คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพศาล เจริญวุฒิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 420 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6595/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลใช้ดุลพินิจลดค่าปรับตามสัญญาซื้อขายได้ แม้จำเลยยินยอมชำระ
ค่าปรับที่คู่กรณีกำหนดไว้ในสัญญาถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับเพื่อการที่จะชดใช้บรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า เพื่อให้เป็นความพอใจแก่ฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญาซึ่งต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏชัดแจ้งว่าโจทก์เสียหายเต็มตามจำนวนค่าปรับที่กำหนดไว้ในสัญญา และแม้ว่าจำเลยจะมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่ายินยอมชำระค่าปรับตามสัญญาก็ตาม หากเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดค่าปรับหรือเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้
สำหรับราคาสิ่งของที่ซื้อขายกันเป็นเงิน 2,064,606 บาทโจทก์ใช้สิทธิริบหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาไว้เป็นเงิน103,231 บาทแล้ว โจทก์เพิ่งมาบอกเลิกสัญญาภายหลังเป็นเวลานานถึง 307 วัน รวมค่าปรับรายวันเป็นจำนวนเงินสูงถึง 1,267,667.47 บาท จึงนับว่าสูงเกินส่วน ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจลดค่าปรับลงนั้น นับว่าเหมาะสมแก่ความเสียหายของโจทก์ตามควรแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6567/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาเป็นตัวแทนจำหน่ายและการรับผิดในสัญญาซื้อขายรถยนต์
จำเลยที่ 1 อ้างแก่โจทก์ว่าเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบริษัทประกอบกิจการขายรถยนต์ จำเลยที่ 1 ได้ออกหนังสือรับรองการจำหน่ายรถยนต์ซึ่งหัวกระดาษเป็นชื่อของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์และลูกค้าทั่ว ๆ ไป ที่มาซื้อรถยนต์ จำเลยที่ 2 ทราบแต่ไม่ได้ทักท้วงหรือสั่งห้ามจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด ทั้งจำเลยที่ 2 ยังได้ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ซึ่งประกอบกิจการขายรถยนต์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 ในประการที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 จะนำรถยนต์พิพาทขายแก่บุคคลทั่ว ๆ ไป พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่า จำเลยที่ 2 รู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต จำเลยที่ 2 จึงต้อง รับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6567/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจำหน่าย, การแสดงเจตนาเป็นตัวแทน, ความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอก, การซื้อขายรถยนต์, สัญญา
โจทก์เข้าใจโดยสุจริตว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 1 แจ้งว่าหลักฐานทางทะเบียนและใบคู่มือจดทะเบียนนั้นอยู่ที่จำเลยที่ 2 ต้องรอให้จำเลยที่ 2ส่งมาก่อนเนื่องจากจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 ได้ออกหนังสือรับรองการจำหน่ายรถยนต์ซึ่งเป็นของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ ดังนี้ ตามพฤติการณ์เชื่อว่าจำเลยที่ 1 กับที่ 2 จะต้องทำการค้ารถยนต์กันมานานหากจำเลยที่ 1 ออกใบรับรองซึ่งหัวกระดาษเป็นชื่อของจำเลยที่ 2ให้แก่ลูกค้าทั่ว ๆ ไป จำเลยที่ 2 น่าจะทราบ หากจำเลยที่ 2 ไม่เชิดหรือยอมให้จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนจำเลยที่ 2แล้ว จำเลยที่ 2 ก็น่าจะต้องทักท้วงหรือสั่งห้ามจำเลยที่ 1ไม่ให้กระทำเช่นนั้น การที่จำเลยที่ 2 ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ซึ่งประกอบกิจการขายรถยนต์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 ในประการที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1จะนำรถยนต์พิพาทไปขายแก่บุคคลทั่ว ๆ ไป พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 รู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 อีกเช่นกัน เมื่อโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต จำเลยที่ 2 อีกเช่นกัน เมื่อโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และได้กระทำแทนจำเลยที่ 2 ภายในขอบอำนาจแห่งฐานเป็นตัวแทน จำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามฟ้องได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้แก่โจทก์จึงไม่ชอบ กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาคดีให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายให้จำเลยที่ 1ไม่ต้องรับผิดชอบส่งมอบหลักฐานใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6550/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในชั้นอุทธรณ์ และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันสัญญา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายสองจำนวน คือเงินที่โจทก์ต้องเพิ่มค่าจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้าง 856,067.45 บาท และเงินที่โจทก์ต้องจ้างผู้ควบคุมงาน 36,200 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 856,067.45 บาท ยกฟ้องค่าเสียหายส่วนต้องจ้างผู้ควบคุมงาน โดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายในส่วนนี้ ดังนั้น เมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยรับผิดในส่วนที่ศาลยกฟ้อง จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ค่าเสียหายในส่วนต้องจ้างผู้ควบคุมงานโจทก์ได้รับความเสียหายจริง จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยจึงไม่ชอบ ต้องถือว่าปัญหาได้ยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้ว และไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกาตาม มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
สัญญาว่าจ้างก่อสร้างข้อ 20 ระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) ริบหลักประกันสัญญาดังกล่าวในสัญญาข้อ 3 และ (2) ยินยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการนี้ต่อไป ส่วนสัญญาข้อ 3 ระบุว่า ในวันทำสัญญานี้ผู้รับจ้างได้นำหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 3 เป็นเงิน มอบไว้แก่ผู้ว่าจ้างเพื่อประกันการปฏิบัติตามสัญญา ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญา ข้อ 20(1) และ (2) จากจำเลยทั้งสามได้ แต่ข้อตกลงดังกล่าวเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งจึงมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ซึ่งศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6550/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม และการร่วมรับผิดในสัญญาค้ำประกันค่าเสียหายจากสัญญาว่าจ้าง
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์สองจำนวน คือจำนวนหนึ่งเป็นเงินที่โจทก์ต้อง เพิ่มเงินจ้างบุคคลอื่นเป็นเงิน 856,067.45 บาท และอีกจำนวนหนึ่งเป็นเงินที่โจทก์ต้องจ้างผู้ควบคุมงานเป็นเงิน 36,200 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระเงินแก่โจทก์ 856,067.45 บาท แต่ยกฟ้องค่าเสียหาย ส่วนต้องจ้างผู้ควบคุมงานเป็นเงิน 36,200 บาท โดยศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย ในส่วนนี้เมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดในส่วนที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน ในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกินห้าหมื่นบาท โจทก์ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาว่าค่าเสียหายในส่วนต้องจ้างผู้ควบคุมงานโจทก์ได้รับความเสียหายจริงหรือไม่ เป็นปัญหา ข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงในอุทธรณ์ส่วนนี้ ให้จึงไม่ชอบ ต้องถือว่าปัญหานี้ได้ยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้ว และไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างคลองส่งน้ำพร้อมอาคารชลประทานและบ้านพักพนักงานสูบน้ำสถานีสูบน้ำ ข้อ 20 ระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้วผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) ริบหลักประกันสัญญาดังกล่าวในสัญญาข้อ 3 และ (2) ยินยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการนี้ต่อไปจนงานแล้ว เสร็จบริบูรณ์ ส่วนสัญญาข้อ 3 ระบุว่า ในวันทำสัญญานี้ผู้รับจ้างได้นำหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 3 เป็นเงิน 302,800 บาท มอบไว้แก่ผู้ว่าจ้างเพื่อประกันการปฏิบัติตามสัญญา ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาว่าจ้าง ข้อ 20 (1) และ (2) จากจำเลยทั้งสามได้ทั้งสองจำนวน แต่ข้อตกลงตามสัญญาข้อ 20 (1) และ (2) เป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งจึงมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ซึ่งถ้าหากกำหนดได้สูงเกินส่วนศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 และเมื่อศาลล่าง ทั้งสองกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวคุ้มกับความเสียหายที่โจทก์ได้รับแล้ว จึงไม่กำหนดให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์แยกต่างหากเป็นอีกจำนวนหนึ่งแต่ให้ร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในวงเงินไม่เกิน 302,800 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6532/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมซื้อขายที่ดินช่วงห้ามโอนเป็นโมฆะ และการครอบครองไม่ถือเป็นการแย่งการครอบครอง
บทบัญญัติประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 31 มีเจตนาจะปกป้องราษฎรผู้ได้สิทธิในที่ดินให้มีที่ดินไว้ทำกินเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี และภายในระยะเวลาดังกล่าวทางราชการยังควบคุมที่ดินนั้นอยู่ มิได้ปล่อยให้เป็นสิทธิเด็ดขาดแก่ผู้ครอบครองจนกว่าจะพ้นระยะเวลาที่อยู่ในบังคับห้ามโอน ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจสละหรือโอนสิทธิครอบครองหรือทำนิติกรรมสัญญาประการใดอันมีผลหรือมีลักษณะไปในทางที่สละหรือโอนหรืออาจต้องถูกบังคับให้มีการโอนสิทธิครอบครองดังกล่าวได้ เมื่อโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทภายในระยะเวลาห้ามโอน แม้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจะกำหนดรับโอนสิทธิครอบครองกันในวันที่พ้นระยะเวลาห้ามโอนแล้วก็ตาม ก็เป็นการจงใจหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนตามกฎหมาย เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ส่วนสัญญาจำนองเป็นประกันเห็นได้ชัดว่า โจทก์และจำเลยจำนองเป็นประกันในวงเงินเท่ากับราคาที่ซื้อขายกัน ส่วนสัญญาก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดินก็ทำในวันเดียวกับสัญญาจะซื้อจะขาย เห็นได้ว่าสัญญาจำนองเป็นประกันและสัญญาก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดินเป็นเพียงนิติกรรมอำพรางสัญญาจะซื้อจะขายโดยคู่สัญญาไม่มีเจตนาผูกพันในเรื่องจำนองและสิทธิเหนือพื้นดิน สัญญาดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155
โจทก์ไม่มีสิทธิสละหรือโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยภายในระยะเวลาห้ามโอนรวมถึงการเข้าแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทในช่วงเวลานี้ก็ทำไม่ได้ดังนั้น การยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยจึงถือได้ว่าจำเลยครอบครองไว้แทนโจทก์ ไม่ถือว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ กรณีไม่ใช่ฟ้องร้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่จะต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง
เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท สัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันและสัญญาก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดิน เป็นนิติกรรมที่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 และมาตรา 155 โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียชอบที่จะยกข้อสัญญาที่เป็นโมฆะขึ้นกล่าวอ้างได้การที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลวินิจฉัยว่าสัญญาต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นโมฆะจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6327/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อเมื่อคดีก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะยกคำขอไปก่อน
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งซึ่งจำเลยรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ แต่ศาลชั้นต้นไม่นับโทษต่อให้เพราะคดีดังกล่าวยังไม่ได้พิพากษา เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้นับโทษต่อโดยอ้างว่าคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วโดยจำคุกจำเลยรวม10 ปี จำเลยไม่ได้แก้ฎีกาหรือฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงฟังได้ว่าคดีดังกล่าว ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้วจริง ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้นับโทษต่อได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6323/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย: พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ศาลลดโทษเหลือครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และพิพากษานับโทษต่อ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 50 เม็ดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบแสดงพยานหลักฐานต่อศาลให้เห็นว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไว้เพื่อจำหน่าย จำนวนเมทแอมเฟตามีนที่ยึดได้มีเพียง 50 เม็ดมีปริมาณสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม จึงไม่อาจสันนิษฐานได้ว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย พยานโจทก์อ้างว่าสืบทราบว่าจำเลยมีพฤติการณ์ลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่บ้านจำเลย แทนที่พยานโจทก์จะใช้วิธีล่อซื้อแต่กลับขอเพียงหมายค้นบ้านจำเลยเท่านั้น ส่วนพยานโจทก์ที่ทำการซุ่มดูและเห็นจำเลยและวัยรุ่นส่งมอบของให้กันก็ไม่ยืนยันว่าสิ่งของที่ส่งมอบกันนั้นเป็นอะไรทั้งในชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณาจำเลยก็ให้การปฏิเสธ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยจำหน่าย จ่าย แจก หรือมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย คงฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 50 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้นับโทษต่อจากคดีก่อน แต่ศาลชั้นต้นไม่นับโทษต่อให้เพราะคดีดังกล่าวศาลยังไม่ได้พิพากษา เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้นับโทษต่อโดยอ้างว่าคดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วโดยพิพากษาลงโทษจำคุก จำเลยไม่ได้แก้ฎีกาหรือฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงฟังได้ว่าศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในคดีดังกล่าวแล้วจริง ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้นับโทษต่อได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5856/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสที่ดินพิพาท การซื้อขายโดยไม่สุจริตและผลของการเพิกถอนนิติกรรม
บิดาโจทก์ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์และจำเลยที่ 1 และเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) เมื่อจำเลยที่ 1ได้ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรส นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 1476(1) และเมื่อจำเลยที่ 2เบิกความยอมรับว่าก่อนซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 รู้ว่าจำเลยที่ 1 มีสามีคือโจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนโดยไม่สุจริตโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับนิติกรรมที่จำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 3เข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทได้ตามมาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5580/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยครบทุกประเด็นข้อต่อสู้ จำเลยฎีกาไม่ขึ้น จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำให้การของจำเลยมีข้อต่อสู้รวม 16 ประเด็น แต่คดีไม่มีการชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นจึงนำประเด็นต่าง ๆ ในคำให้การของจำเลยบางประเด็นที่เกี่ยวข้องกันมาวินิจฉัยรวมกันเป็น 9 ประเด็น โดยมิได้วินิจฉัยเรียงตามประเด็นในคำให้การของจำเลย ซึ่งจำเลยก็อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้ง 9 ประเด็น และขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นที่อ้างว่าขาดไป 7 ประเด็นด้วย ศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยโดยยกประเด็นที่เห็นว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยขึ้นมาวินิจฉัยให้ก่อนที่จะวินิจฉัยประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษา และในตอนท้ายศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่าสำหรับอุทธรณ์นอกจากนี้ของจำเลยไม่เป็นสาระสำคัญแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้แสดงว่าเมื่อจำเลยอุทธรณ์ตามข้อต่อสู้ในคำให้การทั้ง 16 ประเด็นศาลอุทธรณ์ก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยก่อนหนึ่งประเด็น เนื่องจากเห็นว่าเป็นประเด็นสำคัญแห่งคดีและศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย จากนั้นได้หยิบยกข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นขึ้นมาวินิจฉัยจนครบถ้วนทุกประเด็น และได้ตรวจวินิจฉัยอุทธรณ์ที่เหลือแล้วเห็นว่าไม่เป็นสาระสำคัญแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยศาลอุทธรณ์จึงไม่วินิจฉัยให้ ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยครบทั้ง 16 ประเด็น ตามข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลยแล้วคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย กรณีไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) จึงไม่มีเหตุให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อพิจารณาพิพากษาใหม่
of 42