทั้งหากจะฟังว่าสัญญาเช่าคลังสินค้าพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 มีผลผูกพันกันตามข้อสัญญา กรณีก็ต้องนับว่าค่าเช่าซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องชำระแก่จำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิเหนือคลังสินค้าพิพาทและถือเป็นค่าใช้จ่ายซึ่งจำเลยที่ 2 มีสิทธินำไปหักทอนออกจากค่าเช่าช่วงคลังสินค้าพิพาทซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดคืนแก่โจทก์ทั้งสอง และเมื่อโจทก์ทั้งสองฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทที่ได้รับจากจำเลยที่ 3 แล้ว การจะบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 คืนเงินค่าเช่าในส่วนนี้อีก ย่อมเป็นการบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดซ้ำซ้อนกันในมูลหนี้เดียวกัน ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทในส่วนนี้อีก จำเลยที่ 1 และที่ 2 คงต้องรับผิดคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 10,502,184.33 บาท แก่โจทก์ทั้งสองเท่านั้น ปัญหาข้อนี้ แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ แต่ถือเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 (เดิม)
โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า จำเลยที่ 1 นำคลังสินค้าพิพาทออกให้เช่าในฐานะทายาทตามพินัยกรรม (ผู้รับพินัยกรรม) เงินค่าเช่าต้องกลับเข้าสู่กองมรดกของผู้ตาย สิทธิของจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาศาลฎีกา (ในอีกคดีหนึ่ง) ต้องไปว่ากล่าวกันในภายหลัง และหากจำเลยที่ 1 มีสิทธิกึ่งหนึ่งในค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทก็คงมีสิทธิได้รับจากค่าเช่าซึ่งจำเลยที่ 2 ชำระให้แก่จำเลยที่ 1 ทั้งความเป็นหุ้นส่วนก็เป็นเรื่องเฉพาะตัว เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนกับผู้ตาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทเต็มจำนวนนั้น เป็นข้อที่โจทก์ทั้งสองเพิ่งหยิบยกขึ้นต่อสู้ในชั้นฎีกาโดยไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยทุจริตร่วมมือกันหาประโยชน์จากกองมรดกของผู้ตาย โดยจำเลยที่ 1 นำคลังสินค้าพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายออกให้จำเลยที่ 2 เช่าในราคาเหมาเดือนละ 20,000 บาท ทั้งที่สามารถให้เช่าเก็บข้าวสารได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 500,000 บาท แล้วจำเลยที่ 2 โดยทุจริตร่วมมือกับจำเลยที่ 3 นำคลังสินค้าพิพาทออกให้จำเลยที่ 3 เช่าช่วงในอัตราเดือนละ 524,880 บาท โดยสัญญาเช่าคลังสินค้าพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นการทำสัญญาโดยกลฉ้อฉลและรู้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำไปโดยไม่มีอำนาจ ทำให้กองมรดกของผู้ตายได้รับความเสียหาย ซึ่งตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ทั้งสองเห็นได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเอาคลังสินค้าพิพาทไปให้จำเลยที่ 3 เช่าเพื่อแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์มรดกของผู้ตายร่วมกันโดยไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้ และยังอ้างว่าสัญญาเช่าคลังสินค้าพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำโดยกลฉ้อฉล กรณีตามคำฟ้องจึงมีเหตุอันควรเชื่อว่าสัญญาเช่าคลังสินค้าพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นการทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในการทำสัญญาให้จำเลยที่ 3 เช่าช่วงคลังสินค้าพิพาท โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีเจตนาที่จะผูกพันชำระค่าเช่าต่อกัน ทั้งหากจะฟังว่าสัญญาเช่าคลังสินค้าพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 มีผลผูกพันกันตามข้อสัญญา กรณีก็ต้องนับว่าค่าเช่าซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องชำระแก่จำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิเหนือคลังสินค้าพิพาทและถือเป็นค่าใช้จ่ายซึ่งจำเลยที่ 2 มีสิทธินำไปหักทอนออกจากค่าเช่าช่วงคลังสินค้าพิพาทซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดคืนแก่โจทก์ทั้งสอง และเมื่อโจทก์ทั้งสองฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทที่ได้รับจากจำเลยที่ 3 แล้ว การจะบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 คืนเงินค่าเช่าในส่วนนี้อีก ย่อมเป็นการบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดซ้ำซ้อนกันในมูลหนี้เดียวกัน ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทในส่วนนี้อีก จำเลยที่ 1 และที่ 2 คงต้องรับผิดคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 10,502,184.33 บาท แก่โจทก์ทั้งสองเท่านั้น ปัญหาข้อนี้ แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ แต่ถือเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำฐานฟอกเงิน: ความผิดต่างกรรมต่างวาระ แม้เกี่ยวเนื่องกับฉ้อโกงประชาชน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันทำธุรกรรมโอนเงิน รับโอนเงิน และถอนเงินผ่านบัญชีธนาคารซึ่งเป็นเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และฐานร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานฟอกเงิน รูปเรื่องข้อเท็จจริงเป็นการกระทำการภายหลังจากมีการกระทำความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนและฐานร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนแล้ว เป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดดังกล่าว แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวพันหรือต่อเนื่องกัน แต่ก็เป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับกัน โดยตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มีเจตนารมณ์ที่ต้องการแก้ปัญหา เนื่องจากในปัจจุบันผู้ประกอบอาชญากรรมซึ่งกระทำความผิดกฎหมายบางประเภท ได้นำเงินหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดนั้นมากระทำการในรูปแบบต่าง ๆ อันเป็นการฟอกเงิน เพื่อนำเงินหรือทรัพย์สินนั้นไปใช้เป็นประโยชน์ในการกระทำความผิดต่อไปได้อีก ทำให้ยากแก่การปราบปรามการกระทำความผิดกฎหมายเหล่านั้น จึงต้องมีการตัดวงจรการประกอบอาชญากรรมดังกล่าว การกระทำของจำเลยที่ 2 แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 มีเจตนากระทำผิดต่อกฎหมายต่างกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน หาใช่เป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อมีการฟ้องร้องในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนและฐานร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เป็นคดีนี้ได้ ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1475/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการรับเงินค่าปรับของเทศบาล: เงินค่าปรับที่ศาลจัดเก็บต้องส่งคลัง ไม่ใช่รายได้ของเทศบาล
พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 มาตรา 34 วรรคหนึ่ง กำหนดให้บรรดาเงินที่หน่วยงานของรัฐจัดเก็บหรือได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์... ให้นำส่งคลังตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น การดำเนินการเกี่ยวกับเงินตามบทบัญญัตินี้ จึงมีข้อต้องพิจารณาว่าเป็นเงินที่หน่วยงานของรัฐนั้น ๆ จัดเก็บหรือได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์หรือไม่ แม้ พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 66 (2) กำหนดให้เทศบาลอาจมีรายได้จากค่าปรับตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้ และ พ.ร.บ.รายได้เทศบาล พ.ศ.2497 มาตรา 6 กำหนดให้บรรดาค่าปรับเนื่องในกิจการซึ่งเทศบาลได้รับมอบให้เป็นเจ้าหน้าที่อนุวัตการตามกฎหมายใด ให้เป็นรายได้ของเทศบาลนั้นก็ตาม แต่เงินค่าปรับดังกล่าวต้องเป็นกรณีที่ผู้ร้องจัดเก็บหรือได้รับไว้เองอันเนื่องมาจากการปฏิบัติตามกฎหมายที่มอบให้เป็นหน้าที่ของผู้ร้องโดยตรงด้วย ทั้งตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มีเพียงมาตรา 74 วรรคหกเท่านั้นที่กำหนดให้เฉพาะค่าปรับที่เปรียบเทียบโดยคณะกรรมการเปรียบเทียบคดีตกเป็นของราชการส่วนท้องถิ่นโดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน โดยเป็นการบัญญัติโยงกับความผิดฐานต่าง ๆ ตามที่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้ตามมาตรา 74 วรรคสอง เมื่อค่าปรับที่จำเลยชำระต่อศาลชั้นต้นในคดีเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาอันเป็นการบังคับโทษในทางอาญาตาม ป.อ. มาตรา 28 มิใช่เงินที่ผู้ร้องจัดเก็บหรือได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์อันเนื่องมาจากการเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายที่มอบให้เป็นหน้าที่ของผู้ร้องโดยตรง หรือเป็นค่าปรับที่เกิดจากการเปรียบเทียบของคณะกรรมการเปรียบเทียบคดีตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิรับเงินค่าปรับที่จำเลยชำระตามคำพิพากษาดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์หลักฐานที่ไม่ชัดเจนในคดีค้ามนุษย์: ศาลยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
ตามภาพสเก็ตซ์คนร้ายเป็นภาพของคนวัยหนุ่มซึ่งสอดคล้องกับที่ผู้เสียหายบอกพันตำรวจโท ธ. ว่าคนร้ายเป็นชายฉกรรจ์ แต่ภาพของจำเลยขณะถ่ายภาพขอมีบัตรประชาชนอายุ 51 ปี เป็นวัยกลางคนค่อนไปทางชรามีลักษณะต่างวัยกันมาก นอกจากนี้ผู้เสียหายก็เบิกความตอบคำถามค้านด้วยว่า ในการชี้ภาพนั้นใช้เวลาหลายชั่วโมง ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดปกติหากผู้เสียหายสามารถจดจำคนร้ายได้ชัดเจนและสามารถยืนยันได้อย่างแน่นอนจริง พยานหลักฐานโจทก์มีลักษณะขัดแย้งกันและเป็นพิรุธในหลายจุด เมื่อประมวลวิเคราะห์เข้าด้วยกันแล้ว ยังไม่มีน้ำหนักมั่นคงพอและเป็นที่สงสัยตามสมควรว่าจำเลยเป็นคนร้ายหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการโอนทรัพย์สินหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกค่าเสียหายเฉพาะค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง
เดิมโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม จำเลยขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง กับห้องชุดในอาคารชุดให้ ศ. เพื่อมิให้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาทรัพย์สินดังกล่าว โจทก์จึงฟ้องจำเลยกับ ศ. เป็นคดีอาญาในข้อหาโกงเจ้าหนี้ กับฟ้องคดีแพ่งขอเพิกถอนการฉ้อฉล คดีทั้งสองเรื่องถึงที่สุดแล้ว โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดินและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินข้างต้นขายทอดตลาดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมครบถ้วนแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชดใช้ค่าเสียหายในมูลหนี้ละเมิดอันเกิดจากการที่จำเลยทำนิติกรรมโอนทรัพย์สินให้แก่ ศ. ค่าเสียหายที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยผู้ทำละเมิดได้ตามกฎหมายเป็นความเสียหาย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 420 เท่านั้น โดยเฉพาะความเสียหายต่อสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หมายถึง สิทธิที่กฎหมายรับรองคุ้มครองให้ผู้ถูกทำให้เกิดเสียหายและจำเลยจะต้องทำให้สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดที่โจทก์มีอยู่เสียหายไป การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ แสดงว่าโจทก์มีความประสงค์ต้องการให้จำเลยได้รับโทษทางอาญา ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีอาญาและค่าจ้างว่าความของทนายความที่โจทก์จ่ายไป เกิดจากการใช้สิทธิของโจทก์ตามกฎหมาย จึงเป็นความเสียหายจากการใช้สิทธิ ไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดจากการกระทำละเมิดให้โจทก์เสียสิทธิหรือทำให้สิทธิของโจทก์ที่กฎหมายรับรองว่ามีอยู่เสียหายไป ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนในเหตุละเมิดตามกฎหมายได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจากการทำละเมิดโดยตรง
ส่วนการที่โจทก์จำต้องฟ้องคดีแพ่งเนื่องจากการกระทำของจำเลยเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่อสู้คดีปกป้องสิทธิอันชอบธรรมของตนจากการกระทำอันไม่สุจริตของจำเลย จึงเป็นความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลย จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายเป็นค่าใช้จ่ายและค่าทนายความในการดำเนินคดีแพ่งแก่โจทก์ ตามตาราง 6 และตาราง 7 ท้าย ป.วิ.พ.
