คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพศาล เจริญวุฒิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 420 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะสัญญาจ้างว่าความ: การรับส่วนแบ่งทรัพย์สินพิพาทขัดต่อความสงบเรียบร้อย
นิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 นั้น นอกจากเป็นกรณีที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการพ้นวิสัยแล้วยังมีกรณีที่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอีกด้วยซึ่งหมายความว่า แม้การกระทำนั้นจะไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เลย แต่ถ้าเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้วนิติกรรมนั้นก็ย่อมตกเป็นโมฆะเช่นกัน
แม้การที่โจทก์เรียกค่าจ้างว่าความจากจำเลยโดยใช้วิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้จากคู่ความนั้นจะไม่เป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 และข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความพ.ศ. 2529 สัญญาจ้างว่าความจึงไม่ตกเป็นโมฆะเพราะเหตุดังกล่าวก็ตาม แต่สัญญาจ้างว่าความฉบับพิพาท ซึ่งเดิมโจทก์มิได้มีส่วนได้เสียในที่ดินที่จำเลยกับบุคคลอื่นพิพาทกันเลยการที่โจทก์ได้ค่าจ้างว่าความเป็นที่ดิน 200 ตารางวา อันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่จำเลยพิพาทกับบุคคลอื่นนั้น ย่อมทำให้โจทก์เป็นผู้เข้าไปมีส่วนได้เสียในที่ดินดังกล่าวโดยตรง เพราะหากจำเลยต้องแพ้คดีแล้ว โจทก์ก็จะไม่ได้ค่าจ้างว่าความเนื่องจากจำเลยพิพาทกับบุคคลอื่นเกี่ยวกับที่ดินที่โจทก์จะได้รับส่วนแบ่งเป็นค่าจ้างตามฟ้องนั้นทั้งแปลง ดังนี้ สัญญาจ้างว่าความฉบับพิพาทจึงมีลักษณะเป็นการรับโอนสิทธิในการดำเนินคดีของจำเลยมาจัดการให้โดยขอรับส่วนแบ่งจากที่ดินดังกล่าวเป็นค่าตอบแทนเมื่อจำเลยชนะคดี อันเป็นการช่วยเหลือยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นเป็นความกันวัตถุประสงค์ของสัญญาจ้างว่าความดังกล่าวจึงขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นโมฆะ
นิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 นั้น นอกจากเป็นกรณีที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยกฎหมายหรือเป็นการพ้นวิสัยแล้วยังมีกรณีที่เป็นการขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอีกด้วย ซึ่งหมายความว่า แม้การกระทำนั้นจะไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง ตามที่กฎหมาย บัญญัติไว้เลย แต่ถ้าเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้วนิติกรรมนั้นก็ย่อม ตกเป็นโมฆะเช่นกัน แม้การที่โจทก์เรียกค่าจ้างว่าความจากจำเลยโดยใช้ วิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้ จากคู่ความนั้นจะไม่เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 และข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 สัญญาจ้างว่าความจึงไม่ตกเป็นโมฆะเพราะเหตุ ดังกล่าวก็ตาม แต่สัญญาจ้างว่าความฉบับพิพาท ซึ่งเดิมโจทก์มิได้มีส่วนได้เสียในที่ดินที่จำเลยกับบุคคลอื่นพิพาทกันเลยการที่โจทก์ได้ค่าจ้างว่าความเป็นที่ดิน 200 ตารางวาอันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่จำเลยพิพาทกับบุคคลอื่นนั้น ย่อมทำให้ โจทก์เป็นผู้เข้าไปมีส่วนได้เสียในที่ดินดังกล่าวโดยตรง เพราะ หากจำเลยต้องแพ้คดีแล้ว โจทก์ก็จะไม่ได้ค่าจ้างว่าความเนื่องจาก จำเลยพิพาทกับบุคคลอื่นเกี่ยวกับที่ดินที่โจทก์จะได้รับส่วนแบ่ง เป็นค่าจ้างตามฟ้องนั้นทั้งแปลง ดังนี้ สัญญาจ้างว่าความฉบับพิพาท จึงมีลักษณะเป็นการรับโอนสิทธิในการดำเนินคดีของจำเลย มาจัดการให้โดยขอรับส่วนแบ่งจากที่ดินดังกล่าวเป็นค่าตอบแทน เมื่อจำเลยชนะคดี อันเป็นการช่วยเหลือยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่น เป็นความกันวัตถุประสงค์ของสัญญาจ้างว่าความดังกล่าวจึงขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นโมฆะ
