พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์หลังเกิดการลักทรัพย์ จำเลยต้องรับผิดตามสัญญา
คดีนี้โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาในทางแพ่ง ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาจึงไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในอันที่จะต้องนำมาผูกพันให้รับฟังว่าการกระทำของ บ. กับพวกเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามคำพิพากษาในคดีอาญา และคำพิพากษาในคดีอาญาดังกล่าวหาใช่คำพิพากษาที่เกี่ยวด้วยฐานะของบุคคลอันจะใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (1) วันที่ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเป็นวันที่โจทก์ถูก บ. กับพวกลักรถยนต์ไป อันเป็นวันวินาศภัย โจทก์ยื่นคำเสนอให้ระงับข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560 จึงอยู่ภายในกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคหนึ่ง อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (4) แม้อนุญาโตตุลาการจะพิจารณาแล้วชี้ขาดให้ยกคำเสนอข้อพิพาท แต่คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการยังไม่เป็นที่สุด เพราะคำชี้ขาดได้ถูกเพิกถอนไปโดยคำพิพากษาของศาลแพ่งที่ให้เพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการในเวลาต่อมา ซึ่งกระบวนการระงับข้อพิพาทควรจะย้อนกลับเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการในประเด็นอื่นที่ยังไม่ได้วินิจฉัย การที่วันที่ 20 มีนาคม 2562 อนุญาโตตุลาการปฏิเสธที่จะวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทใหม่ตามคำร้องของโจทก์ โดยเห็นว่าอำนาจของอนุญาโตตุลาการสิ้นสุดไปแล้ว จึงเป็นกรณีที่อนุญาโตตุลาการยกคำเสนอข้อพิพาทเพราะเหตุที่คดีไม่อยู่ในอำนาจของอนุญาโตตุลาการ ซึ่งต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง ประกอบมาตรา 193/18 กล่าวคือ โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่อนุญาโตตุลาการมีคำสั่ง โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2562 เป็นการฟ้องคดีภายในกำหนดเวลาตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4184/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาโตตุลาการที่ไม่เป็นธรรมในคดีผู้บริโภค: สิทธิในการฟ้องร้องต่อศาล
พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ออกใช้บังคับแก่คดีผู้บริโภคภายใต้หลักการให้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็วและเป็นธรรม เป็นบทกฎหมายที่กำหนดวิธีการระงับข้อพิพาทในคดีผู้บริโภคไว้โดยเฉพาะเพื่อให้ความคุ้มครองผู้บริโภคตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ ส่วนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการทางอนุญาโตตุลาการ แม้จะเป็นวิธีการที่คู่สัญญาอาจเลือกใช้ในการระงับข้อพิพาทและมีผลใช้บังคับกันได้ตามข้อตกลงของคู่สัญญาตามหลักเสรีภาพของการแสดงเจตนา แต่ก็ต้องเป็นข้อตกลงที่เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจของผู้บริโภคอย่างแท้จริง ผู้บริโภคต้องมีโอกาสต่อรองหรือตระหนักดีว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการซึ่งกล่าวเฉพาะคดีนี้ต้องบังคับตามข้อบังคับ สำนักงานศาลยุติธรรมว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ สถาบันอนุญาโตตุลาการ ซึ่งมีขั้นตอนและวิธีปฏิบัติแตกต่างจากบทบัญญัติของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 หลายประการ ซึ่งโดยรวมแล้วอาจเป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้บริโภคที่พึงมี แต่ขณะเดียวกันก็เป็นการลดทอนสิทธิที่ผู้บริโภคพึงได้รับตามบทบัญญัติ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 อยู่มาก โดยที่สัญญาระหว่างโจทก์กับจําเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดซึ่งต้องอยู่ในบังคับ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 6/2 กล่าวคือ แบบของสัญญาต้องเป็นไปตามที่รัฐมนตรีกำหนด การที่จําเลยผู้ประกอบธุรกิจจัดทำสัญญาเป็นแบบมาตรฐานให้ผู้บริโภคที่จะซื้อห้องชุดต้องยอมรับข้อสัญญา ข้อ 10.4 ที่บังคับให้การระงับข้อพิพาทต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการสถานเดียว โดยไม่ได้ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะใช้สิทธิทางศาลตามกฎหมายว่าด้วยการนี้โดยเฉพาะ เช่นนี้ นอกจากจะขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายในอันที่จะคุ้มครองผู้บริโภคแล้ว ยังเป็นข้อตกลงที่นอกเหนือไปจากแบบที่รัฐมนตรีกำหนดและไม่เป็นคุณต่อโจทก์ผู้จะซื้อ ซึ่งไม่มีผลใช้บังคับตามมาตรา 6/2 วรรคสอง กับมีลักษณะเป็นการเพิ่มภาระเกินกว่าที่โจทก์พึงมีตามบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องอันถือได้ว่าข้อสัญญาข้อนี้เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 4 วรรคสามด้วย กรณีจึงมีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการตามสัญญา ข้อ 10.4 ใช้บังคับไม่ได้ โจทก์ย่อมฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นได้โดยไม่จําต้องไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4183/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการที่ไม่เป็นธรรมในสัญญาสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด คุ้มครองผู้บริโภค
พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 เป็นบทกฎหมายที่กำหนดวิธีการระงับข้อพิพาทในคดีผู้บริโภคไว้โดยเฉพาะเพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภคตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ ส่วนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการทางอนุญาโตตุลาการ แม้จะเป็นวิธีการที่คู่สัญญาอาจเลือกใช้ในการระงับข้อพิพาทและมีผลใช้บังคับกันได้ตามข้อตกลงของคู่สัญญาตามหลักเสรีภาพของการแสดงเจตนา แต่ก็ต้องเป็นข้อตกลงที่เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจของผู้บริโภคอย่างแท้จริง ผู้บริโภคต้องมีโอกาสต่อรองหรือตระหนักดีว่าการดำเนินกระบวนการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการซึ่งกล่าวเฉพาะคดีนี้ต้องบังคับตามข้อบังคับสำนักงานศาลยุติธรรมว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ สถาบันอนุญาโตตุลาการ ซึ่งมีขั้นตอนและวิธีปฏิบัติแตกต่างจากบทบัญญัติของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 หลายประการ ซึ่งโดยรวมแล้วอาจเป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้บริโภคที่พึงมี แต่ขณะเดียวกันก็เป็นการลดทอนสิทธิที่ผู้บริโภคพึงได้รับตามบทบัญญัติ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 อยู่มาก โดยที่สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดซึ่งต้องอยู่ในบังคับ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 6/2 กล่าวคือ แบบของสัญญาต้องเป็นไปตามที่รัฐมนตรีกำหนด การที่จำเลยผู้ประกอบธุรกิจจัดทำสัญญาเป็นแบบมาตรฐานให้ผู้บริโภคที่จะซื้อห้องชุดต้องยอมรับข้อสัญญา ข้อ 10.4 ที่บังคับให้การระงับข้อพิพาทต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการสถานเดียว โดยไม่ได้ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะใช้สิทธิทางศาลตามกฎหมายว่าด้วยการนี้โดยเฉพาะเช่นนี้ นอกจากจะขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายในอันที่จะคุ้มครองผู้บริโภคแล้ว ยังเป็นข้อตกลงที่นอกเหนือไปจากแบบที่รัฐมนตรีกำหนดและไม่เป็นคุณต่อโจทก์ผู้จะซื้อ ซึ่งไม่มีผลใช้บังคับตามมาตรา 6/2 วรรคสอง กับมีลักษณะเป็นการเพิ่มภาระเกินกว่าที่โจทก์พึงมีตามบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องอันถือได้ว่าข้อสัญญาข้อนี้เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 4 วรรคสามด้วย กรณีจึงมีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการตามสัญญาข้อ 10.4 ใช้บังคับไม่ได้ โจทก์ย่อมฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นได้โดยไม่จำต้องไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3044/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษรวมกระทงและการลดโทษที่ถูกต้องตามกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง
คดีนี้จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน แต่ศาลชั้นต้นรวมโทษทุกกระทงแล้วจึงลดโทษให้จำเลย แทนที่จะลดโทษแต่ละกระทงแล้วจึงรวมโทษ ย่อมเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากกว่าการลดโทษแต่ละกระทงแล้วจึงรวมเข้าด้วยกัน เพราะ ป.อ. มาตรา 21 วรรคสอง บัญญัติว่า หากกำหนดโทษจำคุกเป็นเดือน ให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน แต่ถ้ากำหนดเป็นปี ให้คำนวณตามปีปฏิทินในราชการ ดังนั้น การกำหนดโทษจำคุก 12 เดือน ย่อมมีกำหนดเท่ากับ 360 วัน ซึ่งน้อยกว่าจำนวนวันตามปีปฏิทินที่อาจมีถึง 366 วันหรือ 365 วัน สุดแท้แต่ว่าจะเป็นปีอธิกสุรทินหรือปีจันทรคติ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2862/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฟอกเงินโดยสมคบกันใช้บัญชีเงินฝากเพื่อปกปิดแหล่งที่มาของเงินจากการค้ายาเสพติด
จำเลยกับพวกต่างทราบดีอยู่แล้วว่าเงินที่ต่างเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องได้มาจากการค้ายาเสพติด โดยจำเลยกับพวกสมคบกันกระทำการเพื่อโอนและรับโอนเงินที่ได้มาจากการค้ายาเสพติดนั้นด้วยเจตนาปกปิดแหล่งที่มาของเงินดังกล่าว อันเป็นการฟอกเงิน ด้วยการใช้บัญชีเงินฝากของ ท. ม. ส. อ. และ ว. เพื่อโอนและรับโอนเงิน แล้วจำเลยรวบรวมเงินที่ได้รับมาไปมอบให้แก่กลุ่มผู้ค้ายาเสพติด จึงต้องถือว่าการที่ ท. ม. ส. อ. และ ว. ฟอกเงินด้วยการโอนและรับโอนเงินที่ได้มาดังกล่าวเป็นการกระทำของจำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2700/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งวงเงินจัดซื้อเพื่อหลีกเลี่ยงการสอบราคาและเอื้อประโยชน์ผู้เสนอราคา การกระทำผิด พ.ร.บ.เสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพ ม. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 จำเลยที่ 1 ดำเนินการอนุมัติให้จัดซื้อวัสดุตามโครงการติดตั้งระบบเครือข่ายและระบบไฟฟ้าสำหรับห้องเรียนคอมพิวเตอร์ แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำนวน 6 ห้อง และให้ อ. ครูหัวหน้าแผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เป็นผู้จัดทำบันทึกขออนุญาตดำเนินการจัดซื้อวัสดุตามโครงการดังกล่าวโดยใช้งบประมาณบำรุงการศึกษา 269,950 บาท โดยแบ่งซื้อวัสดุออกเป็น 3 ครั้ง ให้อยู่ในวงเงินครั้งละไม่เกิน 100,000 บาท เพื่อให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการที่สามารถอนุมัติได้ อันเป็นการไม่ชอบด้วยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ที่แก้ไขแล้ว ที่กำหนดให้ต้องดำเนินการจัดซื้อโดยวิธีการสอบราคา แต่องค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 151 นั้น ผู้กระทำความผิดต้องเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่โดยตรงในการซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบไม่ได้ยืนยันว่าจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ๆ อย่างไร คงได้ความแต่เพียงว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้อำนวยการสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการ มีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบาย สั่งอนุญาตและอนุมัติเกี่ยวกับราชการของวิทยาลัยการอาชีพ ม. เท่านั้น ส่วนการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ อยู่ในความรับผิดชอบของงานพัสดุ และการที่จำเลยที่ 1 อนุมัติให้จัดซื้อจัดจ้างก็เป็นการเสนอขึ้นมาตามลำดับชั้นและเป็นการใช้อำนาจในฐานะผู้บังคับบัญชา ทำให้เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการจัดซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ๆ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 151 และจำเลยที่ 3 ย่อมไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดฐานนี้
ส่วนการที่จำเลยที่ 1 ดำเนินการให้มีการจัดซื้อหรือจัดจ้างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ตามโครงการติดตั้งระบบเครือข่ายและระบบไฟฟ้าสำหรับห้องเรียนคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งวงเงินที่จะซื้อออกเป็น 3 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 100,000 บาท จนทำให้อำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างเปลี่ยนไปจากวิธีสอบราคาเป็นวิธีตกลงราคา ที่เจ้าหน้าที่พัสดุสามารถติดต่อกับผู้ขายหรือผู้รับจ้างเพียงรายเดียวมาตกลงราคาได้โดยตรง และจำเลยที่ 1 ยังมีคำสั่งเจาะจงให้ซื้อจากร้าน ส. ซึ่งมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมเป็นหุ้นส่วนจึงเป็นการเอื้ออำนวยแก่ร้าน ส. ให้ได้เป็นผู้เข้าทำสัญญากับวิทยาลัยการอาชีพ ม. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ทั้งจำเลยที่ 1 ยังได้กระทำการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ข้อ 22 วรรคสอง การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงบ่งชี้ว่าเป็นการกระทำโดยมุ่งหมายมิให้มีผู้เสนอราคารายอื่นเข้ามาแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม แม้การจะจัดซื้อโดยวิธีตกลงราคากันนั้น ต้องประกอบด้วยข้อเสนอของผู้ขายและคำสนองรับของผู้ซื้อเป็นสำคัญก็ตาม ทั้งยังปรากฏด้วยว่าร้าน ส. เพียงรายเดียวที่เข้ามาตกลงราคาวิทยาลัยการอาชีพ ม. จึงถือได้ว่าร้าน ส. โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ยื่นข้อเสนอเพื่อเป็นผู้มีสิทธิเข้าทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐอันเกี่ยวกับการซื้อ ซึ่งเป็นการเสนอราคาตามบทนิยาม มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 แล้ว อีกทั้งเมื่อพิจารณาตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 7 บัญญัติว่า "ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวงหรือกระทำการโดยวิธีอื่นใดเป็นเหตุให้ผู้อื่นไม่มีโอกาสเข้าทำการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม..." องค์ประกอบหลักของความผิดตามมาตรานี้ คือ กระทำการโดยวิธีอื่นใดเป็นเหตุให้ผู้อื่นไม่มีโอกาสเข้าทำการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม แสดงให้เห็นได้ว่าความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เกิดขึ้นได้แม้จะมีผู้เสนอราคาเพียงรายเดียว โดยหาจำต้องมีผู้เสนอราคา 2 รายขึ้นไปไม่ จำเลยที่ 1 ดำเนินการแบ่งวงเงินให้อยู่ในวงเงินที่สามารถจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีตกลงราคาตามที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ข้อ 19 ที่แก้ไขแล้ว กำหนด การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการหลีกเลี่ยงที่จะไม่ให้มีผู้อื่นเข้าเสนอราคาอย่างเป็นธรรมด้วยวิธีสอบราคาเพื่อเอื้ออำนวยแก่ร้าน ส. เพียงรายเดียวให้เป็นผู้มีสิทธิเข้าทำสัญญากับวิทยาลัยการอาชีพ ม. โดยมิชอบ เป็นเหตุให้รัฐต้องเสียหาย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ส่วนจำเลยที่ 3 ที่รู้ถึงการกระทำของจำเลยที่ 1 และจัดหาวัสดุให้ในนามของร้าน ส. ที่ตนเองเป็นหุ้นส่วนอยู่ด้วย โดยจัดทำบิลส่งของนำวัสดุอุปกรณ์ตามรายการขอซื้อขอจ้าง มาส่งให้แก่วิทยาลัยการอาชีพ ม. ตามที่จำเลยที่ 1 อนุมัติให้จัดซื้อหรือจัดจ้าง การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 อันเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐกระทำการใด ๆ โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ประกอบ ป.อ. มาตรา 86
ส่วนการที่จำเลยที่ 1 ดำเนินการให้มีการจัดซื้อหรือจัดจ้างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ตามโครงการติดตั้งระบบเครือข่ายและระบบไฟฟ้าสำหรับห้องเรียนคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งวงเงินที่จะซื้อออกเป็น 3 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 100,000 บาท จนทำให้อำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างเปลี่ยนไปจากวิธีสอบราคาเป็นวิธีตกลงราคา ที่เจ้าหน้าที่พัสดุสามารถติดต่อกับผู้ขายหรือผู้รับจ้างเพียงรายเดียวมาตกลงราคาได้โดยตรง และจำเลยที่ 1 ยังมีคำสั่งเจาะจงให้ซื้อจากร้าน ส. ซึ่งมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมเป็นหุ้นส่วนจึงเป็นการเอื้ออำนวยแก่ร้าน ส. ให้ได้เป็นผู้เข้าทำสัญญากับวิทยาลัยการอาชีพ ม. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ทั้งจำเลยที่ 1 ยังได้กระทำการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ข้อ 22 วรรคสอง การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงบ่งชี้ว่าเป็นการกระทำโดยมุ่งหมายมิให้มีผู้เสนอราคารายอื่นเข้ามาแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม แม้การจะจัดซื้อโดยวิธีตกลงราคากันนั้น ต้องประกอบด้วยข้อเสนอของผู้ขายและคำสนองรับของผู้ซื้อเป็นสำคัญก็ตาม ทั้งยังปรากฏด้วยว่าร้าน ส. เพียงรายเดียวที่เข้ามาตกลงราคาวิทยาลัยการอาชีพ ม. จึงถือได้ว่าร้าน ส. โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ยื่นข้อเสนอเพื่อเป็นผู้มีสิทธิเข้าทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐอันเกี่ยวกับการซื้อ ซึ่งเป็นการเสนอราคาตามบทนิยาม มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 แล้ว อีกทั้งเมื่อพิจารณาตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 7 บัญญัติว่า "ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวงหรือกระทำการโดยวิธีอื่นใดเป็นเหตุให้ผู้อื่นไม่มีโอกาสเข้าทำการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม..." องค์ประกอบหลักของความผิดตามมาตรานี้ คือ กระทำการโดยวิธีอื่นใดเป็นเหตุให้ผู้อื่นไม่มีโอกาสเข้าทำการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม แสดงให้เห็นได้ว่าความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เกิดขึ้นได้แม้จะมีผู้เสนอราคาเพียงรายเดียว โดยหาจำต้องมีผู้เสนอราคา 2 รายขึ้นไปไม่ จำเลยที่ 1 ดำเนินการแบ่งวงเงินให้อยู่ในวงเงินที่สามารถจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีตกลงราคาตามที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ข้อ 19 ที่แก้ไขแล้ว กำหนด การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการหลีกเลี่ยงที่จะไม่ให้มีผู้อื่นเข้าเสนอราคาอย่างเป็นธรรมด้วยวิธีสอบราคาเพื่อเอื้ออำนวยแก่ร้าน ส. เพียงรายเดียวให้เป็นผู้มีสิทธิเข้าทำสัญญากับวิทยาลัยการอาชีพ ม. โดยมิชอบ เป็นเหตุให้รัฐต้องเสียหาย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ส่วนจำเลยที่ 3 ที่รู้ถึงการกระทำของจำเลยที่ 1 และจัดหาวัสดุให้ในนามของร้าน ส. ที่ตนเองเป็นหุ้นส่วนอยู่ด้วย โดยจัดทำบิลส่งของนำวัสดุอุปกรณ์ตามรายการขอซื้อขอจ้าง มาส่งให้แก่วิทยาลัยการอาชีพ ม. ตามที่จำเลยที่ 1 อนุมัติให้จัดซื้อหรือจัดจ้าง การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 อันเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐกระทำการใด ๆ โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ประกอบ ป.อ. มาตรา 86
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2278/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง: การชำระค่าจ้าง, การตรวจรับงาน, การแก้ไขข้อบกพร่อง, และการเลิกสัญญาโดยปริยาย
การสั่งแก้ไขข้อบกพร่องของงานย่อมต้องระบุรายการของงานและข้อที่อ้างว่าเป็นความบกพร่องเพื่อที่คู่สัญญาจะได้นําไปพิจารณาแก้ไข และที่สัญญากำหนดให้การสั่งแก้ไขข้อบกพร่องของงานให้กระทำโดยจําเลยมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรก็ด้วยเจตนาให้เป็นหลักฐานชัดเจนเพื่อป้องกันการโต้แย้งกันที่อาจจะเกิดขึ้นได้ภายหลัง การทำคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงโจทก์ตามสัญญาจึงย่อมหมายถึงการส่งคำสั่งเป็นหนังสือให้ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างคู่สัญญา ส่วนการส่งข้อความสนทนากันทางแอปพลิเคชันไลน์ หากจะให้ถือเป็นการออกคำสั่งในการแก้ไขงาน ก็ต้องปรากฏทางปฏิบัติที่ชัดแจ้งว่า คู่สัญญาประสงค์ให้ใช้คำสั่งเช่นนั้นได้
โจทก์ทำงานไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดตามสัญญา แต่เมื่อโจทก์ส่งมอบงานแก่จําเลยแล้ว พนักงานของจําเลยก็จัดทำใบขอให้จ่ายเงินเพื่อเสนอจําเลยให้อนุมัติจ่ายเงินแก่โจทก์ แต่จําเลยอ้างเพียงว่าโจทก์ทำงานบกพร่องจึงยังไม่ชําระเงินโดยไม่โต้แย้งเรื่องการทำงานไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา พฤติการณ์ตามที่ปฏิบัติต่อกันดังกล่าวแสดงว่า โจทก์และจําเลยมิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ ดังนั้น การที่โจทก์ทำงานไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์ส่งมอบงานแก่จําเลยแล้ว แต่จําเลยไม่ตรวจรับมอบงานตามสัญญา หรือจําเลยมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์แก้ไขงานที่ตรวจรับแล้วพบว่ามีความบกพร่องและจําเลยไม่ชําระค่างานแก่โจทก์ตามสัญญา โดยที่สัญญาว่าจ้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์ย่อมมีสิทธิบรรเทาความเสียหายด้วยการไม่ทำงานในงวดต่อไปได้ หากไม่ได้รับค่าจ้างตามผลงานที่เกิดขึ้นจริง ส่วนการที่จําเลยต้องว่าจ้างบริษัท อ. เข้าดำเนินการแทนก็เป็นเหตุอันเนื่องมาจากจําเลยเป็นฝ่ายไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ตามผลงานที่เกิดขึ้นจริงก่อน โจทก์จึงมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ในส่วนการริบเงินประกันนั้น ตามสัญญากำหนดว่าหากเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งตามที่ระบุไว้ จําเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรแก่โจทก์ และเมื่อบอกเลิกสัญญาแล้วจําเลยจึงจะมีสิทธิริบเงินประกันหรือหลักประกันที่โจทก์มอบให้ไว้แก่จําเลยได้ตามสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจําเลยบอกเลิกสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว จําเลยจึงไม่มีสิทธิริบเงินประกันผลงานของโจทก์ตามสัญญา แต่เมื่อต่อมาปรากฏว่าโจทก์ไม่เข้าทำงานในงวดต่อ ๆ ไปให้แล้วเสร็จตามสัญญา ส่วนจําเลยก็ไม่ชําระค่าจ้างและได้ว่าจ้างบุคคลภายนอกเข้าทำงานแทนเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจําเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย โจทก์และจําเลยต่างต้องคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง
โจทก์ทำงานไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดตามสัญญา แต่เมื่อโจทก์ส่งมอบงานแก่จําเลยแล้ว พนักงานของจําเลยก็จัดทำใบขอให้จ่ายเงินเพื่อเสนอจําเลยให้อนุมัติจ่ายเงินแก่โจทก์ แต่จําเลยอ้างเพียงว่าโจทก์ทำงานบกพร่องจึงยังไม่ชําระเงินโดยไม่โต้แย้งเรื่องการทำงานไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา พฤติการณ์ตามที่ปฏิบัติต่อกันดังกล่าวแสดงว่า โจทก์และจําเลยมิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ ดังนั้น การที่โจทก์ทำงานไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์ส่งมอบงานแก่จําเลยแล้ว แต่จําเลยไม่ตรวจรับมอบงานตามสัญญา หรือจําเลยมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์แก้ไขงานที่ตรวจรับแล้วพบว่ามีความบกพร่องและจําเลยไม่ชําระค่างานแก่โจทก์ตามสัญญา โดยที่สัญญาว่าจ้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์ย่อมมีสิทธิบรรเทาความเสียหายด้วยการไม่ทำงานในงวดต่อไปได้ หากไม่ได้รับค่าจ้างตามผลงานที่เกิดขึ้นจริง ส่วนการที่จําเลยต้องว่าจ้างบริษัท อ. เข้าดำเนินการแทนก็เป็นเหตุอันเนื่องมาจากจําเลยเป็นฝ่ายไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ตามผลงานที่เกิดขึ้นจริงก่อน โจทก์จึงมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ในส่วนการริบเงินประกันนั้น ตามสัญญากำหนดว่าหากเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งตามที่ระบุไว้ จําเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรแก่โจทก์ และเมื่อบอกเลิกสัญญาแล้วจําเลยจึงจะมีสิทธิริบเงินประกันหรือหลักประกันที่โจทก์มอบให้ไว้แก่จําเลยได้ตามสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจําเลยบอกเลิกสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว จําเลยจึงไม่มีสิทธิริบเงินประกันผลงานของโจทก์ตามสัญญา แต่เมื่อต่อมาปรากฏว่าโจทก์ไม่เข้าทำงานในงวดต่อ ๆ ไปให้แล้วเสร็จตามสัญญา ส่วนจําเลยก็ไม่ชําระค่าจ้างและได้ว่าจ้างบุคคลภายนอกเข้าทำงานแทนเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจําเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย โจทก์และจําเลยต่างต้องคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1755/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดรถยนต์ของกลาง ผู้ขายต้องส่งมอบรถยนต์สภาพพร้อมใช้งานตามกฎหมาย หากไม่สามารถจดทะเบียนได้ถือเป็นผิดสัญญา
ก่อนนำรถยนต์ของกลางออกขายทอดตลาด จำเลยปฏิบัติตามประมวลระเบียบปฏิบัติศุลกากร พ.ศ. 2556 ข้อ 1 3 4 22 ที่กำหนดให้ตรวจสอบรถยนต์ที่ตรวจยึดทุกคันไม่ว่าจะมีผู้ต้องหาหรือไม่ก็ตามจาก 6 หน่วยงานแล้ว ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับกรมการขนส่งทางบกนั้น จำเลยมีหนังสือถึงกรมการขนส่งทางบกขอความร่วมมือตรวจสอบรถยนต์ของกลางที่จะประมูลขายทอดตลาดว่าสามารถจดทะเบียนได้หรือไม่ โดยหากกรมการขนส่งทางบกพบว่ารถคันใดมีปัญหาในการที่จะนำไปจดทะเบียน ขอให้กรมการขนส่งทางบกแจ้งให้จำเลยทราบพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2559 ต่อมากรมการขนส่งทางบกได้แจ้งผลการตรวจสอบรถยนต์ที่จะประมูลดังกล่าวตามหนังสือของกรมการขนส่งทางบก ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2559 ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวกรมการขนส่งทางบกได้ส่งผลการตรวจสอบรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของกลางที่จะประมูลขายทอดตลาด 343 คัน โดยแบ่งออกเป็น 1. รายการรถที่สามารถจดทะเบียนได้ 3 คัน 2. รายการรถที่ไม่สามารถจดทะเบียนได้ 1 คัน 3. รายการรถที่มีการตรวจสอบพบว่ามีการส่งบัญชีรับและจำหน่ายเครื่องรถยนต์ไว้ จึงไม่สามารถตรวจสอบยืนยันแหล่งที่มาของรถได้ 70 คัน และ 4. รายการรถที่ตรวจสอบแล้วไม่พบข้อมูลใด ๆ จึงไม่สามารถตรวจสอบยืนยันแหล่งที่มาของรถได้อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งรถยนต์ของกลางอยู่ในรายการที่ 3 คือตรวจสอบพบว่ามีการส่งบัญชีรับและจำหน่ายเครื่องยนต์ไว้ จึงไม่สามารถตรวจสอบยืนยันแหล่งที่มาของรถได้ แสดงให้เห็นว่า กรมการขนส่งทางบกเองก็มิได้ยืนยันว่ารถยนต์ของกลางสามารถจดทะเบียนได้ดังเช่นรถในรายการที่ 1 การที่จำเลยอ้างตามฎีกาว่า กฎกระทรวงงดรับจดทะเบียนรถที่ประกอบจากชิ้นส่วนของรถที่ใช้แล้วที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ พ.ศ. 2556 ระบุไว้เพียงแค่ชิ้นส่วนที่เป็นตัวถังรถ โครงคัสซี หรือ แชสซี (Chassis) รถหรือโครงรถจักรยานยนต์เท่านั้น มิได้ระบุส่วนของเครื่องยนต์อันเป็นชิ้นส่วนของรถที่ใช้แล้วที่นำเข้ามาจากต่างประเทศที่จะนำมาประกอบการงดรับจดทะเบียนตามข้อ 1 ของกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว รถยนต์ของกลางมีการส่งบัญชีรับและจำหน่ายเครื่องยนต์ มิได้มีการส่งบัญชีตัวถังรถ โครงคัสซีรถและโครงรถจักรยานยนต์ ดังนั้น รถยนต์ของกลางจึงไม่ตกอยู่ในบังคับของกฎกระทรวงงดรับจดทะเบียนรถที่ประกอบจากชิ้นส่วนของรถที่ใช้แล้วที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ พ.ศ. 2556 และคณะกรรมการกฤษฎีกาเคยมีคำวินิจฉัยว่าสินค้าที่นำเข้ามาโดยไม่มีใบอนุญาตซึ่งถูกริบตกเป็นของแผ่นดิน ไม่ถือว่าเป็นสินค้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากได้ตกเป็นของแผ่นดินไปแล้ว ถ้าจำเลยนำสินค้าดังกล่าวออกขายทอดตลาด ผู้ซื้อไปจากการขายทอดตลาดไม่ต้องขออนุญาตนำเข้าอีกเพราะมิได้เป็นผู้นำเข้า การที่จำเลยนำรถยนต์ของกลางขายทอดตลาดและออกเอกสารประกอบการขอจดทะเบียนจึงเป็นการกระทำภายใต้ความเชื่อโดยสุจริตว่ารถยนต์ของกลางสามารถนำไปจดทะเบียนได้นั้น จึงเป็นเพียงความเห็นของจำเลยแต่เพียงฝ่ายเดียว เมื่อจำเลยทราบอยู่แล้วว่ารถยนต์ของกลางยังไม่ได้รับการยืนยันจากกรมการขนส่งทางบกว่าจดทะเบียนได้หรือไม่ แต่กลับนำออกขายทอดตลาด โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งให้ผู้เข้าประมูลรวมถึงโจทก์ทราบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวก่อนการประมูล นอกจากนี้ เมื่อพิเคราะห์ประกาศส่วนกลาง สำนักสืบสวนและปราบปราม ที่ 5/2559 เรื่อง ประมูลขายทอดตลาดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของกลาง วันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2559 และบัญชีรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของกลางที่จะทำการขายทอดตลาดในวันที่ 23 สิงหาคม 2559 ที่มีรายละเอียดของรถยนต์ของกลางแล้ว ได้ความจาก ว. พนักงานจำเลย เบิกความตอบคำถามค้านทนายโจทก์ว่า ตามเอกสารดังกล่าวรถยนต์ของกลางมิได้มีการระบุในช่องหมายเหตุ 1 ว่า "ไม่ออกแบบที่ 32" ซึ่งหมายความว่ารถยนต์ของกลางสามารถจดทะเบียนได้ ย่อมทำให้ผู้เข้าร่วมประมูลรวมทั้งโจทก์ที่อ่านประกาศดังกล่าวเข้าใจได้ว่ารถยนต์ของกลางสามารถจดทะเบียนได้ เมื่อต่อมารถยนต์ของกลางไม่สามารถจดทะเบียนได้ จึงถือได้ว่าจำเลยในฐานะผู้ขายไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ที่มีสภาพเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติตามวิสัยของการใช้ทรัพย์แก่โจทก์ในฐานะผู้ซื้อ เนื่องจากผู้ซื้อรถยนต์ย่อมต้องการใช้รถยนต์ที่สามารถจดทะเบียนได้ตามกฎหมาย จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1266/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทซื้อขายสินค้าเงินเชื่อ: ศาลฎีกาพิพากษายืนยกฟ้องโจทก์ เหตุพยานหลักฐานโจทก์ไม่น่าเชื่อถือ
แม้จําเลยยกข้อต่อสู้ในคำให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัย โดยวินิจฉัยประเด็นอื่นและพิพากษาให้จําเลยที่ 1 เป็นฝ่ายแพ้คดี จําเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคําพิพากษาศาลชั้นต้นที่ไม่วินิจฉัยประเด็นฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมมาด้วยนั้น ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คดีไม่มีประเด็นฟ้องโจทก์เคลือบคลุมในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246 ปัญหาการวินิจฉัยนอกประเด็นดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์ไม่ยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คดีก่อนจําเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้กับพวกรวม 9 คน เป็นจําเลย เรียกเงินตามสัญญาซื้อขายส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจําเลยทั้งสองเรียกเงินที่ได้ชําระแก่จําเลยที่ 1 ก่อนมีการทำสัญญาซื้อขายฉบับที่มี การฟ้องร้องกันในคดีก่อน ทั้งจําเลยทั้งสองให้การในคดีนี้ว่าโจทก์ไม่จ่ายเงินตามสัญญา ดังนี้ ประเด็นในคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคนละประเด็น จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนจําเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้กับพวกรวม 9 คน เป็นจําเลย เรียกเงินตามสัญญาซื้อขายส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจําเลยทั้งสองเรียกเงินที่ได้ชําระแก่จําเลยที่ 1 ก่อนมีการทำสัญญาซื้อขายฉบับที่มี การฟ้องร้องกันในคดีก่อน ทั้งจําเลยทั้งสองให้การในคดีนี้ว่าโจทก์ไม่จ่ายเงินตามสัญญา ดังนี้ ประเด็นในคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคนละประเด็น จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายกรมธรรม์ประกันภัย: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาให้จำเลยชดใช้ผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ พร้อมดอกเบี้ยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนประกันชีวิตของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2 เข้าไปติดต่อกับครอบครัวของโจทก์ทั้งสอง จนครอบครัวโจทก์ทั้งสองทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 รวม 9 ฉบับ โดยจำเลยที่ 2 กับสมาชิกในทีมดำเนินการให้โจทก์ทั้งสองกับครอบครัวทำใบคำขอเอาประกันชีวิตยื่นต่อจำเลยที่ 1 รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยที่ 1 ออกใบรับเงินชั่วคราวแทนจำเลยที่ 1 และเป็นผู้นำกรมธรรม์ประกันภัยทั้ง 9 ฉบับ ที่จำเลยที่ 1 ออกให้ มามอบให้แก่โจทก์ทั้งสองและครอบครัว เมื่อจำเลยที่ 2 แจ้งแก่โจทก์ทั้งสองว่า สามารถเปลี่ยนแบบกรมธรรม์ใหม่ ทุนประกันเท่าเดิม แต่จะได้รับความคุ้มครองที่ดีกว่าเดิม ย่อมเป็นเหตุอันสมควรที่ทำให้โจทก์ทั้งสองเชื่อโดยสนิทใจว่าเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ และถือได้ว่าเป็นการกระทำภายในขอบอำนาจตัวแทนประกันชีวิตที่จำเลยที่ 1 มอบหมาย แม้การกระทำของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว พนักงานอัยการจะฟ้องเป็นคดีอาญา และศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดจนคดีถึงที่สุดไปแล้ว แต่คดีดังกล่าวจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นคู่ความด้วย ทั้งการฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นตัวแทนประกันชีวิตของจำเลยที่ 1 ประเด็นในคดีนี้จึงมีว่า จำเลยที่ 2 กระทำการดังกล่าวในฐานะที่เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 หรือไม่ ประเด็นข้อพิพาทจึงต่างจากคดีอาญา ไม่จำต้องถือเอาข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 หลอกลวงโจทก์ทั้งสองให้ลงลายมือชื่อในหนังสือบอกกล่าวเวนคืนกรมธรรม์เพื่อขอเวนคืนกรมธรรม์และขอรับเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ และนำไปยื่นต่อจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 อนุมัติ ก็รับเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์และออกใบรับเงินชั่วคราวในนามของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ทั้งสองเพื่อเป็นหลักฐานการรับชำระค่าเบี้ยประกันภัยสำหรับการเปลี่ยนแบบหรือซื้อกรมธรรม์ประกันภัยแบบใหม่ตามที่เสนอขายแก่โจทก์ทั้งสอง แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 จะเบียดบังเอาเงินดังกล่าวไปและไม่ส่งมอบแก่จำเลยที่ 1 ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ต้องไปว่ากล่าวเอากับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทน หาเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากความรับผิดต่อบุคคลภายนอกในฐานะตัวการไม่ จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการจึงต้องผูกพันและรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองในการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ได้กระทำไปภายในขอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 820 และ พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 70/1 ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบ ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7
แม้ตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 71 วรรคสอง ตัวแทนประกันชีวิตไม่อาจทำสัญญาประกันชีวิตในนามบริษัท และมีผลให้การชักชวนของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่คำเสนอในการทำสัญญาประกันชีวิต แต่การชักชวนให้โจทก์ทั้งสองเปลี่ยนหรือซื้อกรมธรรม์ประกันภัยแบบใหม่โดยเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยเดิม เพื่อนำเงินมาชำระเป็นเบี้ยประกันภัย เป็นการก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ถือเป็นคำเสนออย่างหนึ่ง เมื่อโจทก์ทั้งสองตกลงจึงเป็นคำสนองและเกิดสัญญาต่างตอบแทนขึ้น โดยโจทก์ทั้งสองเมื่อได้รับเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์แล้ว ก็ต้องชำระเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยใหม่ ส่วนจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องออกกรมธรรม์ประกันภัยแบบเดิมให้แก่โจทก์ทั้งสองตามที่จำเลยที่ 2 ให้สัญญาไว้ เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องในกรณีดังกล่าวไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 โดยโจทก์ทั้งสองอาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยที่ 1 ได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ทั้งสองได้รับเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์และส่งมอบแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 จนครบถ้วน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ได้รับเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยทั้ง 4 ฉบับ ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2549 เมื่อนับถึงวันฟ้องคือวันที่ 14 กรกฎาคม 2559 ฟ้องโจทก์ทั้งสองสำหรับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ขาดอายุความ
เมื่อสัญญาต่างตอบแทนมีสภาพบังคับได้และมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการ โจทก์ทั้งสองย่อมมีคำขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามคำขอท้ายฟ้องได้ อย่างไรก็ดีเมื่อนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ กรมธรรม์ 2 ฉบับแรก จะครบกำหนดความคุ้มครองแล้ว ส่วนกรมธรรม์อีก 2 ฉบับ แม้จะยังไม่ครบกำหนด แต่เมื่อนับถึงวันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา กรรมธรรม์อีก 2 ฉบับ ก็จะครบกำหนดความคุ้มครองแล้วเช่นกัน น่าเชื่อว่าการที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ก็เพื่อที่จะเรียกร้องเอาผลประโยชน์ที่โจทก์ทั้งสองควรจะได้รับหากโจทก์ทั้งสองถือกรมธรรม์พิพาททั้ง 4 ฉบับ ไว้จนครบกำหนดแล้วเป็นสำคัญ จึงเห็นควรกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสองเท่ากับผลประโยชน์ที่โจทก์ทั้งสองควรจะได้รับหากกรมธรรม์ทั้ง 4 ฉบับ ยังคงมีผลใช้บังคับ อันเป็นการกำหนดค่าเสียหายเต็มตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสองแล้ว กรณีย่อมไม่จำเป็นต้องบังคับตามคำขอของโจทก์ทั้งสองที่ให้จำเลยที่ 1 ออกกรมธรรม์พิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้แก่โจทก์ทั้งสองอีกต่อไป
ศาลฎีกากำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสองในคดีนี้เท่ากับผลประโยชน์ที่โจทก์ทั้งสองควรจะได้รับหากไม่มีการเวนคืนกรมธรรม์พิพาททั้ง 4 ฉบับ แล้ว เพื่อไม่ให้เป็นการซ้ำซ้อนกับคำพิพากษาในคดีอาญาที่ให้จำเลยที่ 2 คืนเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์แก่โจทก์ทั้งสอง ดังนั้น หากโจทก์ทั้งสองได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาดังกล่าวเพียงใด ก็ให้นำมาหักกับค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองในคดีนี้
แม้ตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 71 วรรคสอง ตัวแทนประกันชีวิตไม่อาจทำสัญญาประกันชีวิตในนามบริษัท และมีผลให้การชักชวนของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่คำเสนอในการทำสัญญาประกันชีวิต แต่การชักชวนให้โจทก์ทั้งสองเปลี่ยนหรือซื้อกรมธรรม์ประกันภัยแบบใหม่โดยเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยเดิม เพื่อนำเงินมาชำระเป็นเบี้ยประกันภัย เป็นการก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ถือเป็นคำเสนออย่างหนึ่ง เมื่อโจทก์ทั้งสองตกลงจึงเป็นคำสนองและเกิดสัญญาต่างตอบแทนขึ้น โดยโจทก์ทั้งสองเมื่อได้รับเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์แล้ว ก็ต้องชำระเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยใหม่ ส่วนจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องออกกรมธรรม์ประกันภัยแบบเดิมให้แก่โจทก์ทั้งสองตามที่จำเลยที่ 2 ให้สัญญาไว้ เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องในกรณีดังกล่าวไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 โดยโจทก์ทั้งสองอาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยที่ 1 ได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ทั้งสองได้รับเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์และส่งมอบแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 จนครบถ้วน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ได้รับเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยทั้ง 4 ฉบับ ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2549 เมื่อนับถึงวันฟ้องคือวันที่ 14 กรกฎาคม 2559 ฟ้องโจทก์ทั้งสองสำหรับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ขาดอายุความ
เมื่อสัญญาต่างตอบแทนมีสภาพบังคับได้และมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการ โจทก์ทั้งสองย่อมมีคำขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามคำขอท้ายฟ้องได้ อย่างไรก็ดีเมื่อนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ กรมธรรม์ 2 ฉบับแรก จะครบกำหนดความคุ้มครองแล้ว ส่วนกรมธรรม์อีก 2 ฉบับ แม้จะยังไม่ครบกำหนด แต่เมื่อนับถึงวันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา กรรมธรรม์อีก 2 ฉบับ ก็จะครบกำหนดความคุ้มครองแล้วเช่นกัน น่าเชื่อว่าการที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ก็เพื่อที่จะเรียกร้องเอาผลประโยชน์ที่โจทก์ทั้งสองควรจะได้รับหากโจทก์ทั้งสองถือกรมธรรม์พิพาททั้ง 4 ฉบับ ไว้จนครบกำหนดแล้วเป็นสำคัญ จึงเห็นควรกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสองเท่ากับผลประโยชน์ที่โจทก์ทั้งสองควรจะได้รับหากกรมธรรม์ทั้ง 4 ฉบับ ยังคงมีผลใช้บังคับ อันเป็นการกำหนดค่าเสียหายเต็มตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสองแล้ว กรณีย่อมไม่จำเป็นต้องบังคับตามคำขอของโจทก์ทั้งสองที่ให้จำเลยที่ 1 ออกกรมธรรม์พิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้แก่โจทก์ทั้งสองอีกต่อไป
ศาลฎีกากำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสองในคดีนี้เท่ากับผลประโยชน์ที่โจทก์ทั้งสองควรจะได้รับหากไม่มีการเวนคืนกรมธรรม์พิพาททั้ง 4 ฉบับ แล้ว เพื่อไม่ให้เป็นการซ้ำซ้อนกับคำพิพากษาในคดีอาญาที่ให้จำเลยที่ 2 คืนเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์แก่โจทก์ทั้งสอง ดังนั้น หากโจทก์ทั้งสองได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาดังกล่าวเพียงใด ก็ให้นำมาหักกับค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองในคดีนี้