คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.สุรา พ.ศ.2475 ม. 3

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาไม่เป็นโมฆะทั้งฉบับแม้ส่วนดอกเบี้ยผิดกฎหมาย, ดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมาย
หนังสือสัญญากู้เงินท้ายฟ้องเห็นได้ว่ามีสองส่วน คือส่วนการกู้เงินกับส่วนการเรียกดอกเบี้ย ส่วนการกู้เงินไม่ผิดกฎหมายแต่ส่วนการเรียกดอกเบี้ยโจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดส่วนนี้จึงตกเป็นโมฆะ สองส่วนนี้แยกต่างหากจากกันได้โดยถือว่าคู่กรณีไม่ประสงค์จะให้ต้นเงินสูญไปด้วย ดังนั้น ต้นเงินจึงไม่ตกเป็นโมฆะ เพราะเป็นส่วนที่สมบูรณ์แยกต่างหากจากการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราซึ่งเป็นส่วนที่ไม่สมบูรณ์ สัญญากู้ไม่เป็นโมฆะทั้งฉบับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 เมื่อลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดให้คิดดอกเบี้ยได้เสมอไม่ว่าจะมีข้อตกลงให้ดอกเบี้ยกันหรือไม่ก็ตาม เพราะเป็นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยโดยผลของกฎหมายเมื่อสัญญากู้ถึงกำหนดชำระคืนในวันที่ 8 มีนาคม 2529 จำเลยไม่ชำระย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด จึงมีหน้าที่ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2529 ซึ่งเป็นวันผิดนัดเป็นต้นไป ดอกเบี้ยภายหลังจากที่จำเลยผิดนัดไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่เกิดจากหนี้เงินกู้ที่มีดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายเป็นโมฆะ
จำเลยเป็นหนี้เงินกู้โจทก์เพียง 10,000 บาท ส่วนอีก 13,800 บาทเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดอันเป็นการฝ่าฝืน พระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475มาตรา 3 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654จึงตกเป็นโมฆะ สัญญาซื้อขายที่พิพาทกำหนดราคาเท่ากับต้นเงินและดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระ จึงเกิดจากหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแม้ราคาที่กำหนดในสัญญาจะรวมเอาต้นเงินกู้ที่โจทก์มีสิทธิได้รับไว้ด้วยก็ตาม แต่โจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาจะแบ่งแยกซื้อขายที่พิพาทบางส่วนในราคาเงินต้น 10,000 บาท ที่จำเลยค้างชำระอยู่ สัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์จำเลยย่อมเป็นโมฆะทั้งฉบับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ที่แก้ไขใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2333/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา, การหักกลบลบหนี้, และขอบเขตการบังคับตามคำให้การ
เช็คพิพาทที่สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้เดิมซึ่งจำเลยกู้เงินโจทก์โดยมี ดอกเบี้ย ร้อยละ 3 ต่อเดือนรวมอยู่ในจำนวนเงินที่ลงไว้ในเช็คด้วยนั้น ดอกเบี้ยทั้งหมดย่อมตกเป็นโมฆะ เพราะวัตถุประสงค์ในการเรียกดอกเบี้ยเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเฉพาะต้นเงินเท่านั้น แม้จำเลยจะให้การและนำสืบว่าได้นำเงิน 110,000 บาท ไปเข้าบัญชีโจทก์เพื่อชำระหนี้จำนองแทนโจทก์ ก็จะถือว่าจำเลยชำระเงินกู้ยืมต่อโจทก์เป็นเงิน 110,000 บาท แล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์อีกหาได้ไม่ เพราะจำเลยมิได้กล่าวในคำให้การขอให้ศาลหักกลบลบหนี้ให้จำเลยหรือโดยการฟ้องแย้ง จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดีที่ศาลจะบังคับให้เป็นไปตามที่จำเลยให้การเช่นนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4010/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เกินกฎหมายกำหนด สัญญาดอกเบี้ยเป็นโมฆะ แต่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยผิดนัดได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมีวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืม รับจำนอง เดิม ชื่อ บริษัท ท. จำกัดต่อมาได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อ เป็นบริษัทเงินทุน ท. จำกัดโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นบริษัทเงินทุนและเป็นสถาบันการเงินตาม พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษ กรณีจึงต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 654 ที่ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปีมาปรับแก่คดี โจทก์เรียกดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยในอัตราร้อยละ 20 ต่อปีเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยจึงตก เป็นโมฆะ โจทก์ย่อมหมดสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามสัญญา แต่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยโดยเหตุผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด.