คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพศาล เจริญวุฒิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 420 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3329/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาล - รวมมูลหนี้ที่เกี่ยวข้อง - สัญญาซื้อขายลดตั๋วเงิน - ศาลเรียกเก็บเกิน
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทสถาบันการเงินประกอบธุรกิจปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกค้าซึ่งทำได้หลายวิธี ไม่ว่าโดยให้กู้ยืม ให้เบิกเงินเกินบัญชี ซื้อขายลดตั๋วเงินหรือโดยประการอื่นที่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์อื่นการที่จำเลยทำสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์ 3 ฉบับ ต่างคราวกัน แล้วผิดสัญญา มูลหนี้ตามสัญญาและตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสามฉบับเป็นมูลหนี้ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างเดียวกันซึ่งสามารถรวมพิจารณาเข้าด้วยกัน โจทก์จึงนำมารวมกันเป็นจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ เมื่อโจทก์ชำระค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในอัตราสูงสุดตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ (1)(ก) จึงชอบแล้ว การที่ศาลชั้นต้นเรียกให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มโดยแยกมูลหนี้ตามสัญญาหรือตามตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับจึงเป็นการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเกินกว่าที่จะต้องเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3279/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งความสุจริตในการซื้อบ้านจากการขายทอดตลาด เป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากบ้านโจทก์ ซึ่งแม้จะไม่ปรากฏในสำนวนว่า ขณะที่ยื่นคำฟ้องบ้านพิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท หรือไม่ แต่ก็ได้ความตามคำฟ้องว่าโจทก์ซื้อบ้านพิพาทจากการขายทอดตลาดในราคา 35,000 บาทโดยไม่ปรากฏว่าบ้านพิพาทอยู่ในทำเลการค้าอันจะทำให้ค่าเช่าบ้านสูงเป็นพิเศษแต่อย่างใด เชื่อได้ว่าบ้านดังกล่าวอาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ฉะนั้น การที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ซื้อบ้านพิพาทโดยไม่สุจริต จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3257/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง แม้เป็นฎีกาข้อปลีกย่อยก็ต้องห้ามเพื่อป้องกันการประวิงคดี
การฎีกาคำสั่งขอขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ในคดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น แม้จะไม่ใช่ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีก็ต้องตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดผลที่ไม่ควรจะเป็น กล่าวคือหากฎีกาในเนื้อหาของคดีกลับต้องห้าม แต่ฎีกาข้อปลีกย่อยกลับฎีกาได้ซึ่งเป็นช่องทางก่อให้เกิดการประวิงคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยขึ้นมานั้น จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3257/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ไม่ใช่เนื้อหาคดีก็ต้องห้าม เพื่อป้องกันการประวิงคดี
การฎีกาคำสั่งขอขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ในคดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น แม้จะไม่ใช่ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีก็ต้องตกอยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดผลที่ไม่ควรจะเป็น กล่าวคือ หากฎีกาในเนื้อหาของคดีกลับต้องห้าม แต่ฎีกาข้อปลีกย่อยกลับฎีกาได้ซึ่งเป็นช่องทางก่อให้เกิดการประวิงคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยขึ้นมานั้น จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3257/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท แม้เป็นฎีกาคัดค้านการใช้ดุลพินิจ
คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง แม้ฎีกาของจำเลยจะไม่ใช่ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดี เป็นฎีกาคัดค้านเรื่องการใช้ดุลพินิจของศาลล่างทั้งสองที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาในวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงก็ต้องตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 248 เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3255/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายต้องมีการส่งมอบทรัพย์สินและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์จึงจะสมบูรณ์ หากยังไม่ส่งมอบถือเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย
สัญญาซื้อขายระบุชื่อสัญญาว่าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายแต่เนื้อหาข้อตกลงในสัญญา ซึ่งตกลงกันว่าในระหว่างที่ผู้ขายยังไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อให้ถือว่ายังไม่มีการซื้อขายแสดงว่าก่อนส่งมอบทรัพย์สินยังไม่มีการซื้อขาย ที่ดินที่ซื้อขายก็มีหลักฐานเป็นโฉนดที่ดิน การส่งมอบทรัพย์สินนอกจากจะส่งมอบตัวทรัพย์คือที่ดินแล้วยังต้องมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินแล้วจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยและจำเลยจะชำระเงินส่วนที่เหลือในวันที่โจทก์ส่งมอบที่ดิน คู่สัญญามีเจตนาจะไปโอนทรัพย์สินที่ซื้อขายกันในภายหลัง หามีเจตนาจะให้กรรมสิทธิ์โอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อทันทีในวันทำสัญญาไม่ จึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3255/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: เจตนาคู่สัญญาสำคัญกว่าชื่อสัญญา หากยังไม่ส่งมอบทรัพย์สินและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ไม่ถือเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
แม้หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจะระบุชื่อสัญญาว่าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขาย อันจะแปลได้ว่าเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาเนื้อหาข้อตกลงในสัญญาซึ่งคู่สัญญาตกลงกันว่าในระหว่างที่ผู้ขายยังไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อให้ถือว่ายังไม่มีการซื้อขาย แสดงว่าก่อนส่งมอบทรัพย์สินยังไม่มีการซื้อขาย ทั้งที่ดินที่ซื้อขายกันก็เป็นที่ดินที่มีหลักฐานเป็นโฉนดที่ดิน ฉะนั้น การส่งมอบทรัพย์สิน นอกจากจะส่งมอบตัวทรัพย์คือที่ดินแล้วยังต้องมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินแล้วจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลย และจำเลยจะชำระราคาส่วนที่เหลือในวันที่โจทก์ส่งมอบที่ดินให้ตามข้อตกลงในสัญญา แสดงว่าคู่สัญญามีเจตนาจะไปโอนทรัพย์สินที่ซื้อขายกันในภายหลัง หามีเจตนาจะให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อทันทีในวันทำสัญญาไม่ สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย ไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3232/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ค้ำประกันและจำนอง: เจตนาชำระหนี้ที่ถูกต้อง และผลของการไม่โต้แย้งยอดหนี้
หนังสือฉบับลงวันที่ 25 ตุลาคม 2538 ซึ่งจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันมีไปยังโจทก์ เพื่อขอชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองได้ระบุยอดหนี้ตามสัญญาคือ 250,000บาท จำเลยที่ 2 ขอให้โจทก์ตรวจสอบแล้วคำนวณดอกเบี้ยจากยอดเงินดังกล่าว แล้วแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบภายใน 1 เดือน เพื่อจำเลยที่ 2 จะได้ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง โดยมิได้ระบุวันที่โจทก์ต้องเริ่มคำนวณดอกเบี้ย ต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้จำนวน 819,685.54 บาท ระบุเป็นยอดหนี้ ณ วันที่ 28 กรกฎาคม2536 เมื่อยอดหนี้ที่แต่ละฝ่ายกล่าวอ้างไม่ตรงกัน และวันที่เริ่มต้นคิดดอกเบี้ยก็ไม่ปรากฏว่าจะเริ่มจากวันใด ตรงกันหรือไม่ ดังนี้ หากจำเลยที่ 2 ยังประสงค์จะชำระหนี้ในยอดหนี้ที่เห็นว่าถูกต้อง ก็ชอบที่จะต้องโต้แย้งไปยังโจทก์โดยขอปฏิบัติการชำระหนี้ที่ถูกต้องคือยอดหนี้ 250,000 บาท ตามสัญญาพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 มีต่อโจทก์เลิกกัน คือวันที่ 9 พฤศจิกายน 2533 แต่จำเลยที่ 2 หาได้กระทำไม่ ฉะนั้น จึงยังถือไม่ว่าจำเลยที่ 2 ได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ และโจทก์ไม่ยอมรับชำระหนี้อันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701,727 และ 744(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3232/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ค้ำประกันและจำนอง: จำเลยต้องแสดงเจตนาชำระหนี้ที่ถูกต้องชัดเจน
หนังสือบอกกล่าวแจ้งความประสงค์ขอชำระหนี้เพื่อไถ่ถอนจำนองของจำเลยที่ 2 กับหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ของโจทก์ ระบุยอดหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องชำระไม่ตรงกัน หากจำเลยที่ 2 ยังประสงค์จะชำระหนี้ในยอดหนี้ที่เห็นว่าถูกต้องตามภาระความรับผิดของตนและเห็นว่ายอดหนี้ที่โจทก์แจ้งมิใช่ยอดหนี้ที่แท้จริง ก็ชอบที่จำเลยที่ 2 จะต้องโต้แย้งไปยังโจทก์โดยแสดงเจตนาขอปฏิบัติการชำระหนี้ที่ถูกต้อง ลำพังหนังสือแจ้งความประสงค์ขอชำระหนี้ดังกล่าว จึงยังถือมิได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้และโจทก์ไม่ยอมรับชำระหนี้อันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 701 , 727 , 744 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3153/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีเมื่อจำเลยเสียชีวิตก่อนฟ้อง และผลกระทบต่อการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในการขอให้พิจารณาใหม่นั้น หากได้ความตามคำร้องซึ่งอ้างเหตุว่า จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมไปก่อนถูกฟ้อง ก็มีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกเพิกถอนไปในตัวและศาลชั้นต้นต้องเริ่มต้นดำเนินกระบวนพิจารณาขึ้นใหม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง การที่ผู้ร้องอุทธรณ์ก็เท่ากับเป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษา ศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ผู้ร้องจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ด้วย แต่ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้นำเงิน ค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงมิชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องมานั้นไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควร หยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 ถือไม่ได้ว่าฎีกาของผู้ร้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดี จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสภาพบุคคลที่อยู่ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง เมื่อสำนวนขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาทั้งหมดเกี่ยวกับจำเลยที่ 1นับแต่ศาลชั้นต้นรับฟ้อง
of 42