พบผลลัพธ์ทั้งหมด 420 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4897/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งเพิกถอนสัญญาเมื่อมีข้อต่อสู้เรื่องโมฆะอยู่แล้ว ศาลไม่รับฟ้องแย้งซ้ำ
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า สัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลย ที่โจทก์นำมาฟ้องตกเป็นโมฆะเพราะเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมหากศาลพิจารณาได้ความจริงดังที่จำเลยกล่าวอ้าง ศาลก็มีอำนาจชี้ขาดให้ยกฟ้องโจทก์ ซึ่งมีผลให้จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ได้อยู่แล้ว จำเลยจึงไม่จำต้องฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนและทำลายสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวให้สิ้นผลบังคับต่อกันอันจะเป็นเหตุให้ศาลต้องวินิจฉัยชี้ขาดปัญหานั้นซ้ำอีกจึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4543/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้กู้ยืมเงินและเรียกดอกเบี้ย แม้มิใช่สถาบันการเงิน: การพิจารณาธุรกิจเงินทุนและการมีวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืม
ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 การประกอบธุรกิจเงินทุนต้องมีการจัดหาเงินทุนมา แต่โจทก์มิได้ประกอบธุรกิจในการจัดหาเงินทุนมาเพื่อนำออกให้ผู้อื่นกู้ยืม จึงไม่เข้าลักษณะการประกอบธุรกิจเงินทุนอันจะต้อง ได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตาม พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ มาตรา 8 วรรคหนึ่ง โจทก์มิใช่ผู้ประกอบธุรกิจเงินทุน จึงมิใช่สถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2533 มาตรา 3 แต่โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืมเงินและตามหนังสือสัญญากู้เงินฉบับพิพาทโจทก์เรียกดอกเบี้ย จากจำเลยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 โจทก์จึงให้จำเลยกู้ยืมเงินและเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4543/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบธุรกิจเงินทุนและข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายดอกเบี้ย
ตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 การประกอบธุรกิจเงินทุนต้องมีการจัดหาเงินทุนมา แต่โจทก์มิได้ประกอบธุรกิจในการจัดหาเงินทุนมาเพื่อนำออกให้ผู้อื่นกู้ยืม จึงไม่เข้าลักษณะการประกอบธุรกิจเงินทุนอันจะต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตาม พ.ร.บ.การประกอบธรุกิจเงินทุนฯ มาตรา8 วรรคหนึ่ง
โจทก์มิใช่ผู้ประกอบธุรกิจเงินทุน จึงมิใช่สถาบันการเงินตาม พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2533 มาตรา 3แต่โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืมเงิน และตามหนังสือสัญญากู้เงินฉบับพิพาทโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ในป.พ.พ.มาตรา 654 โจทก์จึงให้จำเลยกู้ยืมเงินและเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้
โจทก์มิใช่ผู้ประกอบธุรกิจเงินทุน จึงมิใช่สถาบันการเงินตาม พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2533 มาตรา 3แต่โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืมเงิน และตามหนังสือสัญญากู้เงินฉบับพิพาทโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ในป.พ.พ.มาตรา 654 โจทก์จึงให้จำเลยกู้ยืมเงินและเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4490/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินและการทำละเมิดต่อกรรมสิทธิ์หลังเปลี่ยนเจ้าของกรรมสิทธิ์ ความยินยอมเดิมไม่ผูกพันเจ้าของรายใหม่
แม้จำเลยจะได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินเดิมให้ก่อสร้างรั้วพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินได้และการกระทำของจำเลยไม่อาจถือว่าเป็นการทำละเมิดแต่เมื่อเจ้าของเดิมได้ขายที่ดินให้แก่บุคคลอื่นต่อไป จนในที่สุดที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ความยินยอมดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันโจทก์ให้ต้องยอมรับสิทธิของจำเลยต่อไป เพราะโจทก์ทั้งสองก็ย่อมมีอำนาจในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ที่จะขัดขวางมิให้จำเลยหรือบุคคลอื่นสอดเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินของตนโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์จะให้รั้วพิพาทอยู่ในที่ดินของตนอีกต่อไปและได้แจ้งให้จำเลยจัดการรื้อถอนแล้วแต่แทนที่จำเลยจะรื้อรั้วพิพาทออกไปเสียทั้งหมดกลับเหลือทิ้งไว้ในที่ดินของโจทก์บางส่วนการกระทำของจำเลยจึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ การไม่รื้อถอนรั้วพิพาทให้หมดสิ้นย่อมทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้สอยประโยชน์ในที่ดินส่วนนั้นได้ซึ่งแม้ว่าจะมีเนื้อที่เพียงเล็กน้อยโจทก์ก็ได้รับความเสียหายซึ่งอาจเปรียบเทียบค่าเสียหายสำหรับที่ดินส่วนดังกล่าวจากที่ดินในบริเวณใกล้เคียงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4246/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่คืนตู้สินค้าหลังรับสินค้าจากเรือ: ผู้รับขนต้องรับผิดชอบในการคืนตู้สินค้าให้ผู้ขนส่งภายในกำหนด
ในการรับขนของ โจทก์ผู้ขนส่งได้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ขายหรือผู้ส่งของไว้ เป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขน ซึ่งระบุข้อความสำคัญเกี่ยวกับชนิดของหีบห่อลักษณะของสินค้าว่าผู้ส่งเป็นผู้บรรจุและตรวจนับสินค้าเข้าตู้สินค้า และสถานที่ส่งมอบสินค้าคือลานวางตู้สินค้า ท่าเรือกรุงเทพมหานคร จำเลยผู้สั่งซื้อสินค้าจึงมีหน้าที่มารับสินค้าจากโจทก์ ณ สถานที่ดังกล่าว แต่เมื่อสินค้าอยู่ในตู้สินค้าและการรับสินค้าต้องรับตู้สินค้าที่บรรจุสินค้านั้นไปด้วย เพราะจำเป็นต้องขนตู้สินค้าไปยังโกดังสินค้าของจำเลยเพื่อนำสินค้าออกจากตู้สินค้า จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยในการขนตู้สินค้าไปยังโกดังสินค้า และเมื่อจำเลยนำสินค้าออกจากตู้สินค้าแล้วก็ย่อมมีหน้าที่ต้องนำตู้สินค้าไปคืนให้แก่โจทก์หรือตัวแทนของโจทก์ภายในกำหนด14 วัน นับแต่เรือบรรทุกสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทางเมื่อเรือบรรทุกสินค้ามาถึงท่าเรือกรุงเทพมหานครและได้มีการขนถ่ายสินค้าจากเรือโดยมีบริษัท ว. เป็นตัวแทนผู้ดำเนินพิธีการทางศุลกากรและรับสินค้าให้แก่จำเลย และได้นำสินค้าของจำเลยไปยังโกดังสินค้าของจำเลยโดยใช้บริการ ร.ส.พ. เมื่อตู้สินค้าตู้หนึ่งคนขับรถของ ร.ส.พ. มิได้นำไปคืนให้แก่ตัวแทนโจทก์จนล่วงเลยกำหนดเวลาดังกล่าวไปแล้ว จำเลยในฐานะตัวการของผู้ขนตู้สินค้าดังกล่าวไปยังโกดังสินค้าของจำเลยและเป็นผู้มีหน้าที่ต้องคืนตู้สินค้าแก่โจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในกรณีที่โจทก์ไม่ได้รับตู้สินค้าคืนจากจำเลยภายในกำหนดเวลา14 วัน นับแต่เรือบรรทุกสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4023/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท vs. หลายกรรมต่างกัน และการสืบพยานความผิดฐานนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์
การกระทำครั้งเดียวคราวเดียวอาจเป็นหลายกรรมต่างกันได้ หากผู้กระทำมีเจตนาที่จะให้เกิดผลต่างกรรมกันหรือมีเจตนา อย่างเดียวกันแต่ประสงค์ให้เกิดผลเป็นความผิดหลายฐานต่างกัน การที่จำเลยทั้งสามเข้าไปร่วมกันเลื่อยตัดทำไม้ประดู่ ซึ่งเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. โดยได้เลื่อยตัดฟันออกจากต้น แล้วเลื่อยออกเป็นแผ่น จำนวน 97 แผ่น ปริมาตร 1.40 ลูกบาศก์เมตร ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งได้กระทำ ในคราวเดียวกันนั้น ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามมีเจตนากระทำความผิดให้เกิดผลเป็นหลายกรรมในความผิดต่างฐานต่างหากจากกัน โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันลักลอบนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์ ของกลางอันเป็นของผลิตในต่างประเทศที่ยังมิได้ผ่านด่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร หรือรับไว้ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์โดยจำเลยทั้งสามรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้ลักลอบนำเข้าหลบหนีด่านศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรที่ต้องเสียสำหรับของนั้น อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27,27 ทวิแสดงว่าโจทก์ประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามในข้อหาใดข้อหาหนึ่ง เพียงข้อหาเดียว เพราะความผิดดังกล่าวเป็นความผิดคนละฐาน จะลงโทษจำเลยทั้งสามในทั้งสองฐานความผิดย่อมไม่ได้ แม้จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิด และเป็นความจริงตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ไม่ขอต่อสู้คดี และไม่ต้องการทนายความย่อมไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่า จำเลยทั้งสามได้กระทำผิดฐานใด จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลยทั้งสาม เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงลงโทษจำเลยทั้งสามไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3829/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคืนทรัพย์สินที่ถูกริบ: เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงมีสิทธิแม้โอนกรรมสิทธิ์ก่อนคดีถึงที่สุด
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ผู้เป็นเจ้าของแท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนทรัพย์สินที่ถูกริบไม่จำกัดเฉพาะผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินในขณะมีการกระทำความผิดเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมมีอำนาจจะจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินของตนได้ การที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางยังไม่ทำให้รถจักรยานยนต์ของกลางตกเป็น ของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 35 เพราะคดียังไม่ถึงที่สุด เนื่องจากมีการฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ควรริบรถจักรยานยนต์ของกลาง ดังนี้ในระหว่างที่คดีอยู่ในการพิจารณาของศาลฎีกา เจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางที่แท้จริงย่อมมีสิทธิโอนกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้องได้โดยชอบ และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามโอนกรรมสิทธิ์กันไว้ ผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางที่แท้จริงและมีสิทธิมายื่นคำร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางหลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วได้ภายในกำหนด 1 ปี และเมื่อผู้ร้องและ ส. เจ้าของเดิมของรถจักรยานยนต์ของกลางขณะที่จำเลยนำไปใช้ในการกระทำความผิด มิได้มีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วย จึงต้องคืนรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3829/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่ถูกริบ: สิทธิของเจ้าของเดิมก่อนคดีถึงที่สุด
ทรัพย์สินซึ่งศาลพิพากษาให้ริบจะตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 35 ก็ต่อเมื่อคดีถึงที่สุด แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะมีคำพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง แต่เมื่อมีการฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในข้อดังกล่าวและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา รถจักรยานยนต์ของกลางดังกล่าว จึงยังหาตกเป็นของแผ่นดินไม่ ดังนั้น เจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์ของกลางย่อมโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ร้องได้ เพราะไม่มีกฎหมายใดบัญญัติห้ามโอนกรรมสิทธิ์กันไว้ ผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางที่แท้จริง และมีสิทธิยื่นคำร้อง ขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางหลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วภายในกำหนด 1 ปีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3829/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนทรัพย์สินที่ถูกริบ: เจ้าของแท้จริงมีสิทธิแม้ไม่ใช่เจ้าของขณะกระทำผิด
ตาม ป.อ. มาตรา 36 ผู้เป็นเจ้าของแท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนทรัพย์สินที่ถูกริบ ไม่จำกัดเฉพาะผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินในขณะมีการกระทำความผิดเท่านั้น
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมมีอำนาจจะจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินของตนได้ การที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางยังไม่ทำให้รถจักรยานยนต์ของกลางตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.อ.มาตรา 35 เพราะคดียังไม่ถึงที่สุด เนื่องจากมีการฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ควรริบรถจักรยานยนต์ของกลาง ดังนี้ในระหว่างที่คดีอยู่ในการพิจารณาของศาลฎีกา เจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางที่แท้จริงย่อมมีสิทธิโอนกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้องได้โดยชอบ และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามโอนกรรมสิทธิ์กันไว้ ผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางที่แท้จริงและมีสิทธิมายื่นคำร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางหลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วได้ภายในกำหนด 1 ปี และเมื่อผู้ร้องและ ส.เจ้าของเดิมของรถจักรยานยนต์ของกลางขณะที่จำเลยนำไปใช้ในการกระทำความผิด มิได้มีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วย จึงต้องคืนรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้อง
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมมีอำนาจจะจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินของตนได้ การที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางยังไม่ทำให้รถจักรยานยนต์ของกลางตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.อ.มาตรา 35 เพราะคดียังไม่ถึงที่สุด เนื่องจากมีการฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ควรริบรถจักรยานยนต์ของกลาง ดังนี้ในระหว่างที่คดีอยู่ในการพิจารณาของศาลฎีกา เจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางที่แท้จริงย่อมมีสิทธิโอนกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้องได้โดยชอบ และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามโอนกรรมสิทธิ์กันไว้ ผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางที่แท้จริงและมีสิทธิมายื่นคำร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางหลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วได้ภายในกำหนด 1 ปี และเมื่อผู้ร้องและ ส.เจ้าของเดิมของรถจักรยานยนต์ของกลางขณะที่จำเลยนำไปใช้ในการกระทำความผิด มิได้มีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วย จึงต้องคืนรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3827/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญารับฝากขาย การหักกลบลบหนี้ค่าเสียหาย และสิทธิในการได้รับเงินประกันคืน
โจทก์และจำเลยทำสัญญารับฝากขายสินค้ากันโดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนเดือนละ 120,000 บาท แก่จำเลย และโจทก์วางเงิน ไว้เป็นประกันแก่จำเลย 575,100 บาท โดยพื้นที่รับฝากสินค้า จำเลยเช่ามาจากบริษัทซ.ต่อมาบริษัทซ.บอกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่กับจำเลย จำเลยจึงไม่สามารถให้โจทก์ใช้พื้นที่ได้ ทำให้สัญญารับฝากขายสินค้าพิพาทต้องเลิกกันโดยโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ คู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 การชำระหนี้ ของคู่สัญญาอันเกิดแก่การเลิกสัญญานั้น มาตรา 392 ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 369 ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทน มาใช้บังคับโจทก์ต้องออกจากพื้นที่พิพาทเพื่อกลับคืนสู่ฐานะเดิมแต่โจทก์เมื่อยังไม่ได้ออกจากพื้นที่พิพาท จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเอาเงินประกันคืนจากจำเลยได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงหยิบยก ขึ้นมาวินิจฉัยได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วย มาตรา 246 และ 247 แต่เมื่อ จำเลยได้ฟ้องแย้งและฎีกาขอให้เอาเงินค่าเสียหายที่โจทก์ ต้องชำระแก่จำเลยหักออกจากเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับ จำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยขอหักหนี้โดยไม่ต้องการประโยชน์ แห่งเงื่อนเวลาต่อไป ซึ่งย่อมกระทำได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 192 วรรคสอง จึงต้องนำเอาค่าเสียหายที่โจทก์ก่อขึ้นอันเนื่องมาจากการ ไม่ส่งมอบพื้นที่พิพาทให้แก่จำเลยตลอดเวลาที่ยังไม่ส่งมอบ พื้นที่พิพาทคืนหักกับเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลย ดังกล่าวจนกว่าจะส่งมอบพื้นที่พิพาทคืน การที่จำเลยฎีกาว่า เมื่อหักกับเงินประกันของโจทก์ที่เหลืออยู่ จำนวน 352,361.76 บาทแล้ว โจทก์จะต้องชำระเงินค่าเสียหาย ให้แก่จำเลยอีกจำนวน 212,698.56 บาทนั้นเป็นฎีกาที่เกินกว่า คำขอตามฟ้องแย้งของจำเลย ศาลบังคับให้ไม่ได้เพราะฟ้องแย้ง เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง