พบผลลัพธ์ทั้งหมด 420 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยร่วมถูกเรียกเข้าเป็นคู่ความในคดีเช่าซื้อรถยนต์ ศาลมีอำนาจพิจารณาถึงความรับผิดได้ และการคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยกรณีรถยนต์สูญหาย
ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) จำเลยร่วมจึงมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่สามารถยกข้อต่อสู้ขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้อย่างไม่มีจำกัดและศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาถึงความรับผิดของคู่ความทุกฝ่ายไปได้ในคราวเดียวกันโดยไม่จำต้องให้โจทก์ไปฟ้องจำเลยร่วมเป็นคดีเรื่องใหม่ เมื่อจำเลยร่วมมีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีรถยนต์สูญหายแก่โจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยร่วมรับผิดต่อโจทก์ได้ไม่ถือว่าเกินคำขอของโจทก์
กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่าในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ เมื่อรถยนต์ถูก ภ. ลักไปโดยจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย แม้จำเลยที่ 1 จะทราบว่า ภ. นำรถยนต์ไปจำนำไว้ที่บ่อนย่านคลองตัน เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำรถยนต์กลับคืนมาได้ ย่อมถือได้ว่ารถยนต์ได้สูญหายไปโดยเหตุเนื่องจากการลักทรัพย์ตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย
กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่าในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ เมื่อรถยนต์ถูก ภ. ลักไปโดยจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย แม้จำเลยที่ 1 จะทราบว่า ภ. นำรถยนต์ไปจำนำไว้ที่บ่อนย่านคลองตัน เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำรถยนต์กลับคืนมาได้ ย่อมถือได้ว่ารถยนต์ได้สูญหายไปโดยเหตุเนื่องจากการลักทรัพย์ตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่และข้อโต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้น/อุทธรณ์ รวมถึงประเด็นโทษจำคุกที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกับ ส. มีเฮโรอีนจำนวน 16 หลอด และมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 76 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ไว้ในครองครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ส่วนเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนที่เหลือเป็นของ ส. โดยจำเลยทั้งสองมิได้ร่วมกับ ส. มีเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนดังกล่าว โจทก์มิได้อุทธรณ์ ปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับ ส. มีเฮโรอีนจำนวน 16 หลอด และเมทแอมเฟตามีนจำนวน 66 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่จึงยุติไป โจทก์จะโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับ ส. มีเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีน ดังกล่าวไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตหาได้ไม่ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 2 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่ แล้วคงจำคุก 1 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะโทษเป็นจำคุก 1 ปี และปรับ 10,000 บาท ลดโทษให้หนึ่งในสี่ คงจำคุก 6 เดือน ปรับ 7,500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก จำเลยที่ 2 ไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำเลยที่ 2 ไม่เกินกำหนดดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ที่โจทก์ฎีกาว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับ ส. มีเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาตและขอให้ลงโทษสถานหนักโดยไม่รอการลงโทษให้จำเลยที่ 2 นั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการกำหนดโทษของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยที่ 2 เพียงใด อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
เมื่อขณะค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ของกลาง จำเลยที่ 1 นอนหลับอยู่บนเตียง แม้จะได้ความว่าจำเลยทั้งสองเช่าห้องพักที่เกิดเหตุอยู่ด้วยกัน เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้ศาลเห็นถึงพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ไว้ในครอบครองจึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 1 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่ คงจำคุก 6 เดือน ที่ถูกต้องจำคุก 9 เดือน แต่โจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้อง และที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 โดยไม่รอการลงโทษ ก็เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 คดีของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่อาจขึ้นมาสู่การวินิจฉัย ของศาลฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2 ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 2 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่ แล้วคงจำคุก 1 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะโทษเป็นจำคุก 1 ปี และปรับ 10,000 บาท ลดโทษให้หนึ่งในสี่ คงจำคุก 6 เดือน ปรับ 7,500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก จำเลยที่ 2 ไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำเลยที่ 2 ไม่เกินกำหนดดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ที่โจทก์ฎีกาว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับ ส. มีเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาตและขอให้ลงโทษสถานหนักโดยไม่รอการลงโทษให้จำเลยที่ 2 นั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการกำหนดโทษของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยที่ 2 เพียงใด อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
เมื่อขณะค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ของกลาง จำเลยที่ 1 นอนหลับอยู่บนเตียง แม้จะได้ความว่าจำเลยทั้งสองเช่าห้องพักที่เกิดเหตุอยู่ด้วยกัน เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้ศาลเห็นถึงพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ไว้ในครอบครองจึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 1 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่ คงจำคุก 6 เดือน ที่ถูกต้องจำคุก 9 เดือน แต่โจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้อง และที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 โดยไม่รอการลงโทษ ก็เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 คดีของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่อาจขึ้นมาสู่การวินิจฉัย ของศาลฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2 ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1961/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของบริษัทเช่าซื้อ, หนังสือมอบอำนาจหลังแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน, และดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าซื้อ
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด มีวัตถุประสงค์ให้เช่าซื้อและให้เช่าทรัพย์สิน ตามวัตถุประสงค์ข้อ (1) ถึง (4) ในหนังสือรับรองของกรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจึงอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ และธุรกิจของโจทก์หาใช่ธุรกิจการจัดหามาซึ่งเงินทุนและใช้เงินนั้นในการประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งแยกประเภทได้ดังต่อไปนี้........ดังบทนิยาม "ธุรกิจเงินทุน" ตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ไม่ การดำเนินธุรกิจของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะการประกอบธุรกิจเงินทุนอันจะต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง ดังนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
พ.ร.บ บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 อนุญาตให้บริษัทเอกชนคือบริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดได้ และบริษัทมหาชนจำกัดที่แปรสภาพมานั้นย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทเอกชนเดิมทั้งหมด เมื่อบริษัท ส. จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเดิมก่อนแปรสภาพได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้นายส. ลงนามในสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินของบริษัทแทนบริษัทได้ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวย่อมก่อให้เกิด สิทธิและความรับผิดอันโอนไปยังโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาได้ เมื่อหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวยังอยู่ในกำหนดเวลา ส.จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องอ้างเหตุผลหนี้อันเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์มิใช่เรียกร้องมูลหนี้อันเกิดจากการกู้ยืมเงิน เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยเอากับจำเลยทั้งสองตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งถือว่าเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามสัญญา หาใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยหรือขัดต่อพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไม่
พ.ร.บ บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 อนุญาตให้บริษัทเอกชนคือบริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดได้ และบริษัทมหาชนจำกัดที่แปรสภาพมานั้นย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทเอกชนเดิมทั้งหมด เมื่อบริษัท ส. จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเดิมก่อนแปรสภาพได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้นายส. ลงนามในสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินของบริษัทแทนบริษัทได้ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวย่อมก่อให้เกิด สิทธิและความรับผิดอันโอนไปยังโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาได้ เมื่อหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวยังอยู่ในกำหนดเวลา ส.จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องอ้างเหตุผลหนี้อันเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์มิใช่เรียกร้องมูลหนี้อันเกิดจากการกู้ยืมเงิน เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยเอากับจำเลยทั้งสองตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งถือว่าเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามสัญญา หาใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยหรือขัดต่อพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1960/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าซื้อ, ค่าเสียหายจากการไม่คืนทรัพย์, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อหลายงวดติดต่อกัน โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยชอบแล้ว จำเลยที่ 1 ให้การเพียงว่าได้ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ทุกงวดไม่เคยผิดสัญญาเช่าซื้อ โดยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่า โจทก์ไม่ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดเวลาก่อน สัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกัน ฎีกาของจำเลยที่ 1 เรื่องนี้ไม่เป็นประเด็นแห่งคดีที่จะรับวินิจฉัย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ย่อมมีผลให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 , 392 และ 369 ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบโดยยังคงครอบครองใช้ประโยชน์ตลอดมา โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ได้ อย่างไรก็ตาม โจทก์รับว่า จำเลยที่ 1 นำเงินค่าเช่าซื้อไปชำระให้แก่โจทก์อีกบางส่วน ดังนั้น จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนเงินค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องพึงชดใช้ให้แก่โจทก์ด้วย และค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ให้แก่โจทก์เป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกชำระหนี้กันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อกับจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน จึงให้คำพิพากษามีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน ซึ่งต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ย่อมมีผลให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 , 392 และ 369 ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบโดยยังคงครอบครองใช้ประโยชน์ตลอดมา โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ได้ อย่างไรก็ตาม โจทก์รับว่า จำเลยที่ 1 นำเงินค่าเช่าซื้อไปชำระให้แก่โจทก์อีกบางส่วน ดังนั้น จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนเงินค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องพึงชดใช้ให้แก่โจทก์ด้วย และค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ให้แก่โจทก์เป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกชำระหนี้กันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อกับจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน จึงให้คำพิพากษามีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน ซึ่งต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1845/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและประกันตามคำสั่งศาล การไม่ยื่นคำร้องภายในกำหนดและการขาดเหตุสุดวิสัย
จำเลยจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นภายในวันที่ 21 มีนาคม 2544แต่จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาในวันที่ 11 เมษายน 2544 โดยจำเลยแสดงไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด โดยเฉพาะใบสำคัญความเห็นแพทย์ท้ายคำร้องก็ระบุว่าพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลถึงวันที่ 18 มีนาคม 2544 เท่านั้นดังนั้น กรณีจึงไม่มีเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล: สิทธิของผู้เอาประกันภัยโดยตรง
ตามกรมธรรม์ประกันภัยโจทก์ได้เอาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลต่อการเสียชีวิตของบุคคลผู้ขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลย โดยมิได้ระบุตัวผู้รับประโยชน์ไว้ แม้จะเป็นการประกันชีวิตแบบหนึ่ง แต่ก็มิใช่กรณีที่ผู้ตายเอาประกันชีวิตตนเองจึงแสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาว่าประสงค์ที่จะให้ค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ตกได้แก่โจทก์ผู้เอาประกันภัยโดยตรง มิใช่เป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้ตาย ดังนั้นโจทก์ในฐานะคู่สัญญาย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนต่อการเสียชีวิตของผู้ขับรถยนต์ของโจทก์ในขณะเกิดเหตุจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกรณีอุบัติเหตุทางรถยนต์: ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลกับผู้ขับขี่
โจทก์เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ไว้กับจำเลย ตามกรมธรรม์ประกันภัยโจทก์ได้เอาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลต่อการเสียชีวิตของบุคคลผู้ขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยโดยมิได้ระบุตัวผู้รับประโยชน์ไว้ แม้จะเป็นการประกันชีวิตแบบหนึ่ง แต่ก็มิใช่กรณีที่ผู้ตายเอาประกันชีวิตตนเองไว้ จึงแสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาว่าประสงค์ที่จะให้ค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ตกได้แก่โจทก์ผู้เอาประกันภัยโดยตรง หาใช่เป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้ตายไม่ โจทก์ในฐานะคู่สัญญาย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนต่อการเสียชีวิตของผู้ตายซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์ของโจทก์ในขณะเกิดเหตุจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติด จำเลยต้องรู้ว่าสิ่งที่ส่งมอบเป็นยาเสพติด พยานหลักฐานต้องชัดเจน
จำเลยเป็นเพียงผู้รับฝากเฮโรอีนจาก ล. นำไปให้ ส. และ อ. การที่จะลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายเฮโรอีนได้ก็ต่อเมื่อรับฟังได้ว่าจำเลยรู้ว่าห่อของที่นำไปให้ ส. และ อ. เป็นเฮโรอีนเท่านั้น แต่เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุม จำเลยยืนเฉย ๆ ไม่ได้วิ่งหนีไปไหน ทั้งปฏิเสธว่าไม่รู้เรื่อง จึงเห็นได้ว่า หากจำเลยรู้ว่าห่อของที่จำเลยรับฝากเป็นเฮโรอีนแล้ว โดยสัญชาตญาณจำเลยคงวิ่งหนีไปไม่ยอมให้จับกุมการที่จำเลยมิได้หลบหนีจึงอาจเป็นไปได้ว่าจำเลยไม่รู้ว่าห่อของที่นำมาให้ ส. และ อ. เป็นเฮโรอีน ประกอบกับโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยได้เกี่ยวข้องเป็นผู้ร่วมจำหน่ายเฮโรอีนกับ ล. ด้วยหรือไม่ พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าจำเลยครอบครองและจำหน่ายเฮโรอีน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายยาเสพติด: พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ศาลยกฟ้อง จำเลยปฏิเสธการครอบครองและไม่รู้ว่าเป็นยาเสพติด
++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ++
++ โจทก์ฎีกา
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 1 หน้า 48 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++ โจทก์ฎีกา
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 1 หน้า 48 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8824/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดทุนทรัพย์พิพาทแยกรายสิทธิประกันภัย, ข้อจำกัดการอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ, ความรับผิดของผู้ขนส่ง
สิทธิของโจทก์มีมูลมาจากสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันสองรายซึ่งแยกต่างหากจากกันได้ การคิดทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์จึงต้องแยกพิจารณาตามสิทธิเรียกร้องที่โจทก์รับช่วงสิทธิมาจากผู้เอาประกันแต่ละราย เมื่อคดีในส่วนสินค้ากากเมล็ดทานตะวันมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 41