คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสรี ชุณหถนอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 130 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์พนักงานรัฐวิสาหกิจ: เงินบำเหน็จ vs. ค่าชดเชย กรณีเกษียณอายุ และผลของการตีความระเบียบข้อบังคับ
โจทก์พ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ เพราะเหตุเกษียณอายุจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามระเบียบ คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของ สิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 47 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยให้ นอกเหนือจากเงินบำเหน็จก็พอจะแปลคำฟ้องได้ว่า โจทก์ประสงค์ จะได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานดังกล่าว แต่เนื่องจากตามข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ ของผู้ปฏิบัติงานองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2524 ข้อ 9 วรรคท้าย กำหนดว่า เงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกษียณอายุตามข้อบังคับนี้ให้ถือว่าเป็นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานด้วยแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีระเบียบข้อบังคับในการจ่ายเงินค่าชดเชยกรณีพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุ และให้ถือว่าเงินดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของเงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงาน สอดคล้องกับ ข้อ 47 วรรคสองแห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ดังกล่าวข้อบังคับของจำเลยจึงไม่ขัดต่อกฎหมายและมีผลใช้บังคับได้จำเลยชอบที่จะจ่ายเงินบำเหน็จให้ตามสิทธิของโจทก์เพียงจำนวนเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับเงินชดเชย/บำเหน็จของพนักงานรัฐวิสาหกิจเมื่อเกษียณอายุ และการจ่ายเงินตามข้อบังคับ
จำเลยจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลพ.ศ.2496 และ พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น พ.ศ.2501 จำเลยจึงเป็นรัฐวิสาหกิจ โจทก์เป็นพนักงานของจำเลย โจทก์จึงเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 45 ได้กำหนดรายละเอียดและเงื่อนไขให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งเลิกจ้าง แต่ในข้อ 47 วรรคหนึ่ง แห่งระเบียบดังกล่าวระบุไว้ชัดแจ้งว่า พนักงานที่ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามข้อ 45 ดังนี้เมื่อโจทก์ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลย จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 45 แห่งระเบียบดังกล่าวให้โจทก์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุเกษียณอายุและโจทก์มีระยะเวลาการทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยทำงานมานาน 19 ปีเศษ ดังนี้แม้โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันนอกเหนือจากเงินบำเหน็จมาด้วย ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 47 วรรคหนึ่ง ก็ตามแต่ก็แปลได้ว่าโจทก์ประสงค์ได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันตามบทบัญญัติในข้อดังกล่าว โดยเรียกผิดเป็นเงินค่าชดเชยนั่นเองเมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติงานในช่วงก่อนเกษียณอายุติดต่อกันครบ 5 ปีขึ้นไป โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ตามข้อ 47 วรรคหนึ่ง
จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ มีข้อบังคับองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของผู้ปฏิบัติงานองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น ว่า เงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกษียณอายุตามข้อบังคับนี้ ให้ถือว่าเป็นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานด้วย แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีระเบียบข้อบังคับในการจ่ายเงินค่าชดเชยกรณีพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุ และให้ถือว่าเงินดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของเงินที่จ่ายให้เพื่อตอบแทนความชอบในการทำงาน สอดคล้องกับข้อ 47 วรรคสอง แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของผู้ปฏิบัติงานองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นดังกล่าว จึงไม่ขัดกฎหมายและมีผลบังคับได้ไม่ จำเลยจึงชอบที่จะจ่ายเงินบำเหน็จให้ตามสิทธิของโจทก์เพียงจำนวนเดียว โดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยหรือเงินค่าตอบแทนความชอบในการทำงานต่างหากอีกจำนวนหนึ่ง
หากจะถือว่าจำเลยสามารถยกข้ออ้างที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยสามารถยกข้ออ้างว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติงานเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ก็ตามแต่ คดีนี้ ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติแล้วว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อจนเป็นช่องทางให้อ.ทุจริตเบียดบังเงินกู้กองทุนสวัสดิการและกองทุนบำเหน็จของจำเลย ดังนี้ ย่อมไม่อาจทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับค่าชดเชยของพนักงานรัฐวิสาหกิจที่เกษียณอายุ และความสัมพันธ์กับเงินบำเหน็จ
จำเลยจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของ รัฐบาล พ.ศ. 2496 และพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นพ.ศ. 2501 จำเลยจึงเป็นรัฐวิสาหกิจ โจทก์เป็นพนักงานของจำเลย โจทก์จึงเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2534 ข้อ 45 ได้กำหนดรายละเอียดและเงื่อนไขให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่ง เลิกจ้าง แต่ในข้อ 47 วรรคหนึ่ง แห่งระเบียบดังกล่าวระบุไว้ชัดแจ้งว่าพนักงานที่ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามข้อ 45 ดังนี้เมื่อโจทก์ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลย จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 45 แห่งระเบียบดังกล่าวให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1160/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารปลอมประเภทต่างๆ เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของรถยนต์ที่ถูกลักมา มีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและเอกสารราชการปลอม
มีคนร้ายลักเอารถยนต์คันของกลางของผู้เสียหายไป ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจยึดรถยนต์ดังกล่าวได้จากจำเลย รถที่ยึดได้มีการติดแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปีและแผ่นป้ายทะเบียนรถซึ่งเป็นของปลอม รถยนต์ที่จำเลยขับได้ติดเอกสารปลอมทั้งหมดไว้ที่รถในลักษณะเปิดเผยเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจหรือผู้อื่นที่พบเห็นเข้าใจว่าเอกสารปลอมเหล่านั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและเข้าใจว่ารถยนต์ที่จำเลยขับเป็นรถยนต์ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยจำเลยก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นรถที่ถูกคนร้ายลักมาและจำเลยจะนำรถยนต์ของกลางไปขาย ถือได้ว่าเป็นการใช้เอกสารปลอมโดยเจตนา จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม
จำเลยได้ใช้เอกสารคือแผ่นป้ายทะเบียนรถปลอม ใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปี พ.ศ. 2540 ปลอม ซึ่งเป็นความผิด ป.อ.มาตรา268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 และใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นความผิดตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 สำหรับการใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถปลอมและการใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปีพ.ศ. 2540 ปลอม โดยปิดไว้ที่รถยนต์ของกลางคันเดียวกัน โดยมีเจตนาอย่างเดียวกันคือเพื่อให้เจ้าพนักงานเห็นว่ารถยนต์ของกลางคันที่จำเลยขับได้จดทะเบียนและเสียภาษีถูกต้องเพื่อจำเลยจะใช้รถยนต์โดยชอบ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน ส่วนการใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นความผิดตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 นั้น แม้จะใช้พร้อมกับแผ่นป้ายทะเบียนรถและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ในคราวเดียวกัน แต่ก็เป็นเอกสารคนละประเภทและมีเจตนาก่อให้เกิดผลต่างกัน จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระแยกจากกันต่างหากจากความผิดฐานใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีปลอม เป็นความผิดสองกระทง ต้องเรียงกระทงลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 91
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยใช้เอกสารปลอมทั้งสามรายการในคราวเดียวกันเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่ารถยนต์กระบะของผู้เสียหายที่จำเลยขับไปมีหมายเลขทะเบียนตามที่ระบุในเอกสารปลอมเหล่านั้น จึงเป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวกัน ย่อมเป็นความผิดกรรมเดียว ให้ลงโทษตาม มาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 265 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวนั้นเป็นการไม่ชอบแต่โจทก์มิได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องความผิดฐานใช้เอกสารปลอม ดังนี้ เมื่อโจทก์ฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษเสียใหม่ให้ถูกต้อง แต่ให้ลงโทษจำเลยไม่เกินโทษที่ศาลชั้นต้นวางไว้ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1160/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารปลอมและเอกสารราชการปลอมเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของรถที่ถูกลักมา ถือเป็นความผิดกรรมเดียวแต่ต่างกระทง
มีคนร้ายลักเอารถยนต์คันของกลางของผู้เสียหายไป ต่อมา เจ้าพนักงานตำรวจยึดรถยนต์ดังกล่าวได้จากจำเลย รถที่ยึดได้ มีการติดแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปี และแผ่นป้ายทะเบียนรถซึ่งเป็นของปลอม รถยนต์ที่จำเลยขับได้ติดเอกสารปลอมทั้งหมด ไว้ที่รถในลักษณะเปิดเผยเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจหรือผู้อื่น ที่พบเห็นเข้าใจว่าเอกสารปลอมเหล่านั้นเป็นเอกสารที่แท้จริง และเข้าใจว่ารถยนต์ที่จำเลยขับเป็นรถยนต์ที่จำเลยมีไว้ใน ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยจำเลยก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นรถที่ถูกคนร้ายลักมาและจำเลยจะนำรถยนต์ของกลางไปขาย ถือได้ว่า เป็นการใช้เอกสารปลอมโดยเจตนา จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้ เอกสารปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม จำเลยได้ใช้เอกสารคือแผ่นป้ายทะเบียนรถปลอม ใช้แผ่นป้าย วงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปี พ.ศ. 2540 ปลอม ซึ่งเป็นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 และใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นความผิดตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 สำหรับการใช้แผ่น ป้ายทะเบียนรถปลอมและการใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษี ประจำปีปลอม โดยปิดไว้ที่รถยนต์ของกลางคันเดียวกัน โดยมี เจตนาอย่างเดียวกันคือเพื่อให้เจ้าพนักงานเห็นว่ารถยนต์ของกลางคันที่จำเลยขับได้จดทะเบียนและเสียภาษีถูกต้องเพื่อ จำเลยจะใช้รถยนต์โดยชอบ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด กรรมเดียวกัน การใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 264 แม้จะใช้พร้อมกับแผ่นป้ายทะเบียนรถและแผ่นป้าย วงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ในคราวเดียวกัน แต่ก็เป็นเอกสาร คนละประเภทและมีเจตนาก่อให้เกิดผลต่างกัน จึงเป็นการกระทำ ต่างกรรมต่างวาระแยกจากกันต่างหากจากความผิดฐานใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีปลอมเป็นความผิดสองกระทง ต้องเรียง กระทงลงโทษตาม มาตรา 91 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยใช้เอกสารปลอมทั้งสามรายการในคราวเดียวกันเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่า รถยนต์กระบะของผู้เสียหายที่จำเลยขับไปมีหมายเลขทะเบียน ตามที่ระบุในเอกสารปลอมเหล่านั้น จึงเป็นการกระทำที่มีเจตนา เดียวกัน ย่อมเป็นความผิดกรรมเดียว ให้ลงโทษตามมาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 265 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียง บทเดียวนั้นเป็นการไม่ชอบ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องความผิดฐานใช้เอกสารปลอม ดังนี้ เมื่อโจทก์ฎีกาและศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยมีความผิดฐานใช้ เอกสารปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษเสียใหม่ให้ถูกต้อง แต่ให้ลงโทษจำเลยไม่เกินโทษที่ ศาลชั้นต้นวางไว้ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1160/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับรถยนต์ที่ถูกลักมา และเจตนาเพื่อหลอกลวงเจ้าหน้าที่
มีคนร้ายลักเอารถยนต์คันของกลางของผู้เสียหายไปต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจยึดรถยนต์ดังกล่าวได้จากจำเลยรถที่ยึดได้มีการติดแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปีและแผ่นป้ายทะเบียนรถซึ่งเป็นของปลอม รถยนต์ที่จำเลยขับได้ติดเอกสารปลอมทั้งหมดไว้ที่รถในลักษณะเปิดเผยเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจหรือผู้อื่นที่พบเห็นเข้าใจว่าเอกสารปลอมเหล่านั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและเข้าใจว่ารถยนต์ที่จำเลยขับเป็นรถยนต์ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยจำเลยก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นรถที่ถูกคนร้ายลักมาและจำเลยจะนำรถยนต์ของกลางไปขาย ถือได้ว่าเป็นการใช้เอกสารปลอมโดยเจตนาจำเลยจึงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม จำเลยได้ใช้เอกสารคือแผ่นป้ายทะเบียนรถปลอมใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปี พ.ศ. 2540 ปลอมซึ่งเป็นความผิด ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 265 และใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นความผิดตามมาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 264 สำหรับการใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถปลอมและการใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปีพ.ศ. 2540 ปลอม โดยปิดไว้ที่รถยนต์ของกลางคันเดียวกันโดยมีเจตนาอย่างเดียวกันคือเพื่อให้เจ้าพนักงานเห็นว่ารถยนต์ของกลางคันที่จำเลยขับได้จดทะเบียนและเสียภาษีถูกต้องเพื่อจำเลยจะใช้รถยนต์โดยชอบ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน ส่วนการใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นความผิดตามมาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 264 นั้น แม้จะใช้พร้อมกับแผ่นป้ายทะเบียนรถและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ในคราวเดียวกัน แต่ก็ เป็นเอกสารคนละประเภทและมีเจตนาก่อให้เกิดผลต่างกันจึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระแยกจากกันต่างหากจากความผิดฐานใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีปลอม เป็นความผิดสองกระทง ต้องเรียงกระทงลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยใช้เอกสารปลอมทั้งสาม รายการในคราวเดียวกันเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่ารถยนต์กระบะ ของผู้เสียหายที่จำเลยขับไปมีหมายเลขทะเบียนตามที่ระบุใน เอกสารปลอมเหล่านั้น จึงเป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวกัน ย่อมเป็นความผิดกรรมเดียว ให้ลงโทษตาม มาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 265 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษ หนักที่สุดเพียงบทเดียวนั้นเป็นการไม่ชอบแต่โจทก์มิได้ อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องความผิด ฐานใช้เอกสารปลอม ดังนี้ เมื่อโจทก์ฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษเสียใหม่ให้ถูกต้องแต่ให้ลงโทษจำเลยไม่เกินโทษที่ศาลชั้นต้นวางไว้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1139/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกจ้างไม่เป็นธรรม: จำเลยอ้างเหตุทุจริต แต่ไม่นำสืบตามคำให้การ ศาลแรงงานพิพากษาให้จ่ายค่าเสียหาย
คดีแรงงาน จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำการจงใจให้จำเลยได้รับความเสียหายและทุจริตต่อหน้าที่ในการยื่นประมูลงานรับเหมาก่อสร้างที่จังหวัด ล.โดยโจทก์สมรู้กับผู้เข้าร่วมประมูลงานรับเหมาก่อสร้างรายอื่น เพื่อให้ผู้ประมูลงานรายนั้นได้งานก่อสร้างดังกล่าวไปอันเป็นเหตุให้จำเลยเสียหาย และเป็นการทุจริตต่อหน้าที่อย่างร้ายแรง ในชั้นพิจารณาจำเลยไม่สืบพยานตามคำให้การ แต่กลับนำสืบว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ในการประมูลงานก่อสร้างศาลากลาง จังหวัด อ. โดยโจทก์รับเงินจากผู้ประมูลรายอื่นมาเป็นประโยชน์ส่วนตน แล้วโจทก์ไม่ยื่นซองประมูลประกวดราคางานก่อสร้าง โดยอ้างว่าโจทก์คำนวณแบบศาลากลางในรายละเอียดไม่ทัน ซึ่งเป็นการนำสืบนอกคำให้การ ดังนี้ศาลแรงงานจะยกเรื่องที่โจทก์กระทำการทุจริตตามที่จำเลยนำสืบมาวินิจฉัยว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่หาได้ไม่
เมื่อจำเลยไม่นำสืบให้เห็นอย่างชัดแจ้งตามคำให้การต่อสู้คดี และศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า ในขณะโจทก์ยื่นซองประกวดราคารับเหมาก่อสร้างศาลากลางจังหวัด ล.ที่จำเลยให้การไว้ โจทก์ได้ถูกคนร้ายขัดขวางและทำร้ายได้รับบาดเจ็บ จำเลยจึงไม่ให้โจทก์ไปทำงานอีกเพราะเกรงจะเป็นอันตราย ดังนี้ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมาจึงเป็นยุติว่า โจทก์ไม่ได้กระทำการจงใจให้จำเลยได้รับความเสียหาย และจำเลยมิได้ทุจริตต่อหน้าที่ในการยื่นประมูลงานรับเหมาก่อสร้างศาลากลางจังหวัด ล.ตามที่จำเลยให้การ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุสมควรและไม่มีเหตุเพียงพอเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายในส่วนนี้ และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำความผิดอย่างร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1139/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่มีพยานสืบข้อเท็จจริงตามคำให้การ แต่กลับนำสืบข้อเท็จจริงอื่นนอกคำให้การ ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย
คดีแรงงาน จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำการจงใจให้จำเลยได้รับความเสียหายและทุจริตต่อหน้าที่ในการยื่นประมูลงานรับเหมาก่อสร้างที่จังหวัดล.โดยโจทก์สมรู้กับผู้เข้าร่วมประมูลงานรับเหมาก่อสร้างรายอื่น เพื่อให้ผู้ประมูลงานรายนั้นได้งานก่อสร้างดังกล่าวไปอันเป็นเหตุให้จำเลยเสียหาย และเป็นการทุจริตต่อหน้าที่อย่างร้ายแรงในชั้นพิจารณาจำเลยไม่สืบพยานตามคำให้การ แต่กลับนำสืบว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ในการประมูลงานก่อสร้างศาลากลาง จังหวัด อ. โดยโจทก์รับเงินจากผู้ประมูลรายอื่นมาเป็นประโยชน์ส่วนตน แล้วโจทก์ไม่ยื่นซองประมูลประกวดราคางานก่อสร้าง โดยอ้างว่าโจทก์คำนวณแบบศาลากลางในรายละเอียดไม่ทัน ซึ่งเป็นการนำสืบนอกคำให้การ ดังนี้ศาลแรงงานจะยกเรื่องที่โจทกกระทำการทุจริตตามที่จำเลยนำสืบมาวินิจฉัยว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่หาได้ไม่
เมื่อจำเลยไม่นำสืบให้เห็นอย่างชัดแจ้งตามคำให้การต่อสู้คดี และศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า ในขณะโจทก์ยื่นซองประกวดราคารับเหมาก่อสร้างศาลากลางจังหวัด ล. ที่จำเลยให้การไว้โจทก์ได้ถูกคนร้ายขัดขวางและทำร้ายได้รับบาดเจ็บ จำเลยจึงไม่ให้โจทก์ไปทำงานอีกเพราะเกรงจะเป็นอันตราย ดังนี้ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมาจึงเป็นยุติว่า โจทก์ไม่ได้กระทำการจงใจให้จำเลยได้รับความเสียหาย และจำเลยมิได้ทุจริตต่อหน้าที่ในการยื่นประมูลงานรับเหมาก่อสร้างศาลากลางจังหวัดล. ตามที่จำเลยให้การ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุสมควรและไม่มีเหตุเพียงพอเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายในส่วนนี้ และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำความผิดอย่างร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน, การจัดสรรที่ดิน, ภาระจำยอม, สาธารณูปโภค, สิทธิผู้ซื้อ
แม้คำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายว่าสัญญาใดจริงสัญญาใดปลอม หากแต่โจทก์ได้บรรยายโดยชัดแจ้งว่า สัญญาตัวจริงหรือสัญญาซึ่งเจตนาให้มีผลผูกพันกันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งห้าคือ สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมกัน ส่วนสัญญา 3 ฉบับตามฟ้องทำขึ้นอำพรางสัญญาซื้อขายที่แท้จริงเพื่อช่วยเหลือให้จำเลยทั้งห้าเสียภาษีน้อยลง สำหรับจำนวนเงินที่ซื้อขายตามสัญญาตัวจริง และสัญญาที่ทำขึ้นไว้เพื่ออำพรางจะเป็นจำนวนเงินเท่าใดนั้น ไม่เป็นประเด็นข้ออ้างแห่งคดีของโจทก์และเป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ทั้งจำเลยทั้งห้าก็เข้าใจและให้การต่อสู้คดีตามฟ้องของโจทก์ได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้จำเลยทั้งห้าจะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินจากคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ก็ตาม ก็เป็นเพียงการดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมายที่มีความมุ่งหมายส่วนหนึ่งที่จะติดตามควบคุมเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินเท่านั้น การดำเนินการของจำเลยทั้งห้าซึ่งต้องด้วยหลักเกณฑ์การจัดสรรที่ดินย่อมต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายที่ให้มีการจัดให้มีสาธารณูปโภค โดยมีความมุ่งหมายส่วนหนึ่งเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค และให้ถือว่าสาธารณูปโภคดังกล่าวตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร เพราะมิฉะนั้นแล้วประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ซึ่งเป็นกฎหมายควบคุมการจัดสรรที่ดินก็จะไร้ความหมายหรือขาดสภาพบังคับหากยอมให้การดำเนินการที่เป็นการจัดสรรที่ดินที่ฝ่าฝืนกฎหมายอยู่นอกเหนือการควบคุมหรือไม่ต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดสรรที่ดิน, ภารจำยอม, สิทธิใช้สโมสรและสระว่ายน้ำ, การฝ่าฝืนกฎหมายการจัดสรรที่ดิน
โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าสัญญาใดจริง สัญญาใดปลอมแต่บรรยายว่าสัญญาตัวจริงหรือสัญญาซึ่งเจตนาให้มีผลผูกพันกันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งห้าคือ สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมกัน ส่วนสัญญา 3 ฉบับตามฟ้องทำขึ้นอำพรางสัญญาซื้อขายที่แท้จริงเพื่อช่วยเหลือให้จำเลยทั้งห้าเสียภาษีน้อยลงจำนวนเงินที่ซื้อขายตามสัญญาตัวจริง และสัญญาที่ทำขึ้นไว้เพื่ออำพรางจะเป็นจำนวนเงินเท่าใด ไม่เป็นประเด็นข้ออ้างแห่งคดีของโจทก์และเป็นเพียงรายละเอียดที่นำสืบได้ใน ชั้นพิจารณา จำเลยทั้งห้าก็เข้าใจและให้การต่อสู้คดีตามฟ้องของโจทก์ได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยทั้งห้าร่วมกันจัดสรรที่ดินในโครงการสวัสดีทาวน์แมนชั่น แม้จำเลยทั้งห้าจะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินจากคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ก็เป็นเพียงการ ดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมายเท่านั้น การดำเนินการของจำเลยทั้งห้าต้องด้วยหลักเกณฑ์การจัดสรรที่ดิน ย่อมต้องอยู่ภายใต้ บังคับของกฎหมายที่ให้มีการจัดให้มีสาธารณูปโภค และให้ถือว่าสาธารณูปโภคดังกล่าวตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจาก จำเลยทั้งห้าจึงมีสิทธิใช้สโมสรกับสระว่ายน้ำที่ จำเลยทั้งห้าจัดสร้างขึ้นได้ โจทก์ยอมรับว่าสโมสรกับสระว่ายน้ำตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 43838 ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 206458 ของจำเลยที่ 5ไม่ได้อยู่ใกล้กับสโมสรและสระว่ายน้ำ ที่ดินโฉนดเลขที่ 206458ของจำเลยที่ 5 จึงไม่ตกอยู่ในภารจำยอมของที่ดินโฉนดเลขที่ 191057 และ 191066 ของโจทก์
of 13