คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพศาล เจริญวุฒิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 420 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8930/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ให้เช่าซื้อในการยึดรถคืน แม้จะแจ้งให้ชำระเบี้ยปรับล่าช้าแล้ว
กรณีผู้เช่าซื้อผิดสัญญาชำระค่าซื้อล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นเหตุให้ผู้เช่าซื้อมีภาระต้องชำระเบี้ยปรับให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อ การที่ผู้ให้เช่าซื้อมีหนังสือแจ้งให้ผู้เช่าซื้อชำระเบี้ยปรับพร้อมกับค่าเช่าซื้อในงวด ต่อไปเป็นการใช้สิทธิตามข้อกำหนดของสัญญาและไม่ถือว่าเป็นการลบล้างหรือสละสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ตามสัญญา ผู้ให้เช่าซื้อจึงยังมีสิทธิตามยึดรถคันที่เช่าซื้อคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8843/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดนัดและอำนาจฟ้องคดีกู้ยืมเงิน กรณีจำนองเฉพาะผู้กู้หลัก
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและได้จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ที่จำเลยทั้งสองกู้เงินโจทก์โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ร่วมกับจำเลยที่ 2 กู้เงินโจทก์เท่านั้น จำเลยที่ 1 ไม่ได้จำนองที่ดินกับโจทก์ ดังนั้น การบอกกล่าวบังคับจำนองก่อนฟ้องจึงเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยที่ 2 เท่านั้น และโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยที่ 2 โดยชอบแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 โจทก์จึงหาจำต้องบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยที่ 1 ก่อนไม่ ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1จะไม่ได้รับหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองจากโจทก์ก็ไม่มีผลอย่างใด
สัญญากู้เงินข้อ 6 วรรคสอง ระบุว่า ในกรณีที่ผู้กู้ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดเงื่อนไข ผู้กู้ยอมให้ถือว่าเป็นการผิดนัดในจำนวนหนี้ทั้งหมดและให้ถือว่าบรรดาหนี้สินทั้งหลายตามสัญญานี้เป็นอันถึงกำหนดชำระทันที ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้ผิดนัดผิดเงื่อนไขแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้โดยไม่จำต้องทวงถามก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8836/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัยภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่ถูกจำกัดโดยบทบัญญัติขณะเกิดเหตุ
ขณะเกิดเหตุจนถึงวันที่โจทก์ได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นและค่าสินไหมทดแทนแก่ทายาทผู้ประสบภัยนั้นพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ มาตรา 31 ยังไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมดังเช่นปัจจุบัน โดยบทบัญญัติของมาตรา 31 ที่ใช้อยู่ในขณะเกิดเหตุได้กำหนดเงื่อนไขในการที่โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทผู้รับประกันภัยจะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากเจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ที่ก่อให้เกิดความเสียหายเพราะความจงใจหรือประพฤติเลินเล่ออย่างร้ายแรงเฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยตามเงื่อนไขในกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ อันเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ประสงค์ให้ผู้ประสบภัยได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นทันท่วงที โดยไม่จำต้องพิสูจน์ความผิดหรือมีข้อโต้แย้งใดจากบริษัทผู้รับประกันภัยดังนั้น แม้ภายหลังมีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ(ฉบับที่ 3)ฯ มาตรา 12 ให้ยกเลิกความในมาตรา 31 และให้ใช้ความใหม่แทน โดยความใหม่มีบทบัญญัติให้บริษัทผู้รับประกันภัยที่ได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น หรือค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยไปแล้วสามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้ก็ตาม แต่พระราชบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวมีผลใช้บังคับหลังจากเกิดเหตุคดีนี้ โจทก์จึงไม่สามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยตามกฎหมายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8530/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาไม่สมบูรณ์หากยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์สิน แม้ในสัญญาจะระบุว่ามีการส่งมอบแล้ว
แม้ข้อความในสัญญาที่จำเลยให้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์แก่โจทก์จะระบุว่าจำเลยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องวิทยุคมนาคมให้แก่โจทก์ผู้รับนับแต่วันทำสัญญา และโจทก์ได้รับมอบเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์ดังกล่าวแล้ว แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าในวันทำสัญญานั้นจำเลยไม่ได้ส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ ดังนั้น สัญญาให้ดังกล่าวจึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 523 ซึ่งบัญญัติว่า การให้ย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ สัญญาให้จึงไม่สมบูรณ์ เช่นเดียวกับสัญญาเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ระหว่างจำเลยกับโจทก์ที่ทำในวันเดียวกันนั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าให้จำเลยนำไปใช้ แม้ในสัญญาจะมีข้อความว่าจำเลยตกลงนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ไปติดตั้ง ณ หน่วยงานของจำเลย สัญญาเช่าก็ไม่สมบูรณ์เนื่องจากขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 546 ซึ่งกำหนดว่า ผู้ให้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่านั้นในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่า ค่าเสียหายและบังคับให้จำเลยคืนวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8530/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาไม่สมบูรณ์หากไม่มีการส่งมอบทรัพย์สิน แม้จะระบุในสัญญาแล้วก็ตาม
