คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสรี ชุณหถนอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 130 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7570/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็คหลายฉบับเพื่อชำระหนี้เดียวกัน ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันได้
แม้จำเลยออกเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วมรวม 7 ฉบับ ในคราวเดียวกันและเช็คพิพาทลงวันที่เดียวกันเพื่อชำระหนี้ในมูลหนี้เดียวกันก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาออกเช็คเพื่อให้มีการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับแยกจากกันเป็นคนละส่วนคนละจำนวน เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเช็คพิพาทแต่ละฉบับก็เป็นความผิดที่เกิดขึ้นต่างหากแยกจากกันได้โดยชัดเจนเป็นการเฉพาะของเช็คแต่ละฉบับ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7568/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันตามสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสและบุตร
ช. ต้องการแบ่งทรัพย์สินแก่บุตรไว้ก่อนถึงแก่กรรม เนื่องจาก ช. เป็นคนต่างด้าวไม่อาจถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ จึงใส่ชื่อจำเลยบุตรคนหนึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน และได้ทำบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินที่โจทก์ภรรยาของ ช. กับ ช. ทำมาหาได้ร่วมกัน โดยมีรายละเอียดระบุให้บุตรคนใดถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวห้องใดและกำหนดค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ค่ารังวัดแบ่งแยกและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ให้คู่สัญญาที่จะมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ต่อไปเป็นผู้ออกเอง เพื่อระงับข้อพิพาทที่จะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ผลของสัญญาทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน ตามมาตรา 852 โจทก์จึงมาฟ้องเรียกที่ดินและตึกแถวจากจำเลยมาเป็นของโจทก์แต่ผู้เดียวไม่ได้
แม้จำเลยมิได้ให้การว่าบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ. 11 เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความโดยตรง แต่ก็ได้ให้การไว้แล้วว่าโจทก์และ ช. ได้ตกลงแบ่งทรัพย์สินให้ทายาทเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นส่วนสัดเรียบร้อยแล้วตามบันทึกข้อตกลงเอกสารท้ายฟ้อง การที่จำเลยฎีกาว่า บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงอยู่ในประเด็นแห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7151/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดชิงทรัพย์โดยมีเจตนาและวางแผน แม้มีอาการสมองฝ่อและควบคุมอารมณ์ไม่ได้ แต่ไม่ถึงขั้นไม่สามารถรู้ผิดชอบ
ก่อนเกิดเหตุ 2 ถึง 3 วัน จำเลยดูข่าวโทรทัศน์ที่คนร้าย ทำทีเข้าไปซื้อทองแล้วชักอาวุธปืนออกมาปล้นเอา ทองหลบหนีไปได้ จึงคิดวางแผนเอาอย่างบ้างโดยไปยืม รถจักรยานยนต์จาก ก. ใช้สก๊อตเทปปิดป้ายทะเบียนไว้เพื่อไม่ให้จำหมายเลขทะเบียนได้และเอามีดคล้ายมีดปังตอที่มารดา ใช้หั่นผักห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์พกไว้ที่เอวด้านหลังแล้วขับรถจักรยานยนต์หาร้านขายทองที่ไม่มีคนพลุกพล่าน ไม่มีเจ้าพนักงานตำรวจ และมีผู้หญิงเป็นคนขาย ทำทีเข้าไปซื้อสร้อยคอทองคำในร้านของผู้เสียหาย เมื่อได้สร้อยแล้วจำเลยชักมีดขึ้นมาชูขู่คนในร้าน จากนั้น นำสร้อยคอทองคำไปขายและเปลี่ยนเพิ่มสายสร้อยข้อมือ ของจำเลยส่วนเงินที่ได้มาได้พาพรรคพวกไปเลี้ยง ไปเที่ยวและเล่นการพนัน พฤติการณ์เช่นนี้เห็นได้ว่า จำเลยกระทำผิดโดยมีแผนการอันเนื่องมาจากความโลภ และเอาเงินที่ได้จากการขายทรัพย์ไปเที่ยวเตร่หาความสำราญเช่นเดียวกับผู้กระทำผิดอื่นโดยทั่ว ๆ ไป แม้จำเลยจะสมองฝ่อ เพราะเคยถูกรถยนต์เฉี่ยวชนศีรษะกระแทกพื้นมีผลทำให้เชาวน์ปัญญาลดลงอารมณ์หงุดหงิด โมโหง่ายขาดการยับยั้งชั่งใจเช่นคนทั่วไปอยู่บ้าง แต่ยังไม่ถึงขนาด ที่จะฟังได้ว่าขณะกระทำผิดจำเลยไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6903/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานเรื่องการทำงานและเหตุเสียชีวิต ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
การที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกาสั่งให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมในเรื่องผู้ตายทำงานให้นายจ้างเป็นเวลาเกือบ 20 ปี โดย ผู้ตายได้ทำงานล่วงเวลาเป็นอาจิณเพื่อใช้วินิจฉัยว่าผู้ตายถึงแก่ความตายในช่วงการทำงานให้นายจ้างหรือไม่นั้น เป็นอุทธรณ์ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6869/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน: เจตนาเดียว, กรรมเดียว, ผู้เสียหายคือผู้ถูกหลอกลวง
โจทก์ทั้งเก้ามิได้ฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ หากแต่ฟ้องร้องในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ซึ่งข้อหานี้โจทก์ทั้งเก้ามิได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ด้วย โจทก์ทั้งเก้าจึงเป็นผู้เสียหายคดีนี้
การหลอกลวงหรือฉ้อโกงโจทก์ทั้งเก้าและประชาชน โดยสภาพแห่งการกระทำต้องกระทำต่อบุคคลหลายคนในลักษณะที่เป็นประชาชนและอาจต่างวาระกันได้ และเห็นได้ชัดว่าเกิดจากเจตนาอันเดียวกันคือฉ้อโกงประชาชน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยมีเจตนาร่วมกันทุจริตแพร่ข่าวและชักชวนด้วยวาจาต่อโจทก์ทั้งเก้าและประชาชนทั่วไปว่าต้องการกู้เงินจากประชาชน โดยจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนถึงร้อยละ 10ต่อเดือน จนโจทก์ทั้งเก้าและประชาชนทั่วไปหลงเชื่อให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 กู้ไปนั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6869/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน: เจตนาเดียวกันถือเป็นกรรมเดียว ผู้เสียหายคือผู้ถูกหลอกลวง
โจทก์ทั้งเก้ามิได้ฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ หากแต่ฟ้องร้องในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ซึ่งข้อหานี้โจทก์ทั้งเก้ามิได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ด้วย โจทก์ทั้งเก้าจึงเป็นผู้เสียหายคดีนี้
การหลอกลวงหรือฉ้อโกงโจทก์ทั้งเก้าและประชาชน โดยสภาพแห่งการกระทำต้องกระทำต่อบุคคลหลายคนในลักษณะที่เป็นประชาชนและอาจต่างวาระกันได้ และเห็นได้ชัดว่าเกิดจากเจตนาอันเดียวกันคือฉ้อโกงประชาชน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยมีเจตนาร่วมกันทุจริตแพร่ข่าวและชักชวนด้วยวาจาต่อโจทก์ทั้งเก้าและประชาชนทั่วไปว่าต้องการกู้เงินจากประชาชน โดยจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนถึงร้อยละ 10ต่อเดือน จนโจทก์ทั้งเก้าและประชาชนทั่วไปหลงเชื่อให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 กู้ไปนั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6869/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชนร่วมกัน: เจตนาเดียวกันถือเป็นกรรมเดียว แม้ผู้เสียหายหลายราย
จำเลยที่ 3 และที่ 4 กับพวก ได้หลอกลวงโจทก์ทั้งเก้าโดยอ้างว่าได้ร่วมกันประกอบกิจการโรงงานจัดส่งปอกระสาไปจำหน่ายต่างประเทศ ร่วมกันลงทุนทำธุรกิจเกี่ยวกับที่ดิน และธุรกิจให้กู้ยืมเงินซึ่งให้ผลประโยชน์ตอบแทนเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน ร้อยละ 5 ต่อ 15 วันร้อยละ 4 ต่อ 7 วัน ร้อยละ 3 ต่อ 5 วัน จำเลยที่ 3 และที่ 5 กับพวกต้องการกู้ยืมเงินจากโจทก์ทั้งเก้า และประชาชนทั่วไปเพื่อนำไปลงทุนขยายกิจการดังกล่าว โจทก์ทั้งเก้าหลงเชื่อจึงให้กู้ยืมเงินหลายครั้ง การกระทำ ของจำเลยทั้งห้าจึงเป็นการกระทำโดยทุจริต ร่วมกันหลอกลวง โจทก์ทั้งเก้าและประชาชน ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากโจทก์ทั้งเก้า เป็นความผิดฐานร่วม กันฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343,83 การที่โจทก์ทั้งเก้า ร่วมรับดอกเบี้ยเกินอัตรานั้นโจทก์ทั้งเก้ามิได้ฟ้องร้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 กับพวกในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯหากแต่ฟ้องร้องในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ซึ่งข้อหานี้ โจทก์ทั้งเก้ามิได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 อันจะทำให้โจทก์ทั้งเก้าไม่เป็นผู้เสียหายโดย นิตินัย โจทก์ทั้งเก้าจึงเป็นผู้เสียหายคดีนี้ การหลอกลวงหรือฉ้อโกงโจทก์ทั้งเก้าและประชาชนโดยสภาพแห่งการกระทำต้องกระทำต่อบุคคลหลายคนในลักษณะ ที่เป็นประชาชนและอาจต่างวาระกันได้แต่เห็นได้ชัดว่า เกิดจากเจตนาอันเดียวกันคือ ฉ้อโกงประชาชน จึงถือได้ว่า การกระทำความผิดของจำเลยทั้งห้าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6869/2541 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชนด้วยการหลอกลวงลงทุนและดอกเบี้ยเกินอัตรา ผู้เสียหายมีสิทธิฟ้อง
