คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1410

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือพื้นดินจากข้อตกลงก่อนการซื้อขายที่ดิน: สิทธิมีผลเฉพาะคู่กรณีเดิม
ข้อตกลงและทางปฏิบัติระหว่าง บ. กับจำเลยก่อนที่ดินพิพาทจะเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ มีลักษณะที่ บ. ยอมให้จำเลยมีสิทธิเป็นเจ้าของฮวงซุ้ยซึ่งได้ก่อสร้างบนที่ดินพิพาทนั้นมาแต่เดิม เป็นการก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดิน เป็นคุณแก่จำเลยโดยทางนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1410 ข้อตกลงดังกล่าวมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กรณีต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคแรก การได้มาซึ่งสิทธิเหนือพื้นดินอันเป็นทรัพย์สิทธิเกี่ยวกับที่ดินพิพาทไม่บริบูรณ์ คงใช้ได้ในฐานะบุคคลสิทธิระหว่างคู่กรณีคือ บ. กับจำเลยเท่านั้น ไม่ว่าโจทก์ผู้รับซื้อที่ดินพิพาทจาก บ. จะรู้ถึงข้อความระหว่าง บ.กับจำเลยมาก่อนหรือไม่ก็ตาม โจทก์ย่อมมีอำนาจในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ที่จะขัดขวางมิให้จำเลยหรือบุคคลอื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน-อาคาร, การยกกรรมสิทธิ์, สิทธิครอบครอง, ข้อตกลงเพิ่มเติม, การรื้อถอนอาคาร
คำฟ้องที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่โฉนดพร้อมสิ่งปลูกสร้างอาคารพิพาท โจทก์ได้จดทะเบียนยกกรรมสิทธิ์อาคารดังกล่าวให้จำเลยทั้งสอง ต่อมาโจทก์มีความประสงค์จะขายที่ดินดังกล่าว จำเลยขัดขวางไม่ยอมรื้อถอนอาคารพิพาทออกจากที่ดินขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทออกไปจากที่ดินของโจทก์และใช้ค่าเสียหาย เป็นการฟ้องโดยอาศัยมูลละเมิดโจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้าง ย่อมมีหน้าที่นำสืบในประเด็นข้อพิพาทนี้
คำให้การของจำเลยที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยเพราะโจทก์ได้แสดงเจตนายกกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทให้จำเลยทั้งสองอยู่อาศัยตลอดชีวิต พอแปลได้ว่าเป็นข้อต่อสู้ว่านอกจากโจทก์จะยกกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทให้จำเลยแล้ว ยังมีข้อตกลงต่างหากให้จำเลยทั้งสองมีสิทธิอยู่อาศัยในอาคารพิพาท ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์ตลอดชีวิต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการอยู่อาศัยในที่ดินของผู้อื่น: การยกกรรมสิทธิ์อาคารกับการสิทธิเหนือพื้นดิน
คำฟ้องที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่โฉนดพร้อมสิ่งปลูกสร้างอาคารพิพาท โจทก์ได้จดทะเบียนยกกรรมสิทธิ์อาคารดังกล่าวให้จำเลยทั้งสอง ต่อมาโจทก์มีความประสงค์จะขายที่ดินดังกล่าว จำเลยขัดขวางไม่ยอมรื้อถอนอาคารพิพาทออกจากที่ดินขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทออกไปจากที่ดินของโจทก์และใช้ค่าเสียหาย เป็นการฟ้องโดยอาศัยมูลละเมิดโจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้าง ย่อมมีหน้าที่นำสืบในประเด็นข้อพิพาทนี้ คำให้การของจำเลยที่ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยเพราะโจทก์ได้แสดงเจตนายกกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทให้จำเลยทั้งสองอยู่อาศัยตลอดชีวิตพอแปลได้ว่าเป็นข้อต่อสู้ว่านอกจากโจทก์จะยกกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทให้จำเลยแล้ว ยังมีข้อตกลงต่างหากให้จำเลยทั้งสองมีสิทธิอยู่อาศัยในอาคารพิพาท ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์ตลอดชีวิต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งสิทธิเหนือพื้นดินต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน มิฉะนั้นไม่บริบูรณ์
การได้มาโดยนิติกรรมซึ่งสิทธิเหนือพื้นดินอันเป็นทรัพย์สิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและมิได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่บริบูรณ์ โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้โจทก์เพื่อให้เป็นทรัพยสิทธิที่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอาศัยในที่ดิน: สัญญาไม่จดทะเบียนเป็นบุคคลสิทธิ ไม่สร้างทรัพยสิทธิสมบูรณ์
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยโดย ม. เจ้าอาวาส ทำหนังสือสัญญาตกลงยอมให้โจทก์ปลูกสร้างบ้านและห้องแถวในที่ดินของจำเลยอยู่อาศัยตลอดชีวิตของโจทก์ และลูกหลานเหลนลื้อ และตกลงจะไปจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้โจทก์ตามกฎหมาย แต่ไม่ได้มีการจดทะเบียนสิทธิดังกล่าว ข้อตกลงดังกล่าวย่อมเป็นบุคคลสิทธิซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะปลูกสร้างบ้านและห้องแถวในที่ดินของจำเลยได้ตามข้อตกลงแต่ข้อกล่าวอ้างของโจทก์เป็นการกล่าวอ้างการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งสิทธิเหนือพื้นดินอันเป็นทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและมิได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่บริบูรณ์ โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้โจทก์เพื่อให้เป็นทรัพยสิทธิที่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือพื้นดินต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน การฟ้องบังคับจดทะเบียนสิทธิที่ยังไม่บริบูรณ์ทำไม่ได้
การได้มาโดยนิติกรรมซึ่งสิทธิเหนือพื้นดินอันเป็นทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและมิได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่บริบูรณ์ โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้โจทก์เพื่อให้เป็นทรัพยสิทธิที่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคแรก หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในอาคารพิพาทที่ก่อสร้างบนที่ดินของผู้อื่น แม้มีข้อตกลงให้กรรมสิทธิ์แต่ต้องจดทะเบียนจึงมีผลต่อบุคคลภายนอก
ข้อตกลงตามหนังสือก่อสร้างต่างตอบแทนว่า โจทก์ตกลงก่อสร้างอาคารพิพาทบนที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์จะได้รับกรรมสิทธิ์ในตัวอาคารพิพาทเพื่อประกอบธุรกิจสถานบันเทิงจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2545 ข้อตกลงดังกล่าวแม้มีผลทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในอาคารพิพาทตามข้อยกเว้นในเรื่องส่วนควบ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 แต่ก็เป็นเพียงบุคคลสิทธิที่อาจเรียกร้องและบังคับระหว่างกันเองได้เท่านั้น ข้อตกลงที่ให้โจทก์ได้รับกรรมสิทธิ์เหนืออาคารพิพาทเป็นทรัพย์สิทธิ์อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง โจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ทำการจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ใน อาคารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ใน อาคารพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์สินจึงไม่บริบูรณ์ ใช้ยันต่อจำเลยที่ 2 ผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนบ้านจากการขายทอดตลาดและสิทธิเหนือพื้นดิน: ผู้รับโอนไม่ต้องรื้อถอนหากมีสิทธิใช้สอยที่ดิน
จำเลยซื้อบ้านจากการขายทอดตลาดของศาลอย่างสังหาริมทรัพย์โดยจะต้องรื้อออกไป จึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 และการที่จำเลยซึ่งรับโอนบ้านมาอย่างสังหาริมทรัพย์ก็ย่อมโอนต่อให้ผู้ร้องสอดอย่างสังหาริมทรัพย์ได้เช่นเดียวกัน การที่จำเลยยกบ้านให้แก่ผู้ร้องสอดโดยเสน่หาจึงไม่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับโอนย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่มีอยู่โดยจะต้องรื้อถอนบ้านออกไปด้วย แต่เนื่องจากผู้ร้องสอดกับโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันไว้ว่ายอมให้ผู้ร้องสอดอยู่อาศัยในที่ดินของโจทก์บริเวณที่ปลูกบ้านนั้นได้ โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าที่ดินตลอดชีวิตของผู้ร้องสอด ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดิน ทำให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิใช้สอยที่ดินของโจทก์บริเวณที่ปลูกบ้านโดยไม่มีค่าตอบแทนซึ่งเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งตามมาตรา 1410 แม้การได้มาซึ่งทรัพยสิทธิของผู้ร้องสอดจะไม่ได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา1299 วรรคแรกก็ตาม แต่ก็มีผลผูกพันระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดซึ่งเป็นคู่สัญญา ดังนั้น ผู้ร้องสอดจึงมีสิทธิใช้สอยที่ดินบริเวณดังกล่าวปลูกบ้านได้ เมื่อบ้านปลูกอยู่ในที่ดินบริเวณซึ่งผู้ร้องสอดมีสิทธิเหนือพื้นดินอยู่แล้ว จึงไม่ต้องรื้อบ้านออกไป แม้การโอนบ้านระหว่างจำเลยและผู้ร้องสอดจะเป็นการโอนอย่างสังหาริมทรัพย์ในตอนแรกก็ตาม ก็เป็นคนละกรณีกับเรื่องที่ผู้ร้องสอดมีสิทธิเหนือพื้นดินต่อโจทก์ และไม่ทำให้การโอนบ้านระหว่างจำเลยกับผู้ร้องสอดกลายเป็นการโอนอสังหาริมทรัพย์ไปได้ ผู้ร้องสอดจึงไม่ต้องรื้อบ้านออกไปจากที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนบ้านสังหาริมทรัพย์และการก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดิน โดยไม่ต้องจดทะเบียน
จำเลยซื้อบ้านจากการขายทอดตลาดอย่างสังหาริมทรัพย์ซึ่งจะต้องรื้อถอนออกไป การซื้อขายในลักษณะเช่นนี้ไม่ต้องทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 และจำเลยย่อมโอนต่อให้ผู้ร้องสอดอย่างการโอนสังหาริมทรัพย์ได้เช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยยกบ้านหลังพิพาทให้ผู้ร้องสอดโดยเสน่หา จึงไม่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่โดยจะต้องรื้อถอนบ้านพิพาทออกไป
สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ยอมให้ผู้ร้องสอดอาศัยในที่ดินบริเวณที่ปลูกบ้านพิพาทได้ตลอดชีวิตของผู้ร้องสอดโดยไม่ต้องเสียค่าเช่าที่ดินมีลักษณะเป็นการก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดิน ซึ่งเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1410 แม้จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 1299 วรรคแรก ก็มีผลผูกพันระหว่างคู่สัญญา
การโอนบ้านอย่างสังหาริมทรัพย์ระหว่างจำเลยและผู้ร้องสอดเป็นคนละกรณีกันเรื่องผู้ร้องสอดมีสิทธิเหนือพื้นดินต่อโจทก์ไม่ทำให้การโอนบ้านพิพาทระหว่างจำเลยกับผู้ร้องสอดกลายเป็นการโอนอสังหาริมทรัพย์ ผู้ร้องสอดไม่ต้องรื้อบ้านพิพาทออกไปจากที่ดินโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าที่ดินเพิ่มขึ้นจากผู้เช่า กรณีบังคับคดีจำนอง: ผู้ร้องต้องเรียกร้องจากเจ้าของที่ดิน
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยผิดนัดโจทก์จึงขอให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยซึ่งจำนองไว้กับโจทก์ ผู้ร้องคัดค้านว่า ผู้ร้องเช่าที่ดินดังกล่าวจากจำเลยแล้วปลูกต้นสนในที่ดินนั้นขอให้โจทก์ใช้ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นแก่ผู้ร้อง ดังนี้โจทก์เป็นเพียงผู้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินซึ่งผู้ร้องปลูกต้นสนลงไว้หากต้นสนเป็นส่วนควบของที่ดิน โจทก์ก็มิได้เป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าว แม้ผู้ร้องปลูกต้นสนโดยสุจริต และค่าที่ดินเพิ่มขึ้นผู้ร้องก็ชอบที่จะเรียกร้องจากจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินหามีสิทธิเรียกเอาจากโจทก์ไม่อีกทั้งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ผู้เช่าที่ดินเรียกร้องเอาค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้น เพราะผู้เช่าปลูกต้นสนลงในที่ดินจากเจ้าหนี้ของเจ้าของที่ดินนอกจากนี้โจทก์มิได้นำยึดต้นสนที่ผู้ร้องปลูกในที่ดินพิพาทจึงไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้องเกี่ยวกับต้นสนที่ผู้ร้องปลูกในที่ดินดังกล่าว.
of 7