สัญญาที่จำเลยให้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์แก่โจทก์ มีข้อความระบุว่า จำเลยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องวิทยุคมนาคมตามบัญชีต่อท้ายสัญญานี้ให้แก่โจทก์ผู้รับนับแต่วันทำสัญญาและโจทก์ได้รับมอบเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์ดังกล่าวแล้ว แต่ในวันที่จำเลยทำสัญญา จำเลยไม่ได้ส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ สัญญาที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์จึงขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 523 ย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลบังคับจำเลยตามสัญญา
สัญญามีข้อความว่า ผู้เช่าตกลงนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมไปติดตั้ง ณ หน่วยงานของจำเลย แต่ในวันที่จำเลยทำสัญญาโจทก์ไม่ได้ส่งมอบทรัพย์ที่เช่าคือวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ให้แก่จำเลยได้นำไปใช้ตามข้อตกลงในสัญญาจึงขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 546 สัญญาย่อมไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลบังคับจำเลยตามสัญญาเช่นกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่า ค่าเสียหาย และบังคับให้จำเลยคืนเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8508/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีสัญญาประนีประนอมยอมความหลังผิดนัดชำระหนี้ โจทก์มีสิทธิขายทอดตลาดทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้
แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 5 จะระบุไว้ว่า เมื่อจำเลยทั้งสองชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ให้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาทโอนไปยังจำเลยที่ 1 ทันที และโจทก์จะดำเนินการจดทะเบียนโอนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในรายการสมุดคู่มือจดทะเบียนให้แก่จำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ผิดนัดผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเสียก่อน โดยเช็คที่ออกชำระหนี้ให้แก่โจทก์ถูกธนาคารปฎิเสธการจ่ายเงิน 4 ฉบับ โจทก์จึงได้ใช้สิทธิของตนเพื่อการบังคับชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 4ซึ่งระบุว่า หากจำเลยทั้งสองผิดนัดงวดใด งวดหนึ่ง ให้ถือว่าจำเลยทั้งสองผิดนัดทั้งหมดและยินยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที โดยหักส่วนที่ชำระมาแล้วออกก่อนคงบังคับเอาเฉพาะส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินที่ค้างชำระ พร้อมทั้งยินยอมให้โจทก์กลับเข้าครอบครองรถยนต์คันที่เช่าซื้อได้ทันที นอกจากนี้แล้วข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาก็ปรากฏว่าหลังจากผิดนัดชำระหนี้แล้ว จำเลยทั้งสองได้ยินยอมให้โจทก์นำรถยนต์ดังกล่าวกลับคืนไปอยู่ในความครอบครองของโจทก์ด้วย ฉะนั้นเมื่อโจทก์ได้รับรถยนต์ซึ่งยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของตนกลับคืนมาแล้วโจทก์จึงสามารถนำรถยนต์นั้นออกขายทอดตลาดและโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ให้แก่ผู้ซื้อได้โดยไม่อาจถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 5 แต่อย่างใด โจทก์ได้นำรถยนต์ออกขายทอดตลาดและโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ให้แก่ผู้ซื้อไป ซึ่งการขายและการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ดังกล่าวได้กระทำภายหลังที่จำเลยทั้งสองตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาแล้ว การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นผลให้หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระงับไปดังที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างเมื่อโจทก์ยังได้รับชำระหนี้ไม่ครบถ้วน โจทก์จึงบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8379/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขอขยายเวลาอุทธรณ์เกินกำหนด แม้ศาลอนุญาตให้ขยายเวลาแล้ว การยื่นหลังกำหนดถือเป็นเหตุไม่รับอุทธรณ์
วันที่ 8 มีนาคมเป็นวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาการอุทธรณ์ออกไปอีก 15 วัน โดยมีหมายเหตุท้ายคำร้องว่า "ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอถือว่าทราบแล้ว" พร้อมทั้งลงลายมือชื่อทนายจำเลยผู้ร้องไว้ และยังมีข้อความอีกว่า "ข้าพเจ้าจะมาฟังคำสั่งภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว"พร้อมทั้งลงลายมือชื่อทนายจำเลยผู้ร้องไว้เช่นกัน ดังนี้ แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้มีคำสั่งในวันเดียวกันนั้น หากแต่ได้มีคำสั่งในวันที่ 13 มีนาคมก็ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องทราบคำสั่งศาลแล้ว ข้ออ้างของผู้ร้องที่ว่าผู้ร้องไม่อาจทราบได้ว่าศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาการอุทธรณ์ว่าอย่างไร เพราะสำนวนความเสนอศาลอยู่และยังคัดถ่ายสำเนาคำสั่งศาลไม่ได้ก็มิใช่กรณีมีเหตุสุดวิสัย เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการอุทธรณ์ถึงวันที่ 22 มีนาคม การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องในวันที่ 23 มีนาคม จึงเกินกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายไว้ โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัยอย่างหนึ่งอย่างใด ฉะนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาการอุทธรณ์และไม่รับอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8304/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีเช็คพิพาทมูลคดีเกิดที่ไหน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าศาลที่มีเขตอำนาจเหนือบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหุ้นเป็นศาลมูลคดีเกิด
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับชำระหนี้ตามเช็คอันมีมูลหนี้มาจากการซื้อขายหุ้นในบริษัท ก. ตั้งอยู่ที่จังหวัดปัตตานี ส่วนจำเลยให้การว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการติดตามลูกหนี้ของบริษัท ก. จึงเห็นได้เหตุที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิเป็นหนี้เกี่ยวกับกิจการของบริษัท ก. ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นศาลมูลคดีเกิดด้วยศาลหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดปัตตานี
อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นที่ว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลชั้นต้นหรือไม่ เมื่อศาลฎีกาฟังว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นและต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ที่ว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นหรือไม่จึงเป็นคดีปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตารางท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ (2)(ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8269/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อเท็จจริงจากคดีอาญาที่คดีแพ่งต้องถือตามต้องวินิจฉัยชี้ขาดโดยตรง และคดีมีทุนทรัพย์ที่ห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่คดีแพ่งจะต้องถือตามดังที่บัญญัติไว้ในป.วิ.อ. มาตรา 46 ต้องเป็นเท็จจริงที่วินิจฉัยไว้โดยตรงในคดีอาญาแล้ว เมื่อคีดดังกล่าวศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงเพียงว่ามีเหตุให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ที่ดินพิพาทอาจเป็นของจำเลยก็ได้ ยังฟังไม่แจ้งชัดว่าเป็นของโจทก์ ตามพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบเห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายยังโต้เถียงสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จึงเท่ากับว่าคดีดังกล่าวศาลฎีกายังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกที่พิพาทโดยล้อมรั้วในที่ดินที่โจทก์ครอบครองอยู่เป็นเนื้อประมาณ 50 ตารางวา โดยมีเจตนายึดถือเป็นของจำเลย ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนรั้วออกไปและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การว่าจำเลยล้อมรั้วบริเวณที่ดินที่จำเลยครอบครอง ไม่ได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง กรณีเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อที่พิพาทขณะโจทก์ยื่นฟ้องมีราคา 10,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8269/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการรับฟังข้อเท็จจริงจากคดีอาญาในคดีแพ่ง และข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีมีทุนทรัพย์
ข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่คดีแพ่งจะต้องถือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 นั้น ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่วินิจฉัยไว้ในคดีอาญาแล้ว เมื่อคดีอาญาศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงเพียงว่ามีเหตุให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ดินพิพาทอาจเป็นของจำเลยก็ได้ ยังฟังไม่ได้แจ้งชัดว่าเป็นของโจทก์ตามพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบเห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายยังโต้เถียงสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงเท่ากับว่าคดีดังกล่าวศาลฎีกายังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย จึงรับฟังเป็นยุติในคดีนี้ไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นของโจทก์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกที่พิพาทโดยล้อมรั้วครอบครองอยู่ประมาณ 50 ตารางวา ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนรั้วออกไปและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การว่าจำเลยล้อมรั้วบริเวณที่ดินที่จำเลยครอบครอง ไม่ได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ขอให้ยกฟ้องดังนี้ กรณีเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่พิพาทจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อที่พิพาทขณะโจทก์ยื่นฟ้องมีราคา 10,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
of 42