คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1410

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเพิ่มของที่ดินจากผู้เช่า กรณีบังคับคดีจากที่ดินจำนอง
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยผิดนัดโจทก์จึงขอให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยซึ่งจำนองไว้กับโจทก์ ผู้ร้องคัดค้านว่า ผู้ร้องเช่าที่ดินดังกล่าวจากจำเลยแล้วปลูกต้นสนในที่ดินนั้นขอให้โจทก์ใช้ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นแก่ผู้ร้อง ดังนี้โจทก์เป็นเพียงผู้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินซึ่งผู้ร้องปลูกต้นสนลงไว้ หากต้นสนเป็นส่วนควบของที่ดิน โจทก์ก็มิได้เป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าว แม้ผู้ร้องปลูกต้นสนโดยสุจริต และค่าที่ดินเพิ่มขึ้น ผู้ร้องก็ชอบที่จะเรียกร้องจากจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน หามีสิทธิเรียกเอาจากโจทก์ไม่อีกทั้งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ผู้เช่าที่ดินเรียกร้องเอาค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้น เพราะผู้เช่าปลูกต้นสนลงในที่ดินจากเจ้าหนี้ของเจ้าของที่ดิน นอกจากนี้โจทก์มิได้นำยึดต้นสนที่ผู้ร้องปลูกในที่ดินพิพาท จึงไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้องเกี่ยวกับต้นสนที่ผู้ร้องปลูกในที่ดินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1422-1423/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอาศัย-การซื้อขายที่ดิน: ผลของการไม่จดทะเบียนสิทธิอาศัย และการเพิกถอนการซื้อขาย
ที่พิพาทเป็นที่ดินมี น.ส.3. เดิมเมื่อ พ.ศ. 2511 บ. เคยฟ้อง ม. แล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดย บ. ยอมรับว่าที่พิพาทเป็นของ ม. และ ม. ยินยอมให้ บ. อาศัยในเรือนของ บ. ที่ปลูกในที่พิพาท และให้ใช้คอกกระบือเดิมในที่พิพาทที่เคยใช้มาแล้วต่อไป ศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแต่ บ. ไม่ได้จดทะเบียนสิทธิอาศัยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อมา พ.ศ. 2516 ม. ขายที่พิพาทให้ ช. โดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนแล้วมีคดีพิพาทกันต่อมา 2 คดี คือ คดีแรก ช. เป็นโจทก์ฟ้อง บ. เป็นจำเลยว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทจาก ม. เมื่อ พ.ศ. 2516 จำเลยได้มาปลูกคอกกระบือในที่พิพาทของโจทก์ ขอให้ขับไล่ คดีหลัง บ. เป็นโจทก์ฟ้อง ม. และ ช. ว่า ม. จดทะเบียนขายที่พิพาทให้ ช. โดยไม่มีค่าตอบแทนและไม่สุจริต ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนและให้ ม. จดทะเบียนสิทธิอาศัยให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความคดีทั้งสองขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแยกกัน ศาลฎีกามีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษารวมกันตามที่คู่ความขอ
ดังนี้ สำหรับคดีแรก การที่จำเลยให้การว่าคอกกระบือนั้นเป็นคอกกระบือเดิมที่ ม. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยใช้ต่อไปเท่ากับจำเลยปฏิเสธว่าจำเลยมิได้เข้าปลูกคอกกระบือในที่ดินของโจทก์เมื่อ พ.ศ. 2517 เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลยเสียแล้ววินิจฉัยว่า สิทธิของจำเลยได้มาตามสัญญาประนีประนอมยอมความยังมิได้จดทะเบียนไม่บริบูรณ์พิพากษาให้จำเลยรื้อคอกกระบือออกไป เป็นการงดสืบพยานไม่ชอบ แต่เมื่อคดีหลังได้มีการสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นกระแสความแล้วศาลฎีกาชอบที่จะ ไม่ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองแล้วให้สืบพยานต่อไป แต่ย่อมนำ พยานหลักฐานในคดีหลังมาวินิจฉัยได้ และเมื่อวินิจฉัยแล้วฟังไม่ได้ว่า จำเลยได้เข้าปลูกคอกกระบือในที่ดินของโจทก์เมื่อ พ.ศ. 2517 ศาลย่อม พิพากษายกฟ้องโจทก์คดีแรกเสีย
สำหรับคดีหลัง เมื่อที่พิพาทยังเป็นของ ม. อยู่ ม. จึงมีสิทธิขายให้ ช. ได้ บ. โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอนขายที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง ทั้งเมื่อ ม. ขายที่พิพาท และมอบการครอบครองให้ ช. ไปแล้วโจทก์ย่อมฟ้องขอให้บังคับ ม. ไปจดทะเบียนสิทธิตามคำพิพากษาตามยอมอีกมิได้ เพราะที่พิพาทไม่ได้เป็นของ ม. แล้วศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง คดีหลังด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เรือนบนที่ดินเป็นส่วนควบ หากต้องการแยกกรรมสิทธิ์ต้องจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินตามมาตรา 1410
เรือนปลูกในที่ดินเป็นส่วนควบของที่ดิน ถ้าจะแยกกรรมสิทธิ์ในเรือนต้องจดทะเบียนก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดินตามมาตรา 1410 จะร้องขัดทรัพย์อ้างว่าเพื่อรื้อไปไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1909-1910/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือพื้นดิน - ข้อตกลงไม่จดทะเบียน - สิทธิจำกัด - การรื้อถอน
เรือนของจำเลยอยู่ในที่ดินของโจทก์เพราะแยกกันได้มาจากเจ้าของเดิมคนเดียวกัน โจทก์ตกลงให้เรือนคงอยู่ในที่พิพาทต่อไป ข้อตกลงนี้ไม่ได้จดทะเบียน จำเลยไม่มีสิทธิเหนือพื้นดิน โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อไปได้ กรณีไม่เข้า มาตรา 1310

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือพื้นดินไม่บริบูรณ์เมื่อไม่จดทะเบียน การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในที่ดินของผู้อื่นต้องใช้สิทธิทางศาล
โจทก์ก่อสร้างตึกเต็มเนื้อที่ดินของโจทก์ แล้วทำทางเท้าและคันหินบนทางเท้าล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยซึ่งอยู่ติดกัน โดยจำเลยตกลงยินยอม ถือว่าเป็นการได้มาซึ่งสิทธิเหนือพื้นดิน อันเป็นทรัพสิทธิ เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ย่อมไม่บริบูรณ์ ครั้นต่อมาจำเลยบอกกล่าวไม่ยินยอมให้มีทางเท้าและคันหินล้ำบนที่ดินของจำเลยอีกต่อไป โจทก์ก็ไม่มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินของจำเลยได้แต่ทางเท้าและคันหินนั้นไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินจำเลย
เมื่อจำเลยบอกกล่าวให้โจทก์รื้อถอนทางเท้าและคันหินออกไปจากที่ดินของจำเลย โจทก์ไม่ยอมรื้อถอน ก็ชอบที่จำเลยจะใช้สิทธิทางศาล ไม่มีอำนาจเข้ารื้อถอนโดยพลการ เพราะไม่เข้าเกณฑ์แห่งบทบัญญัติว่าด้วยนิรโทษกรรม หากจัดการรื้อถอนเสียเอง ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือพื้นดินไม่สมบูรณ์ การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินของผู้อื่นและการละเมิด
โจทก์ก่อสร้างตึกเต็มเนื้อที่ดินของโจทก์ แล้วทำทางเท้าและคันหินบนทางเท้าล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยซึ่งอยู่ติดกัน โดยจำเลยตกลงยินยอมถือว่าเป็นการได้มาซึ่งสิทธิเหนือพื้นดิน อันเป็นทรัพยสิทธิ เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ย่อมไม่บริบูรณ์ ครั้นต่อมาจำเลยบอกกล่าวไม่ยินยอมให้มีทางเท้าและคันหินล้ำบนที่ดินของจำเลยอีกต่อไป โจทก์ก็ไม่มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินของจำเลยได้แต่ทางเท้าและคันหินนั้นไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินจำเลย
เมื่อจำเลยบอกกล่าวให้โจทก์รื้อถอนทางเท้าและคันหินออกไปจากที่ดินของจำเลย โจทก์ไม่ยอมรื้อถอน ก็ชอบที่จำเลยจะใช้สิทธิทางศาลไม่มีอำนาจเข้ารื้อถอนโดยพลการ เพราะไม่เข้าเกณฑ์แห่งบทบัญญัติว่าด้วยนิรโทษกรรม หากจัดการรื้อถอนเสียเอง ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ซึ่งจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำและการไม่รบกวนสิทธิ: การฟ้องขับไล่ซ้ำโดยอาศัยเหตุเดิมหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินซึ่งมีบ้านของจำเลยปลูกอยู่โดยอาศัยสิทธิโจทก์ โจทก์เคยฟ้องขับไล่จำเลยมาแล้วครั้งหนึ่งให้รื้อบ้านออกไป อ้างเหตุว่าจำเลยก่อความรำคาญ แต่โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมรับว่าบ้านเป็นของจำเลยโจทก์จะไม่รบกวนสิทธิของจำเลยเกี่ยวกับบ้านต่อไป ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว บัดนี้โจทก์กลับมาฟ้องขับไล่ให้จำเลยรื้อบ้านออกไปจากที่ดินอีก อ้างเหตุว่า จำเลยประพฤติตนไม่เหมาะสมโดยไม่ได้อ้างเหตุใหม่อะไรเลย ย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วในประเด็นได้วินิจฉัย โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความไว้ว่า โจทก์จะไม่รบกวนสิทธิของจำเลยเกี่ยวกับบ้านต่อไป หากจำเลยมิได้กระทำการใดๆ ขึ้นใหม่ จำเลยก็ย่อมมีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินที่โจทก์เช่าต่อไป โจทก์จะอาศัยเหตุอย่างเดียวกับที่ฟ้องจำเลยและทำสัญญาประนีประนอมยอมความไว้แล้ว มาฟ้องขับไล่จำเลยอีกมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องขับไล่ซ้ำในประเด็นที่เคยยอมความและมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินซึ่งมีบ้านของจำเลยปลูกอยู่โดยอาศัยสิทธิโจทก์โจทก์เคยฟ้องขับไล่จำเลยมาแล้วครั้งหนึ่งให้รื้อบ้านออกไปอ้างเหตุว่าจำเลยก่อความรำคาญ แต่โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมรับว่าบ้านเป็นของจำเลยโจทก์จะไม่รบกวนสิทธิของจำเลยเกี่ยวกับบ้านต่อไปซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้วบัดนี้โจทก์กลับมาฟ้องขับไล่ให้จำเลยรื้อบ้านออกไปจากที่ดินอีกอ้างเหตุว่า จำเลยประพฤติตนไม่เหมาะสมโดยไม่ได้อ้างเหตุใหม่อะไรเลย ย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วในประเด็นได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความไว้ว่า โจทก์จะไม่รบกวนสิทธิของจำเลยเกี่ยวกับบ้านต่อไป หากจำเลยมิได้กระทำการใดๆ ขึ้นใหม่ จำเลยก็ย่อมมีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินที่โจทก์เช่าต่อไป โจทก์จะอาศัยเหตุอย่างเดียวกับที่ฟ้องจำเลยและทำสัญญาประนีประนอมยอมความไว้แล้วมาฟ้องขับไล่จำเลยอีกมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำและการรื้อฟ้องคดีที่ถึงที่สุด: การฟ้องขับไล่หลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินซึ่งมีบ้านของจำเลยปลูกอยู่โดยอาศัยสิทธิโจทก์. โจทก์เคยฟ้องขับไล่จำเลยมาแล้วครั้งหนึ่งให้รื้อบ้านออกไป. อ้างเหตุว่าจำเลยก่อความรำคาญ. แต่โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมรับว่าบ้านเป็นของจำเลย. โจทก์จะไม่รบกวนสิทธิของจำเลยเกี่ยวกับบ้านต่อไป. ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว. บัดนี้โจทก์กลับมาฟ้องขับไล่ให้จำเลยรื้อบ้านออกไปจากที่ดินอีก. อ้างเหตุว่า จำเลยประพฤติตนไม่เหมาะสมโดยไม่ได้อ้างเหตุใหม่อะไรเลย. ย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วในประเด็นได้วินิจฉัย. โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำ.
โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความไว้ว่า. โจทก์จะไม่รบกวนสิทธิของจำเลยเกี่ยวกับบ้านต่อไป. หากจำเลยมิได้กระทำการใดๆ ขึ้นใหม่ จำเลยก็ย่อมมีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินที่โจทก์เช่าต่อไป. โจทก์จะอาศัยเหตุอย่างเดียวกับที่ฟ้องจำเลยและทำสัญญาประนีประนอมยอมความไว้แล้ว. มาฟ้องขับไล่จำเลยอีกมิได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 688/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในเรือนบนที่ดิน: สิทธิเหนือพื้นดินสำคัญกว่าการจดทะเบียนซื้อขายฝาก
โจทก์ซื้อเรือนพิพาทก่อนจำเลย โดยโจทก์จดทะเบียนการซื้อขายฝากต่อกรมการอำเภอ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 และประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 71 (2) ส่วนจำเลยจดทะเบียนการซื้อขายที่ดินและเรือนพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน ดังนี้ ตราบใดที่เรือนพิพาทยังปลูกอยู่บนที่ดินจำเลยซื้อมา เรือนย่อมเป็นส่วนควบกับที่ดิน การที่จะก่อตั้งกรรมสิทธิ์ในเรือนแยกออกต่างหากจากที่ดิน จะทำได้ก็โดยการก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1410 โจทก์เพียงแต่จดทะเบียนนิติกรรมซื้อขายเรือน หาได้จดทะเบียนก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดินโดยให้โจทก์เป็นเจ้าของเรือนพิพาทอันเป็นสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินไม่ จำเลยซื้อที่ดินพร้อมด้วยโรงเรือนซึ่งเป็นส่วนควบกับที่ดิน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว สิทธิของจำเลยในเรือนพิพาทจึงดีกว่าของโจทก์
เมื่อจำเลยยกประเด็นเรื่องทรัพยสิทธิ คือ สิทธิเหนือพื้นดินขึ้นสู้ในคำให้การแล้วคดีจึงมีประเด็นในเรื่องนี้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2511)
of 7