คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 ม. 19 ทวิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนเงินภาษีอากรหลังสินค้าถูกเพลิงไหม้: ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรา 19 ทวิ และโรงงานไม่ใช่คลังสินค้า
โจทก์นำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยแสดงความจำนงต่อ จำเลยทั้งสองว่าจะใช้ของที่นำเข้ามานั้นในการผลิตหรือผสมหรือประกอบหรือบรรจุเพื่อการส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี เพื่อขอคืนเงินอากรขาเข้า ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 และโจทก์มิได้ชำระอากรขาเข้าเพราะได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ให้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารแทนการชำระภาษีอากรที่จะต้องเสีย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 ตรี แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนี้ การคืนเงินภาษีอากรที่ได้ชำระแล้วหรือการคืนประกันโดยถือเสมือนว่าเป็นการคืนเงินค่าภาษีอากรนั้น มาตรา 19 ทวิ บัญญัติไว้เพียงกรณีเดียวคือ เมื่อได้พิสูจน์ให้เป็นที่พอใจอธิบดีกรมศุลกากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมศุลกากรมอบหมายว่าของที่ส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศนั้น ได้ผลิตหรือผสมหรือประกอบหรือบรรจุด้วยของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ทั้งจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามมาตรา 19 ทวิ (ก)-(จ) ด้วยเมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ส่งของที่ผลิตด้วยเส้นด้ายใยยาวสังเคราะห์ทำด้วยโปลีเอสเตอร์และผ้าทอโปลีเอสเตอร์ใยสั้นที่ได้นำเข้า ออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปีจึงไม่อาจขอคืนเงินค่าภาษีอากรที่ได้ชำระหรือขอคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารตามมาตรา 19 ทวิ แม้ว่าของที่โจทก์นำเข้าทั้งที่ยังมีสภาพเป็นวัตถุดิบและที่นำมาผลิตเป็นสินค้าแล้วอยู่ในขั้นเตรียมการเพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศได้ถูกเพลิงไหม้เสียหายทั้งหมดขณะที่เก็บไว้ในโรงงานของโจทก์ก็ตาม แต่ไม่มีบทกฎหมายใดที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องเรียกค่าภาษีอากรที่ได้ชำระแล้วหรือเรียกหนังสือค้ำประกันคืนจากจำเลยในก่อนนี้ได้ ตามมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 เป็นบทบัญญัติในหมวด 10 ว่าด้วยการเก็บของในคลังสินค้าซึ่งบัญญัติให้อำนาจอธิบดีกรมศุลกากรในอันที่จะยกเว้นค่าภาษีที่จะต้องเสียหรือคืนค่าภาษีที่ได้เสียแล้วสำหรับของที่เก็บในคลังเก็บสินค้า หรือที่ยื่นใบขนเพื่อเก็บในคลังสินค้าหรือที่ยื่นใบขนเพื่อรับมอบไปจากคลังสินค้าแล้วเกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงเสียได้ ในขณะที่อยู่บนเรือหรือในเวลาย้ายถอนขนขึ้น ในเวลารับเข้าเก็บในคลังสินค้า หรือเวลาที่เก็บอยู่ในคลังสินค้า แต่โรงงานของโจทก์ซึ่งเป็นสถานที่เก็บของที่นำเข้าดังกล่าว มิได้เป็นคลังสินค้า ฉะนั้น แม้เพลิงจะได้ไหม้ของที่โจทก์นำเข้าทั้งที่นำมาผลิตเป็นสินค้าแล้วและที่ยังอยู่ในสภาพเป็นวัตถุดิบที่เก็บรักษาในอาคารโรงงานของโจทก์จนเสียหายไปทั้งหมด ไม่ว่าการที่เกิดเพลิงไหม้เป็นเพราะเหตุสุดวิสัยหรืออุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงเสียได้ อธิบดีกรมศุลกากรก็ไม่มีอำนาจที่จะยกเว้นค่าภาษีที่จะต้องเสียหรือคืนค่าภาษีที่ได้เสียแล้วสำหรับของนั้นให้แก่โจทก์ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลภาษีอากรกลางไม่ได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ว่า การที่โจทก์ไม่สามารถผลิตสินค้าและส่งสินค้าออกภายในกำหนด 1 ปี มิใช่ความผิดของโจทก์ มิใช่ความผิดของโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดชอบในค่าภาษีอากรตามฟ้องและสมควรได้รับอากรขาเข้าคืน ตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 19 ทวิ หรือไม่เป็นการไม่ชอบนั้นเมื่อปรากฏว่าศาลภาษีอากรกลางได้วินิจฉัยว่า การที่ของที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรตามฟ้อง ทั้งที่นำมาผลิตเป็นสินค้าแล้วและที่ยังอยู่ในสภาพเป็นวัตถุดิบซึ่งโจทก์เก็บรักษาไว้ที่โรงงานของโจทก์ถูกเพลิงไหม้เสียหายหมด ทำให้โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้าที่ผลิตหรือประกอบหรือผสมหรือบรรจุด้วยของที่นำเข้า ออกไปยังเมืองต่างประเทศ แม้จะเป็นเหตุสุดวิสัย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับค่าภาษีอากรที่ได้ชำระไว้แล้วคืนจากจำเลยทั้งสอง เป็นการวินิจฉัยว่าการที่โจทก์ไม่สามารถผลิตและส่งสินค้าที่ผลิตด้วยของที่นำเข้าไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปีแม้จะมิใช่ความผิดของโจทก์ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าภาษีอากรที่ได้เสียไปแล้วคืน จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรที่ไม่ถูกต้อง และสิทธิในการฟ้องเรียกเงินคืน รวมถึงการอุทธรณ์ภาษีการค้า
คำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 47/2531 ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาไม่เกิน 1 เดือนนั้น เป็นเพียงระเบียบภายในของจำเลยในกรณีไม่อาจจะทราบราคาแท้จริงได้ตามกฎหมาย เมื่อทางโจทก์ได้เสนอหลักฐานให้ทราบแน่ชัดแล้วจึงไม่จำต้องอาศัยระเบียบดังกล่าวมาพิจารณา ประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่องการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรฉบับที่ 77(พ.ศ. 2533) ได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5(4)และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 กำหนดให้สินค้าบางชนิดต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษในการนำเข้าในราชอาณาจักรในอัตราร้อยละ 0.5ของราคาตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และจำเลยได้ออกคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 25/2533 วางระเบียบเกี่ยวกับการเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษดังกล่าวและนำส่งกระทรวงพาณิชย์ในภายหลัง การที่จำเลยเรียกเก็บเงินนี้ก็โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายและคำสั่งดังกล่าวข้างต้น แต่จำเลยเรียกเก็บเงินโดยที่จำเลยกำหนดราคาผิดไป ฉะนั้นเมื่อจำเลยทำผิดจำเลยก็ต้องมีหน้าที่คืนแก่โจทก์ต่างกับกรณีต้องคืนเงินอากรขาเข้าตามมาตรา 19 หรือมาตรา 19 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 เพราะกรณีดังกล่าวเป็นกรณีเรียกไว้โดยชอบ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินค่าธรรมเนียมพิเศษจากจำเลยได้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ตรวจสอบราคาสินค้าของโจทก์แล้วมีความเห็นให้เพิ่มราคา และเรียกอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่ม โจทก์ก็ได้แก้ไขจำนวนเงินราคา ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลในใบขนสินค้าขาเข้าตามรายการสำแดงที่จำเลยขอเพิ่มแล้ว ถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าโดยเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 87(2) แล้ว หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 30 เสียก่อน การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อผู้อำนวยการกองวิเคราะห์ราคาซึ่งไม่ใช่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 ไม่เป็นการอุทธรณ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดี อันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลให้คืนเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4172/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนอากรขาเข้าและการบังคับสิทธิเรียกร้องเมื่อไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการส่งออกภายในกำหนด และอายุความ
ของที่จำเลยนำเข้ามาผลิตหรือผสม หรือประกอบเพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันนำของเข้า จำเลยย่อมได้รับคืนอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ การที่จำเลยนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปวางประกันการชำระค่าภาษีอากรและรับของมาจากศุลกากร ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระภาษีอากรแล้ว เพราะเป็นเพียงผ่อนผันการชำระอากรขาเข้าให้แก่จำเลยเท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้นำของดังกล่าวมาผลิต หรือผสม หรือประกอบแล้วส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปีจำเลยย่อมไม่มีสิทธิได้รับคืนภาษีอากรและมีหน้าที่ต้องนำภาษีอากรไปชำระต่อศุลกากรกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 112 ทวิ วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ที่พนักงานศุลกากรจะต้องทำการประเมินและแจ้งให้จำเลยผู้นำของเข้านำภาษีอากรไปชำระเสียก่อน