ส่วนการขอออกใบแทนโฉนดที่ดินและจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์สินระหว่างจำเลยกับ ศ. นั้น การที่โจทก์ต้องทำเช่นนั้นจึงเป็นความเสียหายที่เป็นผลต่อเนื่องโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลย จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายเป็นค่าใช้จ่ายในการขอออกใบแทนโฉนดที่ดินและจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์สินแก่โจทก์เช่นกัน
ส่วนค่าเสียหายเป็นกำไรที่โจทก์ควรจะได้จากการนำเงินที่ได้จากการบังคับชำระหนี้ไปลงทุนนั้น เป็นค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาอยู่นอกเหนือเจตนาของจำเลย ถือว่าเป็นค่าเสียหายที่ไกลเกินกว่าเหตุ จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชดใช้ค่าเสียหายในมูลหนี้ละเมิดอันเกิดจากการที่จำเลยทำนิติกรรมโอนทรัพย์สินให้แก่ ศ. ค่าเสียหายที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยผู้ทำละเมิดได้ตามกฎหมายเป็นความเสียหาย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 420 เท่านั้น โดยเฉพาะความเสียหายต่อสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หมายถึง สิทธิที่กฎหมายรับรองคุ้มครองให้ผู้ถูกทำให้เกิดเสียหายและจำเลยจะต้องทำให้สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดที่โจทก์มีอยู่เสียหายไป การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ แสดงว่าโจทก์มีความประสงค์ต้องการให้จำเลยได้รับโทษทางอาญา ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีอาญาและค่าจ้างว่าความของทนายความที่โจทก์จ่ายไป เกิดจากการใช้สิทธิของโจทก์ตามกฎหมาย จึงเป็นความเสียหายจากการใช้สิทธิ ไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดจากการกระทำละเมิดให้โจทก์เสียสิทธิหรือทำให้สิทธิของโจทก์ที่กฎหมายรับรองว่ามีอยู่เสียหายไป ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนในเหตุละเมิดตามกฎหมายได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจากการทำละเมิดโดยตรง
ส่วนการที่โจทก์จำต้องฟ้องคดีแพ่งเนื่องจากการกระทำของจำเลยเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่อสู้คดีปกป้องสิทธิอันชอบธรรมของตนจากการกระทำอันไม่สุจริตของจำเลย จึงเป็นความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลย จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายเป็นค่าใช้จ่ายและค่าทนายความในการดำเนินคดีแพ่งแก่โจทก์ ตามตาราง 6 และตาราง 7 ท้าย ป.วิ.พ.
ส่วนการขอออกใบแทนโฉนดที่ดินและจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์สินระหว่างจำเลยกับ ศ. นั้น การที่โจทก์ต้องทำเช่นนั้นจึงเป็นความเสียหายที่เป็นผลต่อเนื่องโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลย จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายเป็นค่าใช้จ่ายในการขอออกใบแทนโฉนดที่ดินและจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์สินแก่โจทก์เช่นกัน
ส่วนค่าเสียหายเป็นกำไรที่โจทก์ควรจะได้จากการนำเงินที่ได้จากการบังคับชำระหนี้ไปลงทุนนั้น เป็นค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาอยู่นอกเหนือเจตนาของจำเลย ถือว่าเป็นค่าเสียหายที่ไกลเกินกว่าเหตุ จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7477/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ครูอัตราจ้างมีหน้าที่ดูแลศิษย์ การกระทำชู้สาวเข้าข่ายความผิดฐานกระทำอนาจารและฐานพรากเด็ก
แม้จำเลยเป็นเพียงครูอัตราจ้าง แต่ก็มีฐานะเป็นครูมีหน้าที่อบรมและสอนนักเรียน จำเลยสอนวิชาการงานอาชีพนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 และสอนโจทก์ร่วมที่ 1 ซึ่งเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นอกจากนี้จำเลยยังเป็นครูซึ่งมีหน้าที่ฝึกสอนและดูแลโจทก์ร่วมที่ 1 และนักเรียนที่ไปแข่งขันประดิษฐ์โคมไฟอีกด้วย จำเลยจึงมีหน้าที่อบรมสั่งสอนว่ากล่าวตักเตือนโจทก์ร่วมที่ 1 และนักเรียนทุกคนที่จำเลยสอนให้อยู่ในระเบียบของทางราชการ โจทก์ร่วมที่ 1 จึงเป็นศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยตามความหมายของ ป.อ. มาตรา 285
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6614/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงวิ่งเต้นแต่งตั้งข้าราชการตำรวจเป็นโมฆะ, การคืนเงินถือเป็นลาภมิควรได้, โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยรับจะดำเนินการวิ่งเต้นให้โจทก์ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธร โจทก์ย่อมคาดหมายได้ว่าจำเลยจะต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยตนเองหรือผ่านบุคคลอื่นเพื่อแทรกแซงการใช้ดุลพินิจของผู้มีอำนาจแต่งตั้ง โดยมีเงินที่ได้รับจากโจทก์เป็นค่าตอบแทนหรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ การที่โจทก์ตกลงมอบเงินให้ตามข้อเสนอของจำเลย แต่โจทก์ไม่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 การคืนทรัพย์อันเกิดจากโมฆะกรรม ต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับตาม มาตรา 172 วรรคสอง การที่โจทก์มอบเงินให้จำเลยไปดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ถือเป็นการกระทำตามอำเภอใจ เสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ ทั้งยังเป็นการชำระหนี้อันฝ่าฝืนศีลธรรมอันดี จึงไม่อาจเรียกร้องเงินคืนได้ตาม มาตรา 407 และ 411