พบผลลัพธ์ทั้งหมด 130 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาตามยอมและการบังคับคดีภายในสิบปี ศาลพิพากษายืนคำสั่งบังคับคดีชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมและมีคำสั่งท้ายคำพิพากษาว่าบังคับตามยอม ทั้งมีคำสั่งไว้ที่หน้าสำนวนว่า บังคับ ตามยอม หากไม่ปฏิบัติตามจะถูกยึดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยโจทก์กับจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้มีคำบังคับกำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับนั้นไว้และจำเลยทราบคำบังคับนั้นแล้ว เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ โจทก์จะ ต้องร้องขอให้บังคับคดีอีกชั้นหนึ่ง โจทก์ยื่นคำร้องว่า โจทก์ประสงค์จะบังคับคดีโดยนำเงิน18,200,000 บาท มาวางศาลเพื่อชำระแก่จำเลยตามคำพิพากษาตามยอมและคำบังคับ อันเป็นการชำระหนี้ต่างตอบแทนในการขอให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมแต่คำบังคับของศาลไม่มีกรณีต้องดำเนินการทางเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือต้องยื่นคำขอให้ออกหมายบังคับคดี การยื่นคำร้องดังกล่าวของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 เมื่อเป็นการร้องขอให้บังคับคดีของโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีเพื่อให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมและคำบังคับก็ย่อมชอบ ด้วยกฎหมายด้วย แม้การบังคับคดีจะยังไม่แล้วเสร็จภายใน สิบปีก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3527/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีขัดทรัพย์: ห้ามฟ้องขอส่วนแบ่งทรัพย์ซ้ำหลังศาลยกคำร้อง
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินและอาคารพิพาทซึ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นของจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ตามกฎหมาย การที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ว่าที่ดินและอาคารดังกล่าวเป็นของผู้ร้องแต่ศาลได้พิพากษายกคำร้องขัดทรัพย์ คดีถึงที่สุดไปแล้วเช่นนี้จึงมีผลว่าข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าที่ดินและอาคารพิพาทเป็นของผู้ร้อง คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145ผู้ร้องจะมาร้องขอกันส่วนในคดีนี้อีกโดยอ้างว่ามี กรรมสิทธิ์รวมในอาคารพิพาทหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3527/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีขัดทรัพย์ผูกพันคู่กรณี ไม่อาจยกกรรมสิทธิ์ร่วมในภายหลัง
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินและอาคารพิพาทซึ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นของจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ตามกฎหมายการที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ว่าที่ดินและอาคารดังกล่าวเป็นของผู้ร้อง แต่ศาลได้พิพากษายกคำร้องขัดทรัพย์ คดีถึงที่สุดไปแล้วเช่นนี้ จึงมีผลว่าข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าที่ดินและอาคารพิพาทเป็นของผู้ร้อง คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันผู้ร้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 ผู้ร้องจะมาร้องขอกันส่วนในคดีนี้อีกโดยอ้างว่ามีกรรมสิทธิ์รวมในอาคารพิพาทหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลอนุญาตให้ใช้หลักประกันชั่วคราวของผู้ค้ำประกัน ย่อมสิ้นผลเมื่อศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดและโจทก์ไม่ขอต่ออายุ
คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ค้ำประกันทั้งสามนำ น.ส.3 มาเป็นหลักประกันแทนที่ดินของจำเลย หลังจากที่ ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยกระทำนิติกรรมชั่วคราวในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 265และมาตรา 259 ประกอบมาตรา 274 เป็นคำสั่งที่กำหนดใช้ วิธีการชั่วคราวก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาวิธีการหนึ่งเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชนะคดีโดยมิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา และโจทก์มิได้ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าโจทก์ประสงค์จะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาและมีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้วิธีการชั่วคราวเช่นว่านั้นมีผล บังคับต่อไป คำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวแก่ผู้ค้ำประกันทั้งสามจึงเป็นอันยกเลิก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(1)ผู้ค้ำประกันทั้งสามจึงมีสิทธิรับหลักประกันคืนไป และศาล ต้องมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งอายัดที่ดินให้แก่ผู้ค้ำประกันทั้งสามด้วย และเมื่อคดีหนี้ของผู้ค้ำประกันทั้งสามเป็น หนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผล ถึงผู้ค้ำประกันซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาได้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งอายัดหลักประกันหลังศาลพิพากษาคดี และผลผูกพันถึงผู้ค้ำประกันที่ไม่ได้อุทธรณ์
คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ค้ำประกันทั้งสามนำ น.ส.3 มาเป็นหลักประกันแทนที่ดินของจำเลย หลังจากที่ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยกระทำนิติกรรมชั่วคราวในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 265 และมาตรา 259 ประกอบมาตรา 274 นั้นเป็นคำสั่งที่กำหนดใช้วิธีการชั่วคราวก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาวิธีการหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชนะคดีโดยมิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา และโจทก์มิได้ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าโจทก์ประสงค์จะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาและมีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้วิธีการชั่วคราวเช่นว่านั้นมีผลบังคับต่อไป คำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวแก่ผู้ค้ำประกันทั้งสามจึงเป็นอันยกเลิก ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 260 (1) ผู้ค้ำประกันทั้งสามจึงมีสิทธิรับหลักประกันคืนไป และศาลต้องมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งอายัดที่ดินให้แก่ผู้ค้ำประกันทั้งสามด้วย และเมื่อคดีหนี้ของผู้ค้ำประกันทั้งสามเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงผู้ค้ำประกันซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาได้ด้วยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3342/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และการฝ่าฝืนคำสั่งห้ามใช้ การกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มิได้ให้บทนิยามอธิบายความหมายของคำว่า โครงสร้างอาคาร ไว้แต่เมื่อพิจารณาความหมายในทางวิศวกรรมก่อสร้างและเจตนารมณ์ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ตาม โครงสร้างอาคารหมายถึงส่วนประกอบที่สำคัญของอาคารซึ่งได้แก่ ฐานราก เช่นคานคอดิน ตอม่อ เสา หรือส่วนกลางของอาคาร เช่น คานพื้น หรือส่วนบนของอาคาร เช่น โครงหลังคา หลังคา เป็นต้น คานลอยแม้มิได้เชื่อมติดกับเสา แต่ก็มีไว้สำหรับรองรับน้ำหนักและกำลังต้านทานเช่นเดียวกับคานโครงสร้างนับได้ว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาคาร จึงเป็นโครงสร้างของอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522เมื่อจำเลยกระทำต่อลักษณะ ขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วนน้ำหนัก หรือเนื้อที่แห่งโครงสร้างของอาคารและเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่มิให้ถือว่าเป็นการตัดแปลงอาคารตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ. 2528) ข้อ 1(1)ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 4 และมาตรา 5(3) การกระทำของจำเลยจึงเป็นการดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และการที่จำเลยเปลี่ยนโครงหลังคาจากไม้เป็นเหล็ก ย่อมเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารโดยมิได้ใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิม ซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามข้อ 1(1) แห่งกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวการกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นการดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยดัดแปลงอาคารอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจดำเนินการมีคำสั่งห้ามจำเลยกระทำการดังกล่าวได้ตามมาตรา 40(2) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522คำสั่งห้ามของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงชอบด้วยกฎหมายและเมื่อจำเลยฝ่าฝืนจึงเป็นการกระทำความผิดสำเร็จแล้วแม้ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะได้มีคำสั่งให้จำเลยแก้ไขแบบแปลนและเพิ่มรายการคำนวณตามที่จำเลยแจ้งขอดัดแปลงอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 39 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ก็ตาม ก็หาทำให้คำสั่งห้ามที่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นคำสั่งห้ามที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3342/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต: คาน, โครงสร้าง, และอำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่น
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มิได้ให้บทนิยามอธิบายความหมายของคำว่า โครงสร้างอาคาร ไว้ แต่เมื่อพิจารณาความหมายในทางวิศวกรรมก่อสร้างและเจตนารมณ์ตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้แล้ว โครงสร้างอาคารหมายถึงส่วนประกอบที่สำคัญของอาคารซึ่งได้แก่ ฐานราก เช่น คานคอดิน ตอม่อเสา หรือส่วนกลางของอาคาร เช่น คาน พื้น หรือส่วนบนของอาคาร เช่น โครงหลังคา หลังคา เป็นต้น
คานลอยแม้มิได้เชื่อมติดกับเสา แต่ก็มีไว้สำหรับรองรับน้ำหนักและกำลังต้านทานเช่นเดียวกับคานโครงสร้าง นับได้ว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาคาร จึงเป็นโครงสร้างของอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522เมื่อจำเลยกระทำต่อลักษณะ ขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก หรือเนื้อที่แห่งโครงสร้างของอาคารและเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่มิให้ถือว่าเป็นการดัดแปลงอาคารตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2528) ข้อ 1 (1) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 และมาตรา 5 (3) การกระทำของจำเลยจึงเป็นการดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และการที่จำเลยเปลี่ยนโครงหลังคาจากไม้เป็นเหล็ก ย่อมเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารโดยมิได้ใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิม ซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามข้อ 1 (1)แห่งกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นการดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเช่นเดียวกัน
เมื่อจำเลยดัดแปลงอาคารอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจดำเนินการมีคำสั่งห้ามจำเลยกระทำการดังกล่าวได้ตามมาตรา 40 (2) แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522 คำสั่งห้ามของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อจำเลยฝ่าฝืนจึงเป็นการกระทำความผิดสำเร็จแล้ว แม้ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะได้มีคำสั่งให้จำเลยแก้ไขแบบแปลนและเพิ่มรายการคำนวณตามที่จำเลยแจ้งขอดัดแปลงอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 39 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522 ก็ตาม ก็หาทำให้คำสั่งห้ามที่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นคำสั่งห้ามที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปไม่
คานลอยแม้มิได้เชื่อมติดกับเสา แต่ก็มีไว้สำหรับรองรับน้ำหนักและกำลังต้านทานเช่นเดียวกับคานโครงสร้าง นับได้ว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาคาร จึงเป็นโครงสร้างของอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522เมื่อจำเลยกระทำต่อลักษณะ ขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก หรือเนื้อที่แห่งโครงสร้างของอาคารและเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่มิให้ถือว่าเป็นการดัดแปลงอาคารตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2528) ข้อ 1 (1) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 และมาตรา 5 (3) การกระทำของจำเลยจึงเป็นการดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และการที่จำเลยเปลี่ยนโครงหลังคาจากไม้เป็นเหล็ก ย่อมเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารโดยมิได้ใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิม ซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามข้อ 1 (1)แห่งกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นการดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเช่นเดียวกัน
เมื่อจำเลยดัดแปลงอาคารอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจดำเนินการมีคำสั่งห้ามจำเลยกระทำการดังกล่าวได้ตามมาตรา 40 (2) แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522 คำสั่งห้ามของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อจำเลยฝ่าฝืนจึงเป็นการกระทำความผิดสำเร็จแล้ว แม้ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะได้มีคำสั่งให้จำเลยแก้ไขแบบแปลนและเพิ่มรายการคำนวณตามที่จำเลยแจ้งขอดัดแปลงอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 39 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522 ก็ตาม ก็หาทำให้คำสั่งห้ามที่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นคำสั่งห้ามที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3260/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานจากคดีอาญาในคดีแพ่ง: การพิพากษาเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน
คดีแพ่งโจทก์จำเลยตกลงกันไม่สืบพยาน แต่ขอให้ศาลนำคำเบิกความของพยานและพยานหลักฐานต่าง ๆ ในสำนวนคดีอาญาของศาลชั้นต้นซึ่งโจทก์คดีนี้เป็นโจทก์ร่วมและจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยและคดีถึงที่สุดแล้ว เป็นพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยเพื่อวินิจฉัยคดีนี้ได้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบในคดีอาญาดังกล่าวมาวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จึงเป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3260/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานจากคดีอาญาในคดีแพ่ง: ที่ดินพิพาท
คดีแพ่งโจทก์จำเลยตกลงกันไม่สืบพยาน แต่ขอให้ศาลนำคำเบิกความของพยานและพยานหลักฐานต่าง ๆ ในสำนวนคดีอาญาของศาลชั้นต้นซึ่งโจทก์คดีนี้เป็นโจทก์ร่วมและจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยและคดีถึงที่สุดแล้ว เป็นพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยเพื่อวินิจฉัยคดีนี้ได้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบในคดีอาญาดังกล่าว มาวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จึงเป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3005/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานพิจารณาคดีขาดนัด & ความรับผิดร่วมของผูรับเหมาในค่าจ้าง & ดอกเบี้ยค่าจ้างค้างจ่าย
ในการพิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน แม้ในกรณีจำเลยขาดนัดที่ให้ศาลชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวนั้น หากศาลแรงงานเห็นว่าตามคำฟ้อง คำให้การคำแถลงของคู่ความ และพยานหลักฐานอื่นที่ปรากฏอยู่ในสำนวน คดีพอวินิจฉัยได้แล้วศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีไปได้โดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานของโจทก์หรือจำเลย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาช่วงและเป็นนายจ้างโจทก์ยังไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาชั้นต้น และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในค่าจ้างตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ31 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้นายจ้างที่ผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง จำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาช่วงและเป็นนายจ้างโจทก์ยังไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาชั้นต้น และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในค่าจ้างตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ31 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้นายจ้างที่ผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง จำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี