พบผลลัพธ์ทั้งหมด 420 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 443/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอพิจารณาใหม่: ผลของพฤติการณ์นอกเหนือความควบคุม และกำหนดเวลาตามกฎหมาย
แม้พนักงานเดินหมายปิดคำบังคับไว้ที่ภูมิลำเนาของจำเลยตามทะเบียนราษฎร์เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2540 คำบังคับดังกล่าวมีผลใช้ได้ในวันที่ 7 มีนาคม 2540 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคสองจำเลยจึงอาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในกำหนดเวลา 15 วันนับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผล ซึ่งครบกำหนดวันที่21 มีนาคม 2540 ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยอ้างว่าจำเลยเพิ่งทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 กรณีถือได้ว่าจำเลยไม่สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดเวลา 15 วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้พฤติการณ์ดังกล่าวนี้ย่อมสิ้นสุดลงเมื่อจำเลยทราบว่าถูกฟ้องดังนี้ จำเลยจึงชอบที่จะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดเวลา15 วัน นับแต่วันที่ 23 กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่พฤติการณ์ดังกล่าวนั้นสิ้นสุดลงเป็นต้นไป แต่เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว คือภายในวันที่7 สิงหาคม 2540 ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคหนึ่งจำเลยจึงสิ้นสิทธิที่จะขอให้พิจารณาใหม่ ที่จำเลยฎีกาว่า เครื่องถ่ายเอกสารของศาลเสียทำให้ไม่มีเอกสารใช้ประกอบคำขอให้พิจารณาใหม่ เป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้น เมื่อจำเลยสิ้นสิทธิที่จะขอพิจารณาใหม่ไปแล้วข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวซึ่งไม่ปรากฏในคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลย จึงไม่ถือว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือบังคับได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 443/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอพิจารณาใหม่: กำหนดเวลาและพฤติการณ์นอกเหนือควบคุม
แม้พนักงานเดินหมายปิดคำบังคับไว้ที่ภูมิลำเนาของจำเลยตามทะเบียนราษฎรเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2540 คำบังคับดังกล่าวมีผลใช้ได้ในวันที่7 มีนาคม 2540 ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 79 วรรคสอง จำเลยจึงอาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในกำหนดเวลา 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผล ซึ่งครบกำหนดวันที่ 21 มีนาคม 2540 ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยอ้างว่าจำเลยเพิ่งทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 กรณีถือได้ว่าจำเลยไม่สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดเวลา 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ พฤติการณ์ดังกล่าวนี้ย่อมสิ้นสุดลงเมื่อจำเลยทราบว่าถูกฟ้อง ดังนี้จำเลยจึงชอบที่จะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ 23กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่พฤติการณ์ดังกล่าวนั้นสิ้นสุดลงเป็นต้นไป แต่เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว คือภายในวันที่ 7 สิงหาคม 2540ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงสิ้นสิทธิที่จะขอให้พิจารณาใหม่
ที่จำเลยฎีกาว่า เครื่องถ่ายเอกสารของศาลเสียทำให้ไม่มีเอกสารใช้ประกอบคำขอให้พิจารณาใหม่ เป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้น เมื่อจำเลยสิ้นสิทธิที่จะขอพิจารณาใหม่ไปแล้ว ข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวซึ่งไม่ปรากฏในคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลย จึงไม่ถือว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือบังคับได้อีก
ที่จำเลยฎีกาว่า เครื่องถ่ายเอกสารของศาลเสียทำให้ไม่มีเอกสารใช้ประกอบคำขอให้พิจารณาใหม่ เป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้น เมื่อจำเลยสิ้นสิทธิที่จะขอพิจารณาใหม่ไปแล้ว ข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวซึ่งไม่ปรากฏในคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลย จึงไม่ถือว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือบังคับได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร: พฤติการณ์เลี้ยงดูฉันสามีภริยา ไม่เข้าข่ายความผิด
ผู้เยาว์กับจำเลยรู้จักสนิทสนมกันมานานประมาณ 4 ปีมีความรักใคร่ชอบพอกันอยู่ก่อนแล้ว ผู้เยาว์เองก็รับว่าสมัครใจร่วมประเวณีกับจำเลย นอกจากนี้บิดามารดาจำเลยเคยติดต่อสู่ขอผู้เยาว์จากบิดามารดาผู้เยาว์แต่ตกลงในจำนวนเงินค่าสินสอดกันไม่ได้ ผู้เยาว์จึงติดตามไปอยู่กับจำเลย และหลังจากนั้นก็อยู่กินกับจำเลยมาโดยตลอดมิได้กลับไปอาศัยอยู่กับบิดามารดาของตนจนผู้เยาว์ตั้งครรภ์ พฤติการณ์ของจำเลยที่พาผู้เยาว์ไปอยู่กินด้วยกันก็ด้วย ประสงค์จะเลี้ยงดูผู้เยาว์เป็นภริยาจริง ๆ ประกอบกับจำเลยไม่เคยมีภริยาและบุตรมาก่อน จำเลยย่อมอยู่ในฐานะเลี้ยงดูผู้เยาว์ฉันสามีภริยาได้โดยแท้ การกระทำของจำเลยไม่อาจถือว่าเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกกระทงความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ
ข้อเท็จจริงซึ่งฟังเป็นยุติในศาลอุทธรณ์ได้ความว่าตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุในฟ้อง เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้พร้อมยาเสพติดให้โทษของกลางและยาเสพติดให้โทษชนิด 3,4 เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนของกลางที่เจ้าพนักงานตำรวจตรวจยึดได้ในคดีนี้มีจำนวน 6 เม็ด โดยจำเลยจำหน่ายให้แก่สายลับจำนวน 3 เม็ด ส่วนอีก 3 เม็ด ตรวจค้นพบซ่อนอยู่ในช่องเสียบแผ่นซี ดี จึงเห็นได้ชัดว่า ลักษณะของการกระทำของจำเลยแตกต่างกัน ต่างขั้นตอนกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละอย่างต่างหากกันได้ ทั้งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ก็มิได้นิยามความหมายของคำว่า จำหน่าย ให้มีความหมายรวมถึง การมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายด้วย แสดงว่า พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มุ่งประสงค์จะลงโทษการมี ยาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่าย ยาเสพติดให้โทษทั้งสองกรณี ดังนั้น เมื่อจำเลยมียาเสพติดให้โทษ ชนิด 3,4 เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนอีกกระทงหนึ่งการกระทำของจำเลยจึงมิได้เป็นความผิดกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา 10 ปี
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอม โดยจำเลยยอมชำระเงินให้แก่โจทก์จำนวน 48,000 บาทแต่ตกลงผ่อนชำระเป็นงวดรายเดือน เดือนละ 800 บาท นับตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม2529 เป็นต้นไป และทุกวันที่ 25 ของทุกเดือนถัดไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ซึ่งจะชำระเสร็จสิ้นภายในวันที่ 25 กันยายน 2534 แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตั้งแต่งวดประจำวันที่ 25 พฤศจิกายน 2530 เป็นต้นมา ฉะนั้นหนี้จำนวนดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่โจทก์มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีได้ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน2530 เป็นต้นไป โจทก์ร้องขอให้บังคับคดีเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2540 ซึ่งยังไม่เกินกำหนดเวลา 10 ปี โจทก์จึงไม่สิ้นสิทธิที่จะขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ และโจทก์ยังไม่พ้นกำหนดเวลา 10 ปี
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอม โดยจำเลยยอมชำระเงินให้แก่โจทก์จำนวน 48,000 บาท แต่ตกลงผ่อนชำระเป็นงวดรายเดือน เดือนละ 800 บาท นับตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2529 เป็นต้นไป และทุกวันที่ 25 ของทุกเดือนถัดไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ซึ่งจะชำระเสร็จสิ้นภายในวันที่ 25 กันยายน 2534 แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยผิดนัด ไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตั้งแต่งวดประจำวันที่ 25 พฤศจิกายน 2530 เป็นต้นมา ฉะนั้น หนี้จำนวนดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่โจทก์มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีได้ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2530 เป็นต้นไป โจทก์ร้องขอให้บังคับคดีเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2540 ซึ่งยังไม่เกินกำหนดเวลา 10 ปี โจทก์จึงไม่สิ้นสิทธิที่จะขอให้บังคับคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายสินค้า กรณีเหตุสุดวิสัยและสภาพเรือ
ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 52 จำเลยในฐานะผู้ขนส่งจะไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้า ที่ตนขนส่งต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายเกิดจากเหตุตาม มาตรา 52(1) หรือ (11) จริง จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์ เพื่อให้ได้ความเช่นนั้น ซึ่งกรณีเป็นเหตุสุดวิสัยต้องปรากฏว่า เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือ ใกล้จะต้องประสบเหตุนั้นจะได้จัดการระมัดระวังตามสมควร อันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น สินค้าเกลือพิพาทได้รับความเสียหายเนื่องจากน้ำทะเลรั่ว ผ่านรอยแตกผุกร่อนที่ดาดฟ้าและท่อระบายอากาศถังน้ำอับเฉา เข้าไปถึงสินค้าที่เก็บในระวางที่ 2 ซึ่งในระหว่างเดินทาง เรือประสบคลื่นลมแรง แต่ก็ไม่ปรากฏว่าคลื่นลมนั้นมีความรุนแรงเกินความคาดหมายในสภาพท้องทะเลช่วงนั้น ถึงขนาดที่ไม่อาจป้องกันมิให้น้ำทะเลรั่วซึม เข้าไปในเรือ ได้แต่อย่างใด จำเลยในฐานะผู้ขนส่งมีหน้าที่ต้องทำให้เรือ อยู่ในสภาพที่สามารถเดินทะเลได้อย่างปลอดภัยในเส้นทาง เดินเรือนั้น จัดให้มีคนประจำเรือ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องอุปกรณ์ และสิ่งจำเป็นให้เหมาะสมแก่ความต้องการ สำหรับเรือนั้น และจัดระวางบรรทุกและส่วนอื่น ๆ ที่ใช้บรรทุก ของให้เหมาะสมและปลอดภัยตามสภาพแห่งของที่จะรับขนส่ง และรักษาตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 8 แม้ก่อนหน้าที่จำเลยจะนำเรือดังกล่าวมาใช้ ขนส่งสินค้าพิพาทเพิ่งจะได้รับการตรวจสภาพโครงสร้าง ของตัวเรือมาก่อนก็ตาม แต่หลังจากการตรวจสภาพโครงสร้างเรือ แล้วก็อาจมีข้อบกพร่องเกี่ยวกับโครงสร้างหรือส่วนอื่นที่ไม่ใช่โครงสร้างของเรือเกิดขึ้นได้ซึ่งหากมีข้อบกพร่องดังกล่าวจำเลยก็มีหน้าที่ต้องแก้ไขเสียก่อนบรรทุก ของลงเรือหรือก่อนนำเรือออกเดินทางเพื่อให้เป็นไปตาม มาตรา 8 ปรากฏว่าหลังเกิดเหตุเพียงเล็กน้อยเจ้าหน้าที่ สำรวจความเสียหายของสินค้าก็สามารถตรวจพบรอยผุกร่อน ที่ดาดฟ้าและท่อระบายอากาศถังน้ำอับเฉาได้ จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าที่เกิดขึ้นขณะอยู่ในความดูแลของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วางเพลิงรถและพยายามวางเพลิงอาคารผู้เสียหาย ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ลงโทษตามเดิม
เมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้วมีจำเลยคนเดียวเท่านั้นที่เดินออกมาจากที่เกิดเหตุเพลิงไหม้โดยที่เกิดเหตุ มีเศษผ้าที่มีกลิ่นน้ำมันเหลือเป็นเศษให้เห็นอยู่ และจากการ จุดไฟวางเพลิงนี้เองทำให้ไฟไหม้ข้อเท้าทั้งสองข้างของจำเลย บาดแผลที่เกิดจากไฟไหม้จึงปรากฏให้เห็นเป็นรอยแผลสดอยู่ โดยในวันรุ่งขึ้นจำเลยได้ไปทำการรักษาบาดแผลนี้ จึงมิใช่ เป็นเหตุบังเอิญที่จำเลยถูกน้ำร้อนลวกในคืนเกิดเหตุ แล้ววันรุ่งขึ้นจึงได้ไปทำการรักษาดังที่จำเลยอ้าง และที่จำเลยวางเพลิงรถของผู้เสียหายก็เพราะจำเลยโกรธ ที่ผู้เสียหายกีดกันไม่ให้จำเลยคืนดีกับพี่สาวของผู้เสียหาย นั่นเอง ฉะนั้น เมื่อรถที่จำเลยวางเพลิงอยู่ในโรงเก็บรถ ซึ่งอยู่ติดกับอาคารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภัตตาคารและเป็น อาคารที่อยู่อาศัยของผู้เสียหายกับพวกแล้วจำเลยย่อม เล็งเห็นว่าเพลิงนั้นย่อมลุกลามไปเผาผลาญอาคาร ที่ตั้งภัตตาคารและที่ผู้เสียหายกับพวกอยู่อาศัยนั้นด้วย พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังได้แจ้งชัดว่าจำเลย เป็นผู้วางเพลิงรถของผู้เสียหายและพยายามวางเพลิงอาคาร ที่ผู้เสียหายกับพวกอยู่อาศัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 76/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายบุพการี แม้ผู้เสียหายไม่ประสงค์เอาโทษ ก็ไม่เป็นเหตุรอการลงโทษ
จำเลยทำร้ายผู้เสียหายซึ่งเป็นบุพการีของจำเลย นับเป็น การกระทำที่ขาดความยำเกรงเคารพนับถืออย่างยิ่ง ดังนั้น แม้ผู้เสียหายไม่ประสงค์ที่จะเอาโทษจำเลย ก็ไม่เป็น เหตุที่จะรอการลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 70/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่มิชอบ, ทำไม้ผิดกฎหมาย, และความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน
ป่าไม้เขตได้ให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเจ้าหน้าที่คัดเลือกไม้ที่ไม่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจประเภทไม้แก่จัดมีขนาดโตเกินขนาดจำกัดมากและอยู่ในวัยเสื่อมโทรมหรือยอดไม่สมบูรณ์และให้ตีตราคัดเลือกอนุญาตให้ตัดฟันไม้เพื่อบำรุงป่า หรือ บร. กับทำบัญชีคัดเลือกไม้เสนอผู้บังคับบัญชาแล้วป่าไม้เขตจะได้ประมูลหาผู้รับจ้างตัดโค่นและซื้อไม้ดังกล่าว โดยแต่งตั้งให้จำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 15ไปทำการตรวจวัดตีตรารัฐบาลขาย หรือ รข.เป็นการอนุญาตให้ชักลากไม้ได้ โดยจำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 15จะต้องตีตราเฉพาะไม้ที่มีตรา บร. เท่านั้น และจะต้องตรวจดูว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตีตราต้นไม้ถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้อง จะตีตรา รข. ไม่ได้ และจะต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ แต่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กลับตีตราไม้ที่ดีมีค่าทางเศรษฐกิจเป็นการขัดคำสั่ง ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เกิดความเสียหายแก่กรมป่าไม้และ รัฐเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ทำบัญชีสำรวจคัดเลือกตีตราไม้เสนอ ผู้บังคับบัญชา ซึ่งไม่เป็นความจริง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสารดังกล่าว จึงมีความผิดฐานรับรองเป็นหลักฐานว่าได้กระทำการตามที่ระบุในเอกสารขึ้นอันเป็นความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(1) จำเลยที่ 16 ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 17 เป็นกรรมการ ได้ทำสัญญาตัดฟันไม้และซื้อไม้เหล่านั้นกับกรมป่าไม้ โดยจำเลยที่ 16 ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการตัดฟันไม้แทน และจำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 15 ได้ตีตราไม้ที่ยังไม่มีตรา บร. แสดงว่าเป็นไม้ที่ยังไม่ได้รับการคัดเลือกจากจำเลยที่ 2ถึงที่ 4 เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเกิดความเสียหายแก่กรมป่าไม้และรัฐตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157และการที่จำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 15 เป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสารได้ทำบัญชีรับรองเป็นหลักฐานว่าตน ได้ตีตรา รข. บนไม้ที่มีการคัดเลือกแล้วทุกต้น อันเป็นความเท็จ จำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 15 จึงมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(1) ด้วย ขณะที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตีตรา บร. คัดเลือกไม้ที่จะทำการ โค่น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ยังไม่ทราบว่าใครจะเป็นผู้ประมูล โค่นไม้และซื้อไม้ได้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 16 และ ที่ 17 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 และจำเลยที่ 1 ที่ 16 และที่ 17 ตัดโค่นไม้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตีตราไว้ตามสัญญาจ้างตัดโค่นและขายไม้ที่ทำไว้ จำเลยที่ 1 ที่ 16 และที่ 17 จึงไม่เป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิด ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 15 อย่างไรก็ดีปรากฏว่า ไม้ที่ตัดโค่นบางส่วนไม่มีตราของทางราชการใด ๆ เลย จำเลยที่ 1 ที่ 16 และที่ 17 จึงมีความผิดฐานร่วมกันทำไม้ และมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดย ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