พบผลลัพธ์ทั้งหมด 130 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6796/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 27 ทวิ: ความผิดต่อองค์รวมไม่ใช่รายบุคคล
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ กำหนดให้ลงโทษปรับแก่ผู้กระทำความผิดเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเป็นเงินสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยนั้นชอบแล้ว แต่ที่ให้แบ่งปรับคนละ 18,200 บาท นั้นไม่ชอบ เพราะแม้มาตรา 27 ทวิ จะมิได้บัญญัติข้อความเจาะจงลงไปว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเช่นเดียวกับมาตรา 27ก็ตาม แต่มาตรา 27 ทวิ เป็นบทบัญญัติต่อท้ายและเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27ดังนั้น ในเรื่องโทษนี้ก็ย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ว่าสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ นั่นเองไม่ใช่ให้ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคลคนละเท่า ๆ กัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5542/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี และผลของการไม่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 หาได้บัญญัติให้การเช่ามีกำหนดกว่าสามปีขึ้นไป จะต้องจดทะเบียนการเช่าในทันทีหรือในขณะทำสัญญาไม่ดังนั้น การที่โจทก์และจำเลยสมัครใจทำสัญญาเช่ากันเป็นหนังสือมีกำหนด 20 ปี 5 เดือนนั้น ตราบใดที่ยังมิได้จดทะเบียนการเช่า สัญญาเช่าดังกล่าวย่อมมีผลบังคับได้ 3 ปี และข้อกำหนดทุกข้อตามสัญญาโดยเฉพาะข้อที่ระบุให้ผู้เช่าต้องไปจดทะเบียนการเช่าตามสัญญาภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2536 โดยผู้ให้เช่าเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมและค่าอากรในการจดทะเบียนการเช่านั้นก็ย่อมผูกพันจำเลยให้ต้องปฏิบัติตามสัญญาภายในระยะเวลาดังกล่าวด้วย เพราะข้อตกลงไปจดทะเบียนการเช่าภายหลังเป็นเจตนาของคู่สัญญาที่จะดำเนินการให้ถูกต้องตามที่มาตรา 538 กำหนดไว้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยไปจดทะเบียนการเช่าภายในกำหนดที่ระบุในสัญญาแล้ว จำเลยไม่ยอมไป โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับใช้สิทธิดังกล่าวภายในระยะเวลาที่สัญญาเช่าและข้อกำหนดยังมีผลบังคับได้ จำเลยจึงต้องไปจดทะเบียนการเช่าให้แก่โจทก์ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลแรงงานมีอำนาจกำหนดประเด็นข้อพิพาทและสืบพยานเองได้ ไม่อาจใช้อำนาจตาม ป.วิ.พ. มาอนุโลม
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 39 และมาตรา 29 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาจะต้องเป็นไปโดยประหยัด สะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรมไว้เป็นการเฉพาะแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. เรื่องการชี้สองสถานและการคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทมาอนุโลมใช้บังคับแก่การจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้
ในคดีแรงงาน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 ได้บัญญัติให้ศาลแรงงานมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวง รวมทั้งการกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกระบวนพิจารณาและให้มีอำนาจระบุให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานมาสืบก่อนหลังได้ด้วย หากศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามข้อต่อสู้ของคู่ความครบถ้วนแล้ว ต้องถือว่าศาลแรงงานได้ดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมาย คู่ความไม่มีสิทธิคัดค้านว่าศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทหรือระบุให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานมาสืบก่อนหลังไม่ถูกต้องเช่นที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคท้ายได้
โจทก์ฟ้องต่อศาลแรงงานว่า จำเลยในฐานะจำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกรณีกล่าวหาว่าจำเลยฉ้อโกงเรียกเงินค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลจากลูกค้าของโจทก์ในวันโอนบ้านและที่ดินทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้จากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่ใช่เป็นฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานนี้จึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
ในคดีแรงงาน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 ได้บัญญัติให้ศาลแรงงานมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวง รวมทั้งการกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกระบวนพิจารณาและให้มีอำนาจระบุให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานมาสืบก่อนหลังได้ด้วย หากศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามข้อต่อสู้ของคู่ความครบถ้วนแล้ว ต้องถือว่าศาลแรงงานได้ดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมาย คู่ความไม่มีสิทธิคัดค้านว่าศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทหรือระบุให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานมาสืบก่อนหลังไม่ถูกต้องเช่นที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคท้ายได้
โจทก์ฟ้องต่อศาลแรงงานว่า จำเลยในฐานะจำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกรณีกล่าวหาว่าจำเลยฉ้อโกงเรียกเงินค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลจากลูกค้าของโจทก์ในวันโอนบ้านและที่ดินทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้จากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่ใช่เป็นฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานนี้จึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีแรงงาน ศาลมีอำนาจตาม พ.ร.บ.แรงงาน ไม่ต้องผูกพันประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 39 และมาตรา 29 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาจะต้องเป็นไปโดยประหยัด สะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรมไว้เป็นการเฉพาะแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เรื่องการชี้สองสถานและการคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทมาอนุโลมใช้บังคับแก่การจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้
ในคดีแรงงานพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ได้บัญญัติให้ศาลแรงงานมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวงรวมทั้งการกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกระบวนพิจารณาและให้มีอำนาจระบุให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานมาสืบก่อนหลังได้ด้วย หากศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามข้อต่อสู้ของคู่ความครบถ้วนแล้วต้องถือว่าศาลแรงงานได้ดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมาย คู่ความไม่มีสิทธิคัดค้านว่าศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทหรือระบุให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานมาสืบก่อนหลังไม่ถูกต้องเช่นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคท้ายได้
โจทก์ฟ้องต่อศาลแรงงานว่า จำเลยในฐานะจำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกรณีกล่าวหาว่าจำเลยฉ้อโกงเรียกเงินค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลจากลูกค้าของโจทก์ในวันโอนบ้านและที่ดินทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้จากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่ใช่เป็นฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานนี้จึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
ในคดีแรงงานพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ได้บัญญัติให้ศาลแรงงานมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวงรวมทั้งการกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกระบวนพิจารณาและให้มีอำนาจระบุให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานมาสืบก่อนหลังได้ด้วย หากศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามข้อต่อสู้ของคู่ความครบถ้วนแล้วต้องถือว่าศาลแรงงานได้ดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมาย คู่ความไม่มีสิทธิคัดค้านว่าศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทหรือระบุให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานมาสืบก่อนหลังไม่ถูกต้องเช่นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคท้ายได้
โจทก์ฟ้องต่อศาลแรงงานว่า จำเลยในฐานะจำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกรณีกล่าวหาว่าจำเลยฉ้อโกงเรียกเงินค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลจากลูกค้าของโจทก์ในวันโอนบ้านและที่ดินทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้จากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่ใช่เป็นฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานนี้จึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5254/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการส่งหมายเรียก: ศาลต้องพิจารณาเหตุผลที่ทำให้สืบพยานไม่ได้ก่อนสั่งขาดนัด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์ในการกำหนดเป็นมาตรการให้ศาลนำมาใช้เพื่อให้สามารถดำเนินกระบวนพิจารณาให้สำเร็จลุล่วงไปได้ในกรณีที่ศาลและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งพร้อมที่จะสืบพยานตามที่นัดได้ แต่โจทก์ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดี แต่ถ้าหากเป็นกรณีที่ศาลหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่พร้อมที่จะสืบพยานเช่น ศาลติดพิจารณาคดีอื่นหรือกรณีคดีนี้ที่ยังส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยไม่ได้ แม้โจทก์และพยานโจทก์มาศาล ศาลก็ไม่สามารถจะสืบพยานโจทก์ตามที่นัดไว้ได้ ดังนั้น โดยเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งบทกฎหมายดังกล่าว และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจึงยังไม่ควรด่วนสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4812/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากกรณีทุจริตต่อหน้าที่และการรับสินบน ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลแรงงาน
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ข้อเท็จจริงที่ฟังมาเป็นยุติว่า เงินที่โจทก์ได้รับจาก จ. เดือนละ 3,000 บาท ไม่ใช่เงินของจำเลย และจำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง การกระทำของโจทก์จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลย หาใช่เป็นการแสวงหาประโยชน์สำหรับตัวโจทก์หรือผู้อื่นไม่ จะถือว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำโดยทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงไม่ได้นั้น มีความหมายว่า โจทก์อ้างว่าไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่เพราะการที่โจทก์รับเงินจาก จ. ไม่เป็นการรับไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับโจทก์หรือผู้อื่น แต่เพื่อแสวงหาประโยชน์แก่จำเลยโดยเฉพาะอันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมาว่า โจทก์รับเงินไว้โดยทราบดีว่า จ. จ่ายเงินแก่โจทก์เพราะมีความประสงค์ให้โจทก์อำนวยความสะดวกในการประมูลรถรับส่งพนักงานต่อไป ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์รับเงินไว้โดยมิชอบเพื่อประโยชน์แก่โจทก์เองหรือผู้อื่น และที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ทำให้จำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง ก็เป็นการยกข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลแรงงานเพียงบางส่วนขึ้นอ้าง ซึ่งข้อนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงมาว่า หาก จ. ไม่ต้องจ่ายเงินแก่โจทก์ เงินที่ต้องใช้ในการประมูลรถรับส่งพนักงานจะมีจำนวนต่ำลง การรับเงินของโจทก์จากบุคคลดังกล่าวจึงมีผลกระทบทำให้จำเลยต้องเสียเงินในส่วนที่ไม่จำเป็นไป อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวล้วนเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ตามหนังสือเลิกจ้างข้อความว่า จำเลยมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจและโจทก์ได้กระทำความผิดในเรื่องการรับสินบนจากผู้รับจ้างกับผู้ประกอบการรับ-ส่งพนักงาน ซึ่งทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้รับจ้าง มีความหมายว่า เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดในเรื่องการรับเงินจากผู้ที่โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการทำงานและมีผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ซึ่งเท่ากับจำเลยอ้างเหตุว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงนั่นเอง การที่ศาลแรงงานยกเหตุในการเลิกจ้างดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม แล้ว
ตามหนังสือเลิกจ้างข้อความว่า จำเลยมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจและโจทก์ได้กระทำความผิดในเรื่องการรับสินบนจากผู้รับจ้างกับผู้ประกอบการรับ-ส่งพนักงาน ซึ่งทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้รับจ้าง มีความหมายว่า เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดในเรื่องการรับเงินจากผู้ที่โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการทำงานและมีผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ซึ่งเท่ากับจำเลยอ้างเหตุว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงนั่นเอง การที่ศาลแรงงานยกเหตุในการเลิกจ้างดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกาที่ไม่เคยยกขึ้นในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับโอนไว้แทนโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 หาได้ให้การปฏิเสธว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของโจทก์ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3ในปัญหาว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลภายนอกซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลภายนอกซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้อต่อสู้ไม่ขึ้นในชั้นอุทธรณ์และฎีกา ศาลไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับโอนไว้แทนโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 หาได้ให้การปฏิเสธว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของโจทก์ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในปัญหาว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลภายนอกซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลภายนอกซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4221/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องภารจำยอมได้ และสิทธิภารจำยอมเกิดขึ้นได้จากการใช้ทางต่อเนื่อง
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจทำการแทนทายาทเกี่ยวกับทรัพย์มรดกได้การฟ้องคดีนี้ก็เพื่อปลดเปลื้องการรบกวนและเป็นการทำการอันจำเป็นเพื่อรักษาไว้ซึ่งภารจำยอมแทนทายาทผู้เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ ถือได้ว่าเป็นการทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719 ส. กับโจทก์ใช้ทางบนที่ดินที่พิพาทมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอม จำเลยเพิ่งซื้อที่ดินพิพาทมาภายหลังจาก ส.กับโจทก์ได้ภารจำยอมไปแล้ว แม้ ส. กับโจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนภารจำยอมหรือ(จำเลย)รับโอนภารยทรัพย์มาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจต่อสู้กับสิทธิภารจำยอมของ ส. กับโจทก์ได้ โจทก์บรรยายฟ้องชัดแจ้งว่า ขอให้ทางพิพาทตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส. ด้วย แม้ในคำขอท้ายฟ้องไม่ได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าว แต่ก็ได้ระบุเลขที่ดินของ ส. ไว้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์มีคำขอบังคับให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส. แล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของ ส.กับโจทก์ แต่ในคำพิพากษามิได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ด้วย ย่อม ทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในส่วนที่ดินโฉนด เลขที่ 11835 ดังกล่าวนั้นไร้ผล ถือว่าเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้เสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4221/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมเกิดขึ้นได้จากการใช้ทางต่อเนื่อง 10 ปี แม้ยังมิได้จดทะเบียน ผู้ซื้อที่ดินต้องยอมรับสิทธิเดิม
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจทำการแทนทายาทเกี่ยวกับทรัพย์มรดกได้การฟ้องคดีนี้ก็เพื่อปลดเปลื้องการรบกวนและเป็นการทำการอันจำเป็นเพื่อรักษาไว้ซึ่งภาระจำยอมแทนทายาทผู้เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ ถือได้ว่าเป็นการทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719
ส.กับโจทก์ใช้ทางบนที่ดินที่พิพาทมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภาระจำยอม จำเลยเพิ่งซื้อที่ดินพิพาทมาภายหลังจาก ส.กับโจทก์ได้ภาระจำยอมไปแล้ว แม้ ส.กับโจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมหรือ(จำเลย)รับโอนภารยทรัพย์มาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจต่อสู้กับสิทธิภาระจำยอมของ ส.กับโจทก์ได้
โจทก์บรรยายฟ้องชัดแจ้งว่า ขอให้ทางพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส.ด้วย แม้ในคำขอท้ายฟ้องไม่ได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าว แต่ก็ได้ระบุเลขที่ดินของ ส.ไว้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์มีคำขอบังคับให้ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส.แล้ว
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของ ส.กับโจทก์ แต่ในคำพิพากษามิได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ด้วยย่อมทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ดังกล่าวนั้นไร้ผล ถือว่าเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้เสียให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ส.กับโจทก์ใช้ทางบนที่ดินที่พิพาทมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภาระจำยอม จำเลยเพิ่งซื้อที่ดินพิพาทมาภายหลังจาก ส.กับโจทก์ได้ภาระจำยอมไปแล้ว แม้ ส.กับโจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมหรือ(จำเลย)รับโอนภารยทรัพย์มาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจต่อสู้กับสิทธิภาระจำยอมของ ส.กับโจทก์ได้
โจทก์บรรยายฟ้องชัดแจ้งว่า ขอให้ทางพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส.ด้วย แม้ในคำขอท้ายฟ้องไม่ได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าว แต่ก็ได้ระบุเลขที่ดินของ ส.ไว้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์มีคำขอบังคับให้ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส.แล้ว
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของ ส.กับโจทก์ แต่ในคำพิพากษามิได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ด้วยย่อมทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ดังกล่าวนั้นไร้ผล ถือว่าเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้เสียให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)