โจทก์ไม่ได้มีส่วนได้เสียในที่ดินที่จำเลยกับบุคคลอื่นพิพาทกัน การที่โจทก์ได้ค่าจ้างว่าความเป็นที่ดิน200 ตารางวา อันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่จำเลยพิพาทกับบุคคลอื่นทำให้โจทก์เข้าไปมีส่วนได้เสียในที่ดิน ดังกล่าวโดยตรง เพราะหากจำเลยแพ้คดีโจทก์จะไม่ได้ค่าจ้างว่าความ ซึ่งแสดงว่าสัญญาจ้างว่าความมีลักษณะเป็นการรับโอนสิทธิ ในการดำเนินคดีของจำเลยมาจัดการให้ โดยขอรับส่วนแบ่ง จากที่ดินเป็นค่าตอบแทนเมื่อจำเลยชนะคดี อันเป็นการ ช่วยเหลือยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นเป็นความกัน วัตถุประสงค์ ของสัญญาจ้างว่าความจึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี ของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาจ้างว่าความไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าและการสับสนในแหล่งกำเนิดสินค้า แม้มีอักษรที่แตกต่างกันเล็กน้อย
การที่เครื่องหมายการค้าตามคำร้องขอจดทะเบียนของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านต่างใช้ตัวอักษร 2 ตัวแรก จากตัวอักษรทั้งหมด 3 ตัว เป็นตัวอักษรเดียวกัน ทำให้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยดูคล้ายคลึงกัน นอกจากนี้คำเรียกขานเครื่องหมายการค้าตามคำร้องขอจดทะเบียนของโจทก์ซึ่งออกเสียงว่า "เอสเคพี" ก็ใกล้เคียงกับคำเรียกขานเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านที่ออกเสียงว่า "เอสเคเอฟ" จนอาจทำให้เกิดความสับสนในการเรียกขานสินค้าตามเครื่องหมายการค้าทั้งสอง แม้การออกเสียงเรียกขานตัวอักษรตัวสุดท้ายจะแตกต่างกันไปบ้าง ก็ไม่ใช่ส่วนสำคัญที่ทำให้คำเรียกขานของเครื่องหมายการค้าทั้งสองแตกต่างกันชัดเจน และเมื่อพิจารณาประกอบกับข้อที่ว่าเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านซึ่งได้จดทะเบียนไว้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 สำหรับสินค้าในจำพวกที่ 13 ทั้งจำพวก และได้มีการต่ออายุเรื่อยมาจนกระทั่งถึงวันที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จึงยังคงถือได้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 117 เมื่อโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันกับของผู้คัดค้าน จึงถือได้ว่า เครื่องหมายการค้าตามคำร้องขอจดทะเบียนของโจทก์มีลักษณะคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า และความสับสนในความเป็นเจ้าของสินค้า
เครื่องหมายการค้า "S.K.P." ตามคำร้องขอจดทะเบียนของโจทก์และเครื่องหมายการค้า "SKF" ของผู้คัดค้าน แม้จะมีอักษรตัวสุดท้ายคือ อักษร P กับอักษร F ต่างกันและเครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีเครื่องหมายมหัพ ภาพคั่นกลางตัวอักษรแต่ละตัว อีกทั้งลักษณะการเขียนตัวอักษรของ เครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าวจะแตกต่างกันไปบ้างแต่เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้ว การที่เครื่องหมายการค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านต่างใช้ตัวอักษร 2 ตัวแรกจากตัวอักษรทั้งหมด 3 ตัว เป็นอักษรตัวเดียวกันทำให้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้า ของจำเลยดูคล้ายคลึงกัน นอกจากนี้คำเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งออกเสียงว่า "เอสเคพี" ก็ใกล้เคียงกับคำเรียกขาน เครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านที่ออกเสียงว่า "เอสเคเอฟ" จนอาจทำให้เกิดความสับสนในการเรียกขานสินค้าได้ แม้การออกเสียงเรียกขานตัวอักษรตัวสุดท้ายในเครื่องหมายการค้าแต่ละตัวจะออกเสียงแตกต่างกันไปบ้างก็ไม่ใช่ส่วนสำคัญที่ทำให้คำเรียกขานของเครื่องหมายการค้าทั้งสองแตกต่างกันชัดเจน เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อที่ว่าเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนจะใช้สำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันกับสินค้าที่ผู้คัดค้านได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ไว้แล้วทั้งจำพวก จึงถือได้ว่า เครื่องหมายการค้า ตามคำร้องขอจดทะเบียนของโจทก์มีลักษณะคล้ายกันกับ เครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ในสินค้าจำพวกเดียวกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสน หรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิด ของสินค้าได้ คำวินิจฉัยของจำเลยทั้งสิบที่ให้ระงับการ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง: ทุนทรัพย์น้อยเกินไป แม้โต้เถียงข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้ามาปลูกต้นยูคาลิปตัสในที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันออกเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่และด้านทิศใต้อีกประมาณ 2 งาน ขอให้ขับไล่และใช้ค่าเสียหายจำเลยให้การว่า ที่ดินเป็นของจำเลย