คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 32

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 28/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างค่าทำงานวันหยุดและดอกเบี้ย กรณีนายจ้างไม่ประกาศวันหยุดและผิดนัดชำระ
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า จำเลยนายจ้างได้ประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีและวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ทราบล่วงหน้าซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่า โจทก์ไม่ได้หยุดงานในวันดังกล่าวส่วนวันหยุดประจำสัปดาห์ จำเลยมิได้ปฏิเสธไว้ต้องถือว่าจำเลยสั่งให้โจทก์ทำงานในวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ โจทก์จึงมิต้องนำสืบในข้อนี้อีก จำเลยจึงต้องจ่ายเงินสำหรับวันหยุดทั้ง 3 ประเภท ดังกล่าวแก่โจทก์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานหมวด 4ข้อ 31 วรรคแรก ถ้านายจ้างผิดนัดในการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวจะมิได้กำหนดให้ลูกจ้างต้องทวงถามเสียก่อนจึงจะมีสิทธิได้ดอกเบี้ยซึ่งมีความหมายว่านายจ้างจะต้องจ่ายดอกเบี้ยทันทีที่ผิดนัดก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยผิดนัดในเรื่องดอกเบี้ยของแต่ละรายการตั้งแต่เมื่อใดและอย่างไร ทั้งยังเบิกความว่าขอเรียกดอกเบี้ยนับจากวันฟ้องเป็นต้นไป ที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องระงับจากสัญญาประนีประนอมยอมความ: ค่าล่วงเวลา/ทำงานในวันหยุดที่เกิดขึ้นก่อนทำสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับลงวันที่ 7 มีนาคม2534 มีความว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาททั้งปวงดังต่อไปนี้(1) ลูกจ้างตกลงยินยอมรับค่าชดเชยตามกฎหมายเนื่องจากบริษัทได้เลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2534 ไว้ตามจำนวนที่ตกลงกันถูกต้องแล้วในขณะทำสัญญานี้ (2) บริษัทตกลงยอมจ่ายค่าชดเชยดังกล่าว (3) ลูกจ้างยอมรับว่าการที่บริษัทได้เลิกจ้างครั้งนี้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายและเป็นธรรมแล้ว (4) ลูกจ้างสัญญาว่าจะไม่เรียกร้องหรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือเงินใด ๆ จากบริษัทอีก หมายความว่า ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาระหว่างคู่กรณีที่มีอยู่นั้น ให้ถือตามความที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับเงินใด ๆ รวมทั้งค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดที่มีข้อพิพาทกันอยู่ก่อนวันทำสัญญานี้เป็นอันระงับไปโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดในเงินดังกล่าวอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3670/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประพฤติตนไม่เหมาะสมและฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งนักการภารโรงเรียกและรับเงินจากบริษัท อ. เป็นค่าจัดการโอนย้ายและติดตั้งโทรศัพท์ตามหมายเลขของ ป. ให้แก่บริษัทดังกล่าว แล้วไม่นำเงินไปชำระแก่ ป. เป็นเหตุให้ ป. ไม่ดำเนินการโอนโทรศัพท์ให้การกระทำของโจทก์เป็นการแสวงหาผลประโยชน์จากผู้ที่จะขอใช้บริการของจำเลยโดยมิชอบและเป็นการกระทำในเรื่องที่นอกเหนือจากตำแหน่งหน้าที่ เป็นที่เสื่อมเสียและอาจเกิดความเสียหายแก่จำเลย ถือได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบปฏิบัติงานของจำเลยที่กำหนดว่าประพฤติตนไม่เหมาะสมซึ่งจำเลยมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้ และการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) อีกด้วย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2360/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลา/วันหยุดพักผ่อน: ไม่ผูกติดกับการเลิกจ้าง, ค่าพักผ่อนผูกติดกับการเลิกจ้าง
เงินค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณี เป็นเงินที่ นายจ้าง ต้องจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานนอกเวลาทำงานปกติและเพื่อตอบแทนการทำงานในวันหยุดตามประเพณี ดังนี้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ทำงานล่วงเวลาและทำงานในวันหยุดตามประเพณี โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องก็ต่อเมื่อจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์.
สิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้นตกอยู่ในบังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 แสดงว่าสิทธิเรียกร้องนี้ย่อมเกิดมีขึ้นต่อเมื่อนายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้างแล้ว ดังนี้เมื่อจำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจากจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงานและการจ่ายค่าจ้างวันหยุดตามประเพณี ลูกจ้างชั่วคราวมีสิทธิเช่นลูกจ้างประจำ
ลูกจ้างเป็นโจทก์ฟ้องนายจ้างเป็นจำเลยกล่าวหาว่าเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ขอให้รับกลับเข้าทำงานตามสภาพการจ้างเดิมต่อไป หากไม่สามารถปฏิบัติได้ก็ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย เป็นการฟ้องร้องตามนัยแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 121 คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงหาใช่เป็นการกล่าวหาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์อันเป็นการกระทำโดยไม่เป็นธรรมไม่ ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดกำหนดให้ลูกจ้างต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างใดก่อนที่จะดำเนินการในศาลแรงงาน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวที่ได้ปฏิบัติงานให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันแล้วมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 75โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานสำหรับวันหยุดตามประเพณีปีละ 13 วัน เช่นเดียวกับลูกจ้างประจำนับแต่วันทำงานที่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ค่าเสียหาย และสิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปี เมื่อศาลสั่งกลับเข้าทำงาน
ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่านายจ้างเลิกจ้างโจทก์อันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมให้นายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงาน และจ่ายค่าเสียหายให้โจทก์วันละ 70 บาท นับแต่วันเลิกจ้างจนถึง วันรับโจทก์กลับเข้าทำงาน การกำหนดค่าเสียหายดังกล่าว เป็นเรื่องค่าเสียหายทั่วไป หาใช่เป็นการกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ อันพึงต้องอยู่บังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45หมายความว่า ได้มีการเลิกจ้างโดยไม่มีสภาพการจ้างอยู่ต่อไปอีกลูกจ้างจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีจากนายจ้างได้ แต่กรณีศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมนั้นโจทก์กับนายจ้างกลับมีสภาพการเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันต่อไปทั้งนายจ้างก็ยังมีสิทธิกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์หยุดได้ตามข้อ 10 โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามข้อ 32(3) และข้อ 45

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและการเรียกร้องค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีหลังกลับเข้าทำงาน
ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่านายจ้างเลิกจ้างโจทก์อันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมให้นายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงาน และจ่ายค่าเสียหายให้โจทก์วันละ 70 บาท นับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันรับโจทก์กลับเข้าทำงาน การกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวเป็นเรื่องค่าเสียหายทั่วไป หาใช่เป็นการกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์อันพึงต้องอยู่ในบังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 หมายความว่าได้มีการเลิกจ้างโดยไม่มีสภาพการจ้างอยู่ต่อไปอีก ลูกจ้างจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีจากนายจ้างได้ แต่กรณีศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมนั้น โจทก์กับนายจ้างกลับมีสภาพการเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันต่อไปทั้งนายจ้างก็ยังมีสิทธิกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์หยุดได้ตามข้อ 10 โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามข้อ 32(3) และข้อ 45.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4023/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี ลูกจ้างทุกตำแหน่งมีสิทธิ แม้เป็นผู้บริหาร การพิจารณาต้องแยกจากวันหยุดประเภทอื่น
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯได้กำหนดไว้ตาม ข้อ 45 โดยเฉพาะมิได้เกี่ยวด้วยข้อ 36 ถึงข้อ 42ข้อ 43 และข้อ 44 ประการใด สิทธิของลูกจ้างตามข้อ 45จะเกิดมีขึ้นต่อเมื่อถูกเลิกจ้าง ซึ่งต่างกว่าค่าทำงานในวันหยุดประเภทอื่นที่ลูกจ้างอาจเรียกร้องได้ในระหว่างทำงาน ดังนั้น ตำแหน่งหน้าที่ของลูกจ้างที่เรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี จึงไม่มีเกณฑ์จำกัดสิทธิตามตำแหน่งหน้าที่ไว้ดังวันหยุดประเภทอื่น แม้โจทก์จะเป็นลูกจ้างชั้นผู้บังคับบัญชาก็มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้.