เพราะมิได้มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าภาษีอากรว่าผู้นำของเข้าจะต้องเสียประเภทใดและเป็นจำนวนเท่าใด เมื่อจำเลยไม่นำภาษีอากรไปชำระพระราชบัญญัติศุลกากรก็มิได้บัญญัติให้พนักงานศุลกากรเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ค้ำประกันทันที และตามพระราชบัญญัติศุลกากรก็ดี ประมวลรัษฎากรก็ดี มิได้กำหนดระยะเวลาให้พนักงานศุลกากรติดตามทวงถามไว้แต่อย่างใด พนักงานศุลกากรจึงเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าภาษีอากรได้ภายในอายุความ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 ที่ให้สิทธิเจ้าหนี้เรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ตั้งแต่ลูกหนี้ผิดนัดนั้น เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความเช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อพนักงานศุลกากรเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ค้ำประกันแล้วยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดและได้ประเมินภาษีอากรไปยังจำเลยแล้ว จำเลยไม่ชำระจำเลยจึงต้องรับผิดชำระภาษีอากรส่วนที่ขาดรวมทั้งเงินเพิ่ม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 บัญญัติให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนั้นการที่จำเลยนำของเข้ามาผลิตหรือผสม หรือประกอบ เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี และได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาค้ำประกันการชำระภาษีอากรนั้น ในระหว่าง 1 ปีดังกล่าวโจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าภาษีอากร สิทธิเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรจะเกิดขึ้นเมื่อครบกำหนด 1 ปีดังกล่าวแล้ว และจำเลยมิได้ใช้ของที่นำเข้ามาผลิต หรือผสมหรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อจำเลยนำของเข้าเมื่อ 30 พฤษภาคม 2518 และมิได้ใช้ของดังกล่าวผลิต หรือผสม หรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี อายุความเริ่มนับถัดจากวันที่ครบ 1 ปี คือวันที่ 1มิถุนายน 2519 เป็นต้นไป ถึงวันฟ้องคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4172/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีอากรกรณีนำเข้าเพื่อผลิตส่งออก และอายุความฟ้องเรียกเก็บภาษีเมื่อไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
ของที่จำเลยนำเข้ามาผลิตหรือผสม หรือประกอบเพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันนำของเข้า จำเลยย่อมได้รับคืนอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ การที่จำเลยนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปวางประกันการชำระค่าภาษีอากรและรับของมาจากศุลกากร ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระภาษีอากรแล้ว เพราะเป็นเพียงผ่อนผันการชำระอากรขาเข้าให้แก่จำเลยเท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้นำของดังกล่าวมาผลิต หรือผสม หรือประกอบแล้วส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี จำเลยย่อมไม่มีสิทธิได้รับคืนภาษีอากรและมีหน้าที่ต้องนำภาษีอากรไปชำระต่อศุลกากรกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 112 ทวิ วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ที่พนักงานศุลกากรจะต้องทำการประเมินและแจ้งให้จำเลยผู้นำของเข้านำภาษีอากรไปชำระเสียก่อน เพราะมิได้มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าภาษีอากรว่าผู้นำของเข้าจะต้องเสียประเภทใดและเป็นจำนวนเท่าใด เมื่อจำเลยไม่นำภาษีอากรไปชำระพระราชบัญญัติศุลกากรก็มิได้บัญญัติให้พนักงานศุลกากรเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ค้ำประกันทันที และตามพระราชบัญญัติศุลกากรก็ดี ประมวลรัษฎากรก็ดี มิได้กำหนดระยะเวลาให้พนักงานศุลกากรติดตามทวงถามไว้แต่อย่างใด พนักงานศุลกากรจึงเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าภาษีอากรได้ภายในอายุความ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 ที่ให้สิทธิเจ้าหนี้เรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ตั้งแต่ลูกหนี้ผิดนัดนั้น เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความเช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อพนักงานศุลกากรเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ค้ำประกันแล้วยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดและได้ประเมินภาษีอากรไปยังจำเลยแล้ว จำเลยไม่ชำระจำเลยจึงต้องรับผิดชำระภาษีอากรส่วนที่ขาดรวมทั้งเงินเพิ่ม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 บัญญัติให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนั้นการที่จำเลยนำของเข้ามาผลิตหรือผสม หรือประกอบ เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี และได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาค้ำประกันการชำระภาษีอากรนั้น ในระหว่าง 1 ปีดังกล่าวโจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าภาษีอากร สิทธิเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรจะเกิดขึ้นเมื่อครบกำหนด 1 ปีดังกล่าวแล้ว และจำเลยมิได้ใช้ของที่นำเข้ามาผลิต หรือผสมหรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อจำเลยนำของเข้าเมื่อ 30 พฤษภาคม 2518 และมิได้ใช้ของดังกล่าวผลิต หรือผสม หรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี อายุความเริ่มนับถัดจากวันที่ครบ 1 ปี คือวันที่ 1 มิถุนายน 2519 เป็นต้นไป ถึงวันฟ้องคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีอากรนำเข้าและการวางประกัน โดยกรณีไม่ชำระภายในกำหนด เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกเก็บจากผู้ค้ำประกันได้
ในกรณีที่ผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ว่าจะเป็นผู้ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมศุลกากรให้คืนเงินอากรขาเข้า ตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ หรือไม่ก็ตาม จะนำของไปจากอารักขาของศุลกากรก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรจนครบถ้วนเสียก่อน เว้นแต่จะได้วางประกันค่าอากรไว้ต่ออธิบดีกรมศุลกากร ตามมาตรา 40 และมาตรา 112 ซึ่งกระทำได้ 2 วิธีคือ วิธีหนึ่งวางเงินไว้เป็นประกัน อีกวิธีหนึ่งนำหนังสือค้ำประกันของกระทรวงการคลังหรือธนาคารมาวางเป็นประกัน
ในการวางเงินเป็นประกัน ถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินและแจ้งให้ทราบภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และเงินประกันที่วางไว้คุ้มค่าอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินแล้ว ก็ให้เก็บเงินประกันดังกล่าวเป็นค่าอากรตามจำนวนที่ประเมินได้ทันที และให้ถือเสมือนว่าผู้นำของเข้าได้ชำระเงินอากรที่ได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าวข้างต้นแล้วตามมาตรา 112 ทวิ วรรคสอง
กรณีการนำหนังสือค้ำประกันของกระทรวงการคลัง หรือธนาคารมาวางเป็นประกันมิได้มีบทบัญญัติมาตราใดแห่งพระราชบัญญัติศุลกากรบัญญัติไว้ว่า ถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินแจ้งให้ทราบแล้วภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งก็ให้เรียกเก็บเงินจากผู้ค้ำประกันได้ทันที และให้ถือเสมือนว่าผู้นำของเข้าได้ชำระเงินอากรที่ได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนดข้างต้นแล้ว
จำเลยนำของเข้ามาผลิต ผสม หรือประกอบ เพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศหรือส่งไปเป็นของใช้สิ้นเปลืองในเรือเดินทางไปเมืองต่างประเทศเพื่อขอคืนอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ ได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปวางเป็นประกันและรับของมาจากศุลกากรยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแล้ว การที่ศุลกากรปล่อยหรือมอบของให้จำเลยมาโดยยอมรับหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันก็เป็นเพียงผ่อนผันการชำระค่าอากรขาเข้าให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยมิได้ผลิตผสมหรือประกอบของที่นำเข้ามาส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี ตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับคืนอากรขาเข้าตามมาตรา 19 ทวิ(ง) และเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะนำอากรขาเข้าตามที่เจ้าหน้าที่ได้ประเมินไว้ไปชำระมิใช่เป็นหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินจะต้องติดตามทวงถามให้จำเลยชำระค่าอากรดังกล่าว และตามพระราชบัญญัติศุลกากรก็ดี ประมวลรัษฎากรก็ดีมิได้กำหนดระยะเวลาให้เจ้าหน้าที่ประเมินติดตามทวงถามไว้แต่อย่างใด ดังนั้น เจ้าหน้าที่ประเมินจะเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าอากรขาเข้าเมื่อใดก็ได้ ภายในอายุความเมื่อจำเลยไม่ชำระค่าอากรที่ต้องเสียก็ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 112 จัตวา
สำหรับภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ วรรคท้ายได้บัญญัติไว้ว่า เงินเพิ่มตามมาตรานี้มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับตามมาตรา 89 ซึ่งคำว่าเงินเพิ่มตามมาตรานี้หมายความว่าเงินเพิ่มที่คิดร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระไม่ว่าจะเป็นเงินเพิ่มที่คิดก่อนหรือภายหลังนำเงินที่วางประกันหรือที่ผู้ค้ำประกันมาหักเมื่อรวมแล้วเงินเพิ่มจะต้องไม่เกินเงินภาษีการค้าที่ต้องชำระ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าอากรและภาษีหลังนำเข้าสินค้า การวางประกัน และการเรียกเก็บเงินจากผู้ค้ำประกัน
ในกรณีที่ผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ว่าจะเป็นผู้ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมศุลกากรให้คืนเงินอากรขาเข้า ตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ หรือไม่ก็ตาม จะนำของไปจากอารักขาของศุลกากรก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรจนครบถ้วนเสียก่อน เว้นแต่จะได้วางประกันค่าอากร ไว้ต่ออธิบดีกรมศุลกากร ตามมาตรา 40 และมาตรา 112 ซึ่งกระทำได้ 2 วิธี คือ วิธีหนึ่งวางเงินไว้เป็นประกัน อีกวิธีหนึ่งนำหนังสือค้ำประกันของกระทรวงการคลังหรือธนาคารมาวางเป็นประกัน
ในการวางเงินเป็นประกัน ถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินและแจ้งให้ทราบภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และเงินประกันที่วางไว้คุ้มค่าอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินแล้ว ก็ให้เก็บเงินประกันดังกล่าวเป็นค่าอากรตามจำนวนที่ประเมินได้ทันที และให้ถือเสมือนว่าผู้นำของเข้าได้ชำระเงินอากรที่ได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าวข้างต้นแล้วตามมาตรา 112 ทวิ วรรคสอง
กรณีการนำหนังสือค้ำประกันของกระทรวงการคลัง หรือธนาคารมาวางเป็นประกันมิได้มีบทบัญญัติมาตราใดแห่งพระราชบัญญัติศุลกากรบัญญัติไว้ว่า ถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินแจ้งให้ทราบแล้วภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ก็ให้เรียกเก็บเงินจากผู้ค้ำประกันได้ทันที และให้ถือเสมือนว่าผู้นำของเข้าได้ชำระเงินอากรที่ได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนดข้างต้นแล้ว
จำเลยนำของเข้ามาผลิต ผสม หรือประกอบ เพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศหรือส่งไปเป็นของใช้สิ้นเปลืองในเรือเดินทางไปเมืองต่างประเทศเพื่อขอคืนอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ ได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปวางเป็นประกันและรับของมาจากศุลกากรยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแล้ว การที่ศุลกากรปล่อยหรือมอบของให้จำเลยมาโดยยอมรับหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันก็เป็นเพียงผ่อนผันการชำระค่าอากรขาเข้าให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยมิได้ผลิตผสม หรือประกอบของที่นำเข้ามาส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี ตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับคืนอากรขาเข้าตามมาตรา 19 ทวิ(ง) และเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะนำอากรขาเข้าตามที่เจ้าหน้าที่ได้ประเมินไว้ไปชำระมิใช่เป็นหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินจะต้องติดตามทวงถามให้จำเลยชำระค่าอากรดังกล่าว และตามพระราชบัญญัติศุลกากรก็ดี ประมวลรัษฎากรก็ดีมิได้กำหนดระยะเวลาให้เจ้าหน้าที่ประเมินติดตามทวงถามไว้แต่อย่างใด ดังนั้น เจ้าหน้าที่ประเมินจะเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าอากรขาเข้าเมื่อใดก็ได้ ภายในอายุความเมื่อจำเลยไม่ชำระค่าอากรที่ต้องเสีย ก็ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 112 จัตวา
สำหรับภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ วรรคท้ายได้บัญญัติไว้ว่า เงินเพิ่มตามมาตรานี้มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับตามมาตรา 89 ซึ่งคำว่าเงินเพิ่มตามมาตรานี้หมายความว่าเงินเพิ่มที่คิดร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระไม่ว่าจะเป็นเงินเพิ่มที่คิดก่อนหรือภายหลังนำเงินที่วางประกันหรือที่ผู้ค้ำประกันมาหักเมื่อรวมแล้วเงินเพิ่มจะต้องไม่เกินเงินภาษีการค้าที่ต้องชำระ