คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพศาล เจริญวุฒิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 420 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาขายฝากที่ดิน: สิทธิของโจทก์ผู้ทำสัญญาจะซื้อขายก่อน และผลของการจดทะเบียนโดยสุจริต
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองต่อมาจำเลยที่ 2 นำที่ดินพิพาทไปยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดินที่สำนักงานที่ดิน โดยอ้างว่าซื้อมาจากจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2515 ตามหนังสือสัญญาขายฝาก การที่โจทก์ยื่นคำคัดค้านอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ก่อนแล้วตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2515 ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายก่อนที่จำเลยที่ 1 จะทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1ได้สละและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ดังนี้ ฐานะของโจทก์ย่อมมีเพียงขอให้เพิกถอนสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ที่ทำให้โจทก์ต้องเสียเปรียบเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2ได้เสียค่าตอบแทนชำระเงินค่าที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1และโดยจำเลยที่ 2 ไม่รู้หรือควรได้รู้ว่าโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนขายฝากรับโอนที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทนและกระทำการโดยสุจริตแล้ว โจทก์ก็ไม่อาจที่จะเพิกถอนนิติกรรมขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1332/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรถปล่อยเช่าโดยไม่ดูแลการใช้งาน ย่อมถือว่ารู้เห็นเป็นใจกับการกระทำความผิด
หลังจากจำเลยเช่ารถจากผู้ร้องโดยอ้างว่าเพื่อ บรรทุกพืชไร่ พืชสวนแล้ว ผู้ร้องก็ไม่ได้สนใจว่าจำเลย จะนำรถของกลางไปบรรทุกสิ่งของใด หรือจะบรรทุกน้ำหนักเกิน อย่างไรก็ได้ ซึ่งผู้ร้องไม่เคยห้ามปรามหรือทักท้วงมิให้จำเลย นำรถไปบรรทุกน้ำหนักเกิน ทั้งในสัญญาเช่ารถที่ผู้ร้องและจำเลยทำต่อกันก็มิได้ระบุห้ามไว้ด้วย ตามพฤติการณ์จึงส่อแสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องไม่ได้ใส่ใจดูแลรถของตนเท่าที่ควร แต่ปล่อยให้จำเลยนำรถไปใช้ได้ตามอำเภอใจแม้เป็นความผิด ผู้ร้องก็ไม่ห้ามปรามหรือหาทางเลิกสัญญาเช่านั้นเสีย ผู้ร้องพอใจเพียงขอให้ตนได้รับเงินค่าเช่าเท่านั้นเอง กรณีเช่นนี้ถือได้ว่า ผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตำรวจในการจับกุมและสอบสวนนอกเขตท้องที่: ความผิดต่อเนื่องและเหตุความผิดซึ่งหน้า
แม้จ่าสิบตำรวจ ส. เป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนก็ตาม แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(16)จ่าสิบตำรวจ ส. มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทำการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายได้และยังมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 17 อำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาดังกล่าวนี้ ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดจำกัดให้ปฏิบัติหน้าที่ได้เฉพาะ ในเขตท้องที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นประจำการอยู่เท่านั้นเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวจึงมีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร ดังนั้น จ่าสิบตำรวจ ส. ย่อมมีอำนาจที่จะไปจับกุมจำเลยที่ 1 ซึ่งมีที่อยู่ในเขตท้องที่ สถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร ได้ เว้นแต่ลักษณะการจับที่ไม่มีหมายจับเป็นไปโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78,81 และ 92 จำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2ในการกระทำความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีน การที่จำเลยที่ 2ขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่จ่าสิบตำรวจ ส. เป็นความผิดซึ่งหน้าเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกจับกุมแล้วได้นำจ่าสิบตำรวจ ส.ไปจับกุมจำเลยที่ 1 เป็นการต่อเนื่องกันทันที ถือได้ว่าจ่าสิบตำรวจ ส. จับกุมจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดซึ่งหน้าด้วยเช่นกัน เพราะหากล่าช้า จำเลยที่ 1ก็อาจหลบหนีไปได้ และการตรวจค้นตัวจำเลยที่ 1 ยังพบ เมทแอมเฟตามีนของกลางอีก 95 เม็ด ดังนั้น แม้จ่าสิบตำรวจ ส. เข้าไปจับจำเลยที่ 1 ในห้องพักของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นที่ รโหฐานก็ตาม จ่าสิบตำรวจ ส. ก็ย่อมมีอำนาจที่จะจับกุมจำเลยที่ 1 ได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 81(1),92(2) การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดต่อเนื่อง และกระทำต่อเนื่องกันทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียน และสถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร ดังนั้นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนซึ่งเป็นท้องที่ที่จับกุมจำเลยที่ 2 ผู้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 จึงมี อำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 19 วรรคหนึ่ง(3) และวรรคสาม(ก) พนักงานอัยการโจทก์ จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจับกุม-สืบสวนข้ามเขต: ความผิดต่อเนื่องและความผิดซึ่งหน้า
แม้จ่าสิบตำรวจ ส.เป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนก็ตาม แต่ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2 (16) จ่าสิบตำรวจ ส.มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทำการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายได้ และยังมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา17 อำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาดังกล่าวนี้ ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดจำกัดให้ปฏิบัติหน้าที่ได้เฉพาะในเขตท้องที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นประจำการอยู่เท่านั้น เจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวจึงมีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร ดังนั้น จ่าสิบตำรวจ ส.ย่อมมีอำนาจที่จะไปจับกุมจำเลยที่ 1 ซึ่งมีที่อยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกรได้ เว้นแต่ลักษณะการจับที่ไม่มีหมายจับเป็นไปโดยมิชอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 78, 81 และ 92
จำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2 ในการกระทำความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีน การที่จำเลยที่ 2 ขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่จ่าสิบตำรวจ ส.เป็นความผิดซึ่งหน้า เมื่อจำเลยที่ 2 ถูกจับกุมแล้วได้นำจ่าสิบตำรวจส.ไปจับกุมจำเลยที่ 1 เป็นการต่อเนื่องกันทันที ถือได้ว่าจ่าสิบตำรวจ ส.จับกุมจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดซึ่งหน้าด้วยเช่นกัน เพราะหากล่าช้า จำเลยที่ 1 ก็อาจหลบหนีไปได้ และการตรวจค้นตัวจำเลยที่ 1 ยังพบเมทแอมเฟตามีนของกลางอีก 95เม็ด ดังนั้น แม้จ่าสิบตำรวจ ส.เข้าไปจับจำเลยที่ 1 ในห้องพักของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นที่รโหฐานก็ตาม จ่าสิบตำรวจ ส.ก็ย่อมมีอำนาจที่จะจับกุมจำเลยที่ 1 ได้โดยชอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 81 (1), 92 (2)
การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนและสถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนซึ่งเป็นท้องที่ที่จับกุมจำเลยที่ 2 ผู้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามป.วิ.อ.มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (3) และวรรคสาม (ก) พนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจับกุมและสอบสวนข้ามเขตท้องที่: ความผิดซึ่งหน้าและต่อเนื่อง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(16)เจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทำการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายได้และตามมาตรา 17 ยังมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ซึ่งอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดจำกัดให้ปฏิบัติหน้าที่ได้เฉพาะในเขตท้องที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นประจำการอยู่เท่านั้นอันหมายความว่าเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร จำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2การที่จำเลยที่ 2 ขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจนั้น ย่อมเป็นความผิดซึ่งหน้า เมื่อจำเลยที่ 2 ถูกจับกุมในเขตท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียน แล้วได้นำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยที่ 1 ในเขตท้องที่สถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร เป็นการต่อเนื่องกันทันทีเช่นนี้จึงถือได้ว่าเป็นการจับกุมจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดซึ่งหน้าด้วยเช่นกันซึ่งหากล่าช้าจำเลยที่ 1 อาจหลบหนีไปได้และจากการตรวจค้นตัวจำเลยที่ 1 ยังได้เมทแอมเฟตามีนอีกด้วย ดังนั้น แม้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมจำเลยที่ 1ในห้องพักของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นที่รโหฐานก็ตาม ก็ย่อมมีอำนาจจับกุมได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 81(1),92(2) เมื่อการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนและสถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกรดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนซึ่งเป็นท้องที่ที่จับกุมจำเลยที่ 2 ผู้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (3)และวรรคสาม (ก) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีมรดกเดิมวินิจฉัยสิทธิแล้ว การฟ้องใหม่โดยอ้างกรรมสิทธิ์จากการครอบครองจึงเป็นฟ้องซ้ำ
คดีแพ่งเรื่องก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้ว โดยโจทก์กับพวกรวม 5 คน ฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินมรดกให้แก่โจทก์กับพวกโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า โจทก์กับพวกดังกล่าวเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของจำเลย ส่วนคดีนี้โจทก์ผู้เดียวฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมรดกแปลงดังกล่าวอีกโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลัก แห่งข้อหาว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดก โดยการครอบครอง เนื่องจากทายาทอื่นและจำเลยมิได้ เข้าครอบครองที่ดินส่วนนี้และมิได้ฟ้องขอแบ่งมรดกภายในเวลา 1 ปี นับแต่ท.เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จึงขอให้ศาลบังคับจำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ดังนี้ประเด็นสำคัญในคดีก่อนมีว่า โจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินมรดกเพียงใด การที่โจทก์ กลับมาฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์ได้ครอบครองทรัพย์มรดกจน ได้กรรมสิทธิ์เกินกว่าส่วนที่ตนมีสิทธิได้รับตามคำพิพากษา ของศาลที่ได้วินิจฉัยไว้ในคดีก่อนว่าโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดก ในที่ดินพิพาทเพียงใดนั้น แม้จะเป็นการเบี่ยงเบนข้อเท็จจริงว่า โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทอีก 4 คน และต่อมาทายาทดังกล่าวก็ได้สละสิทธิที่จะพึงได้ให้แก่โจทก์แล้วก็ตาม เมื่อศาล ต้องวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ และโจทก์ มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเพียงใด คดีนี้จึงมีประเด็นที่ได้วินิจฉัย โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อน จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีมรดกเดิมมีข้อพิพาทเรื่องสิทธิส่วนแบ่ง หากฟ้องใหม่ประเด็นเดิม แม้เปลี่ยนเหตุผล ก็ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์กับพวกรวม 5 คน ฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินมรดก ตามโฉนดที่ดิน เลขที่ 803 โดยอ้างว่าโจทก์กับพวกเป็นทายาท ขอแบ่งมรดกจากจำเลย ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดเลขที่ 803 โดยอ้างว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกโดยการครอบครอง เนื่องจากทายาทอื่นและจำเลยมิได้เข้าครอบครองที่ดินส่วนนี้ และมิได้ฟ้องขอแบ่งมรดกภายในเวลา 1 ปี นับแต่เจ้ามรดก ถึงแก่ความตาย ประเด็นสำคัญแห่งคดีก่อนจึงมีว่า โจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินมรดกเพียงใด และคดีนี้ ศาลก็คงต้องวินิจฉัยอีกว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ และโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเพียงใด ดังนั้น คดีนี้ จึงมีประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีก่อน เป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีมรดก - การอ้างกรรมสิทธิ์จากการครอบครองเมื่อเคยมีคำพิพากษาแล้ว
คดีแพ่งเรื่องก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้ว โดยโจทก์กับพวกรวม 5 คนฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินมรดกให้แก่โจทก์กับพวก โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า โจทก์กับพวกดังกล่าวเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของจำเลย ส่วนคดีนี้โจทก์ผู้เดียวฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมรดกแปลงดังกล่าวอีกโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกโดยการครอบครอง เนื่องจากทายาทอื่นและจำเลยมิได้เข้าครอบครองที่ดินส่วนนี้และมิได้ฟ้องขอแบ่งมรดกภายในเวลา 1 ปี นับแต่ ท.เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จึงขอให้ศาลบังคับจำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ดังนี้ประเด็นสำคัญในคดีก่อนมีว่าโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินมรดกเพียงใด การที่โจทก์กลับมาฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์ได้ครอบครองทรัพย์มรดกจนได้กรรมสิทธิ์เกินกว่าส่วนที่ตนมีสิทธิได้รับตามคำพิพากษาของศาลที่ได้วินิจฉัยไว้ในคดีก่อนว่าโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกในที่ดินพิพาทเพียงใดนั้น แม้จะเป็นการเบี่ยงเบนข้อเท็จจริงว่า โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทอีก 4 คน และต่อมาทายาทดังกล่าวก็ได้สละสิทธิที่จะพึงได้ให้แก่โจทก์แล้วก็ตาม เมื่อศาลต้องวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ และโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเพียงใด คดีนี้จึงมีประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อน จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบตามสัญญา และการคิดดอกเบี้ยหลังบอกเลิกสัญญากู้
ตามสัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันระบุว่าบรรดาหนังสือ จดหมาย คำบอกกล่าว และเอกสารใด ๆของผู้รับจำนอง หากได้ส่งไปยังสถานที่ที่ผู้จำนองระบุว่าเป็น ภูมิลำเนาของผู้จำนองตามสัญญาฉบับนี้ หรือสถานที่แห่งอื่นที่ผู้จำนองแจ้งการเปลี่ยนแปลงเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าผู้รับจำนองจะได้นำส่งด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ ไม่ว่าจะลงทะเบียนหรือไม่ และไม่ว่าจะมีผู้รับหรือไม่ก็ตามผู้จำนองยินยอมให้ถือว่า บรรดาหนังสือหรือเอกสารดังกล่าวได้จัดส่งให้แก่ผู้รับจำนองโดยชอบแล้ว ดังนั้น การที่โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวไปให้จำเลยตามที่อยู่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาที่จำเลยระบุไว้ในสัญญาจำนอง จึงเป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ นอกจากนี้โจทก์ยังได้ส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปให้แก่จำเลยที่บ้านซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยอีกด้วย การส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองถึงจำเลย ทั้งสองแห่งดังกล่าว เป็นทางการโดยไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับและส่งถึงสถานที่อยู่ทั้งสองแห่งแล้วเช่นนี้ ย่อมถือ ได้ว่าจำเลยได้รับและทราบหนังสือที่โจทก์บอกกล่าวบังคับ จำนอง และการที่โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายใน กำหนดอันเป็นเวลาพอสมควรก่อนที่โจทก์จะฟ้องบังคับจำนองโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 เมื่อครบกำหนดที่จำเลยต้องชำระเงินให้แก่โจทก์ตาม สัญญากู้เงินฉบับพิพาทแล้ว จำเลยผิดนัด โจทก์จึงมีหนังสือทวงถาม ให้จำเลยชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองภายใน วันที่กำหนด อันเป็นระยะเวลาอันสมควร แสดงว่าโจทก์บอกเลิกสัญญากู้เงินโดยเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้เงินและบอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว ดังนั้นความผูกพันที่โจทก์มีสิทธิปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยให้เพิ่มสูงขึ้นตามข้อตกลงในสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยย่อมสิ้นสุดไปด้วยภายในวันที่กำหนดและปรากฏว่าในวันที่ดังกล่าวตามประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อที่โจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย โจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นถึงร้อยละ 19 ต่อปี เท่านั้น ดังนี้โจทก์หาอาจจะอ้างประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้ สินเชื่อในขณะฟ้องคดีที่ให้โจทก์ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเรียกร้องเอาจากจำเลยเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 25 ต่อปี ได้ไม่เพราะเงื่อนไขให้สิทธิแก่โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญากู้สิ้นผลไปก่อนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวบังคับจำนองและการสิ้นสุดสิทธิปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามสัญญา
ตามสัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกัน ระบุว่าบรรดาหนังสือ จดหมาย คำบอกกล่าว และเอกสารใด ๆ ของผู้รับจำนอง หากได้ส่งไปยังสถานที่ที่ผู้จำนองระบุว่าเป็นภูมิลำเนาของผู้จำนองตามสัญญาฉบับนี้ หรือสถานที่แห่งอื่นที่ผู้จำนองแจ้งการเปลี่ยนแปลงเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าผู้รับจำนองจะได้นำส่งด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ ไม่ว่าจะลงทะเบียนหรือไม่ และไม่ว่าจะมีผู้รับหรือไม่ก็ตาม ผู้จำนองยินยอมให้ถือว่า บรรดาหนังสือหรือเอกสารดังกล่าว ได้จัดส่งให้แก่ผู้รับจำนองโดยชอบแล้ว ดังนั้น การที่โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวไปให้จำเลยตามที่อยู่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาที่จำเลยระบุไว้ในสัญญาจำนอง จึงเป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ นอกจากนี้โจทก์ยังได้ส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปให้แก่จำเลยที่บ้านซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยอีกด้วย การส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองถึงจำเลยทั้งสองแห่งดังกล่าว เป็นทางการโดยไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับและส่งถึงสถานที่อยู่ทั้งสองแห่งแล้วเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้รับและทราบหนังสือที่โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนอง และการที่โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในกำหนดอันเป็นเวลาพอสมควรก่อนที่โจทก์จะฟ้องบังคับจำนองโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับจำนองได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 728
เมื่อครบกำหนดที่จำเลยต้องชำระเงินให้แก่โจทก์ตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาทแล้ว จำเลยผิดนัด โจทก์จึงมีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองภายในวันที่กำหนด อันเป็นระยะเวลาอันสมควร แสดงว่าโจทก์บอกเลิกสัญญากู้เงินโดยเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้เงินและบอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว ดังนั้นความผูกพันที่โจทก์มีสิทธิปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยให้เพิ่มสูงขึ้นตามข้อตกลงในสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยย่อมสิ้นสุดไปด้วยภายในวันที่กำหนด และปรากฏว่าในวันที่ดังกล่าวตามประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อที่โจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย โจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นถึงร้อยละ 19 ต่อปี เท่านั้น ดังนี้โจทก์หาอาจจะอ้างประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อในขณะฟ้องคดีที่ให้โจทก์ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเรียกร้องเอาจากจำเลยเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 25ต่อปี ได้ไม่ เพราะเงื่อนไขให้สิทธิแก่โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญากู้สิ้นผลไปก่อนแล้ว
of 42