พบผลลัพธ์ทั้งหมด 420 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7149-7150/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีและการพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์เลื่อนการสืบพยานหลายครั้งและทุกครั้งก็ได้กำชับโจทก์ให้เตรียมพยานมาให้พร้อมสืบ แต่โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิบัติตาม ครั้งสุดท้ายศาลชั้นต้นได้กำชับโจทก์อีกว่าหากมีเหตุขัดข้องเกี่ยวกับพยานจะถือว่าโจทก์ประวิงคดี แต่โจทก์ก็ขอเลื่อนคดีอีกโดยอ้างว่าทนายโจทก์ป่วย แต่เมื่อตรวจดูใบความเห็นแพทย์ท้ายคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายโจทก์แล้ว ปรากฏว่าทนายโจทก์เป็นไข้หวัดและคออักเสบ เป็นการเจ็บป่วยเล็กน้อย มิได้มีอาการหนักถึงกับไปศาลไม่ได้ ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องให้แพทย์ไปตรวจแล้วจึงมีคำสั่งดังโจทก์อ้าง อีกทั้งยังปรากฏอีกว่าโจทก์ไม่มีพยานไปศาลและโจทก์ไม่ได้ขอหมายเรียกพยานไว้ พฤติการณ์ของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์ที่เหลือจึงชอบแล้ว
พยานโจทก์ทุกปากต่างเบิกความว่าไม่รู้เห็นและไม่อาจยืนยันได้ว่าลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ ที่โจทก์อ้างเป็นพยานนั้นเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลย พยานเอกสารของโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่าจำเลยได้ทำคำขอเปิดบัญชี สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี และสัญญาอื่นกับโจทก์ ฝ่ายจำเลยให้การปฏิเสธว่าลายมือชื่อในเอกสารของโจทก์มิใช่ลายมือชื่อของจำเลย ผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญก็ลงความเห็นว่าลายมือชื่อในตัวอย่างและเอกสารของโจทก์ไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน พยานหลักฐานจำเลยจึงมีน้ำหนักในการรับฟังมากกว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยไม่ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันและทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์
พยานโจทก์ทุกปากต่างเบิกความว่าไม่รู้เห็นและไม่อาจยืนยันได้ว่าลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ ที่โจทก์อ้างเป็นพยานนั้นเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลย พยานเอกสารของโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่าจำเลยได้ทำคำขอเปิดบัญชี สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี และสัญญาอื่นกับโจทก์ ฝ่ายจำเลยให้การปฏิเสธว่าลายมือชื่อในเอกสารของโจทก์มิใช่ลายมือชื่อของจำเลย ผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญก็ลงความเห็นว่าลายมือชื่อในตัวอย่างและเอกสารของโจทก์ไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน พยานหลักฐานจำเลยจึงมีน้ำหนักในการรับฟังมากกว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยไม่ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันและทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7080/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาเงินกู้: ข้อตกลงปรับขึ้นดอกเบี้ยไม่ใช่เบี้ยปรับ, คิดดอกเบี้ยตามสัญญาก่อนบอกเลิก
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินบัญชีได้ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้ว่า จำเลยยอมเสีย ดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีให้โจทก์เป็นรายเดือนทุกเดือนในจำนวนเงินที่เป็นหนี้แบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (FLOATING RATE) ในอัตราร้อยละ 19 และ 18 ต่อปี โดยวิธีคำนวณดอกเบี้ยทบต้นตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคาร และจำเลยยอมให้สิทธิโจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ ไม่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญาหรือไม่ก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวไม่ใช่เป็นเรื่องเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379
เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินสิ้นสุดลงเพราะการบอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์จะคิดอัตรา ดอกเบี้ยสูงสุดที่พึงเรียกเก็บได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศของธนาคารโจทก์ซึ่งปรับเปลี่ยนได้อีกต่อไปไม่ได้คงเรียกได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาอันเป็นสิทธิตามสัญญาที่พึงได้โดยชอบมาแต่เดิมเท่านั้น
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมาย จ.6 และสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมาย จ.8 กำหนดอัตรา ดอกเบี้ยไว้ไม่เท่ากัน กล่าวคือ ร้อยละ 19 และ 18 ตามลำดับ แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ความชัดแจ้งว่ายอดดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ณ วันถัดจากวันที่เลิกสัญญาถึงวันฟ้องที่ขอมานั้นแบ่งเป็นยอดดอกเบี้ยตามสัญญา เอกสารหมาย จ.6 เท่าใด และสัญญาเอกสารหมาย จ.8 เท่าใด จึงต้องคิดในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ตามที่โจทก์ประสงค์
เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินสิ้นสุดลงเพราะการบอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์จะคิดอัตรา ดอกเบี้ยสูงสุดที่พึงเรียกเก็บได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศของธนาคารโจทก์ซึ่งปรับเปลี่ยนได้อีกต่อไปไม่ได้คงเรียกได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาอันเป็นสิทธิตามสัญญาที่พึงได้โดยชอบมาแต่เดิมเท่านั้น
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมาย จ.6 และสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมาย จ.8 กำหนดอัตรา ดอกเบี้ยไว้ไม่เท่ากัน กล่าวคือ ร้อยละ 19 และ 18 ตามลำดับ แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ความชัดแจ้งว่ายอดดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ณ วันถัดจากวันที่เลิกสัญญาถึงวันฟ้องที่ขอมานั้นแบ่งเป็นยอดดอกเบี้ยตามสัญญา เอกสารหมาย จ.6 เท่าใด และสัญญาเอกสารหมาย จ.8 เท่าใด จึงต้องคิดในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ตามที่โจทก์ประสงค์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7080/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้: ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยลอยตัวไม่ใช่เบี้ยปรับ ศาลมีอำนาจลดดอกเบี้ยได้ตามควร
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ได้กำหนดเวลาเอาไว้ ฉะนั้นคู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้โดยชอบแล้ว ไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเป็นอันสิ้นสุดลงตั้งแต่วันพ้นกำหนดชำระหนี้ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันสิ้นกำหนดสัญญาดังกล่าว
การพิจารณาว่าเงินที่เจ้าหนี้เรียกร้องจากลูกหนี้เป็นเบี้ยปรับหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับข้อกำหนดในสัญญาว่ามีข้อความระบุให้เจ้าหนี้เรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวได้เพราะเหตุที่ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควรหรือไม่ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้ในข้อ 2 ว่า จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีให้โจทก์เป็นรายเดือนทุกเดือนในจำนวนเงินที่เป็นหนี้แบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว(FLOATINGRATE) ในอัตราร้อยละ 19 และ 18 ต่อปี โดยวิธีคำนวณดอกเบี้ยทบต้นตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคารและถ้าต่อไปธนาคารจะขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามความเหมาะสมโดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้คิดได้แล้วจำเลยตกลงให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราใหม่ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ส่วนสัญญากู้เงินและสัญญาต่อท้ายสัญญากู้เงินก็ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้มีเนื้อความในทำนองเดียวกันอีกทั้งสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองก็ระบุว่า จำเลยยอมให้โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบ จากข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมให้สิทธิโจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ไม่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญาหรือไม่ก็ตามข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเรื่องเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379
เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินสิ้นสุดลงเพราะการบอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์จะคิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่พึงเรียกเก็บได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์ซึ่งปรับเปลี่ยนได้อีกต่อไปไม่ได้คงเรียกได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 2 อันเป็นสิทธิตามสัญญาที่พึงได้โดยชอบมาแต่เดิมเท่านั้น
การพิจารณาว่าเงินที่เจ้าหนี้เรียกร้องจากลูกหนี้เป็นเบี้ยปรับหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับข้อกำหนดในสัญญาว่ามีข้อความระบุให้เจ้าหนี้เรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวได้เพราะเหตุที่ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควรหรือไม่ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้ในข้อ 2 ว่า จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีให้โจทก์เป็นรายเดือนทุกเดือนในจำนวนเงินที่เป็นหนี้แบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว(FLOATINGRATE) ในอัตราร้อยละ 19 และ 18 ต่อปี โดยวิธีคำนวณดอกเบี้ยทบต้นตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคารและถ้าต่อไปธนาคารจะขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามความเหมาะสมโดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้คิดได้แล้วจำเลยตกลงให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราใหม่ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ส่วนสัญญากู้เงินและสัญญาต่อท้ายสัญญากู้เงินก็ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้มีเนื้อความในทำนองเดียวกันอีกทั้งสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองก็ระบุว่า จำเลยยอมให้โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบ จากข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมให้สิทธิโจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ไม่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญาหรือไม่ก็ตามข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเรื่องเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379
เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินสิ้นสุดลงเพราะการบอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์จะคิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่พึงเรียกเก็บได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์ซึ่งปรับเปลี่ยนได้อีกต่อไปไม่ได้คงเรียกได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 2 อันเป็นสิทธิตามสัญญาที่พึงได้โดยชอบมาแต่เดิมเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6969/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมแปลงเอกสารธนาคารและการพิสูจน์ลายมือชื่อ: พนักงานสอบสวนมีอำนาจรวบรวมหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิด
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 132พนักงานสอบสวนมีอำนาจหน้าที่รวบรวมหลักฐานในคดีความ เมื่อผู้เสียหายอ้างว่าลายมือชื่อในใบถอนเงินเป็นเอกสารปลอมจึงมีปัญหาว่าเป็นลายมือชื่อของผู้เสียหายหรือไม่ การที่พนักงานสอบสวนจัดให้ผู้เสียหายลงลายมือชื่อในกระดาษหลายแผ่นและจัดหาลายมือชื่อและลายมือเขียนของผู้เสียหายที่เคยลงลายมือชื่อหรือเขียนไว้ในที่อื่น ๆ ซึ่งมีจำนวนมากพอสมควรแล้วรวมส่งไปให้เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานตรวจเปรียบเทียบ แม้จะไม่ได้ตัวอย่างลายมือชื่อที่ผู้เสียหายให้ไว้แก่ธนาคารขณะเปิดบัญชีรวมไปด้วยก็ถือว่าเป็นการกระทำที่ชอบแล้ว ในเมื่อพนักงานสอบสวนเห็นว่าเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานที่เพียงพอแล้วสำหรับพิสูจน์ความผิดของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6969/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวบรวมหลักฐานลายมือชื่อในคดีอาญา: พนักงานสอบสวนมีอำนาจกว้างขวางในการแสวงหาหลักฐาน แม้ไม่มีตัวอย่างลายมือชื่อเดิม
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 132 พนักงานสอบสวนมีอำนาจหน้าที่รวบรวมหลักฐานในคดีความ เมื่อผู้เสียหายอ้างว่า ลายมือชื่อในใบถอนเงินตามเอกสารพิพาทไม่ใช่ลายมือชื่อของตน แต่จำเลยอ้างว่าเป็นลายมือชื่อของผู้เสียหายซึ่งลงลายมือชื่อต่อหน้าจำเลย จึงมีปัญหาว่าลายมือชื่อดังกล่าวเป็นลายมือชื่อของผู้เสียหายหรือไม่ การที่พนักงานสอบสวนจัดให้ผู้เสียหายลงลายมือชื่อต่อหน้าตนในกระดาษหลายแผ่นและขวนขวายจัดหาลายมือชื่อและลายมือเขียนของ ผู้เสียหายที่เคยลงลายมือชื่อหรือเขียนไว้ในที่อื่น ๆ ซึ่งมีจำนวนมากพอสมควรแล้วรวมส่งไปให้เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานตรวจเปรียบเทียบที่กองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แม้จะไม่ได้ตัวอย่างลายมือชื่อที่ผู้เสียหายให้ไว้แก่ธนาคารขณะเปิดบัญชีรวมไปด้วย ก็ถือว่าเป็นการกระทำที่ชอบแล้วในเมื่อพนักงานสอบสวนเห็นว่าเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานที่เพียงพอแล้วสำหรับพิสูจน์ความผิดของจำเลย ส่วนจะมีน้ำหนักรับฟังได้เพียงใดเป็นดุลพินิจของศาล
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ใช่ผู้ที่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ศาลจึงต้องเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ ปัญหาข้อนี้ยุติไป ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนตามฟ้องโดยจำเลยมิได้อุทธรณ์ จำเลยจึงฎีกาต่อมาไม่ได้ แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อนี้มาด้วย ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้าม มิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ใช่ผู้ที่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ศาลจึงต้องเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ ปัญหาข้อนี้ยุติไป ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนตามฟ้องโดยจำเลยมิได้อุทธรณ์ จำเลยจึงฎีกาต่อมาไม่ได้ แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อนี้มาด้วย ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้าม มิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6744/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาของโจทก์ร่วม: ข้อจำกัดเฉพาะในฐานะผู้เสียหายในข้อหาที่ตนมีส่วนได้เสีย
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการหมายถึงอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะในข้อหาที่โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหาย
ข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 371 และความผิดต่อ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหาย แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ โจทก์ร่วมก็ไม่มีสิทธิฎีกาในข้อหาดังกล่าวนี้
ข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 371 และความผิดต่อ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหาย แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ โจทก์ร่วมก็ไม่มีสิทธิฎีกาในข้อหาดังกล่าวนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6744/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ร่วมในคดีอาญา: ข้อจำกัดในการฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษและมีเหตุต้องห้ามตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 364,365 ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 และความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ระหว่างพิจารณาผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ศาลอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานบุกรุกจำคุก 6 เดือน ในความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง ฯลฯจำคุก 3 เดือน ฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจำคุก 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้รอการลงโทษจำคุกไว้โจทก์ร่วมฎีกา ดังนี้ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีได้ น่าจะหมายถึงการอนุญาตเฉพาะในข้อหาบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 364,365 เท่านั้น ส่วนข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 และความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายจึงเป็นโจทก์ร่วมในข้อหาดังกล่าวไม่ได้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกให้จำเลยในข้อหาดังกล่าว
ความผิดในข้อหาบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 364,365 แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้ไขรอการลงโทษจำคุกจำเลยอันเป็นการแก้ไขมากแต่ก็ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน2 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 219
ความผิดในข้อหาบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 364,365 แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้ไขรอการลงโทษจำคุกจำเลยอันเป็นการแก้ไขมากแต่ก็ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน2 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 219
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6724/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์โดยขู่เข็ญและใช้ยานพาหนะหลบหนี จำเลยมีความผิดฐานชิงทรัพย์ ไม่ใช่กรรโชกทรัพย์
ขณะที่ผู้เสียหายทั้งสามเดินไปตามทางเท้า จำเลยขับรถจักรยานยนต์เข้ามาจอดเทียบใกล้ ๆ และแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจขอตรวจบัตรประจำตัวและขอค้นตัวหรือตรวจหายาเสพติดให้โทษ แล้วพูดจาขู่บังคับให้ส่งมอบเงินและทรัพย์สินมีค่าแก่ตนหากขัดขืนจะยิงให้ตาย พร้อมกับทำท่าจะล้วงเอาอาวุธออกมาผู้เสียหายทั้งสามเกิดความกลัวผู้เสียหายที่ 2 กับที่ 3 จึงส่งกระเป๋าเงินให้จำเลยล้วงหยิบเอาเงินสดในกระเป๋าไป ส่วนผู้เสียหายที่ 1 ถอดนาฬิกาข้อมือให้จำเลย จากนั้นจำเลยก็หลบหนีไปการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคหนึ่งแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ มิใช่กรรโชกทรัพย์ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่า จำเลยจะเป็นผู้ล้วงหยิบเอาทรัพย์นั้นเองหรือผู้เสียหายเป็นผู้หยิบส่งให้ไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6709/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยานพาหนะที่ใช้ในการหลบหนีหลังลักทรัพย์ ไม่เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด จึงไม่ริบได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะในการบรรทุกยางพารา หลบหนีอันเป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การพาทรัพย์นั้นไป เป็นการบรรยายฟ้องให้ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ แต่บทบัญญัติมาตรา 336 ทวิ หาได้ให้ถือว่ายานพาหนะนั้นเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดด้วยไม่
จำเลยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะในการบรรทุกยางพาราหลบหนี มิได้ความว่า จำเลยได้ใช้รถจักรยานยนต์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือหรือเป็นส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์ เมื่อรถจักรยานยนต์ของกลางไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำผิดฐานลักทรัพย์โดยตรง จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลมีอำนาจสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) ศาลย่อมพิพากษาให้คืนรถยนต์ของกลางแก่เจ้าของ
จำเลยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะในการบรรทุกยางพาราหลบหนี มิได้ความว่า จำเลยได้ใช้รถจักรยานยนต์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือหรือเป็นส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์ เมื่อรถจักรยานยนต์ของกลางไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำผิดฐานลักทรัพย์โดยตรง จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลมีอำนาจสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) ศาลย่อมพิพากษาให้คืนรถยนต์ของกลางแก่เจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6709/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบยานพาหนะที่ใช้ในการหลบหนีหลังก่ออาชญากรรม ไม่ถือเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดโดยตรง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นพาหนะในการบรรทุกยางพาราหลบหนีอันเป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การพาทรัพย์นั้นไป เป็นการบรรยายฟ้องเพื่อให้ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ ซึ่งเป็นบทบัญญัติเพื่อเพิ่มโทษหากผู้กระทำผิดใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นการจับกุม แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็มิได้บัญญัติให้ถือว่ายานพาหนะนั้นเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดด้วย ดังนั้น การที่จำเลยใช้รถจักรยานยนต์ของกลางในการบรรทุกยางพาราหลบหนี ก็มิได้หมายความว่าจำเลยใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นเครื่องมือหรือเป็นส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์ รถจักรยานยนต์ของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำผิดฐานลักทรัพย์โดยตรง ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลมีอำนาจสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33(1)