ศาลชั้นต้นฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย พิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ฟังว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์พิพากษาให้ขับไล่จำเลยและให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ปีละ 600 บาทจำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยและโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อราคาที่ดินพิพาทคือทุนทรัพย์ชั้นฎีกามีเพียง 101,500 บาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินและขอบเขตการรับฟังพยานหลักฐาน ศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ตรงกับศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้ามาปลูกต้นยูคาลิปตัสในที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันออกเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ และด้านทิศใต้อีกประมาณ 2 งานขอให้ขับไล่และใช้ค่าเสียหาย จำเลยให้การว่า ที่ดินเป็นของจำเลย ศาลชั้นต้นฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย พิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ฟังว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์พิพากษาให้ขับไล่จำเลยและให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ปีละ600 บาท จำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยและโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อราคาที่ดินพิพาทคือทุนทรัพย์ชั้นฎีกามีเพียง 101,500 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 485/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ตัวบุคคลในคดีอาญา: พยานหลักฐานไม่เพียงพอต่อการลงโทษ จำเลยปฏิเสธ และไม่มีพฤติการณ์หลบหนี
ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืน คนร้ายได้มาดักซุ่ม ยิงผู้เสียหายอยู่ที่บริเวณหลังจอมปลวกอย่างกะทันหันขณะนั้นในที่เกิดเหตุก็มีเพียงแสงสว่างจากไฟหน้ารถคันที่เกิดเหตุเท่านั้น โอกาสที่ผู้เสียหายทั้งสามจะมองเห็นและจดจำใบหน้าคนร้ายให้ได้ทุกคนจึงเป็นไปไม่ได้ โอกาสจำ บุคคลผิดพลาดไปก็มีได้มาก ทั้งหากผู้เสียหายทั้งสามเห็น และจำคนร้ายได้แน่ชัดว่าเป็นจำเลยทั้งสามจริงก็จะต้อง พูดคุยกันและแจ้งเจ้าพนักงานตำรวจไปติดตามจับกุมตัว จำเลยทั้งสามให้ได้โดยเร็ว แต่ผู้เสียหายก็มิได้กระทำการ ดังกล่าวนั้น ดังนั้น แม้ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 3 จะชี้ตัวจำเลยทั้งสามว่าเป็นคนร้ายก็ตาม ก็ไม่ทำให้พยานโจทก์ มีน้ำหนักดีขึ้น เพราะผู้เสียหายทั้งสามรู้จักกับ จำเลยทั้งสามมาก่อนแล้วเป็นอย่างดี ส่วนจำเลยทั้งสามนั้น นอกจากจะยืนยันให้การปฏิเสธมาโดยตลอดแล้ว หลังเกิดเหตุ จำเลยทั้งสามก็มิได้หลบหนีไปอยู่ที่อื่นอันจะถือเป็น ข้อพิรุธแต่ประการใด ฉะนั้นพยานหลักฐานของโจทก์จึง ไม่มีน้ำหนักพอที่จะฟังลงโทษจำเลยทั้งสามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยหลังสัญญา และเบี้ยปรับ: ศาลฎีกาชี้ขาดขอบเขตการบังคับใช้
เบี้ยปรับนั้นเป็นข้อกำหนดในสัญญาที่ลูกหนี้ตกลงไว้ล่วงหน้ายอมชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่เจ้าหนี้ในกรณีที่ลูกหนี้เป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญา ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทกำหนดว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารเป็นรายเดือนดังนี้ ปีแรกอัตราดอกเบี้ยร้อยละ12.95 ต่อปี ปีที่ 2 เป็นต้นไป แบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว(FLOATINGRATE) ในอัตราร้อยละ HLR-0.5 ต่อปี(ซึ่ง ณ วันทำสัญญาอัตราดอกเบี้ย HLR-14.0 ต่อปี) แต่หากธนาคารจะขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามความเหมาะสมโดยไม่เกินกว่ากฎหมายอนุญาตให้คิดได้ ผู้กู้ตกลงให้ธนาคารมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราใหม่ได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบ โดยให้ถือว่า ผู้กู้ได้ทราบและให้ความยินยอมต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวไว้ล่วงหน้าแล้วโดยไม่โต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้น และตามสัญญาจำนองที่ดินฉบับพิพาทก็กำหนดให้สิทธิโจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ในทำนองเดียวกันนั้น อันเป็นกรณีที่จำเลยให้สิทธิแก่โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกันไว้ในวันทำสัญญาให้สูงขึ้นอีกได้ ไม่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญาหรือไม่ก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ศาลจึงไม่อาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ให้โจทก์ทุกเดือนตามสัญญาเรื่อยมาโดยชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2540 แล้วก็ผิดนัดจนโจทก์มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองให้จำเลยดำเนินการชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองให้เสร็จสิ้นภายในวันที่5 ตุลาคม 2540 และหนังสือดังกล่าวไปถึงจำเลยแล้วเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2540 สัญญากู้จึงเป็นอันสิ้นสุดแล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยคงมีอยู่ก่อนวันที่สัญญากู้สิ้นสุดเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าก่อนวันดังกล่าวโจทก์มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นไม่เกินอัตราร้อยละ19 ต่อปี ตามประกาศเรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อมิใช่ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 24 ต่อปี นับแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2540ตามอัตราที่โจทก์คิดคำนวณเอาโดยอาศัยตามประกาศ เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ ซึ่งเป็นประกาศของของโจทก์หลังจากที่สัญญากู้ได้สิ้นสุดไปแล้ว ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยตามสัญญา และการบังคับจำนอง: ศาลไม่อาจลดเบี้ยปรับ
เบี้ยปรับนั้นเป็นข้อกำหนดในสัญญาที่ลูกหนี้ตกลงไว้ล่วงหน้ายอมชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่เจ้าหนี้ในกรณีที่ลูกหนี้เป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญา
ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทกำหนดว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารเป็นรายเดือนดังนี้ ปีแรกอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 12.95 ต่อปี ปีที่ 2 เป็นต้นไป แบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (FLOATING RATE) ในอัตราร้อยละ HLR - 0.5 ต่อปี (ซึ่งณ วันทำสัญญาอัตราดอกเบี้ย HLR = 14.0 ต่อปี) แต่หากธนาคารจะขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามความเหมาะสมโดยไม่เกินกว่ากฎหมายอนุญาตให้คิดได้ ผู้กู้ตกลงให้ธนาคารมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราใหม่ได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบ โดยให้ถือว่า ผู้กู้ได้ทราบและให้ความยินยอมต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยไม่โต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น และตามสัญญาจำนองที่ดินฉบับพิพาทก็กำหนดให้สิทธิโจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ในทำนองเดียวกันนั้น อันเป็นกรณีที่จำเลยให้สิทธิแก่โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกันไว้ในวันทำสัญญาให้สูงขึ้นอีกได้ ไม่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญาหรือไม่ก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ศาลจึงไม่อาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ให้โจทก์ทุกเดือนตามสัญญาเรื่อยมาโดยชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2540 แล้วก็ผิดนัด จนโจทก์มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองให้จำเลยดำเนินการชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 5 ตุลาคม 2540 และหนังสือดังกล่าวไปถึงจำเลยแล้วเมื่อวันที่ 18กันยายน 2540 สัญญากู้จึงเป็นอันสิ้นสุดแล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยคงมีอยู่ก่อนวันที่สัญญากู้สิ้นสุดเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าก่อนวันดังกล่าวโจทก์มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นไม่เกินอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามประกาศเรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ มิใช่ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 24 ต่อปี นับแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2540 ตามอัตราที่โจทก์คิดคำนวณเอาโดยอาศัยตามประกาศ เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ ซึ่งเป็นประกาศของโจทก์หลังจากที่สัญญากู้ได้สิ้นสุดไปแล้ว ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
of 42