คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพศาล เจริญวุฒิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 420 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4623/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีขาดนัด และการพิสูจน์หนี้จากเอกสารทางบัญชีบัตรเครดิต ศาลฎีกาตัดสินให้จำเลยชำระหนี้ตามยอดคงเหลือ
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205(เดิม) ซึ่งเป็นบทบัญญัติในขณะฟ้องคดีนี้บัญญัติให้คู่ความเพียงแต่นำสืบพยานหลักฐานให้ศาลเห็นว่าคดีมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายเท่านั้น เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์แม้โจทก์จะอ้างส่งเอกสารเพียง 10 ฉบับและไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้จ่ายบัตรเครดิตของจำเลยครบถ้วนแต่ตามหลักฐานที่โจทก์นำส่งจำเลยได้ชำระหนี้บางส่วนเป็นจำนวนหลายครั้งให้แก่โจทก์ อีกทั้งไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่าจะต้องนำหลักฐานการใช้จ่ายบัตรเครดิตมาอ้างส่งต่อศาล พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาจึงมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายที่จะชนะคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205(เดิม) โดยโจทก์ไม่ต้องนำหลักฐานการใช้จ่ายบัตรเครดิตทั้งหมดอ้างส่งเป็นพยานแต่อย่างใด
สัญญาบัตรเครดิตตามฟ้องเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา คู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 โจทก์ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาให้แก่จำเลยไม่ได้และได้ประกาศหนังสือพิมพ์ระหว่างวันที่ 17ถึง 21 กรกฎาคม 2541 แจ้งให้จำเลยชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ลงประกาศ หากพ้นกำหนดให้ถือว่าบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้บัตรเครดิตเป็นอันยกเลิก เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดถือได้ว่าสัญญาบัตรเครดิตเป็นอันสิ้นสุดลงตั้งแต่วันพ้นกำหนดชำระหนี้คือวันที่ 5 สิงหาคม 2541 โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี หรืออัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์พึงเรียกเก็บได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นตามข้อตกลงที่ระบุไว้ในใบสมัครเป็นสมาชิกบัตรเครดิตจนถึงวันที่ 5 สิงหาคม 2541 หลังจากสัญญาสิ้นสุดแล้วโจทก์จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยอีกไม่ได้ คงเรียกได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาอันเป็นสิทธิที่พึงได้โดยชอบมาแต่เดิมเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4549/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคลและผู้มีอำนาจกระทำการ, ฟ้องเคลือบคลุม, การกระทำแทนบริษัท
ฟ้องโจทก์ระบุว่า โจทก์ที่ 1 มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแห่งประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย ประเภทบริษัทจำกัด ใช้ชื่อว่าบริษัท ว. จำกัด มี ม. เป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวและเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้แทนโจทก์ที่ 1 และในฐานะส่วนตัวได้ติดต่อสั่งซื้อสินค้าประเภทเครื่องหนังและรองเท้ากับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ในฐานะกรรมการและผู้แทนของจำเลยที่ 2 ขายสินค้าให้โจทก์ภายหลังโจทก์พบว่า สินค้าของจำเลยชำรุดบกพร่อง ได้แจ้งให้จำเลยทั้งสามทราบและรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหาย แต่จำเลยเพิกเฉย คำฟ้องโจทก์ได้กล่าวบรรยายถึงฐานะโจทก์สภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้โจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคล ในคำฟ้องก็ไม่จำต้องระบุชื่อผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 ในช่องชื่อโจทก์ เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องบรรยายในคำฟ้องอยู่แล้ว และตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองได้บรรยายไว้แล้วว่า โจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1แต่เพียงผู้เดียว โจทก์ที่ 1 จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 2 กระทำการแทนบริษัทโจทก์ที่ 1 เมื่อสัญญาพิพาทเป็นสัญญาที่โจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นนิติบุคคลทำขึ้นโดยผู้มีอำนาจกระทำการเป็นผู้ทำแทนจึงย่อมผูกพันเฉพาะโจทก์ที่ 1 และเฉพาะโจทก์ที่ 1 เท่านั้น มีอำนาจฟ้องคดีได้ ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจะฟ้องคดีในนามของตนเองแทนโจทก์ที่ 1 ตามสัญญานั้นไม่ได้ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4383/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้รับเงินตามเช็คมีอำนาจฟ้องได้แม้สลักหลังเช็คหรือไม่ และอายุความฟ้อง
เช็คพิพาทระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินแต่ไม่ได้ขีดฆ่าคำว่าผู้ถือ จึงเป็นเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือด้วย ย่อมโอนได้ด้วยการส่งมอบ ไม่จำต้องสลักหลัง หากมีการสลักหลังเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 ประกอบด้วยมาตรา 989 บัญญัติว่าเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย หาได้ถือว่าเป็นผู้สลักหลังตามกฎหมายไม่ การที่โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทไม่ว่าจะเป็นการกระทำเพื่อเรียกเก็บเงินผ่านบัญชีของผู้อื่นซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์หรือโอนเช็คพิพาทไป เมื่อเช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ได้เช็คพิพาทกลับมาอยู่ในความยึดถือครอบครอง โจทก์ย่อมมีฐานะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 ไม่อยู่ในฐานะผู้สลักหลัง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้สั่งจ่ายภายในอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 ไม่ใช่กรณีที่จะบังคับตามมาตรา 1003 ซึ่งมีอายุความ 6 เดือนนับแต่วันที่ผู้สลักหลังถือเอาตั๋วเงินและใช้เงิน คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ผู้ทรงเช็คที่จะมีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็ค ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ทรงเช็คขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเท่านั้น ผู้ที่รับโอนเช็คมาโดยสุจริต หลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็เป็นผู้ทรงเช็คที่มีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็คได้ โจทก์จะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทขณะยื่นฟ้อง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4383/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้รับโอนเช็คมีอำนาจฟ้อง แม้ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คขณะปฏิเสธการจ่ายเงิน อายุความ 1 ปี
เช็คพิพาทระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงิน แต่ไม่ได้ขีดฆ่าคำว่าผู้ถือเช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือด้วย การสลักหลังเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 ประกอบด้วยมาตรา 989 บัญญัติว่าเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย หาได้ถือว่าเป็นผู้สลักหลังตามกฎหมายไม่ ดังนั้นการที่โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทไม่ว่าจะเป็นการกระทำเพื่อเรียกเก็บเงินผ่านบัญชีของผู้อื่นซึ่งเป็นตัวแทน หรือโอนเช็คพิพาทไป เมื่อเช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ได้เช็คพิพาทกลับมาอยู่ในความยึดถือครอบครอง โจทก์ย่อมมีฐานะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้สั่งจ่ายภายในอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002
ผู้ทรงเช็คที่จะมีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็คมิได้จำกัดเฉพาะผู้ทรงเช็คขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเท่านั้น ผู้ที่รับโอนเช็คมาโดยสุจริตหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็เป็นผู้ทรงเช็คที่มีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็คได้ ดังนั้นโจทก์จะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินหรือไม่ก็ตาม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4383/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้รับเงินตามเช็คมีอำนาจฟ้องได้ แม้สลักหลังเช็ค และไม่จำกัดเฉพาะผู้ทรงเช็ค ณ เวลาปฏิเสธการจ่าย
เช็คพิพาทระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงิน แต่ไม่ได้ขีดฆ่าคำว่าผู้ถือเช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือด้วย การสลักหลังเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ป.พ.พ. มาตรา 921 ประกอบด้วยมาตรา 989 บัญญัติว่าเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย หาได้ถือว่าเป็นผู้สลักหลังตามกฎหมายไม่ ดังนั้น การที่โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทไม่ว่าจะเป็นการกระทำเพื่อเรียกเก็บเงินผ่านบัญชีของผู้อื่นซึ่งเป็นตัวแทน หรือโอนเช็คพิพาทไป เมื่อเช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ได้เช็คพิพาทกลับมาอยู่ในความยึดถือครอบครอง โจทก์ย่อมมีฐานะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท ตามป.พ.พ. มาตรา904 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้สั่งจ่ายภายในอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่เช็คพิพาทถึงกำหนด ตามป.พ.พ. มาตรา 1002
ผู้ทรงเช็คที่จะมีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็คมิได้จำกัดเฉพาะผู้ทรงเช็คขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเท่านั้น ผู้ที่รับโอนเช็คมาโดยสุจริตหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็เป็นผู้ทรงเช็คที่มีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็คได้ ดังนั้นโจทก์จะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินหรือไม่ก็ตาม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4383/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คสั่งจ่ายแก่ผู้ถือและผู้สลักหลัง: อำนาจฟ้องของผู้ทรงเช็คและอายุความ
เช็คพิพาทระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงิน แต่ไม่ได้ขีดฆ่าคำว่าผู้ถือจึงเป็นเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือด้วย หากมีการสลักหลังเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 ประกอบด้วยมาตรา 989 จึงบัญญัติว่าเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย หาได้ถือว่าเป็นผู้สลักหลังไม่ ดังนั้น การที่โจทก์สลักหลังเช็คพิพาท ไม่ว่าจะเป็นการกระทำเพื่อเรียกเก็บเงินผ่านบัญชีของผู้อื่นซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ หรือโอนเช็คพิพาทไป เมื่อเช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ได้เช็คพิพาทกลับมาครอบครอง โจทก์ย่อมมีฐานะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท ตามมาตรา 904ไม่อยู่ในฐานะผู้สลักหลัง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้สั่งจ่ายภายในอายุความ 1 ปีนับแต่วันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดตามมาตรา 1002 ไม่ใช่กรณีที่จะบังคับตามมาตรา 1003ซึ่งมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ผู้สลักหลังถือเอาตั๋วเงินและใช้เงิน
ผู้ทรงเช็คที่จะมีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็ค มิได้จำกัดเฉพาะผู้ทรงเช็คขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเท่านั้น ผู้ที่รับโอนเช็คมาโดยสุจริตหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็เป็นผู้ทรงเช็คที่มีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็คได้ ดังนั้น โจทก์จะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินหรือไม่ แต่เมื่อโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทขณะยื่นฟ้อง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4378/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการพิจารณาใหม่ที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน ทำให้กระบวนการทั้งหมดเป็นโมฆะ
จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นยกคำร้องเพราะจำเลยไม่ไปศาลศาลจึงสั่งว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบ หากจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวก็ชอบที่จะต้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 เพื่อขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณานัดไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี การที่จำเลยยื่นคำร้องอ้างเหตุมิได้จงใจไม่มาศาลในวันนัดไต่สวน ขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าไต่สวนใหม่จึงไม่ชอบเพราะกรณีมิใช่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบตามมาตรา 27 ฉะนั้น กระบวนพิจารณานับแต่วันที่ศาลชั้นต้นรับคำร้องของจำเลยและนัดไต่สวนตลอดมาจนกระทั่งมีคำสั่งและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่มิชอบ ฎีกาของจำเลยจึงถือมิได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4312/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการกู้ยืมเงินเริ่มนับจากวันผิดสัญญาชำระดอกเบี้ย แม้ยังไม่ถึงกำหนดชำระเงินต้น
การกู้ยืมเงินมิได้กำหนดอายุความโดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม) และตามมาตรา 169(เดิม)บัญญัติว่า "อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นต้นไป" เมื่อสัญญากู้เงิน ข้อ 4 กำหนดให้จำเลยจะต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนแรกภายในวันที่30 พฤศจิกายน 2527 การที่จำเลยไม่ได้ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เลยจึงเป็นการผิดสัญญาซึ่งสัญญากู้เงินข้อ 6 ระบุว่า โจทก์ฟ้องเรียกต้นเงินและดอกเบี้ยได้ ถือได้ว่า ระยะเวลาซึ่งโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2527 เป็นต้นไป โดยไม่จำต้องรอจนครบกำหนดชำระเงินคืนตามสัญญา อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2538 เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4312/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการกู้ยืมเงิน: เริ่มนับจากวันผิดสัญญาชำระดอกเบี้ย แม้ยังไม่ถึงกำหนดชำระต้นเงิน
การกู้ยืมเงินกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่) และตามมาตรา 169 เดิม (มาตรา 193/12 ที่แก้ไขใหม่) บัญญัติว่า "อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป?" เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตั้งแต่งวดแรก คือ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2527 จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดและประพฤติผิดสัญญากู้เงิน โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันทีตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2527 โดยไม่จำต้องรอให้ครบกำหนดชำระต้นเงินคืน อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2538 นับจากวันที่ 1 ธันวาคม 2527 ถึงวันฟ้องเกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4204/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ: การชำระบัญชีและการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
โจทก์และจำเลยทั้งสองร่วมเป็นหุ้นส่วนดำเนินกิจการห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ต่อมาวันที่ 22 เมษายน 2538 โจทก์และจำเลยทั้งสองโต้เถียงกันเพราะไม่ต้องการให้โจทก์เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการของร้านค้าอีกต่อไป จ. ทนายความของโจทก์จึงเสนอให้เลิกหุ้นส่วนกัน และในวันเดียวกันนั้นก็มีการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของร้านค้าทันที หลังจากนั้นจำเลยทั้งสองก็แยกไปเปิดบัญชีกระแสรายวันแทนบัญชีเดิมของห้างหุ้นส่วนสามัญดังกล่าว และมีการร้องทุกข์และฟ้องคดีอาญาต่อกันอีกด้วย ย่อมเห็นได้ว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายต่างมีเจตนาเลิกห้างหุ้นส่วนกันแล้วในวันที่ 22 เมษายนส่วนการชำระบัญชีที่ยังไม่แล้วเสร็จหามีผลให้รับฟังว่าคู่กรณียังคงมีเจตนาร่วมดำเนินกิจการอยู่เช่นเดิมไม่ เพราะเป็นคนละขั้นตอนกัน ส่วนการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของร้านค้าแม้จะเริ่มกระทำตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน แต่ก็ยังไม่แล้วเสร็จเพราะคู่กรณียังตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับผลการตรวจสอบ กรณีจึงมีเหตุจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1061 ที่ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าวให้ถูกต้องและยุติเสียก่อน ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นคนกลางเป็นผู้ชำระบัญชีจึงชอบด้วยเหตุผลแล้ว
of 42