จำเลยที่ 3 และที่ 4 กับพวก ได้หลอกลวงโจทก์ทั้เก้าโดยอ้างว่าได้ร่วมกันประกอบกิจการโรงงานจัดส่งปอกระสาไปจำหน่ายต่างประเทศ ร่วมกันลงทุนทำธุรกิจเกี่ยวกับที่ดินและธุรกิจให้กู้ยืมเงินซึ่งให้ผลประโยชน์ตอบแทนเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน ร้อยละ 5 ต่อ 15 วัน ร้อยละ 4 ต่อ 7 วัน ร้อยละ 3 ต่อ5 วัน จำเลยที่ 3 และที่ 5 กับพวกต้องการกู้ยืมเงินจากโจทก์ทั้งเก้าและประชาชนทั่วไปเพื่อนำไปลงทุนขยายกิจการดังกล่าว โจทก์ทั้งเก้าหลงเชื่อจึงให้กู้ยืมเงินหลายครั้งการกระทำของจำเลยทั้งห้าจึงเป็นการกระทำโดยทุจริต ร่วมกันหลอกลวงโจทก์ทั้งเก้าและประชาชน ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากโจทก์ทั้งเก้า เป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ตาม ป.อ.มาตรา 343, 83 ส่วนการที่โจทก์ทั้งเก้า ร่วมรับดอกเบี้ยเกินอัตรานั้น โจทก์ทั้งเก้ามิได้ฟ้องร้องจำเลยที่ 3 และ ที่4 กับพวกในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา หากแต่ฟ้องร้องในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ซึ่งข้อหานี้โจทก์ทั้งเก้ามิได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 3และที่ 4 อันจะทำให้โจทก์ทั้งเก้าไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ทั้งเก้าจึงเป็นผู้เสียหายคดีนี้
การหลอกลวงหรือฉ้อโกงโจทก์ทั้งเก้าและประชาชน โดยสภาพแห่งการกระทำต้องกระทำต่อบุคคลหลายคนในลักษณะที่เป็นประชาชนและอาจต่างวาระกันได้แต่เห็นได้ชัดว่าเกิดจากเจตนาอันเดียวกันคือ ฉ้อโกงประชาชน จึงถือได้ว่าการกระทำความผิดของจำเลยทั้งห้าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6671/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความพยานนอกบัญชีรายชื่อพยานไม่มีผลต่อการวินิจฉัยคดีหากมีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุน
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายคิดเป็นเงิน 5,300 บาท พิพากษาให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จ การวินิจฉัยคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นรับฟังจากพยานหลักฐานทั้งปวงที่โจทก์นำสืบ มิได้รับฟังจากเฉพาะคำเบิกความของ ค. เพียงปากเดียวและแม้โจทก์จะไม่มี ค. เข้าเบิกความ ก็ไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีของศาลชั้นต้นเปลี่ยนแปลงไปดังนั้น แม้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ค. พยานโจทก์เข้าเบิกความโดยไม่มีชื่อในบัญชีพยานโจทก์ อันเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88และมาตรา 106 ก็ไม่ทำให้พยานโจทก์อื่น ๆ เสียไป หรือหาก ค. ไม่เข้าเบิกความแล้วผลของคดีจะเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาข้อกฎหมายในเรื่องดังกล่าวของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6574/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดกและการตั้งผู้จัดการมรดกร่วมเพื่อความถูกต้องและเป็นธรรม
ในการที่ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายนั้น เพราะผู้ตายมีมรดกที่จะต้องแบ่งปันแก่ทายาท มีเหตุขัดแย้งในการแบ่งปันมรดก และผู้ร้องเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย หากการจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้น ปรากฏว่าผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควร ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก และตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่ก็ได้ หรือหากศาลไม่ถอนผู้จัดการมรดกคนเดิมจะตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่เป็นผู้จัดการมรดกร่วมก็ได้
ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ต่อมายื่นคำร้องขอให้ตั้ง ฮ.เป็นผู้จัดพการมรดกร่วมกับผู้ร้องโดยผู้คัดค้านจะไม่ได้ขอให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายก็ตาม แต่เมื่อปรากฏในทางพิจารณาว่าการจัดการมรดกอาจเกิดความไม่เป็นธรรมได้เพราะผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายอยู่เดิม อ้างว่าผู้ตายไม่มีมรดก และผู้คัดค้านไม่มีสิทธิรับมรดก จึงเป็นการสมควรที่ศาลจะตั้ง ช.เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องได้ เพื่อให้การจัดการมรดกได้เป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม และการที่ศาลตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องต่อมานั้น เป็นการพิจารณาว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียหรือไม่ ช.มีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้จัดการมรดกและเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกร่วมหรือไม่ ดังนี้ เมื่อผู้ร้องและผู้คัดค้านมิใช่คู่ความรายเดียวกัน ประเด็นตามคำร้องของผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นคนละประเด็นกันจึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144
of 13