พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3723/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่รับเงินจากผู้สมัครงาน ถือเป็นการประพฤติชั่วและจงใจทำให้องค์กรเสียหาย
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย แม้โจทก์จะไม่มีอำนาจหน้าที่ในการรบบุคคลภายนอกเข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยก็ตามแต่การที่โจทก์เรียกและรับเงินจาก พ.กับว.ผู้สมัครเข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลย ทำให้เห็นได้ว่าโจทก์อาศัยตำแหน่งความเป็นลูกจ้างไปแอบอ้างผลประโยชน์จากบุคคลภายนอกทำให้บุคคลภายนอกเข้าใจว่าการเข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยจะต้องมีการวิ่งเต้นเสียเงินตอบแทน ทำให้จำเลยเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง เป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ มิใช่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์อีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4072/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: การพิจารณาความถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของบริษัทและการจ่ายค่าชดเชย
การที่โจทก์ยินยอมมาทำงานในวันเสาร์ซึ่งเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ และมีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานนั้น โจทก์ย่อมมีหน้าที่ปฏิบัติงานตามคำสั่งของจำเลยและต้องอยู่ในบังคับของระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำำานของจำเลยด้วย
ระเบียบข้อบังคับของจำเลยระบุว่า 'บุคคลที่ถูกลงโทษโดยตักเตือนด้วยวาจาหรือตักเตือนด้วยหนังสือ หรือทำหนังสือทัณฑ์บนได้แก่ผู้ที่กระทำผิดในสถานเบา ผู้ที่ได้รับการลงโทษดังกล่าวรวม 3 ครั้ง บริษัทฯ จะถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับและจะพิจารณาลงโทษในสถานหนักตามที่เห็นสมควร' ดังนี้จำเลยจะอาศัยความข้อนี้เลิกจ้างโจทก์ได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ได้รับการลงโทษด้วยการตักเตือนมาก่อนแล้วรวม 3 ครั้ง
โจทก์ละทิ้งหน้าที่มาแล้ว 2 ครั้ง และถูกตักเตือนเป็นหนังสือแล้วทั้งสองครั้ง ต่อมาโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นครั้งที่ 3ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยมีสิทธิลงโทษโจทก์ด้วยการตักเตือนอีกได้ เช่นนี้ แม้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) จะให้สิทธิแก่นายจ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยก็ตาม แต่เมื่อระเบียบข้อบังคับดังกล่าวเป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งจำเลยจะต้องถือปฏิบัติตาม จำเลยจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชย แต่จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583.
ระเบียบข้อบังคับของจำเลยระบุว่า 'บุคคลที่ถูกลงโทษโดยตักเตือนด้วยวาจาหรือตักเตือนด้วยหนังสือ หรือทำหนังสือทัณฑ์บนได้แก่ผู้ที่กระทำผิดในสถานเบา ผู้ที่ได้รับการลงโทษดังกล่าวรวม 3 ครั้ง บริษัทฯ จะถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับและจะพิจารณาลงโทษในสถานหนักตามที่เห็นสมควร' ดังนี้จำเลยจะอาศัยความข้อนี้เลิกจ้างโจทก์ได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ได้รับการลงโทษด้วยการตักเตือนมาก่อนแล้วรวม 3 ครั้ง
โจทก์ละทิ้งหน้าที่มาแล้ว 2 ครั้ง และถูกตักเตือนเป็นหนังสือแล้วทั้งสองครั้ง ต่อมาโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นครั้งที่ 3ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยมีสิทธิลงโทษโจทก์ด้วยการตักเตือนอีกได้ เช่นนี้ แม้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) จะให้สิทธิแก่นายจ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยก็ตาม แต่เมื่อระเบียบข้อบังคับดังกล่าวเป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งจำเลยจะต้องถือปฏิบัติตาม จำเลยจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชย แต่จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583.