พบผลลัพธ์ทั้งหมด 420 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินค่าที่ดินขาดจำนวน: พิจารณาจากวันที่รู้สิทธิและอายุความทั่วไปสิบปี
ป.พ.พ.มาตรา 467 ห้ามฟ้องในกรณีที่มีการส่งมอบทรัพย์ที่ซื้อขายขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวนจากที่ตกลงซื้อขายกันเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาส่งมอบดังนั้น หากผู้ซื้อต้องการเรียกร้องให้ผู้ขายส่งมอบที่ดินที่ขาดจำนวนเพื่อให้ตรงตามที่ตกลงซื้อขายกัน ผู้ซื้อต้องฟ้องให้ผู้ขายรับผิดส่งมอบที่ดินส่วนที่ขาดดังกล่าวแก่ผู้ซื้อภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนซื้อขาย
โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยส่งมอบที่ดินส่วนที่ขาดตกบกพร่องจากจำนวนที่ซื้อขายกันแก่โจทก์ แต่กรณีเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินส่วนที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไปบางส่วนคืนด้วยเหตุที่จำเลยส่งมอบที่ดินที่ซื้อขายกันขาดตกบกพร่องจากจำนวนที่ตกลงซื้อขายกัน และจำเลยไม่อาจอ้างกฎหมายที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวไว้โดยชอบ จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 406กรณีต้องบังคับด้วยอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตาม มาตรา 419 ที่บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น โจทก์จำเลยจดทะเบียนซื้อขายที่ดินกันเมื่อวันที่ 27พฤศจิกายน 2533 อันถือได้ว่าจำเลยได้ส่งมอบที่ดินที่ซื้อขายกันให้แก่โจทก์โดยชอบในวันดังกล่าว สิทธิที่โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินฐานลาภมิควรได้เกิดขึ้นแล้วแต่โจทก์เพิ่งมารู้ว่าที่ดินที่ซื้อจากจำเลยขาดตกบกพร่องจำนวนไปเมื่อได้มีการเปลี่ยนหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาเป็นโฉนดที่ดินที่ทางราชการออกให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2535 และนำคดีมาฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้เป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2536 จึงยังไม่พ้นกำหนดหนึ่งปีคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการซื้อขายกันเป็นอย่างอื่น การปฏิบัติต่อกันตามสัญญาซื้อขายทั่วไปจึงต้องถืออายุความทั่วไปสิบปี ตามป.พ.พ.มาตรา 193/30
จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่า ไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์และคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพียงว่า โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายกันตามฟ้อง และคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่เท่านั้น การที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องที่จำเลยได้ส่งมอบที่ดินให้โจทก์ครบถ้วนแล้วและที่ดินของโจทก์มีเนื้อที่ขาดไปเพราะถูกกันเป็นถนนและในปัญหาอื่นนอกจากนี้ขึ้นมาแม้จำเลยจะได้นำสืบไว้ก็ถือว่าเป็นการนำสืบนอกคำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาทถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งการที่ที่ดินที่ซื้อขายจะส่งมอบให้แก่กันขาดจำนวนมากน้อยเพียงใดและด้วยเหตุใดนั้น ไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาเหล่านี้ของจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 225 ชอบแล้ว
โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยส่งมอบที่ดินส่วนที่ขาดตกบกพร่องจากจำนวนที่ซื้อขายกันแก่โจทก์ แต่กรณีเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินส่วนที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไปบางส่วนคืนด้วยเหตุที่จำเลยส่งมอบที่ดินที่ซื้อขายกันขาดตกบกพร่องจากจำนวนที่ตกลงซื้อขายกัน และจำเลยไม่อาจอ้างกฎหมายที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวไว้โดยชอบ จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 406กรณีต้องบังคับด้วยอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตาม มาตรา 419 ที่บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น โจทก์จำเลยจดทะเบียนซื้อขายที่ดินกันเมื่อวันที่ 27พฤศจิกายน 2533 อันถือได้ว่าจำเลยได้ส่งมอบที่ดินที่ซื้อขายกันให้แก่โจทก์โดยชอบในวันดังกล่าว สิทธิที่โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินฐานลาภมิควรได้เกิดขึ้นแล้วแต่โจทก์เพิ่งมารู้ว่าที่ดินที่ซื้อจากจำเลยขาดตกบกพร่องจำนวนไปเมื่อได้มีการเปลี่ยนหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาเป็นโฉนดที่ดินที่ทางราชการออกให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2535 และนำคดีมาฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้เป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2536 จึงยังไม่พ้นกำหนดหนึ่งปีคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการซื้อขายกันเป็นอย่างอื่น การปฏิบัติต่อกันตามสัญญาซื้อขายทั่วไปจึงต้องถืออายุความทั่วไปสิบปี ตามป.พ.พ.มาตรา 193/30
จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่า ไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์และคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพียงว่า โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายกันตามฟ้อง และคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่เท่านั้น การที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องที่จำเลยได้ส่งมอบที่ดินให้โจทก์ครบถ้วนแล้วและที่ดินของโจทก์มีเนื้อที่ขาดไปเพราะถูกกันเป็นถนนและในปัญหาอื่นนอกจากนี้ขึ้นมาแม้จำเลยจะได้นำสืบไว้ก็ถือว่าเป็นการนำสืบนอกคำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาทถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งการที่ที่ดินที่ซื้อขายจะส่งมอบให้แก่กันขาดจำนวนมากน้อยเพียงใดและด้วยเหตุใดนั้น ไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาเหล่านี้ของจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 225 ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1868/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดเจตนา: การไถดินในพื้นที่ครอบครองตามปกติ ไม่เป็นความผิดป่าสงวน
บริเวณที่เกิดเหตุเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติชื่อป่าขุนซ่องซึ่งการกำหนดเขตป่าสงวนดังกล่าวได้ออกเป็นกฎกระทรวงและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งได้ปิดประกาศให้ ประชาชนทั่วไปทราบแล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ทราบว่า บริเวณที่เกิดเหตุเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่เขตป่าสงวนแห่งชาติ บริเวณนี้มีราษฎรเข้าทำประโยชน์อยู่ทั่วไป โดยทำไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลังและไร่ต้นยูคาลิปตัส ซึ่งทางกรมป่าไม้และ ฝ่ายปกครองอนุโลมผ่อนผันให้ราษฎรที่ทำประโยชน์อยู่แล้วได้ทำ ประโยชน์ต่อไปเป็นแต่ไม่ให้บุกรุกป่าเพิ่มขึ้น ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันจะได้รับหนังสือสิทธิทำกิน บริเวณที่เกิดเหตุเป็นที่ดินที่ผ่านการทำประโยชน์มาแล้ว สภาพทั่วไปมีแต่กิ่งไม้ ตอไม้จะมีต้นไม้ขึ้นบ้างเป็นต้นเล็ก ๆ แสดงว่าบริเวณที่เกิดเหตุเป็น ที่ดินที่ได้รับการผ่อนผันให้ราษฎรเข้าทำประโยชน์ได้ จำเลยที่ 1 เป็นคนอยู่นอกพื้นที่ห่างไกลจากเขตป่าสงวนแห่งชาติบริเวณ ที่เกิดเหตุมีอาชีพรับจ้างขับรถ แบคโฮ ขุดสระน้ำและไถดิน เมื่อ จำเลยที่ 3 ว่าจ้างมาขุดสระน้ำในไร่อ้อยของจำเลยที่ 3 ทั้งบริเวณใกล้เคียงก็ล้วนเป็นที่ดินทำไร่มีผู้ครอบครอง หลังจากขุด สระน้ำให้จำเลยที่ 3 เสร็จแล้วก็ถูกว่าจ้างให้เข้าไปไถในบริเวณ ที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับที่ดินไร่อ้อยของจำเลยที่ 3 อีก ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจได้ว่าที่เกิดเหตุ เป็นที่ดินที่มีผู้ครอบครองที่จะนำรถขุดเข้าไปไถได้เช่นที่ จำเลยที่ 3 ให้ขุดสระน้ำในไร่อ้อยของจำเลยที่ 3 ซึ่งในชั้นจับกุม และชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 ก็ให้การยืนยันว่ามีผู้ว่าจ้าง ให้เข้าไปไถดินในบริเวณที่เกิดเหตุ ทำให้เห็นว่าจำเลยที่ 1ได้กระทำไปโดยสำคัญผิดเข้าใจว่าสามารถที่จะเข้าไปไถที่บริเวณที่เกิดเหตุได้ เป็นการขาดเจตนา การกระทำของจำเลยที่ 1 ย่อมไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772-1773/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: กฎกาฟต้า, ข้อตกลง, และการบังคับตามอนุสัญญา NYC
สัญญาซื้อขายข้าวระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลย คู่สัญญาทำขึ้นตามข้อกำหนดและเงื่อนไขทั่วไปตามที่ระบุในสัญญาของก๊าฟต้า ซึ่งตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาของก๊าฟต้าระบุให้ข้อพิพาทใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากหรือตามสัญญานี้ต้องพิจารณาตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการ กฎอนุญาโตตุลาการและแบบฟอร์มของสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้
เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการและคำชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นไปตามกฎอนุญาโตตุลาการของก๊าฟต้า ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาซื้อขายแล้ว แม้วิธีพิจารณาของอนุญาโตตุลาการตามกฎดังกล่าวจะแตกต่างไปจากบทบัญญัติใน พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 อยู่บ้าง จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว จะอ้างว่าขัดต่อ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 เพราะมิได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการในชั้นพิจารณาอุทธรณ์หาได้ไม่ ศาลจะทำคำสั่งปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ก็ต่อเมื่อปรากฏว่ามีเหตุดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 34 และมาตรา 35 แต่ก็ไม่ปรากฏกรณีดังกล่าว ดังนั้น คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการและคำชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามฟ้อง จึงเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศที่อยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ก ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2501 (ค.ศ. 1958) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอันจะได้รับการรับรองและบังคับในราชอาณาจักรไทย ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง และผูกพันจำเลย
โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 และจำเลยนำข้อพิพาทเสนออนุญาโตตุลาการชี้ขาด เมื่ออนุญาโตตุลาการชี้ขาดแล้ว โจทก์ที่ 1 และจำเลยได้อุทธรณ์คำชี้ขาดต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามกฎอนุญาโตตุลาการข้อที่ 125 ส่วนโจทก์ที่ 2 ยื่นเอกสารผลการพิจารณา คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2536 ซึ่งโจทก์ทั้งสองและจำเลยได้รับทราบตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสี่ โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2537 อันมีผลเป็นการยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ คำร้องขอของโจทก์ทั้งสองจึงยื่นภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว
เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการและคำชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นไปตามกฎอนุญาโตตุลาการของก๊าฟต้า ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาซื้อขายแล้ว แม้วิธีพิจารณาของอนุญาโตตุลาการตามกฎดังกล่าวจะแตกต่างไปจากบทบัญญัติใน พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 อยู่บ้าง จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว จะอ้างว่าขัดต่อ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 เพราะมิได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการในชั้นพิจารณาอุทธรณ์หาได้ไม่ ศาลจะทำคำสั่งปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ก็ต่อเมื่อปรากฏว่ามีเหตุดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 34 และมาตรา 35 แต่ก็ไม่ปรากฏกรณีดังกล่าว ดังนั้น คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการและคำชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามฟ้อง จึงเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศที่อยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ก ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2501 (ค.ศ. 1958) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอันจะได้รับการรับรองและบังคับในราชอาณาจักรไทย ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง และผูกพันจำเลย
โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 และจำเลยนำข้อพิพาทเสนออนุญาโตตุลาการชี้ขาด เมื่ออนุญาโตตุลาการชี้ขาดแล้ว โจทก์ที่ 1 และจำเลยได้อุทธรณ์คำชี้ขาดต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามกฎอนุญาโตตุลาการข้อที่ 125 ส่วนโจทก์ที่ 2 ยื่นเอกสารผลการพิจารณา คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2536 ซึ่งโจทก์ทั้งสองและจำเลยได้รับทราบตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสี่ โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2537 อันมีผลเป็นการยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ คำร้องขอของโจทก์ทั้งสองจึงยื่นภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1728/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินผ่านนายหน้า: จำเลยไม่ต้องรับผิดฐานฉ้อโกง หากโจทก์ทราบสถานะนายหน้าและไม่ได้พิสูจน์การหลอกลวง
ขณะตกลงซื้อขายที่ดินกันโจทก์ร่วมรู้อยู่แล้วว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของ แต่เป็นนายหน้าขายที่ดินเท่านั้น แสดงว่า โจทก์ร่วมซึ่งประกอบอาชีพจัดสรรบ้านและที่ดินขายย่อมทราบว่าผู้ทำธุรกิจเป็นนายหน้านำที่ดินของบุคคลอื่นมาเสนอขายย่อมต้องการบำเหน็จเป็นค่าตอบแทนทั้งเมื่อโจทก์ร่วมตกลง ซื้อที่ดินแล้วโจทก์ร่วมก็ไม่ได้พบเจ้าของที่ดินเลยนั้นก็ไม่เป็น การผิดปกติที่จะฟังว่าเป็นการปกปิดหลอกลวงโจทก์ร่วม เพราะจำเลยอาจต้องการผลต่างของราคาที่ดินเป็นกำไร อีกส่วนหนึ่งจากการขายที่ดินก็เป็นได้ ทั้ง ท.และอ. เจ้าของที่ดินก็รับว่าได้รับเงินมัดจำที่โจทก์ร่วมมอบผ่านจำเลย มาให้ตนแล้ว นอกจากนี้ก่อนที่โจทก์ร่วมจะตกลงซื้อที่ดิน โจทก์ร่วมได้ไปดูที่ดินกับจำเลยแล้วด้วย ดังนั้น การที่ โจทก์ร่วมนำหนังสือแจ้งการครอบครองที่ดินไปตรวจแล้ว ปรากฏว่าชื่อผู้ถือสิทธิครอบครองไม่ใช่ ท.กับอ. ก็ดีหรือต่อมาภายหลังเมื่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินได้ตรวจสอบแล้วไม่อาจที่จะออกหนังสือรับรอง การทำประโยชน์เพื่อโอนขายให้แก่โจทก์ร่วมได้ตามที่ตกลงกันก็เป็นเรื่องของเหตุการณ์ที่ไม่สามารถเป็นไปตามที่ตกลงกันเท่านั้น เมื่อพิจารณาถึงการที่จำเลยรับเงินจากโจทก์ร่วมเพื่อนำไปให้เจ้าของที่ดินจำนวน 600,000 บาทนั้นจำเลยได้ทำหลักฐานการรับเงินให้แก่โจทก์ร่วมจนครบถ้วน และเมื่อโจทก์ร่วมขอเงินคืน จำเลยก็รับว่าจะคืนให้ แต่ขอเลื่อนเวลาออกไปก่อน พฤติการณ์เช่นนี้จึงเป็น เรื่องผูกพันกันในทางแพ่งว่าฝ่ายไหนเป็นฝ่ายผิดสัญญาคดีของโจทก์และโจทก์ร่วมยังไม่มีน้ำหนักพอที่จะให้ฟังว่าการกระทำของจำเลยเป็นการหลอกลวงโจทก์ร่วมด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่ง ควรบอกให้แจ้ง อันจะเป็นความผิดอาญาฐานฉ้อโกงตามฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุโต้แย้งข้อเท็จจริงที่รับสารภาพแล้ว และฎีกาโต้เถียงดุลยพินิจศาล
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานรับของโจรสามกรรม ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีความผิดเพียงกรรมเดียว เมื่อพิจารณาคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ว่าจำเลยรับทรัพย์ ของผู้เสียหายไว้คราวเดียวเท่านั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยได้ให้การรับสารภาพแล้ว และเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย แต่จำเลยกลับฎีกาในปัญหาข้อนี้ว่า โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดมาแสดงให้เห็นว่า จำเลยได้รับทรัพย์ ของกลางดังกล่าวไปแต่ละคราวอย่างไร จึงถือได้ว่าทรัพย์ของกลาง นั้นจำเลยได้รับไว้ในคราวเดียวกัน และความผิดฐานรับของโจรสำเร็จทันทีตั้งแต่เวลาที่จำเลยได้รับทรัพย์นั้นไว้ในครอบครอง หลังจากนั้นจำเลยจะได้แยกทรัพย์ที่ได้รับมาออกใช้หรือจำหน่าย ประการใดก็ตาม ก็หาเป็นความผิดฐานรับของโจรขึ้นอีกไม่จำเลยจึงมีความผิดเพียงกรรมเดียวนั้น เป็นฎีกาที่หาได้โต้แย้ง คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร จึงเป็นฎีกา ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อเป็นหลักประกันการกู้ยืม ไม่ถือเป็นเช็คชำระหนี้ ผู้กู้ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
ตามหนังสือสัญญากู้เงินที่จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ไปจำนวน 360,000 บาท ระบุว่าเพื่อเป็นหลักฐานในเงินซึ่ง ข้าพเจ้าได้กู้ไปนี้ ข้าพเจ้าได้นำเช็คจำนวน 1 ฉบับแนบคู่สัญญาให้ท่านยึดไว้เป็นประกันด้วย ข้อความที่ระบุดังกล่าวมีความหมายชัดแจ้งว่าเช็คนั้นเป็นเช็คที่จำเลยออกให้โจทก์เป็นหลักประกันในการที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปมิใช่เช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ แม้ตามหนังสือสัญญากู้เงินจะมีข้อความว่าในจำนวนเงินซึ่งข้าพเจ้าได้กู้ไปนี้ ข้าพเจ้าจะนำมาใช้ให้ท่านเสร็จภายในวันที่ 2กรกฎาคม 2539 ซึ่งเป็นวันที่ลงไว้ในเช็คก็ตาม ก็จะตีความว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ไม่ได้เพราะมีความหมายเพียงว่า จำเลยจะนำเงินมาชำระให้โจทก์ภายในวันที่ที่ระบุไว้เท่านั้น เมื่อจำเลยออกเช็คเพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ มิได้ออกเพื่อชำระหนี้แล้ว จำเลยย่อมไม่มีความผิด แม้ต่อมา จำเลยจะได้ขอผัดผ่อนชำระเงินต้นคืนแก่โจทก์ และขอให้โจทก์ อย่านำเช็คไปเรียกเก็บเงินก็ไม่ทำให้จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเป็นหลักประกันการกู้ยืม ไม่ถือเป็นเช็คชำระหนี้ จำเลยไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินไปจากโจทก์ และมีข้อความระบุไว้ในสัญญาว่า เพื่อเป็นหลักฐานในเงินซึ่งจำเลยได้กู้ไปนี้จำเลยได้นำเช็คจำนวน 1 ฉบับ ให้โจทก์ยึดไว้เป็นประกันด้วยย่อมมีความหมายชัดแจ้งว่า เช็คฉบับดังกล่าวเป็นเช็คที่จำเลยได้ออกให้แก่โจทก์เป็นหลักประกันในการที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป มิใช่เช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ แม้ตามหนังสือสัญญากู้เงินจะมีข้อความว่าในจำนวนเงินซึ่งจำเลยได้กู้ไปนี้ จำเลยจำนำมาใช้ให้โจทก์เสร็จภายในวันที่ลงไว้ในเช็คก็ตาม ก็จะตีความว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ไม่ได้ ดังนี้ เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อ เป็นหลักประกันการชำระหนี้ มิได้ออกเพื่อชำระหนี้แล้ว จำเลยย่อมไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 แม้ต่อมาจำเลย จะได้ขอผัดผ่อนชำระเงินต้นคืนแก่โจทก์ และขอให้โจทก์ อย่านำเช็คไปเรียกเก็บเงินก็ไม่ทำให้จำเลยกลับมีความผิดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อประกันการกู้ยืมเงิน ไม่ถือเป็นเช็คชำระหนี้ ไม่ผิด พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินไปจากโจทก์จำนวน 360,000 บาทและมีข้อความระบุไว้ในสัญญาว่า เพื่อเป็นหลักฐานในเงินซึ่งจำเลยได้กู้ไปนี้ จำเลยได้นำเช็คจำนวน 1 ฉบับ ให้โจทก์ยึดไว้เป็นประกันด้วยย่อมมีความหมายชัดแจ้งว่าเช็คฉบับดังกล่าวเป็นเช็คที่จำเลยได้ออกให้แก่โจทก์เป็นหลักประกันในการที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป มิใช่เช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ แม้ตามหนังสือสัญญากู้เงินจะมีข้อความว่า ในจำนวนเงินซึ่งจำเลยได้กู้ไปนี้ จำเลยจะนำมาใช้ให้โจทก์เสร็จภายในวันที่ลงไว้ในเช็คก็ตาม ก็จะตีความว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ไม่ได้ดังนี้ เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ มิได้ออกเพื่อชำระหนี้แล้ว จำเลยย่อมไม่มีความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4 แม้ต่อมาจำเลยจะได้ขอผัดผ่อนชำระเงินต้นคืนแก่โจทก์ และขอให้โจทก์อย่านำเช็คไปเรียกเก็บเงินก็ไม่หาให้จำเลยกลับมีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สุจริตของผู้ซื้อฝาก-การเพิกถอนนิติกรรมขายฝาก: แม้มีสัญญาจะซื้อขายก่อน แต่ผู้ซื้อฝากสุจริตและชำระค่าตอบแทนแล้ว โจทก์ไม่อาจเพิกถอนได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือสำคัญเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ซึ่งทางราชการออกให้มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองต่อมาจำเลยที่ 2นำที่ดินพิพาทไปยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดินที่สำนักงานที่ดินโดยอ้างว่าซื้อมาจากจำเลยที่ 1 ตามหนังสือสัญญาขายฝากโจทก์ยื่นคำคัดค้านว่า ที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ได้ขายให้โจทก์ก่อนแล้วตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายดังนี้ แม้โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท กันก่อนที่จำเลยที่ 1 จะทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ก็ตามฐานะของโจทก์ก็มีเพียงขอให้ เพิกถอนสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ที่ทำให้โจทก์ต้องเสียเปรียบเท่านั้น แต่ในการจดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ได้เสียค่าตอบแทนชำระเงินค่าที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ไม่รู้หรือควรได้รู้ว่าโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาท จากจำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียน ขายฝากรับโอนที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทน และกระทำการโดยสุจริตแล้วโจทก์ย่อมไม่อาจที่ จะเพิกถอนนิติกรรมขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในที่ดินแก่บุคคลที่สามโดยสุจริต แม้มีสัญญาจะซื้อขายก่อนหน้านี้ ผู้ซื้อรายแรกไม่อาจเพิกถอนได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือสำคัญเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ซึ่งทางราชการออกให้มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองต่อมา จำเลยที่ 2 นำที่ดินพิพาทไปยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดินที่สำนักงานที่ดิน โดยอ้างว่าซื้อมาจากจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2515 ตามหนังสือสัญญาขายฝากแต่โจทก์ยื่นคำคัดค้านอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ได้ขายที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้วตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2515 ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายแม้โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกันเมื่อวันที่ 30 มกราคม2515 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ก็ตามฐานะของโจทก์ก็มีเพียงขอให้เพิกถอนสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ที่ทำให้โจทก์ต้องเสียเปรียบเท่านั้น แต่การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้เสียค่าตอบแทนชำระเงินค่าที่ดิน-พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ไม่รู้หรือควรได้รู้ว่า โจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้ว ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนขายฝากรับโอนที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทนและกระทำการโดยสุจริตแล้ว โจทก์ก็ไม่อาจที่จะเพิกถอนนิติกรรมขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองได้