คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างกำหนดข้อบังคับทำงานเพิ่มเติม ต้องผูกพันตามข้อบังคับนั้น การเลิกจ้างเกินกว่าที่กำหนดไว้ในข้อบังคับถือไม่ชอบ
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างที่ใช้อยู่ขณะเกิดเหตุไม่มีข้อความกล่าวถึงสิทธิของนายจ้างในการสั่งให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติและโทษของลูกจ้างซึ่งฝ่าฝืนไว้ ต่อมานายจ้างได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติได้ นายจ้างจึงกำหนดให้ลูกจ้างซึ่งได้รับคำสั่งลงลายมือชื่อในบัญชีพนักงานทำงานล่วงเวลา และได้กำหนดโทษลูกจ้างที่ฝ่าฝืนคำสั่งเป็นขั้น ๆ ไว้ในเอกสารดังกล่าว ถือว่าเป็นกรณีที่นายจ้างกำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเพิ่มเติมนายจ้างจึงต้องผูกพันปฏิบัติตามข้อบังคับที่เพิ่มเติมนั้น นายจ้างจะลงโทษนอกเหนือจากข้อบังคับดังกล่าวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบังคับบริษัท: การห้ามทำกิจกรรมส่วนตัวในสถานที่ทำงาน แม้หลังเลิกงาน ก็เป็นวินัยที่ลงโทษได้
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทผู้ร้องกำหนดว่า ลูกจ้างต้องไม่นำสิ่งอื่นใดนอกจากงานในหน้าที่มาทำในเวลาทำงานหรือในสถานที่ทำงานของบริษัท ย่อมมีความหมายชัดแจ้งว่า ห้ามลูกจ้างนำสิ่งอื่นใดนอกจากงานในหน้าที่เข้ามาทำในสถานที่ทำงาน หรือทำสิ่งอื่นใดซึ่งไม่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ในสถานที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการกระทำในเวลาทำงานปกติหรือนอกเวลาทำงาน ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างนำเครื่องวิทยุมาซ่อมในสถานที่ทำงานซึ่งไม่ใช่งานในหน้าที่แม้จะเป็นการทำนอกเวลาทำงานก็ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าว.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบการเงิน นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยได้กำหนดระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดหาวัสดุอุปกรณ์การเกษตรเป็นเงินสดว่า ให้หัวหน้าหน่วยอำเภอเป็นผู้เก็บรักษาเงินสดและส่งฝากเงินสดที่มีจำนวนตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไปเข้าธนาคารหรือสาขา โจทก์เป็นหัวหน้าหน่วยสินเชื่ออำเภอมีหน้าที่รับผิดชอบด้วยการเงิน รับเงินจากลูกค้าการเกษตรไว้จำนวน1,074 บาท แม้จะเกินจำนวนที่โจทก์สามารถเก็บรักษาไว้ได้เพียง 74 บาท แต่โจทก์ส่งฝากเข้าบัญชีสาขาล่าช้าถึง 5 วันดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์จงใจฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอันเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) จำเลยสามารถเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม กรณีลูกจ้างไม่เข้าประชุม นายจ้างต้องลงโทษตามข้อบังคับเท่านั้น
ตามข้อบังคับในการปฏิบัติงานของห้างจำเลยระบุว่า ฝ่ายตรวจสอบ ต้องเข้าประชุมทุกเดือนตามแต่ทางห้างกำหนด.....ถ้าฝ่าฝืนจะถูก สั่งพักงานไม่น้อยกว่า 30 วัน ข้อบังคับดังกล่าวถือได้ว่าเป็น ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีสิทธิที่จะสั่งลงโทษพักงานโจทก์ได้ไม่น้อยกว่า 30 วัน การที่จำเลยลงโทษเลิกจ้างโจทก์เพราะไม่เข้าประชุม เป็นการลงโทษที่ไม่ชอบด้วยข้อบังคับดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การที่โจทก์ไม่เข้าประชุมเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับในการปฏิบัติงานหรือคำสั่งของจำเลยซึ่งโจทก์เพียงแต่จะต้องถูกสั่งพักงานไม่น้อยกว่า 30 วันเท่านั้น จึงไม่ใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยเป็นกรณี ร้ายแรงอันจำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย แต่เป็นการจงใจขัดคำสั่งของ นายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้อง บอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำเตือนทางวินัยต้องระบุการกระทำผิดชัดเจน การเลิกจ้างโดยอ้างผิดซ้ำจึงไม่ชอบ หากแต่การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งก็เป็นเหตุเลิกจ้างได้
คำสั่งของนายจ้างที่ลงโทษและภาคทัณฑ์ลูกจ้างระบุว่าลูกจ้างทำผิดวินัย และมีคำเตือนว่าหากลูกจ้างกระทำผิดวินัยข้อใดอีกนายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย แต่คำสั่งดังกล่าวมิได้ระบุว่าลูกจ้างกระทำการใดที่ถือว่าเป็นการผิดวินัย ทั้งได้ระบุข้อวินัยที่อ้างว่าลูกจ้างทำผิดไว้ถึง 5 ข้อ เช่นนี้ จึงเป็นการเตือนที่กว้างเกินไป ลูกจ้างย่อมไม่อาจทราบและปรับปรุงตนเองเพื่อมิให้กระทำผิดซ้ำคำเตือนนี้ได้ นายจ้างจะอ้างว่าลูกจ้างทำผิดซ้ำคำเตือนดังกล่าวและเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) มิได้ ลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานบริการมีหน้าที่ทำงานในลักษณะทั่วไปที่ใช้แรงงาน เช่น รักษาความสะอาด ยาม พนักงานเดินหนังสือได้รับคำสั่งให้มาทำหน้าที่เปิดปิดประตูสำนักงาน มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งโดยเคร่งครัด โดยมักจะมาเปิดประตูไม่ตรงตามเวลาที่กำหนดเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ทำร้ายคู่สมรสในที่ทำงาน ไม่ถึงขั้นร้ายแรงพอที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างมีเรื่องด่าและทำร้ายภริยาของตนในสถานที่ทำการของนายจ้าง การที่ลูกจ้างไม่ยอมเชื่อฟังและแสดงกิริยาไม่เคารพผู้บังคับบัญชาก็เนื่องจากการทะเลาะกับภริยาอันเป็นเรื่องส่วนตัวยังไม่ถึงกับเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง และไม่เป็นการขัดคำสั่งของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรงที่นายจ้างจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ส่วนการที่ผู้บังคับบัญชาห้ามปรามลูกจ้างนั้น ก็ไม่เป็นคำสั่งที่มีกิจจะลักษณะแต่อย่างใด คงมีความประสงค์เพียงให้ลูกจ้างกับภริยาเลิกทะเลาะวิวาทกันเท่านั้น การที่ลูกจ้างไม่เชื่อฟังจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันจะเป็นเหตุให้เลิกจ้างได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำเตือนนายจ้าง: การไม่ลงชื่อรับทราบคำเตือนไม่ใช่การขัดคำสั่ง หากนายจ้างแจ้งคำเตือนด้วยวิธีอื่น
เมื่อนายจ้างออกคำเตือนเป็นหนังสือแก่ลูกจ้างแล้วประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้กำหนดวิธีการแจ้งคำเตือนให้ลูกจ้างทราบ การให้ลูกจ้างลงชื่อทราบคำเตือนมิใช่วิธีการอย่างเดียวสำหรับการแจ้งคำเตือน นายจ้างอาจใช้วิธีการอย่างอื่นแทนได้ เช่น การแจ้งด้วยวาจาหรือปิดประกาศให้ทราบ ดังนั้นการที่ลูกจ้างไม่ยอมลงชื่อรับทราบคำเตือนเป็นหนังสือตามที่นายจ้างสั่ง จึงไม่เป็นความผิดฐานขัดคำสั่งนายจ้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3682/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่เป็นธรรมกรณีพนักงานมีส่วนร่วมในธุรกิจแข่งขันกับนายจ้างตามข้อบังคับภายใน
ตามคู่มือพนักงานของบริษัทจำเลย ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ได้ออกข้อกำหนดห้ามพนักงานประกอบหรือร่วมกับบุคคลอื่นประกอบธุรกิจที่บริษัทจำเลยได้กระทำอยู่ และเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของบริษัทจำเลยไม่ว่าจะได้กระทำในหรือนอกเวลาปฏิบัติงานของบริษัทจำเลย ก็ตาม หรือจะได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม พนักงานซึ่งกระทำการดังกล่าวก็ย่อมมีความผิดทั้งสิ้น กรณีคงมีข้อยกเว้นให้กระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากจำเลยเพียงประการเดียวเท่านั้น ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานจำเลยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการประกอบผลไม้แช่แข็ง กับห้างอื่น อันเป็นธุรกิจที่บริษัทจำเลยประกอบอยู่และเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของบริษัทจำเลย โจทก์ก็ย่อมมีความผิดตามคู่มือพนักงานอันเป็นกรณีร้ายแรงแล้ว การที่บริษัทจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3682/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่เป็นธรรมกรณีพนักงานมีส่วนร่วมธุรกิจแข่งกับนายจ้างตามข้อบังคับภายใน
ตามคู่มือพนักงานของบริษัทจำเลย ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ได้ออกข้อกำหนดห้ามพนักงานประกอบหรือร่วมกับบุคคลอื่นประกอบธุรกิจที่บริษัทจำเลยได้กระทำอยู่ และเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของบริษัทจำเลยไม่ว่าจะได้กระทำในหรือนอกเวลาปฏิบัติงานของบริษัทจำเลย ก็ตาม หรือจะได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม พนักงานซึ่งกระทำการดังกล่าวก็ย่อมมีความผิดทั้งสิ้น กรณีคงมีข้อยกเว้นให้กระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากจำเลยเพียงประการเดียวเท่านั้น ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานจำเลยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการประกอบผลไม้แช่แข็ง กับห้างอื่น อันเป็นธุรกิจที่บริษัทจำเลยประกอบอยู่และเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของบริษัทจำเลย โจทก์ก็ย่อมมีความผิดตามคู่มือพนักงานอันเป็นกรณีร้ายแรงแล้ว การที่บริษัทจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 916/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การกระทำความผิดทางวินัยที่ไม่ร้ายแรง และสิทธิการได้รับค่าชดเชย
แม้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย กำหนดห้ามมิให้ลูกจ้างก่อการวิวาท ทำร้ายร่างกาย พูดหยาบ ตลอดจนส่งเสียงอื้ออึงโดยไม่จำเป็นก็ตาม แต่ระเบียบดังกล่าวก็มิได้กำหนดว่าการฝ่าฝืนจะถือเป็นกรณีร้ายแรงประการใด การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยชกต่อยลูกจ้างด้วยกัน ก็เนื่องจากคู่กรณีพูดให้ของลับโจทก์ก่อน และไม่ปรากฏว่าคู่กรณีได้รับบาดเจ็บจึงถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์เป็นกรณีร้ายแรงที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3).
of 6