คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มงคล คุปต์กาญจนากุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 772 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขายบ้านและที่ดิน: ผู้ขายไม่ใช่พ่อค้าตามกฎหมาย ใช้ ป.พ.พ. มาตรา 164 (เดิม) อายุความ 10 ปี
โจทก์มิใช่บุคคลที่ประกอบการค้าโดยซื้อสินค้ามาและขายไปเป็นปกติธุระแต่เป็นเพียงผู้ปลูกบ้านพร้อมจัดสรรที่ดินขายให้แก่บุคคลทั่วไปเท่านั้น จึงมิได้เป็นพ่อค้าตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 165 (เดิม) ที่จะต้องฟ้องคดีภายในกำหนด 2 ปี
โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีได้ภายใน 10 ปี ตามมาตรา 164 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ และระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่ พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 ใช้บังคับ ทั้งเป็นระยะเวลาที่ยาวกว่าระยะเวลา (สองปี) ที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. ที่ตรวจชำระใหม่ท้าย พ.ร.บ. ดังกล่าว คือ มาตรา 193/34 (1) จึงต้องนำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับตาม พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 มาตรา 14
เอกสารสัญญาจะซื้อขายบ้านพร้อมที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ใช่ใบรับตาม ป.รัษฎากร แม้จะไม่ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ไม่ต้องห้ามตาม ป. รัษฎากร มาตรา 118

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขายบ้านและที่ดิน: การใช้บทบัญญัติใหม่และข้อยกเว้นสำหรับผู้ไม่ใช่พ่อค้า
โจทก์ขายบ้านพร้อมที่ดินให้แก่จำเลย และโอนกรรมสิทธิ์กันเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2534 โดยจำเลยยังค้างค่าบ้านและที่ดินอีก65,000 บาท ซึ่งโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่สิ้นเดือนกันยายน2534 เป็นต้นไป แต่โจทก์มิใช่บุคคลที่เป็นพ่อค้าซึ่งประกอบการค้าโดยซื้อสินค้ามาและขายไปเป็นปกติธุระที่จะต้องฟ้องคดีภายใน กำหนด 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)(เดิม) โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีได้ภายใน 10 ปี ตามมาตรา 164(เดิม) ซึ่งเป็น กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ และ ระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 ใช้บังคับทั้งเป็นระยะเวลาที่ยาวกว่าระยะเวลาที่กำหนดขึ้น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าว คือมาตรา 193/34(1) จึงต้องนำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535มาตรา 14
เอกสารสัญญาจะซื้อขายบ้านพร้อมที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ใช่ใบรับตามประมวลรัษฎากร แม้จะไม่ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายบ้าน: แผ่นพับโฆษณาเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา, จำเลยผิดสัญญาเมื่อก่อสร้างล่าช้า
แผ่นพับโฆษณาของจำเลยระบุว่าเริ่มก่อสร้างบ้านเดือนกันยายน2537 จะแล้วเสร็จปลายปี 2539 โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อได้พบแผ่นพับโฆษณาดังกล่าว ได้พิจารณารูปแบบบ้าน ทำเลที่ดินและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ระบุไว้และใช้เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจที่จะซื้อจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องก่อสร้างบ้านให้เสร็จภายในวันดังกล่าว เมื่อมิได้ก่อสร้างให้เสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2539 และได้ทำหนังสือถึงโจทก์ยืนยันว่าจะก่อสร้างให้เสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2539 แต่จำเลยก็ไม่เสร็จตามที่ขอขยายเวลาออกไป โจทก์ย่อมมีสิทธิไม่ชำระหนี้จนกว่าจำเลยจะชำระหนี้ตอบแทนโจทก์จึงไม่ผิดสัญญา การที่จำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบว่าได้ก่อสร้างบ้านเสร็จเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2540 ซึ่งพ้นกำหนดเวลาที่จำเลยขอขยายการก่อสร้างออกไป จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
การที่โจทก์นำสืบแผ่นพับโฆษณาเสนอขายบ้านพร้อมที่ดินของจำเลยที่กำหนดเวลาเริ่มก่อสร้างไว้และกำหนดเวลาแล้วเสร็จเพื่อจะอธิบายให้เห็นชัดในสัญญาจะซื้อจะขายว่ากำหนดเวลาสร้างแล้วเสร็จจะเป็นวันเวลาใด มิใช่เป็นการนำพยานบุคคลมาสืบเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ข้อความในเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานรับฟังได้ ชี้ตัวผู้กระทำผิด พยานเบิกความสอดคล้องกัน ยืนยันความผิดฐานชิงทรัพย์
แม้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายไปก่อนมาเบิกความเป็นพยานในชั้นพิจารณา แต่โจทก์อ้างส่งบันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนเป็นพยานโดยมีพนักงานสอบสวนผู้สอบปากคำผู้เสียหายมาเบิกความประกอบและรับรองเอกสารดังกล่าว ผู้เสียหายให้การต่อพนักงานสอบสวนหลังเกิดเหตุเพียงประมาณ 2 ชั่วโมง และไปให้การทันทีหลังจากไปรักษาบาดแผลที่โรงพยาบาลแล้ว จึงไม่มีเวลาและโอกาสคิดปรุงแต่งเรื่องเพื่อกลั่นแกล้งให้การปรักปรำจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายเคยมีสาเหตุโกรธเคืองหรือมีเหตุอื่นใดที่จะเป็นมูลเหตุจูงใจให้จำต้องให้การเช่นนั้นเชื่อว่าผู้เสียหายให้การในชั้นสอบสวนตามความเป็นจริง เมื่อพนักงานสอบสวนให้ชี้ตัวคนร้ายในคืนเกิดเหตุ ผู้เสียหายก็สามารถชี้ตัวจำเลยได้ถูกต้อง ทั้งยืนยันว่าสร้อยคอพร้อมพระเครื่องและธนบัตรเป็นของตนโดยจำเลยไม่ได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์นอกจากนี้โจทก์ยังมี ธ. และสิบตำรวจโท ป. ซึ่งพบเห็นเหตุการณ์และช่วยกระชากตัวจำเลยและพวกออกจากการทำร้ายผู้เสียหาย คำเบิกความของพยานทั้งสองสอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายพยานหลักฐานของโจทก์ประกอบกันมีเหตุผลและน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยกับพวกร่วมกันชิงทรัพย์ของผู้เสียหาย
ที่จำเลยฎีกาว่ามิได้เป็นจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อและให้การรับว่าเป็นบุคคลเดียวกันโดยสำคัญผิดนั้น จำเลยมิได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นโต้แย้งในศาลชั้นต้น เพิ่งมาโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์ จึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอมเกิดจากการใช้ทางต่อเนื่อง สงบ เปิดเผย เกิน 10 ปี
โจทก์ทั้งสี่และผู้อยู่อาศัยในที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ได้ใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางเดินเข้าออกโดยสงบ เปิดเผย และด้วยเจตนาจะให้ได้สิทธิภารจำยอมเกินกว่าสิบปี ทางพิพาทจึงตกเป็นภารจำยอมของโจทก์ทั้งสี่ ส่วนที่จำเลยเคยฟ้อง ส. ซึ่งอยู่อาศัยในที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ให้รื้อถอนสะพานไม้บนที่ดินพิพาทและศาลพิพากษาให้ ส. รื้อสะพานออกไปและห้ามเกี่ยวข้อง ย่อมเป็นเรื่องที่ผูกพันระหว่างจำเลยและบริวารกับ ส. และมีผลบังคับให้ ส. ต้องรื้อสะพานและห้ามเข้าไปเกี่ยวข้องในการก่อสร้างสิ่งใด ๆ ขึ้นอีกเท่านั้น หาได้ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติหน้าที่เจ้าพนักงานและการดูหมิ่นเจ้าพนักงาน: ศาลยกฟ้องเมื่อข้อเท็จจริงไม่ตรงตามฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ผู้เสียหายเป็นผู้ใหญ่บ้านเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่ร่วมกับเจ้าพนักงานที่ดินทำการชี้เขตรังวัดที่พิพาทกันในเขตปกครองท้องที่ ได้ร่วมกับเจ้าพนักงานที่ดินทำการชี้เขตรังวัดที่ดินที่พิพาทกัน ณ เขตรับผิดชอบอันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 แต่ทางพิจารณาได้ความว่า ผู้เสียหาย ไปร่วมรังวัดที่ดินดังกล่าว โดยไม่มีเจ้าพนักงานที่ดินไปร่วมรังวัดที่ดินด้วยข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากข้อเท็จจริงดั่งที่กล่าว ในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
การที่ศาลชั้นต้นฟังว่า ผู้เสียหายไปทำการรังวัดที่ดินเพื่อระงับข้อพิพาทเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานและจำเลยกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นผู้เสียหายเพราะได้กระทำการตามหน้าที่พิพากษาลงโทษจำเลย เป็นการพิพากษาโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่มิได้ กล่าวในฟ้อง ฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคหนึ่ง เป็นการไม่ชอบแม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยโดยเห็นว่า การที่ผู้เสียหายไปรังวัดที่ดินเพื่อระงับข้อพิพาทของราษฎรในทางแพ่งนั้น ไม่ใช่การปฏิบัติการตามหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านหรือเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457มาตรา 10,27 และพิพากษายกฟ้องก็ไม่ถือว่า ปัญหาตามที่โจทก์ฎีกาว่า ผู้เสียหายไปเป็นพยานในการรังวัดที่ดินเพื่อระงับข้อพิพาทของราษฎรในทางแพ่งเป็นการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ผู้ใหญ่บ้านในฐานะเจ้าพนักงานนั้น เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีอาญาที่อาศัยข้อเท็จจริงนอกฟ้อง และประเด็นการฎีกาที่เกินกรอบการพิจารณาเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ผู้เสียหายเป็นผู้ใหญ่บ้านเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่ร่วมกับเจ้าพนักงานที่ดินทำการชี้เขตรังวัดที่พิพาทกันในเขตปกครองท้องที่ได้ร่วมกับเจ้าพนักงานที่ดินทำการชี้เขตรังวัดที่ดินที่พิพาทกัน ณ เขตรับผิดชอบ อันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 136 แต่ทางพิจารณาได้ความว่า ผู้เสียหายไปร่วมรังวัดที่ดินดังกล่าว โดยไม่มีเจ้าพนักงานที่ดินไปร่วมรังวัดที่ดินด้วย ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
การที่ศาลชั้นต้นฟังว่า ผู้เสียหายไปทำการรังวัดที่ดินเพื่อระงับข้อพิพาท เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานและจำเลยกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นผู้เสียหายเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ พิพากษาลงโทษจำเลยเป็นการพิพากษาโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่มิได้กล่าวในฟ้อง ฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง เป็นการไม่ชอบแม้ศาลอุทธรณ์ จะรับวินิจฉัยโดยเห็นว่า การที่ผู้เสียหายไปรังวัดที่ดินเพื่อระงับข้อพิพาทของราษฎรในทางแพ่ง ไม่ใช่การปฏิบัติการตามหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านหรือเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 10, 27 และพิพากษายกฟ้อง ก็ไม่ถือว่า ปัญหาตามที่โจทก์ฎีกาว่า ผู้เสียหายไปเป็นพยานในการรังวัดที่ดินเพื่อระงับข้อพิพาทของราษฎร ในทางแพ่งเป็นการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ผู้ใหญ่บ้านในฐานะเจ้าพนักงาน เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันการทำงานที่ไม่ติดอากรแสตมป์ ยังใช้เป็นพยานหลักฐานได้
หนังสือค้ำประกันรายพิพาทมีข้อความว่าจำเลยที่ 3 ตกลงค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ให้ไว้แก่โจทก์หากจำเลยที่ 1 กระทำด้วยประการใด ๆ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 3 ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายทั้งสิ้นและจำเลยที่ 3 ฝ่ายเดียวได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน ดังนี้เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคสองเท่านั้น มิใช่เป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 103,104 และ 118 ดังนั้น แม้มิได้ปิดอากรแสตมป์ก็สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีผู้จัดการมรดก หากไม่เป็นข้อสำคัญในคดี ไม่ถือว่ามีความผิดฐานเบิกความเท็จ
คดีที่จำเลยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ม. ผู้ตายมีประเด็นว่า จำเลยเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิยื่น คำร้องขอต่อศาลและมีเหตุที่จะแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 หรือไม่ กับจำเลยเป็นบุคคลต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1728 หรือไม่ส่วนข้อที่ว่า ม. มีทรัพย์มรดกอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด ไม่ใช่ประเด็นในคดีดังกล่าว การที่จำเลยเบิกความเท็จว่า บ้านเป็นของ ม. จึงมิใช่ข้อสำคัญในคดี ไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีจัดการมรดก หากข้อความเท็จนั้นไม่ใช่ประเด็นสำคัญในคดี ไม่ถือว่ามีความผิดฐานเบิกความเท็จ
++ เรื่อง ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
คดีที่จำเลยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ม.ผู้ตายมีประเด็นว่าจำเลยเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลและมีเหตุที่จะแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713 หรือไม่ กับจำเลยเป็นบุคคลต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1728 หรือไม่ ส่วนข้อที่ว่า ม.มีทรัพย์มรดกอะไรบ้างจำนวนเท่าใด ไม่ใช่ประเด็นในคดีดังกล่าว การที่จำเลยเบิกความเท็จว่าบ้านเป็นของม. จึงมิใช่ข้อสำคัญในคดี ไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จ
of 78